แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เสวนา“การเมือง ความยุติธรรม สถาบันกษัตริย์” เนื่องในวันแพะแห่งชาติ



http://www.prachatai.com/journal/2013/02/45345

17 ก.พ. 2556 กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยและไทยแลนด์มิเรอร์ จัดเสวนา “การเมือง ความยุติธรรม สถาบันกษัตริย์”โดยมีสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ประวิตร โรจนพฤกษ์ วาด รวี และปิยบุตร แสงกนกกุล ร่วมเสวนา ดำเนินรายการโดย จอม เพชรประดับ

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ  ย้อนอดีตวันแพะแห่งชาติ คือวันที่มหาดเล็ก 3 คนถูกตัดสินประหารชีวิตจากคดีสวรรคต โดยข้อเท็จจริงต่อมาปรากฏว่ามหาดเล็กทั้งสามคนไม่มีความผิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทบทวนพิจารณาว่ามีอะไรผิดพลาดและต้องทบทวนหรือไม่ แต่น่าเสียดายที่ประเทศไทยไม่มีการทบทวนการพิจารณาใดๆ ทั้งสิ้น และกระบวนการที่ผิดพลาดนี้ก็เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ฉะนั้นคดี มหาดเล็กทั้ง 3 คนนั้น  เป็นเพียงจุดเริ่มต้น และกรณีสมยศ พฤกษาเกษมสุข ก็เป็นกระบวนการที่เกิดซ้ำของความผิดพลาดในการตัดสินคดีของศาลไทย
 
ทั้งนี้จุดเริ่มต้นของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทยนั้น เริ่มต้นจากโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน พันห้าร้อยบาท เมื่อปี พ.ศ. 2442
 
อย่างไรก็ตาม มีการเอาความผิดฐานนี้มาโจมตีกันมาก หลัง 14 ตุลาคม 2516 คดีแรก ซึ่งศาลยกฟ้อง มีคดีอื่นๆ อีก เช่น คนเขียนบทความตอบโต้พระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัวที่ไปมีพระราชดำรัสที่ โรงเรียนนายร้อย เรื่องความเป็นมนุษย์ บทความนั้นตอบโต้ว่าการพูดเช่นนั้นเป็นการแบ่งชั้นคน มีคดีที่ถูกดำเนินคดี เพราะไม่ยืนและกล่าววิจารณ์เพลงสรรเสริญฯ ต่อมามีคดีสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปี 2535 และคดีวีระ มุสิกพงศ์ ที่กล่าวในการปราศรัยหาเสียง 
 
“สรุปง่ายๆ คดี 112 ที่เกิดก่อนปี 2549 มีน้อยมาก และเกิดตามกระแสการเมือง โดยเฉพาะช่วงการเมืองแหลมคม คดีใหญ่มากคือ คดี 6 ตุลาคม ที่ผู้นำนักศึกษา 19 คน ซึ่งโดนหลายคดี และหนึ่งในนั้นคือ คดี 112” โดยหลังจากการรัฐประหาร 2519 มีการเพิ่มโทษตามประกาศคณะปฏิรูปฉบับที่ 41 ปี 2519 ด้วย และได้ใช้อัตราโทษสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน
 
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ต้องถือว่า คดี 112 หลังรัฐประหาร 2549 คดีหมิ่นฯ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากมายมหาศาล เมื่อเทียบกับจำนวนคดีก่อนหน้านี้
 
“มาตรา 112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมาแต่ต้น เมื่อไหร่ก็ตามที่มีความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรง มาตรา 112 จะถูกนำมาใช้เล่นงานฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับตัวเอง และเราเห็นได้ชัด คำตอบที่ว่าทำไมหลังปี 2549 มีการใช้และลงโทษมาก เพราะมันถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง คนที่ถูกตัดสินลงโทษเป็นฝ่ายเสื้อแดงทั้งหมด”
 
สุธาชัยตั้งข้อสังเกตประการที่ 2 การใช้มาตรา 112 เป็นการลงโทษผู้มีความเห็นต่างทั้งหมด แทบจะไม่พบการทำความผิดแต่ถูกลงโทษด้วยเหตุผลทางการเมือง
 
ประการที่ 3 การลงโทษคดีนี้โดยมากทุกคดีหลักฐานอ่อน  และใช้การตีความให้ผิดเป็นหลัก” โดยสุธาชัยยกตัวอย่าง กรณีนักวิชาการรายหนึ่งที่ถูกฟ้องข้อหาดังกล่าว เนื่องจากตั้งคำถามในข้อสอบว่า สถาบันกษัตริย์สอดคล้องกับการปกครองประชาธิปไตยหรือไม่ ให้อภิปราย,,,
 
สุธาชัยกล่าวต่อไปว่า การพิจารณาคดี 112 นั้นเป็นการพิจารณาที่ขัดหลักนิติธรรม เริ่มตั้งแต่ไม่มีการให้ประกันตัว การลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วน เป็นประเทศที่มีการลงโทษในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสูงที่สุดในโลก ประเทศที่มีระบบกษัตริย์สองร้อยกว่าประเทศ มีราว 25 ประเทศที่มีกฎหมายหมิ่นฯ และในบรรดา 25 ประเทศนี้ไม่มีประเทศไหนมีการลงโทษที่แรงเท่าประเทศไทย และ 112 นั้นเป็นกฎหมายที่ยอมรับอำนาจเผด็จการโดยไม่ดูที่มาของกฎหมายซึ่งมาจาก ประกาศคณะรัฐประหารเมื่อปี 2519
 
ส่วนการให้เหตุผลว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีน้ำพระทัยให้พระราช ทานอภัยโทษผู้กระทำผิดนั้นเป็นคนละประเด็นกับกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เพราะกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมต้องได้รับการแก้ไข
 
 

 
ประวิตร โรจนพฤกษ์ ส่วนแรกคือ ข้อโต้แย้ง เวลาที่มีการถกเถียงเรื่อง 112 จะมีคนโต้แย้งว่าผู้เสนอแก้ไขม. 12 สนใจเฉพาะคนที่หมิ่นเจ้าเท่านั้นหรือ แต่ข้อดีเบตที่ยังไม่เพียงพอคือผลกระทบมาตรา 112 ต่อการใช้เหตุผลของสังคมไทยมีมากน้อยเพียงใด
 
ประวิตรกล่าวว่า ข้อถกเถียงนั้นมักเหมารวมว่า คนไม่เอามาตรา 112 นั้นเป็นคนที่ต้องการล้มเจ้า โดยไปไม่ถึงข้อถกเถียงอีกส่วนคือการใช้เหตุผลในที่สาธารณะ 
 
“คือ ด้านหนึ่ง เราถูกสังคมสอนให้ไม่ตั้งคำถามกับสถาบันกษัตริย์ให้เชื่อในข้อมูลดีๆ ด้านเดียว สำหรับคนที่สงสัยก็จะถูกบังคับแทน พูดง่ายๆ คือผู้ที่สอนแล้วไม่ฟัง สอนแล้วไม่เชื่อก็จะถูกบังคับว่าพวกคุณหรือพวกเราควรจะเชื่อโดยไม่ต้องสงสัย ว่าสถาบันกษัตริย์มีแต่ด้านดีๆ ด้านเดียว ซึ่งเป็นข้อมูลที่พบได้ในสื่อกระแสหลัก”
 
เขากล่าวว่า บ่อเกิดของการใช้สติปัญญาเกิดขึ้นเพราะมนุษย์สามารถตั้งคำถามกับทุกสิ่ง ทุกอย่าง เช่น กาลิเลโอ โสเครติส หรือนิกายโปรแตสแทนต์ก็เกิดจากการไม่ยอมรับอำนาจของสันตะปาปาและการที่มี ประชาชนประกาศอย่างชัดเจนว่าไม่เอา   คริสต์ศาสนจักร หรือไม่เอาศาสนา แต่มาตรา 112 ทำให้กลัวที่จะตั้งคำถามในที่สาธารณะ และเชื่อแต่ข้อมูลที่ส่งผ่านในสื่อกระแสหลัก สังคมไทยก็จะเป็นสังคมเชื่องๆ ไม่จำเป็นต้องเรียนในระดับปริญญาตรี หรือแม้แต่ในระดับมัธยมปลายก็เช่นกัน ซึ่งต้องการทักษะในการตั้งคำถาม
 
“ปัญหาคือผมคิดว่าสังคมไทยเองรวมถึงพุทธศาสนาไม่ได้มีการท้าทายอย่าง ถึงแก่น ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่ประชาชนจะต้องสามารถวิพากษ์วิจารณ์แสดง ความเห็นอย่างเท่าทันซึ่งต่างจากการหมิ่นหรือขู่อาฆาตต่อทั้งสถาบันและต่อ พุทธศาสนา”
 
อีกประการคือ สถาบันกษัตริย์มีอิทธิพลอย่างสูงต่อสังคมโดยรวม ซึ่งกว้างกว่าสังคมด้วยซ้ำไป เปิดวิทยุต้นชั่วโมง และกลางชั่วโมงมีการเผยแพร่พระราชดำรัส แต่ถ้าตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ เมื่อตั้งคำถามก็จะถูกจำคุก ก็แปลว่าพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัวมีสถานะเป็นเหมือนคำสอนอของพระผู้เป็น เจ้าในคริสตศาสนา และคล้ายคลึงกับผู้นำของเกาหลีเหนือ ซึ่งนี่เป็นปัญหา “และในแง่นี้ ผมจึงเชื่อว่าในบางมิติของประเทศไทยมีความละม้ายคล้ายคลึงกับเกาหลีเหนือ มากอย่างน่าตกใจ” ประวิตรกล่าว 
 
“อย่า ให้คนที่รักเจ้าอย่างไม่รู้จักพอเพียง ไปผูกขาดความรักเจ้าเพราะมันไม่เป็นประโยชน์มันทำให้การถกเถียง” ประวิตรกล่าวและเสนอว่า ข้อเสนอของเขาต่อฝ่ายรักเจ้าที่ยังพอมีสติอยู่บ้างคือ ควรจะตระหนักถึงปัญหาของพวกรักเจ้าอย่างไม่พอเพียง และเสนอแก้ไขมาตรา 112 ก็จะช่วยลดแรงเสียดทาน ที่เกิดขึ้นกับสถาบันกษัตริย์
 
“การใช้มาตรา 112 มันจะส่งผลอย่างไรต่อการใช้ตรรกะของสาธารณะ ประเทศนี้จะเจริญก้าวหน้าได้อย่างไร ถ้าคนรุ่นลูกหลานของคุณไม่สามารถใช้เหตุผลได้” ประวิตร โรจนพฤษก์กล่าว
 
ประวิตร กล่าวว่า ยังรอคอยแถลงการณ์ของสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย คือใครยืนตรงไหนไม่เป็นไร ควรออกแถลงการณ์มาเลย แสดงจุดยืนมาเลย ว่าจะเพิ่มโทษ”เท่านี้ก็ฉาวโฉ่พอแล้วที่สมาคมนักข่าวต่างประเทศแถลงก่อน สมาคมสื่อของไทยว่าด้วยกฎหมายไทย” ประวิตรกล่าวต่อไปว่า ที่เป็นเช่นนี้เพระสื่อกระแสหลักทำให้การเซ็นเซอร์เรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์ สถาบันกษัตริย์ไทยจากสื่อต่างประเทศออกทุกเดือน 
 
ประวิตรกล่าวต่อไปว่าสื่อกระแสหลักมีบทบาทในการทำสิ่งที่เรียกว่าทำให้ การเซ็นเซอร์ข้อมูลเท่าทันเจ้าหรือข้อมูลด้านลบ คำวิพากษ์เจ้าเป็นเรื่องปกติ การเซ็นเซอร์เกิดขึ้นทุกเดือน เขาคิดว่าโดยเฉลี่ยแล้วทุกเดือนจะมีบทความที่เรียกว่าเท่าทันหรือเชิง วิพากษ์ต่อสถาบันกษัตริย์ไทยเขียนโดยสื่อต่างประเทศแล้วสิ่งเหล่านี้จะไม่ ได้โผล่ในสื่อกระแสหลัก เพราะสื่อกระแสหลักก็จะทำหน้าที่เซ็นเซอร์สิ่งเหล่านี้ นอกจากนั้นก็เซ็นเซอร์ไม่ให้มีดีเบตมุมตรงข้าม เช่น คุณอาจจะหาอ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องขบวนการเกลียดชังเจ้าได้ในโพสต์ทูเดย์ แต่เขาก็เชื่อว่าโพสต์ทูเดย์ไม่มีพื้นที่ให้กับนักวิชาการอย่างสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลที่จะโต้ประเด็นเหล่านี้
 
“หนึ่งคุณเซ็นเซอร์ กรองหรือไม่ให้ข้อมูลต่างประเทศที่เท่าทันเจ้าเข้ามาสู่ประเทศไทยในระบบที่ ถูกทำนองคลองธรรม ผมรู้ว่ามันเข้ามาทางอินเตอร์เน็ตแบบผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพ์เยอะ มันไม่ได้เข้ามาหรอก จริงๆ มันอยู่ในอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว แต่พ.ร.บ.คอมพ์พยายามจะทำให้มันผิดกฎหมายเอง แต่อีกด้านคุณก็ยังเซ็นเซอร์แม้ทั่งในระดับในประเทศตัวเอง ข้อมูลของคนที่เท่าทัน ดูอย่างวันนี้ก็ได้ว่ามีสื่อกระแสหลักกี่ที่มาทำข่าววันนี้ ในขณะเดียวกันเขาก็จะสร้างหน้าที่ของสื่อกระแสหลักจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ได้สร้างความเชื่อในข้อมูลดีๆ ด้านเดียวเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เช่น กระเทือนคนไทยทั้งแผ่นดิน คนทั้งประเทศรักในหลวง อะไรต่างๆ แล้วที่หนักไปกว่านั้นก็คือเขาทำเหมือนกับว่าสื่อกระแสหลักไทย หรือสื่อไทยทุกวันนี้มีเสรีภาพ อันนี้แหละผมถึงบอกว่ามันยิ่งกว่าเกาหลีเหนือ ผมไม่รู้ว่าเกาหลีเหนือเนียนขนาดนี้หรือเปล่า คือมีมายาคติว่าสื่อไทยจริงๆ แล้วมีเสรีภาพ ไม่ได้เป็นแบบประเทศเกาหลีเหนือ “
 
เขากล่าวต่อไปว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่มีพลานุภาพมากกว่าไม่ใช่การใช้อำนาจหรือการใช้กำปั้นทุบดินชน ชั้นนำเห็นว่าทุกครั้งที่มีคนโดนตัดสินโทษ 112 อย่างกรณีของสมยศนั้นส่งผลสะเทือน
 
“ที่ผมยอมรับไม่ได้คือการเสแสร้งว่าสังคมไทย สื่อมีเสรีภาพ ประชาชนมีเสรีภาพ มีที่ทางในสังคมสำหรับการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลเชิงวิพากษ์และมีที่ทาง สำหรับข้อมูลที่เท่าทันเจ้า ในความเป็นจริงมันไม่เป็นเช่นนั้นเลยครับ” พร้อมย้ำว่า เขายังรอว่าเมื่อไหร่สมาคมนักข่าวของไทยจะออกแถลงการณ์เกี่ยวกับคดี สมยศ พฤกษาเกษมสุขและมาตรา 112 เสียที
 
 
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ฟันธงรัฐบาลไม่แก้ไขมาตรา 112 อยู่แล้ว และเขาสนใจคนที่ได้รับผลกระทบจากการใช้มาตรา 112 อยู่ในขณะนี้ซึ่งแม้จะตัดสินใจไม่สู้คดีกยังต้องใช่ระยะเวลาเป็นปีกว่า กระบวนการอภัยโทษจะส่งผล และได้รับการปล่อยตัว
 
โดยสมศักดิ์ เสนอว่าคนที่จะเจรจาได้มีแต่คนระดับทักษิณเท่านั้น ที่จะเจรจากับทางวังเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบที่เกิดจากประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 
 
“ปัญหาคือคุณทักษิณได้วางยุทธศาสตร์ไว้ว่าต่อจากนี้จะไม่แตะประเด็นนี้ เลยตั้งแต่ปี 2554” เขาบอกว่าตอนนี้ชนชั้นนำอาจจะรู้ตัวแล้วว่าการใช้มาตรา 112 นั้นเป็นดาบสองคม แต่ตอนนี้มุ่งเป็นรายบุคคลอย่าง สมยศ แต่คนที่เป็นนปช. นั้นว่านอนสอนง่ายกว่า ถ้าผมไม่ได้เป็นอาจารย์มีงานประจำอยู่ เขาก็คงอยากจับผมไปเหมือนกัน 
 
โดยสรุปเฉพาะหน้า เขาสนใจว่ามีวิธีอะไรที่จะช่วยนักโทษคดี 112 เขาบอกตรงๆ ว่ายาก และน่าหดหู่ยกเว้นแต่จะสามารถกดดันทักษิณหรือยิ่งลักษณ์ได้
 
ส่วนการเคลื่อนไหวของครก. 112 คงได้ประโยชน์ในระยะยาวที่จะไม่เกิดกรณีแบบนี้อีก อย่างไรก็ตาม 112 ถ้าแก้ได้ให้ดีกว่าปัจจุบันไม่ว่าจะแก้ยังไงก็ดีกว่าปัจจุบันทั้งนั้น แต่เขาก็ยังรู้สึกว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์และ ครก.112 นั้นมีบางอย่างไม่ถูก เขาเชื่อว่าในระยะยาวชนชั้นนำไทยจะแก้ 112 โดยถอยกลับไปก่อน 6 ตุลาคม ซึ่งก็จะคล้ายๆ ของ ครก. คือโทษสูงสุด 7 ปี ไม่มีโทษขั้นต่ำ 
 
และเชื่อว่าในที่สุด กรรมการสิทธิมนุษยชนไทยจะเสนอเช่นเดียวกัน และอาจจะเพิ่มข้อยกเว้น และให้สำนักพระราชวังเป็นคนฟ้อง เขาเชื่อว่าที่สุดชนชั้นนำไปจะกลับไปใช้แบบนี้ แต่เขาก็ไม่คิดว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน
 
เขาย้ำว่าเขายังไม่เห็นด้วยกับ นิติราษฎร์และ ครก. โดยยก 2 ประเด็น คือ

การ เชื่อว่าประมุขของรัฐต้องมีกฎหมายที่คุ้มครองจากการถูกด่าต่างจากชาวบ้าน ธรรมดา เพราะถ้ากฎหมายที่มีอยู่มันดีพอสำหรับชาวบ้านธรรมดาก็ต้องดีพอสำหรับเจ้า ด้วย และข้อดีที่ดีของนิติราษฎร์ที่เหนือชั้นกว่านักวิชาการในไทยคือการเริ่มต้น จากหลักการ แต่การยืนยันหลักการว่าจะคุ้มครองประมุขจากการวิพากษ์วิจารณ์เหนือกว่าคน อื่นนั้นเขาคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ผิดทางหลักการอย่างยิ่ง และในที่สุดแล้วสิ่งทีเป็นฐานของ นิติราษฎร์และ ครก.112 นั้นเป็นฐานคิดเดียวกันกับพวกรอยัลลิสม์ ที่ไม่ตรงกันเพียงแค่การกำหนดว่าจะให้การลงโทษกี่ปีดี แต่ตรงกันตรงความหมายว่าถ้าเป็นประมุขต้องได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษจากการ วิพากษ์วิจารณ์ เท่ากับการยืนยันหลักการว่าคนที่เป็นประมุขสำคัญกว่าชาวบ้าน ซึ่งเขาเห็นว่าผิดจากหลักสังคมประชาธิปไตย 
 
"ถ้าคุณ ด่ายิ่งลักษณ์ว่าเป็นกะหรี่เป็นควายได้ ด่าอภิสิทธิ์ว่าหมีหน้าฮากได้ แล้วทำไมต้องคุ้มครองประมุขของรัฐด้วย ถ้ามันยังผิดอยู่แปลว่าข้อเสนอนี้ไม่เพียงพอต่อโลกที่เป็นจริงแล้วและแม้จะ มีข้อโต้แย้งว่าฝรั่งก็มีแต่ถึงมีเขาก็ไม่ได้ใช้กฎหมายนี้แล้ว และมีการเรียกร้องให้เลิกกฎหมายลักษณะนี้เช่นกัน "
 
เขากล่าวว่าการรณรงค์ ครก. 112 นั้นเป็นการรณรงค์ทางความคิด ดังนั้นหลักการพื้นฐานในเรื่องการแก้ไข ม. 112 จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้องสำหรับเขา
 
 “สังคม ไทยจะก้าวสูความเป็นสังคมประชาธิปไตยนั้นเราต้องยืนยันว่าเจ้ากับคนธรรมดา นั้นมีฐานะเท่ากัน เราจะบอกว่าเจ้าต้องมีสถานะพิเศษกว่าคนธรรมดาในเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์ไม่ ได้” 
 
ประเด็นต่อมาที่สมศักดิ์์ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ นิติราษฎร์ และ ครก. 112 คือการมีกฎหมาย อาญา ม.112 นั้น มีอีกด้านคือสถาบันกษัตริย์นั้นมีบทบาทอย่างมหาศาลในสังคมไทย “มันไม่ใช่ปัญหาเรื่องอุดมการณ์เฉยๆ ด้วยซ้ำ มันเป็นปัญหาเรื่องสถานะของสถาบันกษัตริย์เป็นแพกเกจ ดังนั้นปัญหา 112 มันแก้ไม่ได้ถ้าไม่ได้เสนอให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เป็นแพกเกจด้วย” 
 
เขากล่าวว่า การแก้กฎหมายจะไม่มีผลอะไรถ้าไม่มีการยกเลิกการนำเสนอข้อมูลด้านเดียว และข่าวสองทุ่ม ซึ่งเป็นการยัดเยียดมาตั้งแต่อนุบาลจนถึงข่าวและการโปรโมทตลอดทั้งวัน และสิ่งนี้เองที่ส่งผลให้เกิดการต่อต้านการแก้ไข ม. 112 
 
สมศักดิ์กล่าวว่า เรื่องการใช้กฎหมายหมิ่นฯ เพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมือง พูดกันอย่างตรงไปตรงมา เพราะมีเหตุการณ์อย่างการเสด็จไปงานศพน้องโบว์ ข้อความที่เกิดขึ้นใน sms นั้นโยงกับงานศพน้องโบว์ มันไม่ใช่ปัญหากฎหมายโดยตรง ไม่ใช่เครื่องมือทางการเมือง แต่ที่มันยากเพราะมันโยงเข้ากับบทบาทและสถานะของสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบัน ที่ไม่สามารถโต้แย้งและวิพากษ์วิจารณืได้ และตราบเท่าที่นักวิชาการไม่พูดกันตรงๆ เรื่องก็วนเวียนและรักษาสังคมตอแหลเอาไว้ 
 
“อย่างคำว่าอำมาตยาธิปไตยนี่ผมถามจริงๆ ว่ามันคืออะไร –ปัญหาขอคำว่าอำมาตยาธิปไตยคือปัญหาของบทบาทและสถานะของสถาบันกษัตริย์ ครับ....จนกว่านักวิชาการและสื่อมวลชนจะพูดแบบนี้ตรงๆ อีกสิบปีก็ไม่มีอนาคต” สมศักดิ์กล่าวในท้ายสุด
 
 
วาด รวี นักเขียนคณะแสงสำนึก และครก. 112 กล่าวถึงคำพิพากษาคดีสมยศ ซึ่งศาลวินิจฉัยว่าสมยศ พฤกษาเกษมสุขนั้นพ้นไปจากความรับผิดตาม พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ 2484 ซึ่งกำหนะโทษสำหรับบรรณาธิการสิ่งพิมพ์ที่มีบทความหมิ่นประมาท ซึ่งเป็นกฎหมายที่ยกเลิกไปแล้ว แต่ศาลวินิจฉัยก็ยังวินิจฉัยว่าสมยศมีความผิดเนื่องจากเป็นบรรณาธิการสิ่ง พิมพ์ที่มีบทความหรือข้อความหมิ่นประมาท  

ในส่วนของการตีความนี้น เขาเห็นว่ามีความสำคัญ 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรกที่ศาลเอามาพิพากษาว่าเป็นความผิดคือการตีความของพยานโจทก์มี ปัญหา เป็นการตีความที่กว้างและมีปัญหา มีตัวอย่างการตีความ คือเมื่ออ่านบทความของ จิตร พลจันทร์ แล้วพยานตีความเป็นสองอย่าง คืออ่านแล้วคิดว่าหลวงนฤบาลคือพระเจ้าอยู่หัวกลุ่มสองคืออ่านแล้วไม่รู้เลย 
 
ในส่วนพฤติการณ์ของศาลเอง วาด รวี กล่าวว่า ศาลอ่านบทความแล้ววินิจฉัยไม่ได้ต้องเรียกพยานโจทก์มาตีความให้ฟัง ซึ่งต่างจากคดีอากงซึ่งศาลไม่ต้องเรียกเลยว่าขอความในเอสเอ็มเอสหมิ่นหรือ เปล่า "แล้วถ้าเกิดศาลมาเป็น บ.ก.อ่านแล้วไม่รู้ว่าหมิ่น คุณจะไม่มีสิทธิปล่อยให้บทความนี้เผยแพร่ออกไปหรือ นี่เป็นสิ่งที่ฟ้องว่าเอาพยานมาเบิกความเอาผิดจำเลยไม่ได้ แล้วสมยศไม่มีสิทธิตีความเป็นอย่างอื่นหรือ" วาด รวี ตั้งคำถาม และกล่าวย้ำว่า 
 
“มันเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในฐานะที่ผมเป็นบรรณาธิการ คนเป็นบรรณาธิการไม่มีทางจะยอมรับคำตัดสินแบบนี้ได้” 
 
เขากล่าวว่าจากคำพิพากษายังไม่พบความเชื่อมโยงความผิดกับ พฤติกรรมของสมยศเลย บทความสองชิ้นยังไม่มีการพิสูจน์ด้วยซ้ำว่าผู้เขียนมีเจตนาหมิ่นประมาท และหาไม่เจอเลยว่าอะไรคือพยานหลักฐานการชี้เจตนาของสมยศ และเมื่อตั้งคำถามก็มีการโต้แย้งว่า อย่ากล่าวเสียดสีใช้ถ้อยคำทิ่มแทงความรู้สึกศาล และเห็นว่าอุดมการณ์กษัตริย์นิยมนั้นครอบงำสติของผู้พิพากษาไปแล้ว ไม่ต้องพูดถึงโทษที่สูงจนไม่ได้สัดส่วน คำพิพากษาไม่มีตรรกะ ไม่มีเหตุผลอะไรเลย
 
 

ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ตอบประเด็นของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลที่วิจารณ์พื้นฐานข้อเสนอของนิติราษฎร์ที่ยอมรับการคุ้มครอง ประมุขของรัฐมากกว่าคนทั่วไปว่า มาจากแนวคิดเรื่องตัวแทนรัฐ ซึ่งทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นระบอบที่เป็นประธานาธิบดี หรือราชอาณาจักรเขาก็มีแต่ไม่ใช้ การยกตัวอย่างสหรัฐอเมริกาที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองประธานาธิบดีนั้นเป็นการยก เว้นอย่างยิ่ง แต่ประธานาธิบดีทั่วไปก็มีแต่เขาไม่ใช้ อย่างกรณีของเยอรมันนั้นก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเข้าสู่ตำแหน่งจะต้องมีการทำ หนังสือฉบับหนึ่งเพื่อสละสิทธิ์นี้ ในฝรั่งเศสก็มีเช่นกัน 
 
เขากล่าวถึงคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขว่า กรณีของสมยศ ไม่ได้เป็นเหยื่อที่สำคัญกว่าคนอื่นๆ แต่เขาพยายามเอาตัวเข้ามาแลกกับกระบวนการตามกฎหมาย ซึ่งเขาตั้งข้อสังเกตว่า แนวทางการต่อสู้มีอยู่สองอย่างคือ ถ้าจำเลยสารภาพ ก็จะถูกตัดสินโทษสามปี ถ้าไม่สารภาพก็ลงโทษห้าปี ถ้าใครสารภาพก็โดนสามปี แล้วรอลุ้นให้ถึงที่สุด 
 
จากนั้นปิยบุตรวิจารณ์คำวินิจฉัยส่วนตนของศาลรัฐธรรมนุญกรณีวินิจฉัย ว่ามาตรา 112 ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งสมยศ เป็นผู้ร้องให้ตีความ พบว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ความเห็นว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้นไม่ขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่กระทบเสรีภาพเกินจำเป็น โดยต่างอ้างเอามาตรา 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ 
 
โดยปิยบุตรอธิบายว่าแนวคิดพื้นฐานของมาตรา 8 รัฐธรรมนูญนั้นเขียนไว้เพื่อรับรองหลัก The King can do no wrong คือพระมหากษัตริย์ไม่ทำอะไรผิดแพราะไม่ทำอะไรเลย เพราะในระบบประชาธิปไตยใครทำอะไรก็ต้องรับผิดชอบ เมื่อไม่อยากให้พระมหากษัตริย์รับผิดชอบ ต้องถูกวิจารณ์ ถูกตรวจสอบ ดังนั้นจึงต้องมีผู้สนองรับพระบรมราชโองการ
 
ส่วนคำว่า ทรงเป็นที่เคารพสักการะนั้น ต้องตีความว่า เป็นการเขียนเพื่อเชิดชูไว้ ไม่ใช่มีผลในการบังคับการให้ไปจำคุกคน บังคับให้กราบไหว้กษัตริย์ทั้งหมด 
 
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้สะท้อนเปลือยความคิดของตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญ สะท้อนเปลือยอุดมการณ์กษัตริย์นิยมของไทยออกมาให้เห็นเป็นตัวอักษร” และทำให้คนไทยได้อ่านบทอาเศียรวาทในรูปคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แทน เช่น การอ้างว่ามีกฎหมายนี้เพื่อป้องกันคนไม่ให้มีการหมิ่นสถาบันกษัตริย์เกิด ขึ้นมากจนคนที่เคารพรักสถาบันกษัตริย์ไม่พอใจจนลุกฮือขึ้นมา
 
“นี่คือท่านจินตนาการไปเอง แล้วทำไมท่านไม่ลองจินตนาการกลับบ้างว่าถ้ายังเอาคนไปติดคุกแบบนี้ มันจะไม่ลุกเป็นไฟเข้าสักวัน”
 
ปิยบุตรกล่าวว่า แม้จะมีคำวิพากษ์วิจารณ์จนคนวิจารณ์ปากฉีกถึงหูก็ยังเหมือนเดิมเพราะศาลก็ ยังเป็นศาล สุดท้ายก็สะท้อนวิธีคิดคนในระบบตุลาการของไทย แล้วสะท้อนต่อไปว่าประเทศไทยปกครองด้วยระบอบอะไร 
 
“การ อ้างว่าถ่าสถาบันกษัตริย์มีสรรพคุณเต็มไปหมด ท่านยิ่งต้องไม่มีกฎหมายอาญามาตรา 112 ยิ่งต้องวินิจฉัยว่ามาตรา 112 นั้นไม่จำเป็น ถ้าคนทั้งประเทศรักกษัตริย์ กฎหมายอย่างนี้ยิ่งไม่จำเป็น มันจึงเป็นเรื่องทียอกย้อนที่สุดในสายตาประชาคมระหว่างประเทศ มันจะเป็นไปได้อย่างไรที่ประเทศที่โฆษณากับคนทั้งโลกว่าเป็นประเทศที่คนรัก กษัตริย์มาก แต่กลับมีคนติดคุกด้วยคดีแบบนี้มากที่สุดในโลก”
 
ปิยบุตรกล่าวแย้งท่าทีจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในที่สุด 
 
สำหรับคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขนั้น เขาตั้งข้อสังเกตว่าศาลอ้างอิงพยานต่างกันมาก คือพยานโจทก์อ้างเป็นสิบหน้า แต่พยานจำเลยอ้างเพียงสี่บรรทัด ส่วนต่อมาคือ การพิสูจน์เจตนาว่ากระทำผิดตามกฎหมายอาญาต้องตีความเคร่งครัด ถ้าจำเลยเขาอ่านแล้วไม่หมิ่น ทำไมไม่เอาเจตนาของจำเลยแต่ไปอ้างเจตนาของคนอื่น แล้วอ้างเรื่องมีการศึกษาสูง 
 
ส่วนเรื่องข้ออ้างว่ากฎหมายมีโทษสูงศาลจึงต้องลงโทษสูงตามที่กฎหมาย บัญญัติไปด้วย โดยเขาเทียบกับคดีฆ่าคนตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ซึ่งศาลผ่อนหนักผ่อนเบาได้ ไม่ได้สั่งประหารชีวิตหรือกำหนดโทษสูงทั้งหมด “การที่เขาเอาคนไปเป็นศาลเพื่อให้ใช้สมองของคนไปใช้ตีความกฎหมาย ถ้าคุณอ้างแบบนี้ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้” ปิยบุตรกล่าวและย้ำว่านี่เป็นเรื่องที่ศาลต้องใช้ดุลพินิจในการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของประชาชน
 
สำหรับเรื่องกฎหมายอาญามาตรา 112 ตอนนี้ไม่ใช่แค่กฎหมายอาญามาตรา 112 แล้ว แต่เป็นภาพแทนสถาบันกษัตริย์องค์ปัจจุบัน สามารถพูดเรื่องเสรีภาพได้หมดเลย แต่พอมาตรา 112 กลายเป็นข้อหาล้มเจ้า การแก้ 112 คือการกระทบกระเทือนพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันทั้งๆ ที่เป็นเพียงกฎหมายอาญามาตราเดียว 
 
การแก้มาตรา 112 ให้มีผลในทางปฏิบัติยิ่งยากขึ้นเรื่อยๆ “ผมต้องการส่งสัญญาณให้ฝ่ายรอยัลลิสม์ที่ยังมีเหตุผล ว่าคุณต้องจัดการกับมาตรา 112 การจะให้คนรักสถาบันกษัตริย์แล้วเอาคนไปติดคุกมันทำไม่ได้ พลังของกฎหมายมันไม่สามารถบังคับคนให้รักกันได้ แล้วทำอย่างนี้แล้วจะมีคนรักเพิ่มขึ้นหรือ ท่านควรทบทวนได้แล้วว่าสถานการณ์ทีเป็นอยู่ไม่เป็นคุณต่อสถาบันกษัตริย์และ ไม่เป็นคุณต่อศาลด้วย ท่านมีสติปัญญาอยู่แล้ว ท่านรู้แต่ท่านก็ซุบซิบตามวงกินข้าววงเหล้า แต่การพูดแบบนั้นมันไม่มีประโยชน์ท่านต้องสื่อไปยังที่สาธารณะ อย่าคิดระยะสั้นด้วยสายตาสั้นว่าทนๆ ไปก่อน ของตักตวงประโยชน์จากระบอบแบบนี้ไปก่อน แล้วพอเกิดการเปลี่ยนแปลงก็มาขึ้นเป็นแถวหน้าที่จะเปลี่ยน กว่าจะถึงวันนั้นมันสายไปหรือเปล่า”  ปิยบุตรกล่าวทิ้งท้าย
 
 

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน