ประเทศ ที่ไร้ซึ่งรอยยิ้ม - Land ohne Lächeln
โดย George Blume สำนักข่าว TAZ
29 พฤษภาคม 2553
ระบอบบริหารที่ขึ้นสู่อำนาจโดยการรัฐประหาร ได้ใช้อาวุธปืนยิงมวลชนฝ่ายตรงกันข้าม ฝ่ายผู้ชุมนุมประท้วงได้รับบาดเจ็บมากกว่า 60 คน และเสียชีวิตอย่างน้อย 6 ราย ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงช่างภาพชาวอิตาลีอย่าง ฟาบิโอ โปลันยี ด้วย ขณะที่แกนนำกลุ่มเสื้อแดงก็ถูกลอบยิงโดยพลซุ่มยิง และเสียชีวิตระหว่างการให้สัมภาษณ์กับนักข่าวนิวยอร์กไทม์ สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงพอทำให้พวกเราเกิดความรู้สึกเดือดดาลขึ้นหรือ?
แต่ ในประเทศนี้ ประเทศไทยซึ่งเป็น “แดนแห่งรอยยิ้ม” ของเรา เรายังจำ ชายหาด ต้นมะพร้าว และการบริการอันยอดเยี่ยม พวกชุมชนท่องเที่ยวจีโอ1 ถึงกับกล่าวว่า “ไม่ว่าที่ใดที่เราพบผู้คนในเมืองไทย คุณจะเห็นพวกเขาเต็มไปด้วยรอยยิ้ม” แต่พวกเขาส่วนใหญ่ไม่โกหกก็อยู่กับการหลอกตัวเอง ข้อเท็จจริงที่ว่ากรุงเทพตอนนี้ต้องตกอยู่ภายใต้การหายใจหายคอไม่ออกจากควัน ไฟที่เกิดจากการวางเพลิง อาจทำให้เราประหลาดใจน้อยเท่ากับที่รัฐบาลไทยรู้สึกเช่นกัน
เราปิดตา ตัวเองจากความเป็นจริงในเมืองไทยมาอย่างยาวนาน เราวาดภาพในใจให้ประเทศนี้เสียอย่างสวยงาม…
แต่เมื่อปี 2544 ซึ่เป็นครั้งแรกตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีการเปลี่ยนถ่ายอำนาจอย่างเป็นประชาธิปไตย อันเป็นผู้นำที่เราไม่ได้ชื่นชมมากนัก ซึ่งก็คือของทักษิณ ชินวัตรซึ่งเป็นเศรษฐีเชื้อสายจีนหน้าใหม่ มีทั้งเรื่องการคอรัปชั่นให้เห็น ใช้นโยบายประชานิยม และไม่มีคนเห็นใจมากนัก ชนชั้นนำผู้จงรักภักดีโค่นเขาด้วยการรัฐประหารเมื่อปี 2549 โดยไม่ได้มีผลกระทบกับพวกเรามากนัก
สิ่งนี้แหละควรทำให้เราต้องมี ความละอายจนถึงทุกวันนี้ คุณสามารถเพียงแค่นำเอาระบอบประชาธิปไตยมาให้กับคนไทยผู้เต็มไปด้วยรอยยิ้ม เพียงเพื่อจะรื้อถอนมันออกเมื่อเห็นว่าพวกเขาเลือกคนผิดขึ้นมา – นี่เป็นสิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจน นับแต่เดือนมีนาคมมาเป็นเวลาสองเดือน ผู้คนเหล่านี้ได้เดินขบวนเพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง แต่เป็นเพราะคนเหล่านั้นเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณ การประท้วงนี้จึงไม่ได้รับการสนับสนุนจากนานาชาติ ครั้นแล้ว เมื่อกองทัพยิงพวกเขา องค์กรสิทธิมนุษยชนที่ชื่อ Human Rights Watch ได้ทำการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ แต่ไม่มีรัฐบาลตะวันตกใดประณามประเทศไทย ไม่แม้กระทั่งหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์จะทำการประณามเรื่องอื้อฉาวนี้อย่าง ใหญ่โต เมื่อปรากฏว่าผู้ให้สัมภาษณ์ชาวไทย ซึ่งนักข่าวของพวกเขาทำการสัมภาษณ์อยู่ถูกยิงล้มลงไป และแม้กระทั่งวานนี้บีบีซีก็ถึงกับแสดงความโล่งใจเมื่อความสงบหวนกลับคืนสู่ กรุงเทพ
ทำไมเราถึงอนุญาตให้ประเทศไทยมีรัฐประหาร ในขณะที่เราไม่อนุญาตให้คนอื่นทำได้? บางทีคงเป็นเพราะเราเห็นประเทศไทยเป็นโอเอซิสในยุคหลังอาณานิคมแห่งสุดท้าย ในเอเชีย ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เริ่มทวีศักยภาพทางเศรษฐกิจแซงพวกเรามากขึ้นเรื่อยๆ มันไม่มีคำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผลอะไรเลย สำหรับการเมินเฉยและการอดทนกับเรื่องนี้
พวกตะวันตกคงมองประเทศ ไทยอย่างมีความสุข ในฐานะโอเอซิสยุคหลังอาณานิคมแห่งสุดท้าย
ต้นฉบับ ของบทความนี้เป็นภาษาเยอรมันในชื่อ Land ohne Lächeln ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ทาซในประเทศเยอรมนีเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2553
เกี่ยวกับผู้เขียน :
จอร์จ บลูม (George Blume) : เกิดปี 2506 ที่ฮาโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี เขาเคยอยู่ที่ปารีสก่อนจะมาทำงานให้กับสำนักข่าวทาซ (TAZ) เมื่อปี 2540 เขาอยู่กับภริยาชาวญี่ปุ่นในกรุงปักกิ่ง ซึ่งเขาได้รายงานข่าวที่นั่นให้กับสำนักข่าวทาซ และไทม์ รายงานข่าวของเขามักเกี่ยวข้องกับการทำลายสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิ มนุษยชนในประเทศจีน ด้วยความมุ่งมั่นนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลเสรีภาพในปี 2550
เกี่ยวกับสำนักข่าวทาซ :
สำนัก ข่าวทาซ (TAZ) มีฐานอยู่ในกรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมนี เป็นหนังสือพิมพ์สำหรับปัญญาชนที่เป็นเสรีนิยมเอียงซ้าย หนังสือพิมพ์เล่มนี้ยังรุ่มรวยไปด้วยอารมณ์ขันทำให้หลายคนชื่นชอบอย่างยิ่ง หนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะคล้ายกันคือ Liberation ของฝรั่งเศส
แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Keiko Sei เธอเป็นนักกิจกรรมศิลปะด้านสื่อ เคยมีผลงานเป็นนิตยสารเฉพาะกิจชื่อ Bangkok Documenta No. 1 จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊คส์
เรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดย SIU
หมายเหตุ: SIU เห็นปฏิกิริยาจากสื่อต่างประเทศต่อปรากฎการณ์ 19 พฤษภาคม 2553 ที่น่าสนใจจากสื่อและผู้สังเกตุการณ์จากต่างประเทศ จึงนำมาเสนอตามมุมมองของแต่ละสำนัก สำหรับครั้งนี้เป็นมุมมองค่อนไปทางซ้ายจากสื่อในประเทศเยอรมนี ครั้งต่อไปจะเป็นการนำเสนอบทความจากนักวิเคราะห์ด้านความสัมพันธ์ต่างประเทศ จากองค์กรมันสมองที่มีอิทธิพลกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
เพลงประกอบบทความ "Zombie"
Posted by editor01 at 5/29/2010 02:07:00 ก่อนเที่ยง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น