แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

"เรดาร์ตรวจอากาศ"ไม่ได้ช่วยอะไรซื้อฮ.ลำใหม่-ยืมหน่วยอื่นใช้ดีกว่า!?


ผลกระทบจากโศกนาฏกรรมที่ข้าราชการระดับสูงของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม (ทส.) เดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ (ฮ.) รุ่น AS 350 ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต 5 ศพ ที่ จ.น่าน ทำให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สั่งระงับการใช้งาน ฮ.ที่ยังใช้งานได้อยู่ 9 ลำ และมีแนวคิดที่จะติดตั้งอุปกรณ์เสริม เช่น เรดาร์ตรวจอากาศ และอุปกรณ์ช่วยบินนั้น

[img]http://img685.imageshack.us/img685/7017/15824675low.jpg[/img]

ผู้ เชี่ยวชาญการบินในกองทัพรายหนึ่ง กล่าวถึงแนวคิดของนายสุวิทย์ว่า โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะ ฮ. รุ่น AS 350 ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับระบบการบินแบบ Instrument flight rules (IFR) ซึ่งจะติดตั้งอุปกรณ์ช่วยบินอัตโนมัติในสภาพอากาศเลวร้าย แต่เป็น ฮ.ที่ทำการบินในระบบ Visual flight rules (VFR) ซึ่งจะสามารถทำการบินในทัศนวิสัยปกติ คือสายตาสามารถมองเห็นได้เท่านั้น นอกจากนี้ ฮ.รุ่นดังกล่าวยังมีขนาดเล็ก จึงคิดไม่ออกว่าจะติดตั้งอุปกรณ์เสริมตรงจุดไหน และยังทำให้เครื่องต้องรับน้ำหนักมากขึ้นด้วย

"ยกตัวอย่างเรดาร์ตรวจ อากาศ จะต้องติดตั้งเสาอากาศ มีลักษณะเป็นกระเปาะขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 2 เท่าของบาตรพระ โดยต้องติดตั้งไว้บริเวณใต้กระจกด้านหน้า ฮ. ซึ่งจะทำให้เครื่องมีน้ำหนักมากขึ้น และยังทำให้เสียบาลานซ์ (สมดุล) อีกด้วย ซึ่งต้องถ่วงน้ำหนักตรงส่วนหางอีก นอกจากนี้ยังต้องมีจอ Weather radar ซึ่งยังมองไม่ออกว่า จะเอาไปติดตั้งตรงไหน เพราะหน้าจอกว้างถึง 6 นิ้ว แต่ดูหน้าปัดแล้วคงไม่มีพื้นที่พอ คงต้องเอาไปวางไว้บนตกนักบิน"

ผู้ เชี่ยวชาญรายนี้กล่าวถึงความยากในเชิงเทคนิคอีกว่า การติดตั้งเรดาร์ตรวจอากาศเป็นส่วนหนึ่งของระบบ IFR เท่านั้น แต่ถ้าจะให้ "ฟูลออพชั่น" จะต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง เช่น ระบบ Autopilot หรือระบบการบินอัตโนมัติ ซึ่งมองดูแล้วคงจะทำไม่ได้ เพราะนอกจากจะสูญเสียงบประมาณจำนวนมากแล้ว ตัวเครื่องคงไม่สามารถรองรับระบบได้ เนื่องจากเครื่องมีขนาดเล็ก และไม่มีพื้นที่พอ อีกทั้งเครื่องคลาสนี้เป็นระบบ VFR ซึ่งถูกออกแบบมาให้ใช้ในสภาพอากาศที่ปกติ จึงควรใช้ให้เหมาะกับภารกิจเท่านั้น

"การติดตั้งเรดาร์ต้องใช้เงิน อย่างน้อย 2-3 ล้าน ไม่นับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอีกเกือบ 20 กิโลกรัม ซึ่งมีความยุ่งยากในการดัดแปลงมาก ในความเห็นของผมคิดว่า ถ้าไม่ซื้อเครื่องใหม่ที่มีระบบ IFR ก็ให้ใช้วิธียืมจากหน่วยงานอื่น เช่น กระทรวงเกษตรฯ หรือกองทัพ และตำรวจมาใช้แล้วชดเชยโดยการตั้งงบประมาณเหมือนที่เคยทำกันมา ส่วนถ้าจะจัดซื้อ เขามองว่า ฮ.รุ่นหนึ่งที่มีระบบ IFR และมีราคาไม่แพงจนเกินไปที่เหมาะกับภารกิจก็เช่น Augusta 139 มีขนาด 12-13 ที่นั่ง และมีอุปกรณ์ทุกอย่างครบ"

ผู้เชี่ยวชาญการบินชี้ถึงทางเลือก ในการปฏิบัติภารกิจในสภาพอากาศที่เลวร้ายว่า ทางราชการควรจัดงบประมาณจัดหาหรือจัดซื้อ ฮ.ให้แก่ข้าราชการระดับสูงให้มากกว่านี้ เพื่อลดการสูญเสีย เช่น การเดินทางไกลๆ จากกรุงเทพฯ ไป จ.พิษณุโลก และไป จ.น่าน แบบนี้ ควรใช้เครื่องบินปีกตรึงน่าจะเหมาะกับการเดินทางระยะไกลมากกว่าเครื่องบิน ปีกหมุนอย่าง ฮ.ที่มีเพดานบินต่ำ ไม่สามารถบินเหนือเมฆฝนได้ หรือถ้าจะใช้ ฮ.เพื่อลงจอดในพื้นที่จำกัด ควรใช้ ฮ.ที่มีเรดาร์ตรวจอากาศ เช่น Bell 212 หรือ Bell 412 น่าจะเหมาะสมกว่า

ส่วนสาเหตุของอุบัติเหตุ เขาทราบมาว่า ฮ.อีกลำที่เดินทางไปด้วยกัน และรอดชีวิตมาได้สังเกตเห็น ฮ.ลำที่ประสบอุบัติเหตุบินหายเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนก่อน จึงเลี้ยวกลับ เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย แต่เชื่อว่านักบินของ ฮ.ลำที่ประสบอุบัติเหตุคงคิดว่า กลุ่มเมฆฝนคงไม่หนาทึบมากนัก ประกอบกับมีกำหนดเวลาการเดินทาง จึงทำการบินต่อ และพอเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนก็พยายามไต่ระดับเพดานบินให้สูงขึ้นเพื่อให้พ้นยอด เขา แต่น่าเสียดายที่ไต่ขึ้นไม่ทัน เพราะชนห่างจากยอดเขาแค่ 100 ฟุตเท่านั้น ถ้าไต่เร็วขึ้นอีกนิดก็คงพ้นยอดเขาแล้ว

อย่างไรก็ตาม เขาก็สรรเสริญในการตัดสินใจของนักบินในเสี้ยววินาทีนั้น เพราะถ้าเป็นเขาก็จะตัดสินใจเช่นเดียวกัน คือพยายามไต่เพดานบินขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อให้พ้นยอดเขา ซึ่งในกรณีนี้ถ้าไต่เพดานขึ้นเร็วกว่านี้สัก 1 กิโลเมตร คงพ้นยอดเขาไปได้

ผู้ เชี่ยวชาญการบินคนเดิมยังให้ข้อมูลที่ชวนให้หวาดเสียวกันเล่นๆ ด้วยว่า นอกจาก ฮ.พระราชพาหนะแล้ว ฮ.ส่วนใหญ่ในกองทัพ หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และส่วนราชการต่างๆ ล้วนเป็น ฮ.ในระบบ VFR แทบทั้งนั้น ส่วนที่บินในระบบอัตโนมัติ หรือ IFR มีอยู่เพียงไม่กี่รุ่น เช่น Bell 212 และ Bell 412 ส่วน ฮ.ที่ทันสมัยที่สุดรุ่นหนึ่งอย่าง UH 60L หรือ Blackhawk กลับเป็น IFR แค่ครึ่งเดียวเท่านั้น

"Blackhawk มีแต่ระบบ Autopilot เท่านั้น แต่ไม่มี Weather radar (เรดาร์ตรวจอากาศ) คือ สามารถตั้งระบบการบินอัตโนมัติได้ แต่ไม่สามารถจับได้ว่า สภาพอากาศข้างหน้าเป็นอย่างไร ก่อนทำการบินจึงต้องมีการตรวจสอบข่าวอากาศเสียก่อน เพราะถ้าบินเข้าไปในสภาพอากาศปิดก็อาจไม่รอดเหมือนกัน ถ้าเป็นผมจะเลือกนั่ง Bell 212 มากกว่า เพราะแม้จะมีอายุมากกว่า 20-30 ปี เก่ากว่า Blackhawk มากก็จริง แต่อย่างน้อยก็มีเรดาร์ตรวจอากาศ ซึ่งปลอดภัยกว่าเยอะเวลาเจอเมฆฝน"

นั่นคือข้อเท็จจริงที่แสนจะ "ตลกร้าย" ของกองทัพ และส่วนราชการไทย ซึ่งให้ความสำคัญกับการจัดซื้อเครื่องบิน หรือ ฮ.ลอตใหม่ๆ มากกว่าที่จะใส่ใจจัดหางบซ่อมบำรุง และติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จะช่วยเซฟชีวิตนักบิน และผู้โดยสารได้มากกว่า

ทีมข่าวความมั่นคง

http://www.oknation.net/blog/komchadluek/2010/08/20/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน