แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วอชิงตันโพสต์-สื่อโลกตบหน้าระบอบอภิสิทธิ์หยันแผนปรองดอง




หาก รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของระบอบปกครองอภิสิทธิ์ ต้องการปรองดองสมานฉันท์ในชาติจริงๆ ขั้นตอนที่จะต้องมีความชัดเจนก็คือ :ยกเลิกประกาศฉุกเฉิน,ปล่อยผู้นำเสื้อแดง และเจรจานำไปสู่การเลือกตั้ง-The Washington Post


ที่มา บท บรรณาธิการวอชิงตันโพสต์
15 กรกฎาคม 2553
หมายเหตุไทยอีนิวส์:วอชิงตันโพสต์ สื่อที่ทรงอิทธิพลของอเมริกาและของโลกได้นำเสนอบทบรรณาธิการกล่าววิจารณ์การ ที่ระบอบปกครองของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (โดยเรียกว่าเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง) ประกาศแผนปรองดองภายในชาติ แต่กลับทำทุกอย่างตรงกันข้ามกับคำประกาศ พร้อมทั้งชี้ว่าต้องทำแบบไหนหากต้องการสมานฉันท์จริงๆ

บทบรรณาธิการ นั้นถือเป็นเรื่องที่เป็นจุดยืนของสื่อมวลชนฉบับนั้นๆ และเป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้อ่านหนังสือพิืมพ์ในต่างประเทศ"ต้องอ่าน"


บทบรรณาธิการ:ไทยจะสามารถใช้ประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินนำไปสู่้ความปรองดองได้หรือ?


ภายหลังการปะทะักัน ระหว่างกองทัพไทยกับฝ่ายประท้วงต่อต้านรัฐบาล ซึ่งมีผู้ถูกสังหารไปกว่า 90 คนในใจกลางกรุงเทพฯเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศคำมั่นจะจัดทำ"แผนปรองดองภายในชาติ" แล้วก็ตามมาด้วยการที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลได้จับกุมคุมขังผู้นำฝ่ายต่อต้่าน รัฐบาลนับร้อยราย ปิดสื่อ แช่แข็งบัีญชีธนาคารของผู้ต้องสงสัยให้การสนับสนุนแก่ผู้ประท้วง และออกหมายจับผู้นำการเคลื่อนไหวที่อยู่ระหว่างลี้ภัยคือทักษิณ ชินวัตร ในข้อหาก่อการร้าย

เมื่อ 6 กรกฎาคม นายอภิสิทธิ์ต่ออายุประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพฯและอีก 18 จังหวัดทั่วประเทศออกไปอีก ซึ่งประกาศฉุกเฉินนี้ช่วยทำให้ระบอบปกครองของนายอภิสิทธิ์สามารถจับกุมคุม ขังประชาชนได้โดยไม่ต้องแจ้งข้อหา เซ็นเซอร์สื่อสารมวลชน ห้ามไม่้ให้มีการจัดชุมนุมในที่สาธารณะ เขายังได้ประกาศว่าแผนการเลือกตั้งที่เขาเคยกำหนดให้มีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ต้องเลื่อนออกไปเป็นปีหน้า หากว่านี่คือสิ่ืงที่เขาเรียกว่า"การปรองดองแห่งชาติ" นายอภิสิทธิ์ ซึ่งจบการศึกษาจากโรงเรียนอีตั้น และมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดก็จะต้องร่ำเรียนแบบผิดๆมาจากสถานศึกษาของเขาแน่

ใน ความเป็นจริงรัฐบาลไทยได้ดำเนินการในทางตรงกันข้ามกับนโยบายที่ประกาศเรื่อง ปรองดอง ซึ่งก็ทำให้ความแตกแยกในประเทศยิ่งร้าวลึก ความพยายามบดขยี้"เสื้อแดง"ที่เคลื่อนไหวที่สนับสนุนทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกโค้นล้มในรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ก็ยิ่งทำให้วิกฤตความวุ่นวายไม่รู้จบสิ้น นายอภิสิทธิ์ยิ่งทำก็ยิ่งจะเพิ่มโอกาสให้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลลงไปเคลื่อนไหว ใต้ดินและหันไปใช้ความรุนแรง ที่จะส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและนักลงทุนที่จะ เข้ามาลงทุนในประเทศ --นี่ไม่ต้องพูดถึงการสนับสนุนจากผู้นิยมประชาธิปไตยในตะวันตก

ทักษิณ และเสื้อแดงได้ก่อการประท้วงจนทำให้ประเทศไทยอับจน โดยมีการปิดกั้นศูนย์กลางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯนานสองเดือนเมื่อช่วงฤดูร้อน ที่ผ่านมา และไม่ยอมประนีประนอมกับนายอภิสิทธิ์ ก่อนจะนำไปสู่ความรุนแรง และกองทัพเคลื่อนเข้ามา แต่สาเหตุของปัญหาคือ ความขัดแย้งในเรื่องชนชั้นของไทย, ทหาร และศาลพระราชา,การจัดการเลือกตั้งซึ่งรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ไม่ได้เป็นตัว แทนของผู้ออกเสียงข้างมาก

การปราบปรามจะไม่แก้ปัญหานี้ หากนายอภิสิทธิ์ต้องการปรองดองสมานฉันท์จริงๆขั้นตอนที่เขาจะต้องมีความ ชัดเจนก็คือ :ยกเลิกประกาศฉุกเฉิน,ปล่อยผู้นำเสื้อสีแดง และเจรจานำไปสู่การเลือกตั้ง โดยมีความมุ่งมั่นทุกด้านเพื่อให้ผู้ชนะเลือกตั้งสามารถปกครองประเทศภายใน ขอบเขตของการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ

**************

Editorial:Can Thailand's state of emergency lead to ‘reconciliation'?


AFTER BLOODY clashes between the Thai army and opposition demonstrators killed some 90 people in the center of Bangkok in May, the unelected government of Prime Minister Abhisit Vejjajiva promised to launch what he called a "national reconciliation plan." Since then authorities have arrested hundreds of opposition leaders; closed media; frozen the bank accounts of suspected supporters of the Bangkok demonstrations and brought terrorism charges against the movement's exiled leader, Thaksin Shinawatra.

On July 6, Mr. Abhisit renewed a state of emergency in Bangkok and 18 other provinces, allowing his regime to arrest and hold people without charge, censor the media and prevent public gatherings. Meanwhile, he has announced that the parliamentary elections he had offered to hold in November will be postponed until next year. If this is what he calls "national reconciliation," Mr. Abhisit, a graduate of Eton and Oxford, must have taken a lesson in Orwellian language.

In fact Thailand's government is carrying out something close to the opposite of a policy that might heal the country's deep polarization. It is trying to crush the "red shirt" movement that still supports Mr. Thaksin, a former prime minister whose ouster in a 2006 military coup has plunged a once-promising democracy into endless turmoil. In the process, Mr. Abhisit is raising the chances that the opposition will go underground and turn violent. That would ensure that Thailand loses the foreign tourists and investors on which it depends -- not to mention the support of Western democracies.

Mr. Thaksin and the red shirts have contributed to Thailand's impasse by blockading the center of Bangkok for two months last spring and for refusing the compromise Mr. Abhisit offered before the violence began and the army moved in. But the root cause of the troubles is the refusal of the traditional political class, the military and the royal court, which Mr. Abhisit's government represents, to accept the results of democratic elections.

Repression will not solve this problem. If Mr. Abhisit really wants reconciliation, the steps he must take are clear: End the state of emergency, release the red shirt leaders and negotiate leading to elections, with a commitment by all sides to allow the winners to rule within the boundaries of a reformed constitution.
Posted by นักข่าวชาวรากหญ้า at 7/15/2010 04:02:00 หลังเที่ยง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน