Fri, 2010-08-20 04:17
ศปช.เผย “นายประยุทธ” แกนนำเสื้อแดงอุบลฯ ติดต่อขอความช่วยเหลือด่วน ต้องการเงินรักษาอาการป่วยที่กำเริบหนัก เหตุไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องต้องหลบซ่อนตัวกลัวถูกจับกุม ชี้ถูกขู่โดนคดีโทษถึงประหารชีวิต พร้อมเผยต้องการเข้ามอบตัวกับตำรวจ พุธที่ 25 ส.ค.นี้
น.ส.
น.ส.ขวัญระวี กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือของศูนย์ในกรณีดังกล่าวว่า เป็นเรื่องของสิทธิในการมีชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ใครจะมาละเมิดไม่ได้ ไม่สามารถผ่อนผันได้ แม้ว่าคนคนนั้นจะถูกหมายจับ เป็นแกนนำ หรือเข้าร่วมการชุมนุมจริงหรือไม่ สิทธิของเขาต้องได้รับการปกป้อง โดย ศปช.ยึดหลักการทำงานในลักษณะนี้
น.ส.ขวัญระวีกล่าวด้วยภายหลังการสลายการชุมนุมทางรัฐบาลไม่ได้มีการ เปิดเผยถึงตัวเลขคนหาย ตาย เจ็บ หรือข้อมูลการจับกมดำเนินคดี ทำให้ที่ผ่านมาไม่สามารถสืบหายผู้สูญหายได้ และถึงวันนี้ก็ยังไม่สามารถระบุว่าใครคือผู้กระทำผิดหรือเป็นฝ่ายที่ ถูกกระทำอย่างชัดเจนได้
บันทึก ศปช.: กรณี นาย
นาย
ช่วงชุมนุมใหญ่เดือนมีนาคม-เมษายน ปี 2552 นายประยุทธในฐานะแกนนำเขตภาคอีสาน หัวหน้าโซน 4 จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ นำชาวบ้านจากจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 300 คน เดินทางเข้ามาชุมนุมที่กรุงเทพฯ และคอยดูแลอำนวยความสะดวกให้ชาวบ้านที่มาชุมนุม ซึ่งผลัดเปลี่ยนกันไปมาระหว่างกรุงเทพฯ-อุบลฯ อยู่ตลอดช่วงเวลาของการชุมนุม กระทั่งมีการสลายการชุมนุมในวันที่ 13-14 เมษายน ที่เรียกว่า “เมษาเลือด”
นายประยุทธเริ่มมีอาการป่วย โดยมีเลือดออกทางทวารหนัก ตั้งแต่ปี 2551 และอาการเรื้อรังมาเรื่อยๆ กระทั่งไปเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี ในปี 2552 แต่ทางโรงพยาบาลมีอุปกรณ์ไม่เพียงพอ จึงแนะนำให้ไปตรวจที่กรุงเทพฯ นายประยุทธเดินทางมาตรวจที่โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ พบว่า ตนป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 3 ทีแรกตั้งใจจะรักษาที่โรงพยาบาลแห่งนั้น แต่ไม่มีเงินค่ารักษา จึงเดินทางกลับมารักษาที่โรงพยาบาลในจังหวัดอุบลราชธานี หมอนัดทำคีโม 9 ครั้ง จึงจะเสร็จสิ้นกระบวนการรักษา แต่นายประยุทธเข้ารับการทำคีโมได้เพียง 7 ครั้ง ก็มีการชุมนุมใหญ่ที่กรุงเทพฯ (ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553) นายประยุทธตัดสินใจนำชาวบ้านเข้ามาร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ อีกครั้ง “ตอนนั้นคิดว่าไหวอยู่ คิดว่ายังไงคงไม่ถึงตายหรอก”
การ ชุมนุมเริ่มต้นที่สะพานผ่านฟ้า นายประยุทธคอยดูแลอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ให้ชาวบ้านในพื้นที่ของตนที่มาร่วมชุมนุม จนผ่านเหตุการณ์ 10 เมษายน นายประยุทธยังคงปักหลักอยู่ที่สะพานผ่านฟ้ากับชาวบ้านในพื้นที่ที่ผลัด เปลี่ยนกันเข้ามาช่วยกันรักษาพื้นที่ในการชุมนุม เมื่อการชุมนุมเคลื่อนย้ายไปที่แยกราชประสงค์ นายประยุทธก็ยังคงนำชาวบ้านจากพื้นที่ที่ตนดูแลอยู่ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามา ร่วมชุมนุมอยู่ตลอดเวลา จนวันที่ 5 พฤษภาคม 2553 อาการป่วยของเขากำเริบหนัก เพราะไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง นายประยุทธจึงตัดสินใจเดินทางกลับอุบลราชธานีเพื่อเข้ารับการรักษา ช่วงเวลานี้หมอตรวจพบวัณโรคระยะ 3 แทรกซ้อนขึ้นมาอีก ต้องใช้เวลาในการรักษา 6 เดือน จึงจะหายขาด แต่นายประยุทธรักษาไปได้เพียง 3 เดือน ร่างกายก็รับไม่ไหว
ระหว่าง นี้ การชุมนุมที่กรุงเทพฯ ยังคงดำเนินไป จนเหตุการณ์ตึงเครียด มีการประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน นายประยุทธซึ่งยังต้องเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาล ไม่สามารถเดินทางไปร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ ได้ จึงตั้งเวทีขึ้นบริเวณข้างศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี มีการชุมนุมและปราศรัยตั้งแต่ 5 โมงเช้า ถึงเที่ยงคืน เป็นประจำทุกวัน
กระทั่งวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 มีการสลายการชุมนุมที่กรุงเทพฯ เวทีปราศรัยที่จังหวัดอุบลฯ ของนายประยุทธก็ยังคงทำหน้าที่คู่ขนานกับเวทีที่กรุงเทพฯ จนสี่ทุ่ม ผู้ชุมนุมก็แยกย้ายกันกลับ วันรุ่งขึ้น คือวันที่ 20 พฤษภาคม 2553 มีการเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี นายประยุทธยืนยันว่า เขาไม่รู้เรื่องการเผานี้ และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย
แต่ หลังจากนั้นเขาก็ถูกออกหมายจับในหลายข้อหา ทั้งยั่วยุ ฝ่าฝืน พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และปลุกระดมผ่านวิทยุชุมนุม นอกจากนี้เขายังเคยถูกข่มขู่ว่าจะจำคุกและประหารชีวิตด้วย
ช่วง เวลานั้น นายประยุทธได้รับแจ้งจากเพื่อนว่าเขามีชื่ออยู่ในบัญชีที่จะถูกเก็บด้วย “เขาว่าผมจะโดนเป่าเหมือนอ้วน บัวใหญ่” นายประยุทธจึงเดินทางหลบหนี “หนีหัวซุกหัวซุน เร่ร่อนไปจังหวัดละ 5-6 วัน ก็ต้องย้าย ขึ้นรถก็ต้องใส่วิก ใส่แว่นตาดำตลอดเวลา พอลงรถก็ต้องเข้าที่พักเลย ร่างกายก็ไม่ไหว ย่ำแย่มาก ตอนให้สัมภาษณ์อยู่นี่ก็เหนื่อยมาก”
หลังหลบหนีไปได้เพียง 2 วัน นายประยุทธได้รับแจ้งจากภรรยาว่า ศอฉ. มีหมายเรียกมาที่บ้าน ให้ไปรายงานตัวที่นครราชสีมา พร้อมกับ ส.ส.สุพล ฟองงาม และ ส.ส.ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ ทีแรกเขาตั้งใจจะไปรายงานตัวกับ ศอฉ. “แต่ที่อุบลมีหมายจับด้วย ข้อหาเผาศาลากลาง เลยไม่กล้าไป เพราะเขาบอกว่า ถ้าไปก็ถูกจับหมด ประกันตัวไม่ได้ เราป่วยอยู่ เลยไม่กล้าไปรายงานตัว กลัวถูกจับแล้วไม่ได้รักษา”
ปัจจุบัน นายประยุทธยังคงอยู่ระหว่างการหลบหนี เขาบอกว่า ที่พักหายากขึ้นทุกขณะ เบอร์โทรศัพท์ก็ต้องคอยเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ขณะที่อาการป่วยก็ทรุดหนักลงเรื่อยๆ ทำได้เพียงกินยาแก้ปวดระงับอาการ “กินแต่ยาแก้ปวดวันละ 4 เม็ด ให้หายปวดชั่วครั้งชั่วคราว จนจะติดมอร์ฟีนแล้ว”
นายประยุทธติดต่อ ศปช.เพื่อขอความช่วยเหลือ เบื้องต้นเขาต้องการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้อยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง และต้องการเข้ามอบตัวกับตำรวจ โดยเขาแจ้งว่า จะเข้ามอบตัวในวันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553 นี้
บริจาคเงินช่วยเหลือ
บัญชีออมทรัพย์ เลขบัญชี 915-205911-1
นาง
ธนาคารไทยพานิชย์ สาขาตลาดบ้านคู่ชื่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น