แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ธงชัย วินิจจะกูล สนทนากลางฝุ่นตลบหลังพฤษภา

แมน เดลาที่เป็นเหยื่อถูกกระทำ ขอให้คนผิวดำให้อภัยแก่คนผิวขาว มันฟังขึ้น แต่หากสมมติว่า แทนที่คนพูดจะเป็นแมนเดลา แต่เป็น เดอ เคลิร์ก ผู้นำคนขาวคนสุดท้ายของแอฟริกาใต้พูดกับคนผิวดำว่า ต้องก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชัง ต่างกันใช่ไหมครับ

นัยยะมันคนละ เรื่อง อันหนึ่งเห็นด้วยไม่เห็นด้วยก็แล้วแต่ มันสง่างาม แต่อีกอันหนึ่งมันน่าขยะแขยง ทีนี้มาลองนึกถึงสังคมไทยใครพูดเรื่องปรองดอง เดอะคล้าก หรือเดอะมาร์ค แล้วที่น่าเศร้าคือคนในสังคมไทยรับความน่าขยะแขยงได้



ที่มา สำนักข่าวประชาธรรม
ภาพประกอบ Pink man โดยมานิต ศรีวานิชภูมิ
29
กรกฎาคม 2553



บรรยากาศการบรรยายพิเศษ

"ภาวะ ฝุ่นตลบ" เป็นภาวะซับซ้อนและที่สำคัญมาก คือ มันเป็น Tragedy เมื่อมันเสร็จสิ้นลงไปเป็นปกติไม่ว่าสังคมไหนหรือที่ไหน จะเต็มไปด้วยคำอธิบาย และข้อเท็จจริงจำนวนมากที่ไม่ลงตัว



เชียงใหม่/วานนี้(28 ก.ค.53) เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมหม่อมหลวงตุ้ย มช. ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดเสวนา บรรยายพิเศษ เรื่อง"สนทนากลางฝุ่นตลบหลังเดือนพฤษภา:ประเด็นและคำถามจากเหตุการณ์พฤษภา อำมหิต" มี ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติ ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา และอดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นวิทยากร


คลิ้กฟังคลิปเสียงของศ.ดร.ธงชัย ที่นี่

http://www.megaupload.com/?d=KWEORG9P


การแสดงเสียดสีสังคมไทย"มีคนตายที่ราชประสงค์"โดยกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง

ศ.ดร.ธง ชัย กล่าวว่า ผมคิดว่าหลังเหตุการณ์เดือนพฤษภา 53 มีเรื่องราวหรือเหตุการณ์มากมายที่คนพูดไปมากแล้ว เช่น เหตุที่มาของปัญหา มองในเชิงโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงชนบทไทย ความเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ช่องการเลือกตั้ง เหตุความขัดแย้งกับชนชั้นนำของไทย เป็นต้น

เพราะฉะนั้น มันมีเรื่องหลายเรื่องในหัว บก.หนังสืออ่าน จะให้ผมช่วยเขียน สิ้นเดือนมิถุนายนผมสารภาพว่าเขียนไม่ออก ไม่ใช่เพราะไม่มีอะไรจะพูด แต่เพราะมีเยอะเกินไป ตอนที่ผมรับทาง มช. ว่าจะคุยก็คิดในใจว่าเรื่องที่เขียนไม่ออกนี่แหละ เรื่องที่ผมเตรียมมาและอยากคุยคือ เป็นทั้งประสบการณ์ที่ทำมาหลายปี คือ ประเด็นที่ว่า เราจะอยู่อย่างไรและจะจัดการอย่างไรกับประวัติศาสตร์ที่โหดร้าย


ภาพถ่ายเสียดสีเหตุการณ์ 6 ตุลาคม

สามสิบกว่า ปีของชีวิต เราจะเรียนอะไรจากประวัติศาสตร์ 6 ตุลา ประวัติศาสตร์ที่โหดร้าย และในแง่ที่เป็นความทรงจำร้าวลึก ที่มีปัญหากับสังคมไทย และสังคมไทยพยายามจัดการกับมัน ผมพยายามเอาบทเรียนประสบการณ์ที่เคยคิดกับเรื่องนี้ มาคิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาที่ยังสดๆ อยู่ ขณะที่ 6 ตุลา ผมเขียนหลังจากมันผ่านมาแล้ว 20 กว่าปี

"
ภาวะฝุ่นตลบ" กับ "โศกนาฏกรรม"

สนทนา ท่ามกลางสภาวะที่ฝุ่นตลบ ผมจะเริ่มเลยว่า ฝุ่นตลบแปลว่าอะไร จากนั้นจะมี 4-5 ประเด็นใหญ่ๆ จะอยู่และจัดการ (Deal) อย่างไร จะเริ่มลงตัว และลงตัวแบบที่หลายคนคงไม่อยากให้มันลงอย่างนั้น

พูดกันอย่างเปิด เผยไม่ต้องปิดบังกันเลยว่า ภาวะฝุ่นตลบ จะเป็นภาวะที่คนเกลียดเสื้อแดงอาจจะพอใจ แต่อาจลงตัวแบบที่ไม่น่าพอใจของหลายๆ คนในที่นี้ที่เห็นอกเห็นใจคนเสื้อแดง บทเรียนกรณี 6 ตุลาคือเราสู้มาเป็นสิบๆ ปี และไม่รับประกันว่าจะชนะ คนรุ่นผม เหมือนเจอเพื่อน เราอยู่กับมันมา 30 ปีแล้ว มันไม่ง่าย เผลอๆ เราอยู่จนเกษียณ จนตาย สังคมไทยก็ยังอยู่แบบนั้น

สังคมไทยจัดการกับ โศกนาฏกรรมแบบไหน ยังไงบ้าง อะไรที่น่าพิศมัยและไม่น่าพิศมัย จัดการกับมันอย่างไรให้ดีที่สุดเท่าที่คนที่ตกเป็นเหยื่อ อยู่กับมันได้ และจะสู้กับมันอย่างไร ซึ่งหวังว่าจะใช้เวลาไม่มากจนเกินไป และจะคุยกันต่อเรื่องนี้

"
ภาวะฝุ่นตลบ" เป็นภาวะซับซ้อนและที่สำคัญมาก คือ มันเป็น Tragedy เมื่อมันเสร็จสิ้นลงไปเป็นปกติไม่ว่าสังคมไหนหรือที่ไหน จะเต็มไปด้วยคำอธิบาย และข้อเท็จจริงจำนวนมากที่ไม่ลงตัว ฝุ่นตลบคือแบบนี้

ยก ตัวอย่างกรณีปัจจุบันที่เกิดขึ้น เราได้ยินเรื่องตั้งเยอะที่ไม่มีทางกระจ่างได้ง่ายๆ (จะมีการทำความกระจ่างเข้าสักวัน) เหตุการณ์ในโลกและในเมืองไทยเอง ให้อีก 50 ปีหลายเรื่องก็ไม่กระจ่าง คนที่เรียนประวัติศาสตร์จะรู้ว่า ความรู้ประวัติศาสตร์ไม่ใช่นักสืบและจัดการ Fact ได้อย่างลงตัว ไม่มีหรอกครับ ซึ่งบางคนพอใจแบบนั้น หลายคนจะอึดอัด

ในกรณีปัจจุบันยกตัวอย่างเช่น ความ พยายามอธิบายเรื่องคนเสื้อดำ และความสัมพันธ์ระหว่างคนเสื้อดำกับแกนนำกับทหารหรือกองทัพ ผมเชื่อว่าเถียงไปอีกนานเผลอๆ ก็สรุปไม่ได้


ภาพ ถ่ายเสียดสีชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ พวกเขาอาจจะคิดว่าการ"ช็อปปิ้ง"นั้นสำคัญที่สุดในชีวิต และการได้ช็อปปิ้งก็คือได้รับ"ความสุขกลับคืนมา"

ไม่ได้หมายถึงคณะกรรมการของรัฐบาลนะครับ เขาสามารถสรุปได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าสังคมจะสรุปได้,เรื่องการใช้อาวุธ

แม้แต่ย้อนไป 6 ตุลา เรื่องการแสดงละครหลายคนยังเชื่อว่าแต่งรูป เรียนด้วยความซื่อสัตย์ ในฐานะผู้ทำวิจัย รูปนั้นเผลอๆ ไม่ได้แต่ง แต่พอพูดแบบนี้หลายคนอาจไม่เชื่อ ผมจะบอกว่าแต่งก็ได้แต่คนจำนวนหนึ่งไม่น้อยก็อาจไม่เชื่อเช่นกัน

เหตุการณ์ ตรงใต้สะพานตรงพหลโยธิน ยิงกันเองจบ ผมว่ารัฐบาลมีสิทธิสรุป หรือเหตุการณ์ยิงคนวัดปทุมวนา ตกลงยิงจากที่สูงหรือที่ราบ ผมไม่แน่ใจว่าจะสรุปได้ ภาวะที่แตกกันเป็นขั้ว ต่างฝ่ายต่างสรุปกันได้ทั้งนั้น ฉะนั้น ภาวะฝุ่นตลบ คือภาวะที่สังคมตกลงไม่ได้ สืบสวนไปแล้วจะเจอ fact ที่สามารถ conclusive ผมว่าไม่มีทางเป็นไปได้

ตกลงคุณจะด่าแกนนำดีไหม เขาตัดสินใจถูกหรือผิด เพราะอะไรบ้าง เงื่อนไขอะไรบ้าง มันต้องเป็นอย่างนี้แต่ต้น ก็พวกเขาไม่รู้ว่ามันจะมีการพลิกผัน จึงเห็นว่า สรุปไม่ได้ ความเชื่อของแต่ละคนอาจสรุปได้ แต่เป็นข้อสรุปทั้งสังคมผมว่ายาก ต่อให้คณะกรรมการของรัฐบาลสรุปแล้ว คนอาจไม่เชื่อ

แล้วจะอยู่อย่างไร "ท่ามกลางภาวะฝุ่นตลบ" สังคมไม่สร้าง Value ไม่สร้างบทเรียนเลยหรือ ตรงกันข้าม ทุกสังคมแม้จะสรุปไม่ได้ แต่ก็จะสรุปบทเรียนประจำ สรุปเข้าข้างตนเอง สรุปเข้าข้างคนมีอำนาจ สรุปตามปัจจัยจำนวนหนึ่ง ต้องการพยายามเข้าใจ อย่างเป็นเหตุเป็นผล ทั้งที่ความเป็นจริงหลายเรื่องไม่เป็นเหตุเป็นผลเท่าไหร่

คุณลองนึก ถึง เหตุการณ์ที่ถือว่าร้าย ถือว่าเศร้าสำหรับชีวิตเรา เราทนได้ไหม ตกลงไม่รู้ใครถูกใครผิด เราทนไม่ไหวหรอก ผมไม่ได้บอกว่าทุกคนผิดหมดด้วยนะ และภาวะนี้ แทนที่จะบอกว่า Fact ที่ไม่ลงตัว สังคมสรุปไม่ได้ใช่ไหม ไม่จริง สังคมสรุปประจำ สรุปด้วยอำนาจของคณะกรรมการ รัฐบาล นักประวัติศาสตร์ นักเขียนหนังสือ สื่อมวลชน สรุปด้วยอำนาจสารพัดชนิดตามที่มุมมองของคนเหล่านั้นมีอยู่ แต่สังคมจะต้องพยายามทำให้มันลงตัว

ตกลงใครเผาเซ็นทรัลเวิลด์ ผมว่าสุดท้ายหาไม่เจอ ทั้งที่มันหาได้ ตกลงใครเผา Big C คนโดนสลายเรียบร้อยทำไมเพิ่งโดนเผา และภาวะฝุ่นที่จะหายตลบ ไม่ใช่เพราะได้ข้อเท็จจริงที่ลงตัว แต่เพราะคนอึดอัด จึงมาช่วยสรุป

ส่วน ใหญ่คือใช้อำนาจสื่อ ใช้อำนาจรัฐ อำนาจนักวิชาการ ทั้งที่พอเราใช้ปัจจัยเหล่านั้นมาสรุป ทำให้คนที่ไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปเหล่านั้นอยู่อย่างอึดๆ อัดๆ ไปตลอดชีวิต

ตอนครบรอบ 20 ปี 6 ตุลา รุ่นผม 6 ตุลามาจัดนิทรรศการว่าเกิดอะไรขึ้น ตี 5 ของวันนั้นเราถอดรูปหนึ่งออกเพราะ กลัวมาตรา 112 เท่ากับการจัดนิทรรศการ 20 ปี 6 ตุลาเราพูดไม่หมด ขืนพูดหมดก็... เอาเป็นว่าพูดไม่หมดแต่ก็ต้องอยู่ไป

การ ใช้เหตุใช้ผลล้วนๆ หลายอย่างใช้ได้แค่ขั้นหนึ่ง สุดท้ายผมใช้วรรณคดี ใช้วรรณกรรม อ่านหนังสือเรื่องนั้นเรื่องนี้แล้วพยายามนึก ใช้จินตนาการว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะงานเขียนที่ช่วยให้เราคิดถึงโศกนาฏกรรมที่ดีไม่ใช่งานทางสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ แต่เป็นพวกวรรณคดี

โศกนาฏกรรม ในความหมายของวรรณคดี จึงไม่ใช่มีความหมายเพียงว่า มีคนตายกี่คน มีความทุกข์ยากขนาดไหน แต่โศกนาฏกรรมมีความหมายกว้างกว่านั้น คือ ในภาวะที่มนุษย์ไม่ว่าคุณทำอะไรก็มีคนสูญเสีย มีคนเจ็บตัว มียอดเสียที่ราคาแพง ไม่ว่าแพ้หรือชนะก็หัวเราะไม่ออก ภาวะโศกนาฏกรรมทางวรรณคดีจะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก แต่ไม่ว่าทำอะไรลงไป มันไม่ด้มีแต่ด้านดี

ฝุ่นหายตลบ สังคมคือผู้เขียนประวัติศาสตร์



ฝุ่น จะหายตลบได้อย่างไรบ้าง หนึ่ง ผู้ชนะเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์ มันไม่ง่ายหรอกครับ ไม่จริง คนชนะเขียนประวัติศาสตร์ บ่อยครั้งไม่ใช่ หมายความว่าคนแพ้เขียนประวัติศาสตร์ด้วยหรือไม่ใช่ สังคมที่คลี่คลายไปคือผู้เขียนประวัติศาสตร์ ผู้ชนะเขียนประวัติศาสตร์ระยะสั้นเช่น รัฐบาล หรือ ศอฉ. แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะเขียนตามเกณฑ์คุณค่า บรรทัดฐานของสังคม

อย่างหลัง 6 ตุลาใหม่ๆ ในมหาวิทยาลัยจัดไม่ได้ จะคุยกันต้องลงใต้ดิน เพราะว่าแนวหน้าของการปะทะไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัย (แต่ตอนนี้คนที่คุยไม่ได้คือ คนที่อยู่รอบๆ เชียงใหม่ ไม่ใช่มหาวิทยาลัย แนวหน้าของความขัดแย้งไม่ใช่มหาวิทยาลัย แต่เป็น ขอนแก่น อุดร อุบล หรือหลายๆ แห่ง อย่างพวกเราอาจจะโดนก็ได้นะ แต่พอรู้ว่าเราจัดแบบนี้ได้)

หลัง จากนั้น 2-3 เดือน บรรดาคนที่เห็นอกเห็นใจต้องหลบๆ ซ่อนๆ ต้องเข้าป่า คนที่มีส่วนในการฆ่ายังร่าเริง ยังแสดงความดีอกดีใจที่ได้ฆ่าคอมมิวนิสต์ ประมาณธันวาคมหรือเลยจากนี้นิดหน่อย ความร่าเริง รวมๆก็เริ่มหายไป ก็คือทุกอย่างปรับตัวเปลี่ยนตลอดเวลา รวมทั้งความล้มเหลวของรัฐบาลธานินท์ รวมทั้งข่าวสารรูปภาพจากต่างประเทศไหลเข้ามา ตอนนั้น รูปแรกที่ออกสู่สังคมไทยหลังเหตุการณ์6 เดือน

ออกปุ๊บหนังสือพิมพ์นั้นปิดเลย

ผู้ ชนะไม่ใช่คนเขียนประวัติศาสตร์เสมอไป เพราะมันเป็น Fact เขาไม่มีทางกุมการเขียนประวัติศาสตร์ ที่จัด 6 ตุลาได้เพราะกระแสสิทธิมนุษยชน ลองไปพูดเมื่อธันวาคมปี 2519 พูดไม่ได้ ถ้าผมไม่หมกมุ่นผมไปนั่งคุยกับกระทิงแดงไม่ได้หรอก เราพบว่าเขาก็เปลี่ยนความคิด เขาเชื่อว่าทำถูก แต่คำอธิบายเปลี่ยนไป ผมทำงานกับสายข่าว ทบ. พบว่าความคิดเปลี่ยนไปมหาศาล เขาอธิบายใหม่ เขาเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อครั้ง 6 ตุลา ผู้ชนะจึงไม่ใช่คนเขียนประวัติศาสตร์ตลอดไป

และในภาวะปัจจุบันผมไม่ กล้าวิเคราะห์อาจจะสั้นกว่าสามเดือนหรือยาวกว่าก็ได้ แต่ระยะเวลาไม่สำคัญ พูดในภาษาผม ฝ่ายที่มีอำนาจกำหนดให้ฝุ่นหายไปแบบใด อาจไม่ง่ายเหมือน 6 ตุลาก็ได้ ขึ้นอยู่กับคนอื่นด้วยว่าจะมีปากมีเสียงทำให้ฝุ่นตลบนานขึ้นอีก เพราะไม่ยอมให้อำนาจของรัฐกำหนดเรื่อง การใช้อำนาจ

ทำไมผมคุยเรื่อง Memory อันนี้ก็ขออภัยนะครับ สำหรับผมสำคัญ คำถามว่าคนตายจะได้รับการแก้แค้นไหม ในอนาคตสังคมจะจดจำเขาแบบไหนอันนั้นสำคัญ และการเปลี่ยนสังคมมีผลต่อ Story ที่จดจำมันเป็นแนวรบหนึ่ง ผมถึงบอกว่า วันนี้ผมขอคุยถึงแนวรบที่ปกติคนไม่คิดกัน

อาชญากรรมทางความคิด (Thought Crime) ในสังคมไทย : การจัดความทรงจำโดยรัฐ
สังคม ไทยใช้อำนาจแน่ แต่อำนาจในการกำหนดเรื่องไม่ได้อยู่กับคนที่มีอำนาจ อำนาจไม่อยู่ในมือใครเป็นเวลานานและสังคมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา Rate ในการเปลี่ยนที่มีผลต่อความทรงจำพฤษภาที่ผ่านมา อาจจะใช้เวลาสั้นกว่า 6 ตุลาเยอะ แต่ขึ้นอยู่อันที่สอง อำนาจในการจัดทำให้ฝุ่นหายตลบคืออะไร

อัน นี้ผมเรียนรู้จากหนังสือฝรั่ง 1984 ของจอร์จ ออเวล ผมนึกไม่ถึงว่าจะเกิดจริงๆ 1984 เป็นเรื่องสังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จ ไม่ใช่แค่ปืนหรือตำรวจไปจับนั่นเถื่อนไปหน่อย (ในความเป็นจริงในสังคมอาจไม่ได้เป็นแบบนั้นเป๊ะๆ เพราะนั่นคือนิยาย) แต่สังคมใน 1984 คือการใช้อำนาจบงการความจำ และความรู้ของคน

ผมไม่ รู้ว่าควรจะดีใจไหมที่สังคมไทยไม่เป็นแบบจอร์จ ออเวล แต่สังคมมีส่วนหลายๆ อย่างที่ทำให้ผมคิดถึง 1984 ผมคิดว่าสังคมไทยทำเหมือนกับนิยาย 1984 ซึ่ง 1984 ไม่ใช้ปืนแล้ว แต่ความเป็นจริงเถื่อนกว่า บนหน้าหนังสือพิมพ์ มันลึกซึ้ง การล่าแม่มด การลงโทษเด็กนักเรียนที่เชียงรายหรือมาร์ค V 11 น่ะครับ ซึ่งมันเป็น Thought Crime อาชญากรรมทางความคิด

ผมว่าสังคม ไทยมันเหลือเชื่อ ปีสองปีก่อน พยายาม Campaign กฎหมายหมิ่น ตอนนี้ไม่ใช่แค่กฎหมายหมิ่นแล้วนะ มีการจัดการกับความรู้ความทรงจำในฐานะที่มันเป็น Thought Crime สังคมที่เจริญ Civilized เขาไม่ทำแบบ Thought Crime แต่เมืองไทยทำ

ศัพท์ ของออร์เวล เขาใช้ Double speech ผมไม่รู้ว่าจะนิยามเป็นภาษาไทยอย่างไร "ลิ้นสองแฉก" ก็ไม่เชิงนะ ทำนองนั้น "ปากว่าตาขยิบ" ในการพูดซึ่งดูเหมือนจะตีความได้อย่างเดียว และเขาพูดแบบนั้นไม่ใช่ว่าเขาไม่ได้คิดแบบนั้น แต่เขาเชื่อในสิ่งที่เขาทำ เช่น การปรองดองนี่เป็น double speech เมื่อไม่กี่วันก่อนอภิสิทธิ์พูดเรื่องปฏิรูปการศึกษา ให้วิพากษ์วิจารณ์ เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งมันแปลคนละอย่างกับที่เราคิด

คนที่ทำมานาน แล้ว กลับเป็นความหมายที่ตรงกันข้ามอย่างเหลือเชื่อคือ พันธมิตรฯ ทำมาหลายปีแล้ว คุณคิดว่าเขาต่างจากอภิสิทธิ์หรือ ผมคิดว่าอภิสิทธิ์คิดไม่ต่างกับพันธมิตรฯ คุณสังเกตดูนะครับ เพียงแต่เขาไม่ได้อยู่กับพันธมิตรฯ เท่านั้นเอง แต่การเมืองเขาผลประโยชน์หลักคือพรรคประชาธิปัตย์

1984
สอนให้รู้ว่าสังคมรัฐ จัดการกับ Thought Crime อย่างไร สุวิชา ท่าค้อ หลังจากออกจากคุก ได้อ่านไหมครับ บุญยืน ประเสริฐยิง ติดคุกคนละปีโดยประมาณ ผมขอเล่าความรู้สึกที่เขามีต่อคำสัมภาษณ์ ในภาษาวิชาการตีความโดยผม เมื่อผมอ่านแล้วเกิดอะไรขึ้นในความคิดผม ผมคิดถึง 10 หน้าสุดท้ายของ 1984

ใน 1984 เบากว่าและหนักยิ่งกว่าเพราะกบฎลงไปถึง individual ผู้ชายชื่อลีสตัน และผู้หญิงชื่อจูเลีย จูเลียกับลีสตัน (ไม่แน่ใจชื่อนะ) เขาละเมิดกฎเกณฑ์ของสังคมที่มี Big Brother ละเมิดด้วยการแอบมีเซ็กส์กัน ซึ่งสังคมนั้นอนุญาตเฉพาะเซ็กส์ที่อนุญาต 1984 Big Brother ปลอมตัวลงมาในฐานะโอไบรอัน ทำมาเป็นเห็นอกเห็น สุดท้ายคนนั้นคือ Big Brother เอง ทำให้พวกเขาถูกจับไปทรมาน สุดท้ายเขาทนไม่ไหว ยอมแพ้ การยอมแพ้ของจูเลียกับลีสตัน ผมไม่รู้นะผมอ่านแล้ว ลีสตันขายจูเลีย จูเลียขายลีสตัน ทันทีที่คุณขายปุ๊บ Big Brother ปล่อยตัว ความทรมานไม่เท่ากับ ที่คุณ Spirit หมด หมดความเคารพตัวเองทันที ไม่เหลืออะไรเลย เป็นประชากรของโอเชียเนีย

Sense
ที่ผมได้ เราเกลียดจูเลียกับลีสตันไม่ลง ผมไม่รู้จริงๆ ไม่ว่าเขาตัดสินใจ บุญยืนใส่เสื้อชมพูออกมาสัมภาษณ์ผมโกรธไม่ลง แต่ฉากนี้โหดร้ายยิ่งกว่าเอาเขาเข้าคุก โหดร้ายไม่น้อย ทันทีที่คุณขายเพื่อน หมดความเคารพตัวเอง รัฐบอกว่าไม่ต้องห่วงหมอนี่อีกแล้ว รัฐกำลังชำระสะสางฝุ่นที่ตลบให้ลงตัว คิดต่างทั้งหลาย ถึงจุดหนึ่งต้องระวังต้องเกรง คนที่ไม่โดนก็ต้องระวัง 1984 ทำลาย Spirit สำคัญกว่า Physical

รัฐไทยอาจไม่ทำถึงขนาดนั้น แต่ลองนึกสิครับ ไล่จับไล่ขู่ สุธาชัยก็ปล่อย แค่ไหนที่คนนี้เป็นอันตรายน้อยลง ต้องระวัง ต้องกลัว ผมจะไม่ชายตาไปหาเพื่อนผมคนหนึ่งในที่นี้ ที่ถูกจับคดีหมิ่น ความคิดเขาไม่เปลี่ยน แต่แทนที่จะอยู่ได้อย่างมนุษย์ Inviduality ปัจเจกภาพของเขาต้องถูกลดทอน

ตอนสุดท้ายของสุดท้ายของ 1984 จูเลียกับลีสตันมาเดินจ๊ะเอ๋กัน ไม่อยากเจอกันแล้ว หนังสือก็ทะลึ่ง โดยเขียนให้เห็นว่า ลึกๆ แล้วลีสตันยังหวนอาวรณ์การมีเซ็กส์กับจูเลียอยู่ คือไม่ถึงกับที่ Big Brother จะต้องคลีนหมด แต่แค่นั้นพอแล้ว

คำพิพากษาจากสื่อมวลชน

การ จัดการความทรงจำประการที่สาม ผู้แสดงนำคือสื่อมวลชน ยกตัวอย่าง นิยายไทยก็ได้ มีใครอ่านคำพิพากษา คนที่ไม่ได้อ่านลองไปอ่าน ของชาติ กอบจิตติ มันจัดการแบบหนังสือบอก

นายฟัก เขาตั้งชื่อโดยไม่รู้ว่าเล่นกับภาษาอยู่ ถูกหาว่าเป็นชู้กับแม่ตัวเอง ทำให้เราต้องเลือกข้างว่าจะเชื่อฟักว่าไม่ได้เป็นอย่างนั้น เขาไม่ทำให้มันชัดว่ามันเกิดอะไรขึ้น แต่มันเป็น Scandal คือสังคมตัดสินทันทีจนฟักต้องอยู่อย่างทุกข์ทรมาน ไม่ว่า fact จะคืออะไร

สิ่ง ที่มีอำนาจทำให้สังคมตัดสินอย่างนั้นคือ สื่อมวลชน fact คืออะไรเรื่องหนึ่ง แต่เขาพิพากษาได้ แล้วโลกวันข้างหน้าเปลี่ยนความคิด นสพ.จะเป็นฉบับแรกๆ ที่ออกมาบอกว่าเห็นใจ 6 ตุลา แล้วตอนที่ปราบนั่นพวกคุณทำอะไร

ช่วงที่สถาปนาว่า นศ.ธรรมศาสตร์ เลวระยำโหดเหี้ยมคือสื่อมวลชน พวกเราก็ต้องพึ่งสื่อมวลชนอยู่ดี สุดท้ายพวกนี้นี่แหละที่บอกว่าสังคมไทยโหดเหี้ยมมากนะที่ทำกับ นศ.แบบนั้น ใครพูดล่ะ

วิธีจัดการสั้นๆ ทำเหมือนอย่างครูใหญ่หรือสังคมในหนังสือเรื่องคำพิพากษา

ปรองดอง/สมานฉันท์/อภัย ต้องให้ "เหยื่อ"(Victim) เป็นคนพูด

อันที่สี่ ไม่ใช่วรรณคดีแต่ผ่านหนังสือเหมือนกัน ค.ฅน ฉบับพิเศษ ที่เพิ่งออกมา พาดหัวว่าอะไรนะ ภาพหน้าปกเลย "ก้าวให้พ้นความโกรธ เกลียด ชิงชัง" หนังสือเล่มนั้น จะเป็นรูปภาพ มีเนื้อหาสาระสัมภาษณ์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล และพระไพศาล วิสาโล ก้าวข้ามชิงชัง ทำนองนี้ ไม่แน่ใจ

ผม ฝากให้คุณไปทำการบ้าน ไปดูคำสัมภาษณ์ของคนสองคน แล้วนับดูว่ามีความยุติธรรมกี่ที่ ประเด็นคืออะไร โศกนาฏกรรมที่เกิดในสังคมไทยหลายครั้งทำโดยชนชั้นปกครองและคนมีอำนาจ ซึ่งคนมีอำนาจนั่นแหละมาพูดเรื่องปรองดอง สมัย 6 ตุลาใช้คำว่า สมานฉันท์ นิรโทษกรรมพวกผม แต่พอจะมีการต้อนรับ ก็บอกว่าอย่าต้อนรับ สมานฉันท์ดีกว่า ตอนผู้พัฒนาชาติไทยกลับมาก็ใช้เพื่อคืนดีกัน สมานฉันท์กัน หยุดการชุมนุม หยุดการต้อนรับ แล้ว 6 ตุลาถูกเบรคหลายปี ด้วยข้ออ้างว่าเพื่อความสมานฉันท์ อย่าฟื้นฝอยหาตะเข็บ

สิ่งที่เรียกว่าความสมานฉันท์ ปรองดองในสังคมไทย ไม่ผูกติดกับความยุติธรรม ผมอยากจะออกจาก ค.ฅน ไปหา หนัง INVICTUS สังคมแอฟริกาใต้เต็มไปด้วยการเหยียดผิว พอยกเลิกการเหยียดผิวได้ ตอนที่แมนเดลล่าเป็นประธานาธิบดี และต้องการใช้ทีมรักบี้ซึ่งเป็นรากของคนผิวขาวมาสร้างความสมานฉันท์ของคน ต่างสี คนผิวสีจะค้าน ทีมรักบี้ของคนผิวขาว แมลเดลาบอกว่าต้องกล้าก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชัง

ดีใช่ไหมครับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหนัง คือผู้นำของฝ่ายที่ตกเป็นเหยื่อออกมาต่อสู้กับพลพรรคตนเอง ว่าต้องก้าวข้ามให้ได้ จะได้อยู่ในสภาวะที่ปกติ ไม่อย่างนั้นจะไม่จบ แน่นอนคนของเขาไม่เห็นด้วยเยอะแยะ แต่มันก็พอฟังขึ้น แมนเดลา ทำให้เกิดโจทย์ที่ต้องคิดต้องเขียน ผมสมมติว่า ลองนึกภาพคนที่พูดจากแมนเดลา เป็น เฟร็ด ดับเบิลยู เดอ เคลิร์ก (De Clerk) ผู้นำคนขาวคนสุดท้าย พูดกับคนผิวดำว่าต้องก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชัง ต่างกันใช่ไหมครับ

Implication
นัยยะมันคนละเรื่อง อันหนึ่งเห็นด้วยไม่เห็นด้วยก็แล้วแต่มันสง่างาม แต่อีกอันหนึ่งมันน่าขยะแขยง ทีนี้มาลองนึกถึงสังคมไทยใครพูดเรื่องปรองดอง เดอะคล้าก หรือเดอะมาร์ค แล้ว ที่น่าเศร้าคือคนในสังคมไทยรับความน่าขยะแขยงได้ ในสังคมคนลงมือ สั่งเองเป็นคนพูดสำหรับผมมันน่าขยะแขยง คุณไม่มีสิทธิพูด คุณเอาคนกลางๆ มาพูดก็ว่าไป

ประเด็นที่สี่ ที่จะพูดคือ คำว่าปรองดองในสังคมไทยมันทำงานแบบไทยๆ หนึ่ง คือไม่ผูกติดกับเรื่องความยุติธรรม สอง ใครๆ ก็พูดได้ ผมลืมคำที่แมนเดลา บอกว่า Forgive ถึงเห็นด้วยไม่เห็นด้วย เราก็ต้องฟัง

เรื่องนี้เป็น ลักษณะของสังคมไทย หนังสือ ค.ฅน เสกสรรค์ ที่มีความสามารถเรื่องพุทธศาสนา หรือพระไพศาล อะไรคือ Forgiveness ในสายตาของสังคมนี้ ผมไม่พิพากษาว่าดีไม่ดี มันเป็น forgiveness ของ individual ไม่ใช่ social-relation ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมให้อภัยกันและกัน

สังคม ไทยมีคนจนเยอะแยะ คุณคิดว่า พอเห็นคนจนคุณเป็นผู้บริหารจะบอกว่า จงพอใจในสิ่งที่มีอยู่ หรือบอกว่าพอใจในสิ่งที่มีอยู่ แต่พยายามหน่อยนะ แต่จะมี Public policy ออกมา ต่างกันไหมครับ

เมื่อไหร่ก็แล้วแต่ ถ้าคุณจัดการเรื่องนี้ทางศีลธรรม โดยไม่ผูกกับ Social-relation จงพอใจในสิ่งที่มีอยู่ จบ ก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชัง กับก้าวข้ามแล้วมี policy มันต่างกันนะ มันฟังแล้วเหมือนกับบอกว่าจงพอใจในสิ่งที่มีอยู่ ผมไม่ได้เรียกร้องว่าไม่ควรพูดเรื่องพวกนี้ แต่ถ้าพูดเรื่องพวกนี้โดยไม่มีกลไกทางสังคมจัดการปัญหา ก็จบ เวลาผมอ่านคำสัมภาษณ์ของ 2 ท่าน

ไปสัมภาษณ์พระไพศาล เรื่อง evil ในตัวคน ก็จบอย่างที่เห็น หรืออาจเป็นเพราะพระพุทธศาสนาไม่มี Social-relation คุณลองสังเกตดูกัมพูชา และศรีลังกาเป็นแบบนี้คล้ายๆ กัน เรื่องนี้เป็นเรื่องต้องคิด ปรองดอง โกรธเกลียด ก็ทำนองเดียวกัน

การ ปรองดองและการสถาปนา Justice ที่ดีที่สุด ให้ Victim เป็นคนทำ และมี Sophisticate ด้วยนะ ไม่ใช่มีอำนาจแล้วมาแก้แค้น 6 ตุลากล้าไหม ปล่อยให้ Victim ตั้งกรรมการ พฤษภากล้าไหมให้ Victim ตั้งกรรมการ แต่ไม่ใช่แก้แค้นเพื่อ feed ความรุนแรงไปไม่รู้จบ

ฝุ่นหายตลบโดยนักวิชาการ : ความสมเหตุสมผลบนความไม่สมเหตุสมผล



ประเด็น สุดท้าย นักวิชาการ คุณเห็นการถกเถียงว่าการด่าแกนนำผิดไม่ผิดไหมครับ มันเป็นเหตุเป็นผลเป็นบ้า การสู้กับความอยุติธรรมขนาดเอาชีวิตเข้าแลกมันเป็นเหตุเป็นผลไหม การที่ยอมตายเพื่อความยุติธรรม มัน Rational ไหม สมเหตุสมผล คือที่ปกติไม่ทำกันหรอก ไม่ใช่บ้า หรือปัญญาอ่อน แต่มันไม่สมเหตุ รังแกกูกูไม่ว่านะ รังแกลูกกูเมื่อไหร่กูสู้ สมเหตุสมผลนะ แต่เป็นเหตุเป็นผลเป็นอีกเรื่อง

มนุษย์เป็นแบบนี้กี่ร้อยกี่ล้านคน แล้ว ผมคิดว่านักวิชาการหาความสมเหตุสมผลจนสุดโต่ง มนุษย์มีความสมเหตุสมผลจำกัด ใช้ใจ ไม่ได้แปลว่าไร้เหตุผลนะ และไม่ได้บอกว่าควรจะทำ แต่การถกเถียงของนักวิชาการคือการหาเหตุผล แต่คนมีเหตุผลจำกัด ซึ่งไม่ใช่เรื่องความเลวร้ายที่เขาประณาม เป็นเรื่องเห็นอกเห็นใจ แสนจะเป็นคน

ถึงจุดหนึ่งจะตัดสินใจด้วยสัญชาตญาณ ได้ยินคำกล่าวว่า

คนที่อดอยาก หิว แต่ไม่ง่ายที่จะให้เขาเอาชีวิตเข้าแลก แต่กลายเป็นว่า ความอยุติธรรม คนเอาชีวิตเข้าแลกมาไม่รู้เท่าไหร่

ถาม ว่าความยุติธรรมกินได้ไหม ทำให้เรามีที่พักอาศัย รักษาโรคได้ไหม แต่มนุษย์ตระหนักว่า ความอยุติธรรมดีกรีที่มันแรงชีวิตอยู่ปกติไม่ได้ เขาจึงยินดีที่จะตายเพื่อสู้กับความยุติธรรม ที่สมเหตุสมผลถึงตรงนั้นมันไม่ apply แล้ว

ผมไม่บอกว่าแกนนำตัดสินใจยังไง แต่คนที่บอกว่าสู้จนตาย มันอธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผลทางวิชาการ บอกไม่ได้ว่าทำไมเขาตัดสินใจแบบนั้น ทุกคนก็ดูหนังมา อธิบายไม่ได้ คนเรายินดีเสี่ยง ยินดีเอาตัวเข้าแลก ดูเหมือนไม่คุ้มเลย

ผมไม่กล้าบอกด้วยซ้ำว่าการตัดสินใจถูกหรือไม่ ผมว่ามันลำบากมาก ผมว่าถ้าคนเราเป็น Rational ไม่เกิดการปฏิวัติสักแห่ง ผู้นำปฏิวัติฝรั่งเศส พาคนไปตายไหม รัสเซีย จีนพาคนไปตายไหม ยกย่องทำไมปฏิวัติฝรั่งเศส 14 ก.ค. พาคนไปตายเยอะแยะ มันแสนจะไม่สมเหตุสมผล แต่มันก่อผล ผลนั้นมหาศาล

นั่นคือการตัดสินใจของแต่ละคน บอกได้เลยว่าถ้าไม่กล้าตัดสินใจเอาตัวเข้าแลก คุณก็กรุณาหุบปากซะ นักวิชาการพยายามทำให้ฝุ่นหายตลบด้วยเหตุด้วยผล มันต้องยอมรับว่านั่นคือการตัดสินใจของมนุษย์ นั่นคือโศกนาฏกรรม พฤษภาคม 6 ตุลา ที่ผ่านมา มันคือโศกนาฏกรรม ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็มีผลเสีย เป็น dilemma ตัดสินใจเลิกสลายก่อนแล้วทำไปยาวๆ โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยว่าเขาชุมนุมต่อ พอเขาชุมนุมต่อผมสารภาพว่าด่าเขาไม่ลง และมันเป็นโศกนาฏกรรมที่มันแพ้และเสียหายหนัก

การเข้าใจสถานการณ์ ประเมินถูกต้อง ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ถูกต้องและได้รับชัยชนะ มันไม่มี พวกเราในห้องนี้ ตัดสินใจเรื่องใหญ่เรื่องเล็กไม่รู้กี่ครั้ง ในชีวิตเราเอง (ผมตัดสินใจครั้งสำคัญผิดมาแล้วในเรื่องที่ใหญ่มาก) เช่นมา มช. เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาไปผิดก็เจอรถติด การประมวลข้อมูล บ้างครั้งเราตัดสินใจพลาดและ มันเป็นโศกนาฏกรรม หรือบ่อยครั้งฐานข้อมูลในการประเมินมันคือชุดเดียวกัน คนๆ เดียวกันประเมินข้อมูลเหมือนกัน ยังไม่สามารถบอกได้ว่าผมไม่ตัดสินใจแบบนั้นแน่ บ่อยครั้งที่ประมวลแล้วเราลังเลว่าเอายังไงดี แล้วเอาไงดี แล้วในชีวิตมีกี่ครั้งที่บอกว่าเอางี้ละวะเป็นไงเป็นกัน แล้วในโศกนาฏกรรมแทบทุกครั้ง มีกี่ครั้งที่จะประเมินอย่างถูกต้องแล้วได้ชัยชนะ

นักวิชาการจะทำ ให้ฝุ่นหายตลบ มันเป็นเหตุเป็นผล ตรงนี้ขัดแย้งกับเหตุการณ์ เมื่อเหตุการณ์ พฤษภาที่ผ่านมา ผมต้องหยุดคิดเชิงเหตุผล แล้วอ่านนิยาย นึกถึงนิยายที่เคยอ่าน นึกถึง Tragedy ที่เคยอ่าน แล้วจะรู้ว่ามันจะยากลำบากเพียงไหน

ผมไม่ได้ปฏิเสธ หรือให้พวกเราปฏิเสธการใช้เหตุใช้ผล มันมีเหตุเกินไปจากนั้น แล้วเมื่อเราตัดสินใจได้ หรือตัดสินใจไม่ได้ ไม่ว่าจะลงบางซื่อหรือลงหัวลำโพงมันคือโศกนาฏกรรมทั้งนั้น ทั้งหมดที่พูดมานี้เพื่อจะบอกว่าในแนวรบหนึ่งเรื่องความทรงจำ

รู้เท่าทัน พฤษภา 53 : ความเปลี่ยนแปลงการเมืองในอนาคต

เรา จะเข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้นยังไง มันเริ่มแล้ว อย่ารอนานกว่า 6 ตุลา แล้วเราทุกคนมีส่วนได้ มีส่วนร่วม และการรับรู้พฤษภาคมที่ผ่านมา มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอนาคต ถ้าเมื่อไหร่ถูก Breakdown สยบต่อคำพิพากษา ถูกทำลายและทำร้ายด้วยอำนาจรัฐ และไม่สามารถคิดอย่างซับซ้อน ความเข้าใจเหตุการณ์พฤษภาคมจะเป็นแบบหนึ่ง

เช่น ทำให้พลังการเถียงคณะกรรมการมันไม่คม ขณะที่เรามีความรู้แบบอื่นที่เถียงได้ ความรับรู้กับเหตุการณ์ที่ผ่านมามีผลมาก กับการที่รัฐบาลจะมีอำนาจทำอะไรตามใจชอบ เขาจะเลือกตั้งแล้วจะชนะไหม ชนะแบบไหน หรือเลย เล็งอยู่ ไม่รู้จะชอบหรือไม่ชอบก็ได้เกิดขึ้น ความรับรู้กับเหตุการณ์พฤษภาที่ผ่านมามีผลอย่างมาก อย่ายึดถือประเมินตัวเองสูง เช่น ชุมนุมอีก

อย่าคิดว่า แม้จูเลีย วินสตัน มันกบฎมากนะ ลึกๆ เขาคิด ไม่รับ Big Brother เขาอาจยอมสยบแต่ไม่รับ เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องเล็กๆ แต่อาจนำไปสู่ Social - reaction

อยาก ให้ตระหนักหรือรู้เท่าทัน ว่าสังคมนี้ทำงานเหมือน 1984 คำพิพากษา แบบที่นักวิชาการทำ หรือเราไม่รู้การให้เหตุผล นักวิชาการ รู้ตัวเรื่องแบบนี้ครับ

แล้วจะเท่าทันเรื่องแบบนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน