แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สุรนัน ท์ เวชชาชีวะ:จดหมายเปิดผนึก



ที่ ผ่านมาประเทศไทยมีประวัติที่ดีในเรื่องสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด ก็น่าจะต้องมาประเมินกันใหม่หมดถึงตัวบทกฎหมายและการบังคับใช้ เพราะเชื่อว่าคนไทยทั้งประเทศไม่ต้องการตกอยู่ในสภาวะความหวาดกลัวและการใช้ อำนาจรัฐพร่ำเพรื่อจนเสียหายและถูกประณามไปทั้งโลก!!



โดย สุรนันทน์ เวชชาชีวะ
ที่มา เวบ บางกอกวอยซ์


Human Rights Watch เป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนที่ทำหน้าที่ติดตามและรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน ประเทศต่างๆทั่วโลก ได้มีจดหมายเปิดผนึกถึง นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2553

เนื้อหาใจความของ จดหมายได้สะท้อนความเป็นห่วงเกี่ยวกับการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลที่ถึงแม้จะมีการยกเลิกการบังคับใช้ใน 5 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ นครปฐม นครสวรรค์ น่าน และศรีสะเกษ แล้ว แต่ก็ได้ยืดเวลาการบังคับใช้ไปอีก 3 เดือนสำหรับ 18 จังหวัด ซึ่งส่งผลในเชิงลบต่อสิทธิมนุษยชน กระบวนการทางกฎหมาย และหลักการประชาธิปไตยของประเทศไทย

สิ่งที่ Human Rights Watch เขาเป็นห่วงนั้นรวมถึง การควบคุมตัวโดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา การ ที่ขาดข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่ถูกควบคุมตัวโดยไม่มีข้อกล่าวหา การใช้สถานที่ที่ไม่ใช่ที่กุมขังทางการในการควบคุมตัวคนเหล่านั้น การที่ไม่มีมาตรการที่พอเพียงเพื่อป้องกันการใช้อำนาจในทางที่ผิดต่อผู้ที่ ถูกจับ การใช้ดุลพินิจที่กว้างในการให้ความคุ้มครองจากการถูกลงโทษต่อผู้ที่ปฏิบัติ ตาม พรก.ฉุกเฉิน และการที่สั่งการให้มีการเซ็นเซอร์อย่างกว้างขวาง

ทั้ง นี้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 เมษายนแล้วที่ได้มีการแสดงความกังวลถึงการใช้อำนาจตาม พรก.ฉุกเฉิน ซึ่งให้อำนาจพิเศษที่จำกัด หรือแม้แต่ยกเลิกสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองภายใต้ International Covenant on civil and Political Rights (ICCPR) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายไทย ซึ่งการที่ไทยได้รับรอง ICCPR แล้ว จึงต้องปฏิบัติตามและวางมาตรการเพื่อให้มีการเคารพสิทธิพื้นฐานต่างๆ

และ มาตรา 4 ของ ICCPR กล่าวถึงในยามที่มีสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งเป็นภัยต่อความอยู่รอดของชาติและมีการประกาศอย่างเป็นทางการ การจำกัดสิทธิบางประการอาจมีได้อย่างเคร่งครัดตามความจำเป็นในสถานการณ์ที่ฉุกเฉินนั้น ซึ่งคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Committee) ซึ่งเป็นองค์กรที่ติดตามการปฏิบัติตาม ICCPR ได้กำหนดว่า การจำกัดสิทธิจะต้องสะท้อนระยะเวลา พื้นที่ภูมิศาสตร์ และขอบเขตของความฉุกเฉิน ในสัดส่วนที่เหมาะสมต่อภัยที่ปรากฏ

แต่ไม่ ว่าในกรณีใด ICCPR ได้บัญญัติว่าจะต้องไม่ละเมิดสิทธิในชีวิต เสรีภาพในความคิด สติ และศาสนา และต้องมีอิสรภาพจากการถูกทรมาน การลงโทษอย่างไม่มีมนุษยธรรม ตลอดจนจะต้องหลีกเลี่ยงการจำกัดเสรีภาพและการเบี่ยงเบนการหลักพื้นฐานในการ ที่ต้องได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม และการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ฯลฯ

ในจดหมายเปิดผนึกยังได้ตั้ง ข้อสังเกตว่า รัฐบาลไทยได้ประกาศว่าสถานการณ์ได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติหลายครั้ง และการขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม รัฐบาลไทยให้เหตุผลเพียงว่าเพื่อป้องกันความรุนแรงและกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย ที่อาจมีขึ้น ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วรัฐบาลไม่ได้แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ถึงขั้น เป็นภัยต่อความอยู่รอดของชาติและการจำกัดสิทธิ เป็นอย่างเคร่งครัดตามความจำเป็นในสถานการณ์ที่ฉุกเฉิน

การใช้อำนาจตาม พรก.ฉุกเฉินที่มีปัญหาถกเถียงกันมากคือ การจับกุมและการควบคุมตัวบุคคลต่างๆ ซึ่งจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐาน และขาดการควบคุมมิให้มีการใช้อำนาจเกินเลยขอบเขต ขณะที่การจับกุมนั้นมีวงกว้างเกินผู้ที่เป็นแกนนำของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อ ต้านเผด็จการ (นปช.) และผู้ที่ร่วมประท้วงซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น ไปถึงนักการเมือง อดีตข้าราชการ นักธุรกิจ และอื่นๆ รวมถึงกรณีของอาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

การปิดกั้นสื่อเป็นอีก เรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมา โดยมีรายงานว่ามีเว็บไซด์กว่า 1,000 แห่งที่ถูกปิด สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม สถานีโทรทัศน์ออนไลน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสถานีวิทยุชุมชน ที่ล้วนแต่ใกล้ชิดกับ นปช. ซึ่งถือว่าเกินจากความจำเป็นภายใต้สภาวการณ์ปัจจุบัน

และสุดท้าย Human Rights Watch ยังเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน และให้เวลาเป็นสองเท่ากับการสร้างความปรองดอง จดหมายดังกล่าวมีรายละเอียดที่น่าสนใจและน่าศึกษา ซึ่งเข้าไปดูได้ที่เว็บไซด์ของ Human Rights Watch (www.hrw.org/node/91573)

หวัง ว่ารัฐบาลจะอ่านและทำความเข้าใจกับจดหมายฉบับนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยมีประวัติที่ดีในเรื่องสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด ถึงแม้จะมีหลายกรณีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นปัญหา แต่ด้วยบทเรียนนั้น ก็น่าจะต้องมาประเมินกันใหม่หมดถึงตัวบทกฎหมายและการบังคับใช้

เพราะ เชื่อว่าคนไทยทั้งประเทศไม่ต้องการตกอยู่ในสภาวะความหวาดกลัวและการใช้อำนาจ รัฐพร่ำเพรื่อจนเสียหายและถูกประณามไปทั้งโลก!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน