Fri, 05/07/2010 - 00:10 | by ฅน ดอยแดง | Vote to close topic
วันที่ 07 พฤษภาคม พ.ศ. 2553....ข่าวสดรายวัน
ศาลอาญา ระหว่างประเทศ
คอลัมน์ คอลัมน์ที่13
สัปดาห์ที่ผ่านมา "ศูนย์สิทธิมนุษยชนเอเชีย" (เอซีเอชอาร์) ออกแถลงการณ์เตือนรัฐบาลไทย ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า
แม้รัฐบาลไทยยังไม่ได้ให้ "สัตยาบัน" ใน "ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ" (ไอซีซี)
แต่กลไกสิทธิมนุษยชนทั้งระดับในประเทศและนานาชาติสามารถยื่นเรื่องต่อไอ ซีซี ขอให้เปิดการพิจารณาคดีรัฐบาลใช้กำลังทหารยิงปราบปรามประชาชนได้เช่นกัน
ศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ "ไอซีซี" (International Criminal Court) มีสถานะเป็น "องค์การระหว่างประเทศ" ที่ถือกำเนิดขึ้นโดยธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ตั้งอยู่ ณ นครเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
โดยมีเจตนารมณ์ตั้งขึ้นเพื่อจะนำตัว "ผู้กระทำความผิดทางอาญาระหว่างประเทศมาลงโทษ" ด้วยความร่วมมือกันของประชาคมระหว่างประเทศ
ซึ่งไทยได้ลงนามรับรองธรรมนูญกรุงโรมฯ ดังกล่าวแล้ว แต่ยังไม่ได้ให้ "สัตยาบัน" เพื่อผูกพันเป็นภาคีอย่างเป็นทางการ
เกรียงศักดิ์ แจ้งสว่าง นบ.นม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขากฎหมายระหว่างประเทศ อธิบายถึงหลักการสำคัญของไอซีซี ว่า
ไอซีซีมีอำนาจพิจารณาคดีเฉพาะปัจเจกบุคคลกระทำความผิด ซึ่งไม่ใช่การกระทำของรัฐ ได้แก่ อาชญากรรมร้ายแรงที่สุดที่สังคมระหว่างประเทศได้กำหนดห้ามไว้ และเกิดขึ้นภายหลังวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2545 เป็นต้นไป อันได้แก่
- การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หมายถึง การกระทำที่มีเจตนาทำ ลายล้างทั้งหมด หรือบางส่วนของกลุ่มชนชาติ ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ หรือกลุ่มทางศาสนา
- อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ หมายถึง การกระทำใดๆ ที่เป็นการโจมตีอย่างกว้างขวาง หรือเป็นระบบที่มีเป้าหมายโดยตรงต่อประชาชนพลเรือน เช่น การฆาตกรรม การทำลายล้าง การเนรเทศ หรือการบังคับพลเรือนให้โยกย้าย การทรมาน ข่มขืนกระชำเรา ฯลฯ
- อาชญากรรมสงคราม ได้แก่ ทั้งสงครามระหว่างประเทศและสงครามกลางเมือง รวมถึงการดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนร่วมในการวางแผน หรือการกระทำที่ส่งผลต่อทหารและพลเรือนจำนวนมาก เช่น การปฏิบัติอย่างไร้มนุษย ธรรมต่อเชลยศึก การใช้แก๊สพิษ การโจมตีเป้าหมายพลเรือน เป็นต้น
- ความผิดฐานการรุกราน ซึ่งหลายประเทศคัดค้าน รวมถึงรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพราะเกรงว่าจะไปผูกโยงกับปฏิบัติการทางทหารในต่างประเทศของตน
อำนาจของไอซีซีข้างต้นต้องตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐาน 3 ประการคือ
1.ไม่มีผลย้อนหลังของความผิด
2.ไม่ปล่อยให้ผู้กระทำความผิดลอยนวล เพราะหลายต่อหลายเหตุการณ์ที่ผู้กระทำความผิดต่อมวลมนุษยชาติไม่ได้รับการลง โทษ เช่น กรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา หรือการเข่นฆ่าประชาชนในภาวะความขัดแย้งทางการเมือง
3.การพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม
ธรรมนูญกรุงโรมฯ กำหนดเงื่อนไขในการที่ไอซีซีจะพิจารณาคดีเบื้องต้น คือ รัฐนั้นๆ ต้องให้สัตยาบันแก่ธรรมนูญศาล นอกจากนี้ ยังมีเงื่อนไขอื่นๆ เช่น คู่กรณีที่เกี่ยวข้องฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐคู่สัญญา ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้มีสัญชาติของรัฐคู่สัญญา อาชญากรรมได้กระทำบนดินแดนของรัฐคู่สัญญา เป็นต้น
นอกจากนี้ รัฐที่ไม่ใช่รัฐคู่สัญญา อาจตกลงยอมรับเขตอำนาจศาลในคดีอาชญากรรมที่กระทำบนดินแดนของตน หรือโดยคนสัญชาติตนก็ได้
รัฐบาลไทยเข้าข่ายหรือไม่เข้าข่ายกับหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
เนื้อหาใน นสพ.ผมเอามาจากพันทิพครับ จากจาก คุณ : @^0^@
By Robert Horn. Wednesday, May 05,2010
http://www.time.com/time/world/article/0,8599,1987118,00.html
The troops were in place. Armored personnel carriers were at the ready. It was clear the crackdown was finally coming. At the start of the seventh week of anti-government demonstrations in the Thai capital of
ทหารพร้อม เครื่องป้องกันเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติการ มันชัดเจนว่าการสลายการชุมนุมกำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า การชุมนุมประท้วงรัฐบาลในใจกลางย่านธุรกิจของเมืองหลวงของประเทศไทยย่างเข้า สู่สัปดาห์ที่ 7 ในขณะที่หน่วยรักษา ความปลอดภัยพร้อมที่จะขับไล่กลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งตั้งกำลังอยู่ภายในสิ่งกีด ขวางที่พวกเขาสร้างขึ้น กลุ่มคนเสื้อแดงที่มีอาวุธพร้อม ทั้งระเบิดมือ ปืนไรเฟิล และอาวุธชนิดอื่นๆ ปฏิญาณที่จะต่อสู้ถึงที่สุด นี่ดูเหมือนว่าการนองเลือดจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น และหากเป็นเช่นนั้นจริงๆ การสูญเสียใหญ่หลวงคงจะหนีไม่พ้นที่จะเกิดกับใครก็ตามที่ออกคำสั่งในกองทัพ รวมถึงบุคคลคนหนึ่งที่ได้ชื่อว่าดาวเด่นในทางการเมือง คือ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
"In
“ใน ประเทศไทย มีคำกล่าวว่า จะต้องไม่เกิดการบาดเจ็บ สุญเสียชีวิต เมื่อมีการสลายการประท้วง” คุณ อภิสิทธิ์กล่าวขณะให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศเมื่อสุดสัปดาห์ที่ ผ่านมา การสัมภาษณ์ใช้สถานที่ในบริเวณกองทหารด้านเหนือของกรุงเทพ เพราะเหตุผลด้านความปลอดภัย และท่านนายหรัฐมนตรีได้ใช้พื้นที่ของทางทหารในการทำงานและพักอาศัยมาตั้งแต่ เริ่มมีการชุมนุมประท้วงเมื่อวันที่ 14 มีนาคม
The irony was obvious. Previous Thai leaders who presided over crackdowns were military men, such as General Suchinda Kraprayoon and Field Marshal Thanom Kittikachorn. The resulting bloodshed led to their resignations and exile. Abhisit, a student of history and a firm believer in democratic values, who has never served in the military, had no desire to join their ranks. His opponents, however, had already consigned him there, branding him a tyrant and demanding that he quit. Even some supporters, believing his handling of the protests was weak, were calling on him to quit. Despite the perilously fine line he was walking, Abhisit remained calm and composed as he detailed his dilemma. "The public's patience is running out. We have to enforce the law," he said. "But we would rather not have to use violence or have a confrontation." (See pictures of
สิ่งที่จะเกิด ขึ้นนั้นเคยเป็นที่ ประจักษ์ชัดเจนมาแล้ว ในอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยหลายคนที่มาจากทางฝ่ายทหาร อาทิ พลเอก สุจินดา คราประยูร และจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อเกิดการนองเลือด จะตามมาด้วยการที่ผู้นำต้องลาออกและหลบหนีออกจากประเทศ แต่สำหรับคุณอภิสิทธิ์ ผู้ซึ่งศึกษาประวัติศาสตร์มาถ่องแท้และยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นในคุณค่าของ ระบอบประชาธิปไตย และถึงแม้จะไม่เคยรับราชการในกองทัพแต่คุณอภิสิทธิ์ก็ไม่เคยสนใจที่จะร่วม สังฆกรรมด้วยการทำแบบนั้น อย่างไรก็ตามฝ่ายตรงข้ามคุณอภิสิทธิ์ก็เหมารวมให้ท่านนายก
แม้แต่คนที่สนับสนุนคุณอภิสิทธิ์ เองก็ ยังเชื่อว่า วิธีการการจัดการกับผู้ชุมนุมประท้วงของท่านนายกนั้นอ่อนแอเกินไป และขอให้ท่านลาออกเช่นกัน แต่แม้จะเดินอยู่บนเส้นด้ายที่อันตรายอย่างยิ่ง คุณอภิสิทธิ์ก็ยังอยู่ในอาการสงบขณะที่พูดถึงภาวะที่ยากลำบากนี้ว่า “ความอดทนของประชาชนส่วนใหญ่กำลังจะหมดลง เราต้องบังคับใช้กฎหมายให้ได้” เขากล่าว “แต่เราเลือกที่จะไม่ใช้ความรุนแรง หรือการเผชิญหน้า” (ขอให้ดูภาพของกลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดง)
And so, on Tuesday evening, Abhisit made the Red Shirts a final offer of peace. The protesters are mainly supporters of former Prime Minister Thaksin Shinawatra, who was ousted in a 2006 military coup and lives abroad rather than serve a prison sentence for a corruption conviction. Many are from the lower classes and want Thaksin back in power, believing he is the only politician who cares about them. They see the Oxford-educated Abhisit as an elitist. Speaking on national television, Abhisit, whose term runs until the end of 2012, offered to hold national elections on Nov. 14 — if a five-point road map to achieve national reconciliation that he unveiled could be achieved without disruption or violence from opponents. Among the five points is a plan to build a social-welfare system for the poor.
ดังนั้น ในตอนเย็นของวันอังคารที่ผ่านมา คุณอภิสิทธิ์ได้ยื่นข้อเสนอสุดท้ายเพื่อความสันติต่อกลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่ม ผู้ประท้วงซึ่งเป็นผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกล้มอำนาจในปี 2006 โดยคณะปฏิวัติ และเลือกที่จะอาศัยอยู่นอกประเทศมากกว่าที่จะยอมติดคุกด้วยคำตัดสินของศาลใน ข้อหาคอร์รัปชั่น กลุ่มผู้ประท้วงหลายคนมาจากชนชั้นล่าง พวกเขาต้องการให้ทักษิณกลับมามีอำนาจอีก ด้วยเชื่อว่าทักษิณเป็นนักการเมืองคนเดียวที่อาทรห่วงใยพวกเขา
กลุ่ม ผู้ประท้วงเห็นว่า นักเรียนนอกที่จบมาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดอย่างคุณอภิสิทธิ์เป็นพวกชนชั้น ที่มีอภิสิทธิ์ในสังคม นายกอภิสิทธิ์ซึ่งยังเหลือเวลาในการดำรงตำแหน่งจนถึงสิ้นปี 2012 ได้กล่าวปราศัยทางโทรทัศน์ว่าจะจัดให้มีการ เลือกตั้งในวันที่ 14 พฤศจิกายน – หากโร๊ดแมพ 5 ประการของแผนการปรองดองแห่ง ชาติ สามารถบรรลุไปได้อย่างที่ตั้งใจโดยไม่มีข้อปัญหาอื่นๆ หรือความรุนแรงจากฝ่ายตรงข้ามเกิดขึ้นอีก และหนึ่งในแผนตามโร๊ดแมพของท่านนายก คือ การสร้างหลักประกันทางสังคมให้กับคนยากจน
Reactions from opposition politicians were positive. "It is now evident that the Prime Minister has embarked on the right course," said Chavalit Yongchaiyudh, leader of the Puea Thai Party. Even Thaksin, in a phone interview with Thai journalists, said the timing was good for the Red Shirts to accept the Prime Minister's offer.
ปฏิกิริยา ของนักการเมืองฝ่ายค้านค่อนข้างจะอยู่ในด้านบวก “ตอนนี้ท่านนายกรัฐมนตรีเดินมาถูกทางแล้ว” พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคเพื่อไทยกล่าว และแม้แต่ทักษิณเองในการให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับผู้สื่อข่าวไทยเองก็ยัง พูดว่า ตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่คนเสื้อแดงจะรับข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี
And yet on Wednesday evening, Red Shirt leaders refused to send the protesters home. While they said they welcomed the road map, they demanded that Abhisit guarantee a date to dissolve the parliament, then began issuing more demands and launching furious tirades against the Prime Minister. But with their numbers down and their reputation suffering as
ในเย็นวันพุธ แกนนำของกลุ่มคนเสื้อแดงก็ยังปฏิเสธที่จะส่งคนเสื่อแดงกลับภูมิลำเนา แม้แกนนำเหล่านั้นจะพูดว่าเห็นด้วยกับข้อเสนอ พวกเขาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ให้ความชัดเจนในเรื่องวันที่จะยุบ สภา ก่อนที่จะเริ่มเปิดประเด็นการเรียกร้องมากขึ้นพร้อมๆกับกล่าวโจมตีนายก รัฐมนตรีอย่างเผ็ดร้อน แต่เนื่องจากจำนวนผู้ชุมนุมได้ลดน้อยลง ประกอบกับชื่อที่เสียไปจากการชุมนุมที่ยืดเยื้อมานานถึง 2 เดือนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งทำให้เกิดการหยุดชงักงันกันทั่วไป บรรยากาศรอบๆเมืองหลวงของไทยจึงอยู่ในอารมย์ที่เห็นว่าคนเสื้อแดงจะอยู่ได้ อีกไม่นาน ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทยพุ่งทะยานขึ้นถึง 4.2% ด้วยความคาดหวังว่าการประท้วงจะจบลงด้วยข้อสรุปในทางสันติ
จาก คุณ : @^0^@
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P9220519/P9220519.html
Abhisit may not be out of the woods yet, but he does appear to have the upper hand. Derided for being soft and under question for his ability to command
ถึงแม้ว่าจะยังไม่ชัดเจน แต่คุณอภิสิทธิ์ดูเหมือนว่าจะได้เปรียบ แม้ว่าจะโดนเยาะเย้ยว่าอ่อนแอและมีคำถามเกิดขึ้นว่าท่านนายกสามารถจะบังคับ บัญชาตำรวจและทหารได้หรือไม่ แต่สุดท้ายแล้วนายกอภิสิทธิ์ก็แสดงให้เห็นว่าท่านได้นำมากกว่าจะเต้นตามบท ของกลุ่มผู้ประท้วง แต่หากกระแสสังคมแปรเปลี่ยนเป็นการต่อต้านกลุ่มผู้ประท้วง มันก็คงเป็นเรื่องของความผิดพลาดของกลุ่มผู้ประท้วงเอง ด้วยความเฉียบแหลมทางการเมืองของท่านนายกรัฐมนตรี
When they first arrived in
ในช่วงเริ่มต้น ที่กลุ่มผู้ประท้วงเข้ามาในกรุงเทพเมื่อ กลางเดือนมีนาคม พวกเขาได้รับการสนับสนุนจากคนกรุงเทพอย่างน่าประหลาดใจ การชุมนุมประท้วงดำเนินไปอย่างสันติ มีผู้คนเข้ามาร่วมมากถึง 140,000 คน ท่ามกลางกระแสของสื่อที่พูดว่าผู้ประท้วงรับจ้างมาประท้วง แต่เมื่อรัฐบาลไม่ยอมอ่อนข้อต่อการเรียกร้อง แกนนำของกลุ่มผู้ประท้วงก็เริ่มการปฏิบัติการที่ก้าวร้าวมากขึ้นเป็นระลอกๆ บุกรุกเหยียบย่ำสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และบุกเข้าไปในรัฐสภาเป็นเหตุให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องปีนหนีออกมาจาก กำแพงทางด้านหลัง
ในวันที่ 10 เมษายน ผู้ประท้วงคนเสื้อแดงหลายร้อยคนยั่วยุกองกำลังของฝ่ายทหารโดยการบุกค่ายทหาร ในเมืองหลวง กองกำลังของทหารเคลื่อนกำลังพยายามที่จะสลายการชุมนุม แต่ประสบกับความล้มเหลว เป็นเหตุให้มีการสูญเสียขีวิตไป 26 คน นี่รวมถึงทหารจำนวน 6 นาย และมีการบาดเจ็บราว 800 คน
Abhisit appeared to be finished. Calls rose for him to resign and leave the country. But as videos and photos emerged of Red Shirts or protest sympathizers firing assault rifles and rocket-propelled grenades at soldiers, it became clear that the protest had become an armed insurgency. Two weeks later, grenades were fired at
ดูเหมือนว่าคุณอภิสิทธิ์จะจบเห่แล้ว มีการเรียกร้องหนาหูขึ้นให้เขาลาออกและเดินทางออกจากประเทศไทย แต่เมื่อภาพในวีดีโอปรากฏต่อสาธารณะชนว่ากลุ่มคนเสื้อแดงได้ยิงปีนและขว้าง ปาระเบิดเข้าใส่ทหาร มันก็ชัดเจนว่าผู้ประท้วงเป็นกลุ่มคนที่ติดอาวุธ และในอีก 2 สัปดาห์ต่อมามีระเบิด เกิดขึ้นที่ใกล้ๆสถานีรถไฟสาธารณะทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คนและคนบาดเจ็บมากมาย รัฐบาลกล่าวว่าเป็นการยิงมาจากทางฝ่ายคนเสื้อแดง และท้ายที่สุดในคืนวันที่ 29 เมษายน การ์ดของคนเสื้อแดงได้บุกเข้าไปในโรงพยาบาลเพื่อค้นหาทหาร ในขณะที่พวกหมอและพยาบาลได้พยายามที่จะขอร้องแต่ปราศจากผล และการบุกค้นโรงพยาบาลไม่พบทหารแม้แต่คนเดียว
วันต่อมาประชาชนเฝ้าดู เหล่าพยาบาลได้ อพยพคนไข้ที่หลายคนอยู่ในอาการที่น่าเป็นห่วงออกไปด้วยน้ำตานองหน้า – รวมถึงคนแก่ เด็กทารก และสมเด็จพระสังฆราช และนี่เป็นการเสื่อมเสียชื่อเสียงอย่างที่สุดของกลุ่มคนเสื้อแดง จำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุมลดลงเหลือเพียง 5,000 – 8,000 คน และในขณะเดียวกันทหารก็ได้รวมพลังกันอย่างเหนียวแน่นมากขึ้น
Just three weeks ago, Abhisit, weak and fumbling, was on the verge of seeing his premiership destroyed and his place in Thai history tarnished forever. Now, gaining strength while exercising restraint, he appears the statesman in this conflict. With his road map to move the country forward, he has given Red Shirt leaders a chance to avoid a violent showdown and an opportunity to declare some sort of victory and save face. Now if only they will take it.
เมื่อ 3 สัปดาห์ที่แล้ว คุณอภิสิทธิ์ถูกมองว่าอ่อนแอและอ่อนหัด ความเป็นผู้นำถูกทำลายและที่ยืนในประวัติศาสตร์ชาติไทยของเขาได้สูญสลายไป ตลอดกาล แต่ตอนนี้คุณอภิสิทธิ์เข้มแข็งและดำเนินการโดยไม่หน่วงเหนี่ยว คุณอภิสิทธิ์จึงเสมือนรัฐบุรุษในท่ามกลางวิกฤติของความขัดแย้งเช่นนี้ ด้วยโร๊ดแมพที่จะพาบ้านเมืองก้าวต่อไปข้างหน้า คุณอภิสิทธิ์ได้ให้โอกาสแกนนำคนเสื้อแดงในการที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดความ รุนแรง รวมถึงโอกาสประกาศชัยชนะ และรักษาหน้าเอาไว้ได้ นี่หากเพียงแต่คนเสื้อแดงจะยอมรับข้อเสนอนี้
เอาบทสัมภาษณ์ จาก ฺBBC ไปทิ่มหน้าไอ้ Time ให้ด้วยครับ
เครดิท ชายเอี่ยว ณประชาไทครับ
ตั้งแต่คืนวันที่ 29 เมษายนแล้ว แต่วันนี้เห็นหมอเหวง นำมาเล่าให้ฟังบนเวทีอีกครั้ง
จึงเอาบทความที่แปลแล้วอันนี้มาให้อ่านกัน..อีกครั้ง
อันนี้ผมนำมา บล๊อกเนชั่นนะคับ...
ไม่ได้เป็นผู้แปลเอง ดังนั้นถูกผิด ประการใด ยกให้แก่ผู้แปลทั้งสิ้น
อันนี้เป็นลิงค์เทปรายการนี้ ถ้าท่านใด เก่งภาษา เชิญเข้าไปฟังเองได้คับ..
http://www.youtube.com/watch?v=G8tRQcTlXLU&feature=player_E M B E Dded
ข้อความด้านล่างแปลจากเทปแล้ว by Supawan
BBC : … (can not catch up the beginning of the conversation - Translator) .. If it is going to restore some kind of stability and put an end to the hypothesis that happen to
BBC : (รับฟังช่วงต้นของการสัมภาษณ์ได้ไม่ชัดค่ะ) … หากมันจะช่วยนำความมั่นคงและทำให้สาเหตุของความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นใน ประเทศไทยสิ้นสุดลง
Abhisit : Well, because the rest of the public feels that the government should not giving intimidation and terrorist’s tactics and that they think we should discuss in reasonable timeframe. There is a clear threat if we hold the election too soon. With move that is high in term of deviation and in term of tension that election could turn violent and then would solve nothing that would be back into vigorous cycle of demonstration which is why it is better to go into the open discussion what needed to be done before the election should be held so that the election is held for the benefit of the whole country and not for a particular group of people.
อภิสิทธิ์ : ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกว่ารัฐบาลไม่ควรยอมต่อกลยุทธ์ข่มขู่คุกคามของพวกก่อ การร้าย และควรจะมีการเจรจาในระยะเวลาที่เหมาะสม มันชัดเจนว่าการที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งเร็วเกินไปนั้นอันตรายยิ่ง ด้วยตอนนี้มีการเคลื่อนไหวที่มีเป้าประสงค์ที่แตกต่างและความกดดันที่รุนแรง การเลือกตั้งอาจจะก่อให้เกิดความรุนแรง และทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาใดๆได้เลย แล้วเราก็กลับเข้าไปในวังวนของรวมตัวกันก่อการประท้วงอีก ดังนั้นจึงเป็นการดีกว่าที่จะเจรจาโดยเปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่ต้องทำ ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ เพื่อให้การเลือกตั้งมีผลดีต่อประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
BBC : Ok, so it is necessary and clear that your red line is no election before December.
BBc : เอาละ ท่านบอกว่ามันจำเป็น และค่อนข้างชัดเจนว่าท่านจะไม่ให้มีการเลือกตั้งก่อนเดือนธันวาคม
Abhisit : I did not say that. I said that there are a number of tasks needed to be completed. I am open to discussion about how long that process would take. I am saying that the election should not longer than 9 months. I am open to discussion with various groups in society. I think the rest of the population, the rest of the electors are also demand that their voices should be heard. A lot of them say I should stay the full term, a lot of them say there should be a reasonable timeframe but not that within 15 days or 30 days. I think everybody should have a voice and have a saying and not those who threaten violence.
อภิสิทธิ์ : ผมไม่ได้พูดอย่างนั้น ผมพูดว่ามีสิ่งที่ต้องทำให้เสร็จหลายอย่าง ผมเปิดเสมอสำหรับการเจรจาเกี่ยวกับเรื่องที่ว่ากระบวนการที่ว่าจะต้องใช้ เวลานานเท่าไหร่จึงจะเสร็จ ผมพูดว่า การจัดให้มีการเลือกตั้งไม่น่าจะเกินไปกว่าภายใน 9 เดือน ผมเปิดเสมอสำหรับการพูดคุยกับกลุ่มต่างๆในสังคม ผมคิดว่าประชาชนที่เหลือ ประชาชนที่เป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมีความต้องการให้เราฟังความคิดเห็นของ พวกเขาเช่นกัน มีคนมากมายที่พูดว่าผมควรจะอยู่ในตำแหน่งให้ครบเทอม ในขณะที่อีกหลายคนพูดว่ามันน่าจะมีระยะเวลาที่เหมาะสม แต่ไม่ใช่ในเวลา 15 วัน หรือ 30 วัน ผมคิดว่า ทุกคนควรจะมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น และไม่ใช่ผู้ที่ข่มขู่จะใช้ความรุนแรง
BBC : And you know what is feeling the grievance. There are those who are your political opponents who are saying you yourself, Abhisit Vejjachewa, never won an election. You took office in December 2008, elected by parliament because constitution of court did not allow the Thaksin party to run it any way and you need your own mandate. You have no higher vote mandate and that what people don’t like. You take government assisted by a Military Coupe and that does not look good.
BBC : ท่านรู้ว่ามีความสูญเสีย มีผู้ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองกับท่านที่พูดว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คุณไม่เคยชนะการเลือกตั้งเลยสักครั้ง ท่านเข่ามาบริหารประเทศในเดือนธันวาคม ปี 2008 ที่ถึงแม้จะได้รับการลงคะแนนโดยสภาผู้แทนราษฎร นั่นก็เพราะว่ารัฐธรรมนูญของประเทศไม่อนุญาตให้พรรคการเมืองของคุณทักษิณ เข้ามาบริหารประเทศ และท่านต้องการการมอบอำนาจ เพราะว่าพรรคการเมืองของท่านไม่ได้รับอำนาจโดยการมีคะแนนเสียงข้างมากใน รัฐสภา และนั่นเองเป็นสิ่งที่ผู้คนไม่ชอบใจ ท่านเข้ามาบริหารประเทศโดยการช่วยเหลือของคณะปฏิวัติรัฐประหารโดยทหาร และนั่นทำให้ภาพลักษณ์แย่
PM Abhisit : It is not a Military Coup that installed this government. We had an election …
อภิสิทธิ์ : ไม่ใข่คณะปฏิวัติที่แต่งตั้งรัฐบาลของผม เรามีการเลือกตั้ง ..
BBC : (Just interrupted in the middle of PM’s answer) As a benefit I said. Sorry Prime minister, Thaksin Shinnawat was removed in September 2006 by the military and you are the direct beneficiary of that because you take the power without an election and people don’t like that.
BBC : (พิธีกรพูดแทรกขึ้นระหว่างที่ท่านนายกรัฐมนตรีกำลังตอบคำถาม ..) ดิฉันพูดว่าเป็นการได้ประโยชน์ ขอโทษค่ะท่านนายกรัฐมนตรี คุณทักษิณ ถูกโค่นล้มอำนาจในเดือนกันยายน ปี 2006 โดยคณะปฏิวัติ และท่านเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการนั้น เพราะท่านเข้ามามีอำนาจโดยปราศจากการเลือกตั้ง และประชาชนก็ไม่ชอบวิธีการนี้
Abhisit : That is not right. That is not right. Thaksin was removed from power, in fact he was only an active Prime Minister because the election was going to be held. And then after the coupe, they had a referendum on the new constitution, a referendum passed the constitution. We had fresh election. It returned a parliament that was a house parliament, where actually arguably. You can argue that Thanksin’s party actually took some of the minor parties who during the election campaign as people who defected from that party.
อภิสิทธิ์ : นั่นไม่ถูกต้องครับ ไม่ถูกต้อง .. คุณทักษิณหมดอำนาจ อันที่จริงคุณทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจในเวลานั้น เพราะกำลังจะมีการจัดให้การเลือกตั้ง และหลังจากการเกิดการปฏิวัติ ก็มีการทำประชามติตามรัฐธรรมนูญ และเมื่อการทำประชามติผ่านไป เรามีการเลือกตั้งใหม่ มีรัฐสภาซึ่งได้รับการวิพากย์วิจารย์ บางคนพูดว่าพรรคการเมืองของคุณทักษิณที่จริงได้นำพรรคการเมืองที่มีเสียง ส่วนน้อยซึ่งในช่วงระหว่างที่มีการเลือกตั้งเป็นผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติครบ ถ้วน
BBC : You never won an election …
BBC : ท่านไม่เคยชนะการเลือกตั้ง ..
Abhisit : I have been elected 7 times as an MP, a few more times than Mr. Thaksin himself. And I have not missed a single time that had been tested before in all election that was fair. We both won the election same as all other parties. It was a house parliament that put together majority. But the party that had the biggest number of vote was involved in election fraud and therefore, they were punished by law, laws and rules that they are aware of when they actually decided to take part of the election.
นายกอภิสิทธิ์ : ผมได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรถึง 7 ครั้ง และมากครั้งกว่าคุณทักษิณซะอีก ผมไม่เคยพลาดและได้รับการเลือกตั้งเข้ามาทุกครั้งในการจัดการเลือกตั้งที่ ยุติธรรม เราเข้ามาโดยการเลือกตั้งเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านอื่นๆ และที่ประชุมของสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ที่รวบรวมเสียงข้างมาก แต่พรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกเข้ามามากที่สุดมีการเกี่ยวข้องกับการ ทุจริตในการเลือกตั้ง และทำให้พวกเขาได้รับโทษตามกฎหมาย กฏหมายและกฎระเบียบที่เขารู้ดีในตอนที่ตัดสินใจลงสมัครรับการเลือกตั้ง
BBC : But you were now …
BBC : แต่ตอนนี้ท่านกำลัง …
Abhisit : And then they had two chances of forming governments. It was taking the country nowhere. So therefore, there was a new vote in parliament and the majority of the parliament decided to change, decided to elect me into power. The parliament has been functioning for a year and a half. The opposition had their time of submitting the sense of motion. The motion ….
อภิสิทธิ์ : พรรคการเมืองของคุณทักษิณมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลถึง 2 ครั้ง และประเทศก็ย่ำอยู่กับที่ ดังนั้นเมื่อมีการลงคะแนนในสภาผู้แทนราษฎร และเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาต้องการความเปลี่ยนแปลง โดยการเลือกผมให้มาบริหารประเทศ และสภาก็ดำเนินงานมาได้อย่างดีในเวลาหนึ่งปีครึ่งที่ผมเป็นรัฐบาล ฝ่ายค้านมีโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็น …
BBC : It was a very long. The fact is you preside over a very divided country. People don’t accept whatever reasons you are going into a very long explanation. What are you going to do from here on? As I am talking to you,
BBC : นี่เป็นคำตอบที่ซับซ้อนและยาวเกินไป ความจริงก็คือ ท่านบริหารประเทศที่มีการแตกแยกอย่างรุนแรง ประชาชนไม่ยอมรับเหตุผลใดๆก็ตามที่ท่านกำลังอธิบายมาซะยืดยาว ท่านจะดำเนินการอย่างไรต่อไป? ในขณะที่ดิฉันกำลังพูดคุยกับท่านอยู่นี่ คนบนถนนกำลังพูดถึงการเกิดสงครามกลางเมือง เรามีคนเสื้อสีแดงที่กำลังพูดว่า เรากำลังมี .. อยู่อย่างต่อเนื่อง (ฟังไม่ถนัด – ผู้แปล) ท่านจะทำยังไงคะ ท่านนายกรัฐมนตรี?
Abhisit : My intention is to bring all sides to accept that we need to find some kind of political solution, one that actually take into account the views of all part of the society. And will also make sure that we can enforce the law that the demonstrators can go home. There is some kind of political solution and that the law is enforced . That is what I need to do and that is very important if
อภิสิทธิ์ : ผมมีความตั้งใจที่จะทำให้ทุกฝ่ายยอมรับว่า เราต้องหาแนวทางบางอย่างในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง แนวทางที่รับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนของสังคม และเป็นแนวทางที่ให้ความมั่นใจว่าสามารถบังคับใช้กฎหมายได้ โดยผู้ที่ทำการประท้วงสามารถกลับบ้าน มันควรจะเป็นแนวทางที่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ และนั่นคือสิ่งที่ผมต้องดำเนินการ ด้วยว่ามันสำคัญมากหากประเทศไทยจะก้าวต่อไปในระบอบประชาธิปไตย ประชาธิปไตยที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายของบ้านเมือง
BBC : And if you can’t. I just want to add by telling you what Professor Thitinan (This may not be the correct spelling - Translator) of
BBC : และหากท่านทำไม่ได้ ดิฉันอยากจะบอกเพิ่มเติมสิ่งที่ศาสตราจารย์ ฐิตินันท์ …(ดร. ฐิตินันท์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งไปเป็น visiting professor ที่ Standfaod - ข้อมูลเพิ่มเติมจาก mrapisit ความเห็นที่ 17) แห่งมหาวิทยาลัย แสตนด์ฟอร์ด ภาควิชา ประเทศไทยศึกษา กล่าวเอาไว้ว่า หากท่านดึงดันต่อการท้าทายต่อไป จะเกิดเหตุโกลาหลร้ายแรงมากขึ้น สิ่งที่คุณอภิสิทธิ์ทำได้คือการเตรียมพร้อม เตรียมพร้อมเรื่องกำหนดเวลาให้มีการเลือกตั้ง และอาจจะตามมาด้วยการเยียวยาสังคม
Abhisit : I can say that we are trying as best we can to restore order. I don’t think it would be fair for the rest of the country if this government decides to give the approve to the threats, the violence, intimidation and weapon. We are willing to listen to legitimate agreements. We are willing to compromise but they have to be the one that will serve the interest of everybody not just for a small group of people who involve legal tactics.
นายกอภิสิทธิ์ : ผมพูดได้ว่า เรากำลังพยายามทำอย่างดีที่สุดในการที่จะนำความเป็นระบบระเบียบกลับคืนมาสู่ สังคม ผมคิดว่าคงไม่ยุติธรรมสำหรับประชาชนที่เหลือของประเทศ หากรัฐบาลตัดสินใจที่จะยอมรับการบังคับข่มขู่คุกคาม การก่อความรุนแรง และอาวุธ เรายินดีที่จะให้สัญญาที่เป็นไปตามกฎหมาย เรายินดีที่จะรอมชอม แต่การรอมชอมนั้นจะต้องเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มเล็กๆที่ใช้กลเม็ดด้านกฎหมาย
BBC : And Abhisit if you are true liberally that you yourself personally were an obstacle to Thailand’s recuperating against some kind of stability, would you step down when you became an obstacle and you are convinced by that fact . Would you?
BBC : คุณอภิสิทธิ์ .. หากท่านตระหนักว่าตัวของท่านเองเป็นอุปสรรคในการฟื้นฟูความมั่นคงของชาติ ท่านจะยอมลงจากอำนาจหรือไม่ ท่านจะยอมลงหากท่านตระหนักถึงข้อเท็จจริงว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ ใช่ไหม?
PM Abhisit :Of course. I ‘ve never put my interest above the country.
อภิสิทธิ์ : แน่นอนครับ ผมไม่เคยยอมให้ผลประโยชน์ส่วนตน อยู่เหนือผลประโยชน์ของประเทศชาติ
BBC : So, If as a price of restoring stability to
BBC : ดังนั้น เพื่อความมั่นคงของประเทศไทย และเป็นความพยายามร่วมกันกับทางฝ่ายทหารที่จะหาทางออกให้กับบ้านเมือง .. ท่านจะพูดว่า ท่านจะลาออก และลงจากอำนาจ
Abhisit : We are in the agreement at the moment but what we are seeing is not the purely political problems. There are security problems involved. There are terrorist elements involved and we need to tackle all these issues at the same time. And when we talk about the stability that everybody wants to achieve, it is not a short term stability waiting for the same problem to be repeated again and again. I think at the moment all sides need to take into account the views of the other side and find a reasonable solution. That’s what I am aiming for and I am sure that is what the majority of the Thai people want us to do.
อภิสิทธิ์ : เรามีความเห็นตรงกันในขณะนี้ว่า ปัญหาตอนนี้ไม่ใช่ปัญหาของความขัดแย้งทางการเมืองอย่างเดียว มันมีปัญหาเรื่องความมั่นคงของประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มีประเด็นปัญหาของการก่อการร้ายเข้ามา และเรามีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาทุกเรื่องไปพร้อมๆกัน และเมื่อเราพูดถึงเรื่องของความมั่นคงที่ทุกคนอยากจะได้ มันไม่ใช่ความมั่นคงเฉพาะหน้าในระยะสั้นที่รอเวลาที่จะกลับมาสู่วังวนของ ปัญหาเดิมๆซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ผมคิดว่าขณะนี้ทุกฝ่ายควรจะให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของทุกภาคส่วนและของ ฝ่ายอื่นๆ แล้วหาทางออกร่วมกัน และนั่นคือสิ่งที่ผมกำลังมุ่งที่จะดำเนินการในขณะนี้ ผมมั่นใจว่านั่นคือสิ่งที่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลทำ
BBC : Prime Minister Abhisit Vejchachewa, thank you very much for coming with our talk.
BBC : นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขอบคุณสำหรับให้เวลาในการพูดคุยกับเราในวันนี้
Abhisit : You are welcome.
อภิสิทธิ์ : ยินดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น