Posted by editor01
หมายเหตุไทยอีนิวส์: เป็นความเห็นจากชาติมหาอำนาจต่อสถานการณ์ในเมืองไทยที่ต้องการไม่ให้เกิด
เหตุการณ์ ความรุนแรงเพิ่มเติม พร้อมเล็งเห็นว่าการเลือกตั้งเป็นทางออกสำหรับเหตุการณ์
และการตัดสินใจ ที่จะให้อำนาจต่อประชาชนในชนบทของคนเมืองจะเป็นการตัดสินใจ ที่ถูกต้อง
เช่น เดียวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเมื่อปี ค.ศ.1832
LETTER FROM AMERICA “The Failure of Thailand’s Democracy”
http://www.nytimes.com/2010/05/26/world/asia/26iht-letter.html
โดย ริชาร์ด เบิร์นชไตน์
ตีพิมพ์: 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
แปลไทยโดย siam democracy cooperative
http://democoop.wordpress.com/2010/05/30/bernstein250510/#more-41
นิวยอร์ก – หนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้าที่กองทัพไทยจะเข้าสลายการประท้วงต่อต้านรัฐบาลออก จากกรุงเทพฯ และส่งผู้ชุมนุมกลับภูมิลำเนา
ในชนบท ในระหว่างการสรุปข่าวประจำวันของกระทรวงการต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน
นัก ข่าวท่านหนึ่งได้ตั้งคำถามต่อนายฟิลิป เจ โครว์เลย์ โฆษกประจำกระทรวงการต่างประเทศ ว่าสถานการณ์ประชาธิปไตยในประเทศไทยมี “นัยสำคัญในวงกว้าง” หรือไม่
นายโครว์เลย์ตอบว่า “ผมไม่แน่ใจว่าเราจะสามารถให้คำตอบที่ครอบคลุมได้ในขณะนี้ สิ่งที่น่าจะพอสรุปได้ก็คือ
ในสังคมไทยได้มีความแตกแยกระดับพื้นฐานหลาย ประการ
และทางเดียวที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้และพัฒนาไปสู่ประชาสังคมที่ไม่ มีการแบ่ง แยกได้ก็คือการเจรจากันด้วยสันติวิธี”
การที่นายโครว์เลย์ ไม่ต้องการ ให้คำตอบในลักษณะ “ครอบคลุมในวงกว้าง” ในขณะที่การเผชิญหน้าในกรุงเทพฯ
กำลังดำเนินมาถึงจุดแตกหักเมื่อสัปดาห์ ที่ผ่านมา ก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น เหตุการณ์เช่นนี้ได้เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน
และสหรัฐอเมริกาเองก็ มี ประเด็นที่สำคัญเชิงยุทธศาสตร์อื่นๆ อีกหลายประเด็นที่ยังคงต้องจัดการอยู่ในตอนนี้
อย่างไรก็ดี เมื่อดูเหมือนว่าสถานการณ์รุนแรงเฉพาะหน้าจะสิ้นสุดลงแล้ว ณ ขณะนี้ บางทีอาจจะถึงเวลาที่เราจะได้พิจารณา
คำถามของนักข่าวท่านนั้นเกี่ยวกับ นัย สำคัญของประชาธิปไตยในประเทศไทย และต่อไปนี้เป็นความพยายามของผมที่จะตอบคำถามนี้:
ในมุมมองของผู้ อยู่ห่างไกลจากเหตุการณ์ถึงสหรัฐอเมริกา เหตุความวุ่นวายในกรุงเทพฯ นั้นเป็นเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญและน่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่ามันได้แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของตัวแบบประชาธิปไตยที่สหรัฐ อเมริกาได้ทำการส่งเสริมสนับสนุนอยู่เสมอมา ไม่เพียงในประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น แต่รวมถึงในประเทศต่างๆ ทั่วโลกด้วย
และเมื่อพิจารณาว่าทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ของประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทย ซึ่งรวมถึงประเทศจีน พม่า
และเวียดนาม ล้วนแต่ยึดระบอบการปกครองที่รวบอำนาจเบ็ดเสร็จไว้โดยพรรคการเมืองเพียงพรรค เดียว
แนวทางจัดการด้วยวิถีทางประชาธิไตยในเอเชียจึงดูจะขาดประสิทธิภาพ และไร้ เสถียรภาพ
นายโรเบิร์ท ดี แคปแลน นักเขียนและสมาชิกอาวุโสขององค์กร Center for a New American Security ได้ตั้งคำถาม
ในขณะที่วิกฤติการณ์ในประเทศไทยกำลังพัฒนาไปสู่จุดแตกหัก ว่า
“ใครกันแน่ที่ได้ประโยชน์จากการที่รัฐไทยอ่อนแอและและแตกแยกมาก ขึ้น?” คำตอบของเขาคือประเทศจีน
“ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยนับเป็นปราการสำคัญของสหรัฐอเมริกาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยถือว่า
มีความแข็งแรง มั่นคง และเป็นประเทศเจ้าภาพที่เชื่อถือได้ของกองทัพสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้มีการจัดฝึกอบรมร่วมกับกองทัพไทยทุกๆ ปี ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่สหรัฐอเมริกาให้ความเชื่อถือและมีความร่วมมือมาก ที่สุดในภาคพื้นนี้นับตั้งแต่ช่วงสงครามเวียดนาม
ดังนั้นเมื่อรัฐไทย กำลังอ่อนแอลงอย่างมากถึงขนาดที่เราไม่สามารถจะเพิกเฉย ได้อีกต่อไป
สิ่ง ที่ผมขอเรียกว่า การคืบคลานอันแยบยลของประเทศจีนที่จะครอบคลุมภูมิภาคนี้ ก็กำลังเดินหน้าอย่างรวดเร็ว”
แน่นอนว่าประชาธิปไตยในประเทศไทยไม่ เคยที่จะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น หรือมีเสถียรภาพอย่างสมบูรณ์ เหตุการณ์อย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ได้เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว ประชาธิปไตยของไทยถูกทำให้อ่อนแอลงจากปัญหาการทุจริตในทุกระดับ รวมถึงการซื้อเสียงที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในเขตชนบท
แต่ที่ผ่าน มายังคงมีพระมหากษัตริย์ที่แข็งแกร่งและเป็นที่เคารพเทิดทูนของคนไทย ผู้ซื่งมีบทบาทถ่วงดุลย์และรักษาเสถียรภาพในสังคมได้ นอกจากนั้น ก็ยังคงมีกองทัพที่แม้ว่าในบางครั้งอาจจะไม่ได้สมัครใจนัก แต่ก็พร้อมจะเข้ายึดอำนาจเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้
สถานการณ์ ในประเทศไทยปัจจุบันมีความแตกต่างออกไป เมื่อพระมหากษัตริย์ผู้มีพระชนมายุ 82 พรรษา ทรงพระประชวรมาระยะหนึ่งแล้ว
นายคาร์ล ดี แจ็คสัน หัวหน้าภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา School of Advanced International Studies แห่งมหาวิทยาลัยจอห์นส ฮอบกินส์ กล่าวว่า “ประเทศไทยโดยเนื้อแท้แล้วมีระบบซึ่งกลุ่มชนชั้นนำในกรุงเทพฯ จะยอมรับรัฐบาลที่ได้รับเลือกจากกลุ่มคนในชนบท ตราบเท่าที่กลุ่มชนชั้นนำในกรุงเทพฯ นั้นสามารถตัดสินใจได้ว่ารัฐบาลดังกล่าวจะถูกขับออกไปเมื่อไรก็ได้” นายแจ็คสันกล่าวต่ออีกว่า “ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2535 จนถึง พ.ศ.2544 รัฐบาลผสมที่อ่อนแอหลายรัฐบาลมักถูกขับออกไป เมื่อมีการทุจริตกันอย่างน่ารังเกียจจนเกินไป”
ดูเหมือนว่าระบบที่ เคยเป็นมาได้ถูกสั่นคลอนอย่างถาวรโดยการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ที่นายทักษิณ ชินวัตร ได้รับเลือกตั้งขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี นายทักษิณมีลักษณะเป็นนักประชานิยมที่มีบุคลิกภาพโดดเด่นแบบที่บางครั้ง สามารถเกิดขึ้นได้ในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่ขาดความแน่นอน นายแจ็คสันเปรียบเทียบนายทักษิณ ว่าเป็นเสมือน นาย Huey P. Long ผู้ว่าการรัฐหลุยเซียน่า ในช่วงยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ผู้ซึ่งต่อมาได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาและได้รับความชื่นชมจากกลุ่มผู้สนับสนุน ของเขาเป็นอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันก็ถูกฝ่ายตรงข้ามมองว่าเป็นผู้ที่พร้อมจะก้าวไปสู่การเป็น เผด็จการ
การเปรียบเทียบนาย Long กับทักษิณนี้ดูจะเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง นายทักษิณเคยเป็นและยังคงเป็นที่นิยมในกลุ่มคนชนบทที่ยากจนซึ่งเป็นฐานสำคัญ ของการประท้วงในกรุงเทพฯ ที่ผ่านมานี้ ขณะที่กลุ่มอำนาจหลักในสังคมไทยมองว่านายทักษิณเป็นผู้ทุจริต หว่านซื้อเสียงจากคนในชนบท และเป็นภัยคุกคามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
และ ด้วยเหตุนี้ กลุ่มที่อ้างอิงกันทั่วไปว่ากลุ่มชนชั้นนำในกรุงเทพฯ จึงได้ทำการยึดอำนาจจากนายทักษิณในพ.ศ.2549 และได้ก่อให้เกิดสภาวะทางตันทางการเมืองซึ่งดำเนินต่อมาจนทุกวันนี้
นาย แจ็คสันกล่าวถึงสภาวะทางตันนี้ว่า “ปัญหาพื้นฐานที่สำคัญของระบบการเมืองไทยคือ อำนาจเงินตราส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ในขณะที่ส่วนใหญ่ของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งอยู่นอกกรุงเทพฯ”
มี ทางออกหรือไม่?
ความเป็นไปได้อย่างหนึ่งคือ กลุ่มหลัก 2 กลุ่มในระบบการเมืองไทย กล่าวคือ กลุ่มชนชั้นนำในกรุงเทพฯ และเสียงส่วนใหญ่ในชนบท จะต้องเรียนรู้จากความรุนแรงที่เพิ่งเกิดขึ้น และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้รุนแรงน้อยลง แม้ว่ามันอาจจะหมายรวมถึงว่ารัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณหรือรัฐบาลที่คล้ายคลึง กับรัฐบาลทักษิณอาจจะได้รับเลือกขึ้นมาอีกครั้งในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
นาย แจ็คสันกล่าวว่า “สิ่งที่คนไทยประสบอยู่ตอนนี้เป็นเหมือนสิ่งที่คนอังกฤษได้เคยประสบมาในปี พ.ศ. 2375 (ค.ศ.1832) เมื่อกลุ่มชนชั้นสูงในอังกฤษต้องตัดสินใจว่า ‘เราจะขยายขอบข่ายของอำนาจที่แท้จริงในสังคมให้กับกลุ่มคนที่ไม่เหมือนเรา หรือไม่’ … ชาวอังกฤษได้ทำการตัดสินใจที่ถูกต้อง แล้วคนไทยล่ะ จะสามารถตัดสินใจเลือกได้ถูกต้องหรือไม่ หากกรุงเทพฯ ไม่สามารถหาวิธีที่ประนีประนอมในการจัดสรรการใช้อำนาจได้แล้ว ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและแม้กระทั่งความรุนแรงก็อาจจะยังดำเนินต่อไป”
ถึงแม้ว่าในอดีตนายแคปแลนได้เคยวิพากษ์วิจารณ์ หลักการของสหรัฐอเมริกาที่มอง ว่า ประชาธิปไตยแบบตัวแทนนั้นดีสำหรับทุกๆ คน นายแคปแลนยังคงเชื่อว่าทางเลือกที่ดีทางเดียวของประเทศไทยนั้นคือ “ความเป็นประชาธิปไตยที่มากกว่าเดิม”
นายแคปแลนกล่าวว่า “ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในสภาพที่แย่นัก … ไม่มีความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ที่รุนแรง มีสำนึกเกี่ยวกับอัตลักษณ์ความเป็นชาติอยู่ มีช่องทางเศรษฐกิจมากมาย ไม่ว่านายทักษิณจะเลวร้ายซักแค่ไหน ภายหลังจากสถานการณ์ได้คลี่คลายลงบ้างแล้ว ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากเดินหน้าต่อไปด้วยการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ ขึ้นมา และจะต้องยอมปล่อยให้ผลเป็นไปตามที่มันเป็น”
อย่างไรก็ตาม นายแคปแลนกล่าวเสริมว่า ประเทศไทยอาจจะอ่อนแอ ขาดความแน่นอน และได้รับความเชื่อมั่นน้อยลงกว่าในอดีต และนั่นย่อมไม่ส่งผลดีต่อการดำเนินการทางการเมืองที่สหรัฐอเมริกาให้การสนับ สนุนตลอดเวลาที่ผ่านมา
http://thaienews.blogspot.com/2010/05/blog-post_3959.html
รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน
แดงเชียงใหม่
กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม
เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน
"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"
.
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"
.
วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
LETTER FROM AMERICA “The Failure of Thailand’s Democracy”
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น