แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

“เราคือคนเสื้อส้ม” : งานวิจัยด้านมานุษยวิทยา เจาะลึกวินมอเตอร์ไซค์ ระดับปริญญาเอก ของนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

August 13, 2010
จะมีคนไทยคนใดบ้างที่คิดว่านักศึกษาระดับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยชื่อก้องโลก จะทำงานวิจัยในเรื่องสามัญพื้นฐานที่คนไทยมองข้ามไปดูประหนึ่งเป็นเรื่อง ปกติในชีวิต
แต่เคลาดิโอ โซปรานเซ็ตติ นักศึกษาระดับปริญญาเอก คณะมานุษยวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก็ทำมาแล้วในหัวข้อ “การเมืองเรื่องมอเตอร์ไซค์รับจ้างในประเทศไทย”

http://www.youtube.com/watch?v=iwy6jGt5Aps&feature=player_embedded

โซปรานเซตติให้สัมภาษณ์ “อัลจาซีรา”

จากบทสัมภาษณ์เขา โดย อาร์เนาด์ ดูบัส ในเว็บไซต์นวมณฑล (หรือนิวแมนเดลา)1ชี้ ให้เห็นข้อมูลพื้นฐานที่น่าทึ่งของวิถีการใช้ชีวิต “ผู้เชื่อมร้อยวิถีการขนส่งมวลชน” นับล้านเที่ยวต่อวันในกรุงเทพฯ ทำให้พวกเขากลายเป็น “ผู้ขับเคลื่อน” กรุงเทพมหานคร ตัวจริงเสียงจริงอย่างปฏิเสธไปไม่ได้

หัวข้อวิจัยว่าน่าสนใจแล้ว ผลงานวิจัยที่ได้ก็น่าสนใจด้วย แต่วิธีวิทยา (methodology) ของโซปรานเซ็ตติ ในการทำงานวิจัยก็น่าทึ่งไม่แพ้กัน โดยเขาใช้เทคนิคการทำวิจัยแบบ “การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม” คือการเข้าร่วมใช้ชีวิตคลุกคลีอย่างใกล้ชิด จนเหมือนเป็นคนกลุ่มเดียวกัน2 โดยเขาเคยได้รับเสื้อวินและขับขี่มอเตอร์ไซค์รับส่งผู้โดยสารมาแล้ว

สาเหตุของฐานเสียงที่แข็งแกร่งของ “เพื่อไทย”
โซปรานเซ็ตติพบว่า กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์เป็นฑูตผู้เดินทางข้ามมาใช้แรงงาน “ทั้งในเมือง” และ “ในชนบท” กลับไปมา พวกเขามีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ในสองมิติ คือทั้งในเมืองและชนบท ทำให้รับรู้สภาพความเหลื่อมล้ำต่ำสูงของ “วิถีเมือง” และ “วิถีชนบท” ได้เป็นอย่างดี

การจัดระเบียบโครงสร้างมอเตอร์ไซค์รับจ้างในกรุงเทพฯ ทำให้วงจรผู้มีอิทธิพลซึ่งคอยควบคุมวินมอเตอร์ไซค์ต้องลดน้อยลง ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างสามารถไปลงทะเบียนและรับเสื้อกั๊กสีส้มได้ฟรี จากสำนักงานเขตทั่วกทม. แม้ในทางปฏิบัติสำหรับวินขนาดใหญ่ พวกเขายังต้องพึ่งพาผู้มีอิทธิพลประจำถิ่นอยู่บ้าง แต่สำหรับวินขนาดเล็กพวกเขาสามารถสร้างชุมชนบริหารจัดการกันเอง โดยวางพื้นฐานอยู่บนความไว้เนื้อเชื่อใจกันได้เป็นอย่างดี

ไม่แต่เพียงเท่านั้น เพราะด้วยพื้นฐานที่ผู้ประกอบอาชีพขับขี่มอเตอร์ไซค์ส่วนใหญ่มีพื้นเพมาจาก อีสาน พวกเขาจึงได้รับทราบการผลิดอกออกผลของนโยบายต่าง ๆ ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลทักษิณ ด้วยเหตุที่นโยบายและการตัดสินใจที่ถูกต้องแม่นยำ จึงทำให้พวกเขาสนับสนุนนโยบายของพรรคการเมืองที่นำหรือได้รับการสนับสนุนโดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มากกว่าที่เคยถูกเชื่อกันว่าเป็นเพราะการซื้อสิทธิ์ขายเสียงเหมือนที่เคย เป็นมา

โซปรานเซ็ตติเดินทางกับเพื่อนผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ไปบ้านเกิดที่อีสาน และเพื่อนคนดังกล่าวก็เล่าให้ฟังว่า มีแค่สองสิ่งเท่านั้นที่ได้รับการพัฒนาในหมู่บ้านแห่งนี้ สิ่งแรกคือ “โรงเรียน” ที่ถูกสร้างโดยนักศึกษาธรรมศาสตร์ในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 สิ่งที่สองคือ “ถนนลาดยางมะตอย” ซึ่งสร้างด้วยเงินจากกองทุนหมู่บ้านในสมัยรัฐบาลทักษิณ

ยุทธศาสตร์แบบสัมฤทธิผลนิยม (Pragmatism)

แม้จะสนับสนุนพรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดง แต่พวกวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างก็จะไม่พาตัวเองไปยังจุดเสี่ยง พวกเขามีกลยุทธ์ว่าจะไม่ยอมออกไปถ้าไม่ชนะ และพวกเขายังมีวิธีคิดแบบสหภาพแรงงาน คือการต่อรองผลประโยชน์กับกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง มีคนขับมอเตอร์ไซค์รายหนึ่งกล่าวกับโซปรานเซ็ตติว่า “พวกเราไม่ใช่เสื้อแดงหรือเสื้อเหลือง แต่เราคือพวกเสื้อส้ม”

ทั้งนี้โซปรานเซ็ตติยังยกตัวอย่าง การเข้าต่อรองกับเจ้าหน้าที่ทหารที่ขอให้พวกเขายุติการสนับสนุนคนเสื้อแดง ผลการต่อรองพวกวินมอเตอร์ไซค์ได้รับการช่วยเหลือให้มีการไกล่เกลี่ยข้อขัด แย้งระหว่างผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจกับพวกเขาลงไป เป็นการแลกเปลี่ยน

กล่าวได้ว่าคนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างเป็นทั้งศูนย์กลางและชายขอบของมหานคร แห่งนี้ ทั้งยังเข้าสัมผัสคนแทบทุกระดับ โดยผ่านทั้งการรับส่งผู้โดยสาร และนำส่งเอกสารสำคัญในกรุงเทพฯ
ปัจจุบันมีมอเตอร์ไซค์รับจ้างราวสองแสนคันในกทม. หากแต่ละคันต้องวิ่งรับส่งผู้โดยสารราว 20 เที่ยวต่อวัน เท่ากับว่าจะมีการรับส่งผู้โดยสารประมาณ 4 ล้านเที่ยวต่อวัน กล่าวได้ว่าพวกเขาเป็นคนขับเคลื่อนชีพจรของกรุงเทพมหานครอย่างแท้จริง

บางทีการเคลื่อนขบวนครั้งใหญ่ของคนเสื้อแดงในกรุงเทพฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และมีประชาชนออกมายืนโบกไม้โบกมือต้อนรับยังสองฝั่งถนน อาจไม่ใช่ภาพลวงตา อาจไม่ใช่การจัดตั้ง

แต่นั่นเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งของแรงงานเคลื่อนย้ายจากต่างจังหวัดที่ เข้ามาใช้แรงงานในกรุงเทพจำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน (กรุงเทพฯมีประชากรจดทะเบียนราว 5 ล้านคน) โดยยังไม่นับรวมคนขับแท็กซี่ ผู้ประกอบอาชีพหาบเร่แผงลอยตามฟุตบาท

เมื่อขบวนการเสื้อแดงเคลื่อนไหวครั้งใด เสียงวิทยุชุมชนของคนเสื้อแดงจะดังก้องตามวินมอเตอร์ไซค์เหล่านี้ หลายครั้งที่พวกเขาเป็นกำััลังที่แข็งแกร่งให้กับขบวนการคนเสื้อแดง

พวกเขาไม่มีวันลืมว่าใครเคยให้ความช่วยเหลือ ใครให้โอกาสทางเศรษฐกิจและหลักประกันรองรับ “แรงงานนอกระบบ” ในเศรษฐกิจสีเทาของประเทศที่มีจำนวนกว่า 50% ของ GDP
แต่พวกเขาจะไม่ออกไป หากไม่ประสบชัยชนะ
เพราะพวกเขาคือ “คนเสื้อส้ม”
________________________________________
หมายเหตุ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญร่วมรับฟังสัมมนาบัณฑิตศึกษา “เจ้าของแผนที่: มานุษยวิทยาของมอเตอร์ไซค์รับจ้างในกรุงเทพฯ” โดย เคลาดิโอ โซปรานเซ็ตติ นักศึกษาระดับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
งานสัมมนาจะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้อง 708 อาคารบรมราชกุมารี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจสามารถเข้าฟังได้โดยไม่มีค่าลงทะเบียน ขอรายละเอียดเพิ่มเติมที่ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ โทร. 0-2218-4672
http://www.siamintelligence.com/claudio-sopranzetti-the-politics-of-motorcycle-taxis/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน