แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สิทธิมนุษยชนเอเชียออกจม.เตือนอภิสิทธิ์ ขึ้นศาลอาชญากรระหว่างประเทศ


14 พฤษภาคม 2553

องค์การสิทธิ์มนุษยชนแห่งเชีย Asian Centre for Human Rights หรือ เอซีเอชอาร์ ออกจม.เปิดผนึก หลังการยิงเสธ.แดง และมีการใช้อาวุธทำให้ประชาชนจำนวนมากบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งมีรายละเอียดทั้งหมดดังนี้

นายพลชาวไทยถูกยิง, หลายคนบาดเจ็บในเหตุการณ์การยิงคนเสื้อแดงโดยกองทัพไทย
นายกรัฐมนตรีไทยถูกเตือนว่าต้องขึ้นศาลอาชญากระหว่างประเทศ

นิวเดลี: องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเซีย ในจดหมายเปิดผนึกถึงสื่อมวลชนแจ้งว่า พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล อายุ 59 ปี หรือที่รู้จักในนามว่า เสธ.แดง ถูกยิงและได้รับบาดเจ็บสาหัส พร้อมๆกับผู้บาดเจ็บอีกจำนวน 2 คน ในเหตุการณ์การยิงปืนโดยทหารต่อกลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงเมื่อตอนเย็นวันนี้ (13 พ.ค.) หน่วยทหารราบ 11 ของกองทัพไทยได้ออก "ปฏิบัติการราชประสงค์" เมื่อเวลา 6 โมงเย็นตามเวลาท้องถิ่นในกรุงเทพฯเพื่อที่จะสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อ แดงซึ่งได้ปักหลักที่ราชประสงค์ กรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2553

พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ถูกยิงระหว่างการให้สัมภาณณ์กับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอินเตอร์เนชั่นแนลเฮอ รัลทริบูล

"เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553, ผมได้เยือนเป็นการส่วนตัวต่อพื้นที่การชุมนุม เป็นความชัดเจนที่มีการใช้กำลังซึ่งรวมไปถึงอาวุธปืน จะนำไปสู่การสังหารปราชนชนจำนวนมาก" - มร. Suhas Chakma, ผู้อำนวยการองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียกล่าว

"เป็นความโชคร้ายอย่างยิ่งยวดที่การพูดคุยระหว่างรัฐบาลและนปช.ต้องพังลง ใน หัวข้อที่เกี่ยวกับข้อกฏหมาย อาทิเช่น ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการฆ่าจากเหตุการยิงของกองกำลังเจ้าหน้าที่เมื่อ วันที่ 10 เมษายน" มร. Chakma กล่าวเพิ่ม

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553, เอซีเอชอาร์ได้แนะนำว่า การจัดตั้งคณะกรรมการสืบสวนร่วมซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกฝ่ายค้านและพรรคฝ่าย ร่วมรัฐบาลจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะบรรเทาความรู้สึกสูญเสียของเหยื่อและ เพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม

เอซีเอชอาร์ได้เตือนว่านายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สามารถถูกกล่าวโทษว่าเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ภายใต้มาตราข้อที่ 25(3) ของสนธิสัญญาศาลอาชญากรระหว่างประเทศแห่งกรุงโรม ในข้อหาจงใจบงการการโจมตีต่อประชาชนผู้ประท้วงซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใน การโจมตี ตามมาตรา 8(2)(e)(i) ของสนธิสัญญากรุงโรมดังกล่าว

องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีถอนกองกำลังทหาร ใน ทันที และกลับไปสู่การเจรจากับกลุ่มนปช.และรวมไปถึงการแสดงออกถึงประเด็นความ ยุติธรรมจากการฆ่าเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553

ในที่สุด ... UN ก็ลงมติเลือก ไทยเป็นสมาชิกใหม่ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน


ณ.ณ.

"ยูเอ็น" เลือกไทยเป็นสมาชิกใหม่คณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติร่วมกับอีก 13 ชาติ ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากกลุ่มตรวจสอบสิทธิมนุษยชน...

สำนักข่าวเอพีและเอเอฟพี รายงานเมื่อ 13 พ.ค.ว่า ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ลงมติอนุมัติสมาชิกภาพของคณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติชุดใหม่ 14 ประเทศ รวมทั้งมาเลเซียและไทย แม้มีชาติเสนอขอเข้าเป็นสมาชิกแค่ 14 ชาติ และมีจำนวนพอดีกับเก้าอี้ที่ว่างอยู่ โดยไม่มีชาติใดยื่นสมัครแข่งขันเพิ่มเติม

ขณะที่กลุ่มตรวจสอบสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่มองค์กร วิจารณ์ว่า เป็นการคัดเลือกที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะไม่มีการแข่งขัน และว่ามีถึง 7 ชาติที่มีปัญหาด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้รับเลือกเข้ามาด้วย อย่าง ลิเบีย แองโกลา มาเลเซีย ไทย อูกันดา มอริเตเนีย และกาตาร์ ส่วนอีก 7 ชาติที่ได้รับเลือกก็มี มัลดีฟส์ เอกวาดอร์ กัวเตมาลา สเปน สวิตเซอร์แลนด์ มอลโดวา และโปแลนด์

สำหรับสมาชิกใหม่14 ชาติ จะเข้าทำหน้าที่เป็นวาระ 3 ปี ทั้งนี้หน่วยงานดังกล่าวมีสมาชิก 47 ชาติ ซึ่ง 1 ใน 3 ของชาติสมาชิก จะมีการเลือกตั้งใหม่ทุกปี มีสำนักงานตั้งอยู่ในนครเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์ ถูกตั้งขึ้นในปี 2549 เพื่อทดแทนคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชน หน่วยงานเดิมของยูเอ็น ที่ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าทำงานตามนัยทางการเมืองมากเกินไป

ไทยรัฐออนไลน์
โดย ทีมข่าวต่างประเทศ
14 พฤษภาคม 2553, 02:30 น.
http://www.thairath.co.th/content/oversea/82801


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน