รายงานพิเศษ
การชุมนุมประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นข่าวใหญ่ในต่างประเทศ
การปะทะ การก่อการร้ายโดยไอ้โม่ง ที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต ซึ่งมีทั้งผู้สื่อข่าวต่างชาติ นักท่องเที่ยว รวมไปถึงคนไทยด้วยกันเอง
วันนี้ข่าวการชุมนุมจึงเป็น "ประเด็นร้อน" ให้คนทั่วโลกจับตามองอย่างใกล้ชิด
สื่อหลาย สำนักส่งนักข่าว ช่างภาพ เข้ามาเกาะติดสถานการณ์รายงานเหตุการณ์ ที่ย่านราชประสงค์
นักข่าวหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ซึ่งมาพร้อมกับนักข่าวไทย
ทำหน้าที่แปลภาษาและหาข่าว กล่าวว่า การหาข่าวของหนังสือพิมพ์นั้น
มีกระบวนการคล้ายกับหนังสือพิมพ์ไทย ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นปฏิบัติกัน
คือการเก็บข้อมูลตามการ แถลงข่าวหรือสัมภาษณ์โดยตรงทั้งจากผู้ชุมนุมและรัฐบาล โดยมุ่งเน้นให้พื้นที่ทั้งสองฝ่ายเท่าเทียมกัน นำเสนอแต่ข้อเท็จจริงโดยปราศจากความเห็น
นิวยอร์กไทมส์ หนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลของอเมริกา เน้นการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหน่วยราชการที่เชื่อถือได้และมีความเป็น กลาง โทรศัพท์สายตรง การบันทึกบทสัมภาษณ์
รวมถึงพิจารณาการลงข่าวที่มี ความสุ่มเสี่ยง ด้วยการอ่านบทวิเคราะห์จากนักวิชาการทั้งจากไทยและต่างประเทศเพื่อประกอบการ ตัดสินใจเผยแพร่ข่าว แต่ไม่เน้นประจักษ์พยานและข่าวลือที่ไม่มีหลักฐานยืนยันเพราะอาจคลาดเคลื่อน จากข้อเท็จจริง
"นโยบายของนิวยอร์กไทมส์ คือผู้สื่อข่าวไม่มีสิทธิแสดงความคิดเห็นทั้งในข่าว
และเป็นการส่วนตัว ไม่ว่ากรณีใดๆ เราเพียงแต่นำเสนอข้อเท็จจริงล้วนๆ ที่ได้มาจากทั้งสองฝ่ายในพื้นที่ข่าวใกล้เคียงกัน ซึ่งถือเป็นการเคารพสิทธิการรับรู้ข่าวสารของผู้อ่าน" นักข่าวอเมริกันกล่าว
นักข่าวคนเดียวกัน กล่าวต่อว่า หากนักข่าวเห็นเหตุการณ์ด้วยตาตนเองและมั่นใจในข้อเท็จจริง จะระบุชื่อของตัวเองกำกับข้อความในข่าว เพื่อรับผิดชอบกรณีเกิดความเสียหายตามมา
นอกจากนี้ นิวยอร์กไทมส์ ยังมีส่วนของข่าวและบทความวิเคราะห์ซึ่งแยกกันอย่างชัดเจนเพื่อป้องกันความ สับสนของผู้อ่าน
ด้าน ผู้สื่อข่าวอิสระจากหนังสือ พิมพ์ท้องถิ่นของออสเตรเลีย
ซึ่งใช้ชีวิตในประเทศไทยมากว่า 3 ปี กล่าวว่า หาข้อมูลข่าวมาจากเครือข่ายทางสังคมในอินเตอร์เน็ต
อย่าง เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือบล็อกของนักข่าวไทย ซึ่งเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ
รวม ถึงข้อความสั้นหรือเอสเอ็มเอสจากสำนักข่าวไทย และประจักษ์พยาน บางครั้งก็เดินทางมางานแถลงข่าวที่เวทีผู้ชุมนุมเสื้อแดง สัมภาษณ์แกนนำเพื่อนำข่าวไปเผยแพร่
"ผมไม่ใช้หน่วยงานราชการเป็น แหล่งข่าว เพราะหน่วยงานราชการไม่ให้ความสนใจสื่อท้องถิ่นอย่างผม และยังอ้างอุปสรรคเรื่องภาษามาบ่ายเบี่ยง ราชการเอาใจแต่สำนักข่าวใหญ่ๆ และไม่ชอบสื่อต่างชาติเพราะยิงคำถามจี้ใจดำ" ผู้สื่อข่าวอิสระกล่าว
สอบ ถามว่า ตรวจสอบความถูกต้องของข่าวหรือไม่ ผู้สื่อข่าวจากประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า จะสอบถามจากเพื่อนชาวไทย และนักข่าวต่างชาติที่มาทำข่าวด้วยกัน นอกจากนี้ยังอ่านความคิดเห็นจากเว็บบอร์ดเพื่อประกอบการตัดสินใจลงข่าวอีก ด้วย
"กรณีโรงพยาบาลจุฬาฯ ที่ผู้ชุมนุมเสื้อแดงเข้ายึดครองพื้นที่นั้น ผมเห็นว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องเพราะถือเป็นการป้องกันตัวจากทหารที่แอบ ซ่อนตัวอยู่ในโรงพยาบาล รอเวลาสลายการชุมนุม" นักข่าวออสเตรเลียให้ความเห็น
และ กล่าวต่อว่า
การที่รัฐบาลประกาศเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ย. เป็นเพียงการซื้อเวลา หลอกลวงผู้ชุมนุม เพราะเมื่อถึงเวลาหากรัฐบาลไม่ยุบสภาจริงก็ไม่มีใครสามารถทำอะไรได้
เนื่อง จากแกนนำทั้งหมดคงถูก "เช็กบิล" ไปแล้ว
"ผมเห็นว่าการเลือกตั้งจะ ไม่เกิดขึ้นจริง และจะไม่มีใครสามารถหยุดรัฐบาลได้อีก เพราะการชุมนุมแต่ละครั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล การชุมนุมครั้งนี้ผู้สนับสนุนคนเสื้อแดงหมดเม็ดเงินไปจำนวนมาก ดังนั้น คงยากที่จะเสี่ยงด้วยวิธีเดิมอีกครั้ง" นักข่าวชาวออสเตรเลียกล่าวทิ้งท้าย
เคน นักข่าวจากสำนักข่าวชั้นแนวหน้าของญี่ปุ่น ระบุว่า
นโยบายการเก็บ ข้อมูลของสำนักข่าวคือ การร่วมงานแถลงข่าว สัมภาษณ์ประจักษ์พยาน รวมทั้งติดตามข่าวสารจากทั้งแกนนำผู้ชุมนุมเสื้อแดงและรัฐบาล
รวม ทั้งสำรวจทิศทางข่าวที่สื่อมวลชนท้องถิ่นรายงาน ทั้งนี้ มีการตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานราชการ การสอบถามแหล่งข่าวที่หลากหลายและจากสำนักข่าวไทย กรมประชาสัมพันธ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรงที่สุด
"พวก เราไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงความเห็นทางการเมือง
และนักข่าวที่ดีก็ไม่ควร แสดงความคิดเห็นอยู่แล้ว นอกจากนี้ส่วนหนึ่งพวกเรายังเป็นสื่อต่างชาติ
ิที่ ขาดความรู้ความเข้าใจอันลึกซึ้งในการเมืองของประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองในไทย ซึ่งมีประชาธิปไตยแบบไทยๆ เข้าใจยาก
พวก เราจึงไม่ขอวิจารณ์" นายเคนกล่าว
เมื่อถามถึงกรณี นาย
เคนให้ความเห็นว่าไม่คิดว่าเป็นการจงใจสังหารเพื่อ อำพรางคดีแต่อย่างใด คิดว่าเป็นอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนตัวตนได้รับข่าวที่นักข่าวญี่ปุ่นเสียชีวิตขณะรายงานข่าวในหลายประเทศ อยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องน่าแปลก
ด้านความเป็นอยู่ของชาวญี่ปุ่นใน ประเทศไทย เคน ระบุว่าปกติชาวญี่ปุ่นที่มาอาศัยในประเทศไทย มักอาศัยในย่านสีลมและราชประสงค์ซึ่งเป็นจุดที่เกิดการชุมนุมพอดี นักธุรกิจญี่ปุ่นหลายคนตื่นกลัว และถอนการลงทุนกลับประเทศทันที ที่ได้ยินข่าว และมีความเป็นไปได้ที่จะย้ายประเทศลงทุน
"คนญี่ปุ่น มักรู้จักย่านสีลม ย่านราชประสงค์ และเมื่อทราบข่าวว่ามีเหตุการณ์ชุมนุม
และ มีการปะทะอย่างรุนแรงในพื้นที่แถบนี้ก็จะตื่นตกใจกว่าปกติ ยิ่งเมื่อรัฐบาลไทยประกาศให้พื้นที่แถบนี้เป็นเขตเฝ้าระวังพิเศษ
ก็ยิ่ง เพิ่มความหวาดกลัวให้ชาวญี่ปุ่นขึ้นไปอีก" นาย
เคน กล่าวด้วยว่า สื่อในประเทศไทยที่เผยแพร่เป็นภาษาญี่ปุ่นมีน้อย ทำให้ชาวญี่ปุ่นรู้สึกไม่ปลอดภัย
เมื่อถามถึงความเห็นในการเสนอข่าว ของสื่อมวลชนต่างชาติโดยทั่วๆ ไป นำเสนอข่าวอย่างมีอคติหรือไม่
เคน ให้ความเห็นว่า ไม่ใช่สื่อต่างชาติทุกสื่อจะมีความเป็นกลาง ปราศจากอคติ
เนื่อง จากสื่อมวลชนเองมีความรู้สึก มีความคิดเห็น และอาจสอดแทรกเข้าไปในข่าวสารของตนเองได้ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว
ดัง นั้น ผู้บริโภคข่าวสารจึงไม่ควรสรุปว่าสื่อต่างชาติทุกสำนักเป็น กลางเพราะไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
แนวทางนำเสนอข่าวที่ดีที่สุด คือการเสนอข่าวทั้งสองข้างด้วยพื้นที่เท่าๆ กัน ด้วยข้อเท็จจริง
ซึ่ง สามารถตรวจสอบได้
ทางด้าน ราเชล ฮาร์วี่ย์ ชาวอังกฤษ ผู้สื่อข่าวจาก สำนักข่าวบีบีซีในประเทศไทย กล่าวว่า การหาข้อมูลของนักข่าวบีบีซีก็คล้าย การหาข้อมูลของนักข่าวสำนักอื่น คือออกภาคสนามไปสัมภาษณ์แหล่งข่าวเอง
รวม ถึงการฟังข้อมูลจากทั้งสองฝ่าย ทั้งทางฝ่ายรัฐบาล ผ่านทางแถลงข่าวโทรทัศน์ หรือรัฐ บาลเรียกสำนักข่าวเข้าไปชี้แจง
ฟังทางผู้ชุมนุมเสื้อแดง ผ่านการ สัมภาษณ์ในพื้นที่โดยตรงและเก็บข้อมูลจากเวทีปราศรัย นอกจากนี้ ยังสอบถามเหตุการณ์จากประจักษ์พยาน ต่อสายสัมภาษณ์เพิ่มเติมจากแกนนำหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง หากมีอุปสรรคด้านภาษาจะจัดหาล่ามมาช่วยแปล
มีการตรวจสอบข้อมูลอีก ครั้งด้วยการโทรศัพท์ตรวจสอบกับทางหน่วยราชการ
หรือสอบถามแหล่งข่าวหลาย แหล่ง และอ้างชื่อแหล่งข่าวในกรณีที่สุ่มเสี่ยง
เมื่อถามถึงกรณี สำนักข่าวต่างประเทศหลายฉบับรวมทั้งสำนักข่าวบีบีซี ลงข่าวเหตุการณ์วันที่ 28 เม.ย. ซึ่งเกิดเหตุปะทะระหว่างคนเสื้อแดง กองกำลังทหารและตำรวจ หน้าอนุสรณ์สถานจนเป็นเหตุให้ทหารนายหนึ่งเสียชีวิต
โดยบีบีซีรายงาน สาเหตุการเสียชีวิตว่าเกิดจากการ "ยิงกันเอง"
ราเชล ซึ่งร่วมรายงานข่าวนี้ด้วย กล่าวว่า "ฉันเขียนในข่าวอย่างชัดเจนโดยใช้คำว่า "คาดการณ์ว่า" และตรวจสอบข้อมูลจากทางการทหารและตำรวจก่อนลงข่าวแล้ว ดังนั้น เนื้อข่าวจึงออกมาในลักษณะการคาดการณ์เพื่อแสดงความคืบหน้า ซึ่งหากมีข้อมูลใหม่เพิ่มเติมก็พร้อมจะเปลี่ยนแปลงต่อไป"
ราเชล ยังกล่าวว่า แหล่งข่าวของเธอนอกจากจะเป็นผู้ชุมนุม และรัฐบาลโดยตรงแล้ว ยังอาจเป็นนักวิชาการชาวต่างประเทศ ที่จัดแถลงข่าวหรือจัดสัมมนาเรื่องนี้
แต่ หากเป็นงานสัมมนาที่ใช้ภาษาไทย เธอจะให้ล่ามภาษาไทยช่วยแปลเหมือนการทำข่าวทั่วไป
สำนักข่าวบีบีซี มีนโยบายไม่อนุญาตให้นักข่าวออกความคิดเห็นทางการเมืองไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งในข่าวและเป็นการส่วนตัว ดังนั้น เธอจึงปฏิเสธที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับความเห็นที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมือง ทั้งหมดในไทย
สุดท้าย ราเชล เชื่อว่าประชาชนในประเทศไทยทุกฝ่ายจะตกลงกันได้โดยสันติวิธี
และ หวังว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายต่อไป
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2Iyd3dNVEV4TURVMU13PT0=§ionid=TURNd05BPT0=&day=TWpBeE1DMHdOUzB4TVE9PQ==
รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน
แดงเชียงใหม่
กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม
เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน
"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"
.
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"
.
วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
พื้นที่ ข่าว"เสื้อแดง"ในสื่อต่างประเทศ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น