Wed, 2010-05-19 23:14
แถลงการณ์ “ยุบสภา” ยังเป็นแนวทางแก้วิกฤตการเมือง
“รัฐประหาร” ไม่ใช่ทางออก
โศกนาฎกรรมทางสังคมการเมืองไทยในครั้งนี้ มีแนวโน้มจะนำสู่ระบอบอำนาจนิยมเผด็จการสมบูรณ์เบ็ดเสร็จมากขึ้น ที่รัฐจะมีอำนาจเหนือประชาชนในทุกอณูของชีวิต ประชาชนจะไร้ซึ่งสิทธิเสรีภาพพื้นฐาน อย่างที่ไม่ควรจะเป็น ความขัดแย้งทางการเมือง ก็จะทวีความรุนแรงจนยากที่จะเยียวยา ตราบใดที่สังคมไทยไม่หันมาทบทวนมูลเหตุรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในรอบสี่ปีที่ผ่านมา
เรา กลุ่ม องค์กรและเครือข่ายประชาธิปไตย มีความคิดเห็นและข้อเรียกร้อง
1. เราขอยืนยันว่า การยุบสภา คืนอำนาจอธิปไตย ยังคงเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤตการเมืองในครั้งนี้ ตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อแก้ไขปัญหาทางการมืองอย่างสันติวิธี และประชาชนทุกสีทุกกลุ่มล้วนแต่มี “หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง” ในการเลือกผู้แทน ผู้บริหารปกครองประเทศ อย่างมีวาระที่แน่นอนไม่ใช่ระบบผูกขาดอำนาจ และเป็นระบบที่เคารพเสียงส่วนใหญ่ไม่ละเมิดเสียงส่วนน้อย ประชาธิปไตยยังเป็นระบอบที่มีกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลผู้บริหารผู้ปกครองประเทศได้อย่างเสรี เป็นระบบที่ให้เสรีภาพกับสื่อ เคารพสิทธิพื้นฐานของประชาชน ตลอดทั้งเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
2. ความขัดแย้งทางการเมืองในครั้งนี้ ซึ่งได้นำความรุนแรงมาสู่สังคมไทยมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีผู้สูญเสียชีวิตและบาดเจ็บในหลายครั้งหลายเหตุการณ์ เช่น 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สังคมไทยจึงควรร่วมกันเรียกร้องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ สหประชาชาติ เข้ามาดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งปวง เพื่อความโปร่งใส อิสระ เป็นกลาง และเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่าย ตามหลักการ “ผู้กระทำผิด ต้องถูกลงโทษ” “ ฆาตรกร ต้องไม่ลอยนวล”
3. ความขัดแย้งทางการเมืองในครั้งนี้ สังคมไทยต้องร่วมกันเรียกร้องไม่ให้กองทัพฉวยโอกาสกระทำการรัฐประหาร ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้ครั้งนี้ไม่ต่างจากการรัฐประหารต่อเนื่องจาก 19 กันยายน 2549 ก็ตาม เนื่องเพราะรัฐประหารจะทำให้ปัญหาทางการเมืองมีความวิกฤตมากยิ่งขึ้น และไม่ใช่การแก้ไขปัญหาตามระบอบประชาธิปไตย แต่กลับทำให้สังคมไทยเป็นเผด็จการอำนาจนิยมมากยิ่งขึ้น
1. เครือข่ายองค์กรชุมชนแก้ปัญหาที่ดินภาคอีสาน (คอป.อ.)
2. เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์น้ำเซิน (คอซ.)
3. เครือข่ายองค์กรชาวบ้านลุ่มน้ำปาว (คอป.)
4. เครือข่ายอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภูค้อ-ภูกระแต จังหวัดเลย
5. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ภาคอีสาน (คอส.)
6. แนวร่วมเกษตรกรภาคอีสาน (นกส.)
7. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ลุ่มน้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี
8. กลุ่มสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมอีสาน (กสส.)
9. กลุ่มดงมูลเพื่อการพัฒนา จังหวัดกาฬสินธุ์
10. เครือข่ายอนุรักษ์ภูผาเหล็ก จังหวัดอุดรธานี
11. กลุ่มภูพานเพื่อการพัฒนา จังหวัดสกลนคร
12. เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยภูมิ
13. กลุ่มประชาชนไทยแวงน้อย-แวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น
14. กลุ่มเยาวชนมิตรภาพ จังหวัดขอนแก่น
15. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์น้ำพรมตอนต้น จังหวัดชัยภูมิ
16. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ลุ่มน้ำบัง จังหวัดนครพนม
17. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ยโสธร จังหวัดยโสธร
18. สหพันธ์เยาวชนอีสาน (สยส.)
19. แนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ (นกน.)
20. ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือตอนล่าง
21. เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมพู จังหวัดพิษณุโลก
22. เครือข่ายส่งเสริมสิทธิการจัดการทรัพยากรภาคเหนือตอนล่าง (คสปล.)
23. สหพันธ์เยาวชนคลองเตย (สยค.)
24. เครือข่ายองค์กรชุมชนคลองเตย
25. เครือข่ายชุมชนเมืองบ่อนไก่ กทม.
26. กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ
27. เครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนเขลาโคก จังหวัดร้อยเอ็ด
28. เครือข่ายองค์กรชาวบ้านนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
29. กลุ่มคนรุ่นใหม่ภาคใต้
30. กลุ่มนักศึกษาภาคเหนือเพื่อประชาธิปไตย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น