แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัญญะ การเมือง สัญญาณ ′สงคราม′ จาก ประชาธิปัตย์

มติชนออนไลน์

(ที่มา:มติชนรายวัน 21 สิงหาคม 2556)

อย่าคิดว่าการผนึกตัวรวมพลังระหว่าง "พรรคประชาธิปัตย์" กับ "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" จะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

แม้จะมีความเคืองแค้น เมินหมางกัน

โดยเฉพาะในห้วงที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี

ขณะที่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ถูก "ลอบสังหาร"

โดยเฉพาะในห้วงที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนไหวในประเด็นปราสาทพระวิหารแล้วพรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอมเติมคน

ทำให้ม็อบ "หร็อมแหร็ม" อย่างน่าใจหาย

หากประเมินจาก "น้ำเสียง" ของ 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะทางด้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไม่ว่าจะทางด้านพรรคประชาธิปัตย์

ยังมี "เยื่อใย"

เหมือนกับมีอาการงอนสำแดงจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่กล่าวสำหรับพรรคประชาธิปัตย์กลับผ่อนคลายมากกว่า

ยื่น "นิ้วก้อย" ให้อย่างเต็มที่

สถานการณ์ทางการเมืองนั่นแหละจะเป็นเหตุปัจจัยสำคัญในการดึงให้พรรคประชาธิปัตย์กับพันธมิตรหันมาเป็นหนึ่งเดียว

เพราะว่ามี "เป้าหมาย" เดียวกัน

เป้าหมายเฉพาะหน้าคือ 1 รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป้าหมายในทางยุทธศาสตร์ 1 คือ สิ่งที่เรียกว่า "ระบอบทักษิณ"

เหตุปัจจัยการเมืองคือ "กาวใจ" อย่างสำคัญ

หาก ไม่มีเหตุปัจจัยทางการเมืองการจับมือกันระหว่าง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ กับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง คงไม่เกิดขึ้นผ่านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ทั้งๆ ที่เมื่อปี 2538 ผีไม่ยอมเผา เงาไม่ยอมเหยียบ

เพราะว่า พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ดึงเอา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีแทน น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ในกระทรวงการต่างประเทศ

แต่เมื่อเกิดการไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้ง 2 ก็หันมาจูบปากกัน

เพราะ ว่า พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก็เคยเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพราะว่า น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ก็เคยเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวกัน คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

ทุกอย่างก็ "เรียบโร้ยยย"

ณวันนี้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับ พรรคประชาธิปัตย์ อาจร้องเพลงกันคนละคีย์ ทอดเสียงคร่อมจังหวะ แต่เพลงนั้นก็มีตัวโน้ตไม่แตกต่างกัน

เป็นตัวโน้ตที่มี "ศัตรู" เดียวกัน

จังหวะก้าวที่ "ร่วม" กันประการหนึ่ง คือ ต่างฝ่ายต่างยื่นมือแตะไปยัง "กองทัพประชาชน" ซึ่งร่อแร่อย่างยิ่ง ณ เวทีสวนลุมพินี

เห็นได้จาก "กองทัพธรรม" เข้าไปเสริม

เห็นได้จากเบื้องต้นมีเพียง นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ขึ้นเวที ต่อมาก็มี คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช

จากการไป "สวนลุมพินี" นั้นเองนำไปสู่การพบปะหารือกัน

นั่น ก็คือ การหารือระหว่าง นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นายกษิต ภิรมย์ กับ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โดยมี นายประพันธ์ คูณมี ร่วมอยู่ด้วยในวงสนทนา

งานนี้อาจมี นายประพันธ์ คูณมี เป็นตัวเชื่อม

แต่น่าสนใจอย่างยิ่งเมื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็เห็นดีด้วย ขณะที่ไม่มีความหงุดหงิดจาก นายสนธิ ลิ้มทองกุล

การนับ 1 คือจุดเริ่มต้น

เบื้องหน้าการเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ถามว่ารัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คิดอย่างไร ถามว่าพรรคเพื่อไทยคิดอย่างไร ถามว่าพรรคร่วมรัฐบาลคิดอย่างไร

เพราะนี่คือสัญญาณแห่ง "สงคราม" ครั้งใหม่

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ถ้าผมเป็นกรรมการปฏิรูป ผมจะเสนอให้เปลี่ยนการปกครองเป็นสหพันธรัฐไทย โดยมีกษัตริย์เป็นประมุข

ที่มา  :  ไทย อีนิวส์


ถ้าผมเป็นกรรมการปฏิรูป ผมจะเสนอให้เปลี่ยนการปกครองเป็นสหพันธรัฐไทย โดยมีกษัตริย์เป็นประมุข



โดย อินทรีย์
ที่มา บอร์ดประชาทอล์ก

ถ้าผมเป็นกรรมการปฏิรูป ผมจะเสนอให้เปลี่ยนการปกครองเป็นสหพันธรัฐ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเหมือนมาเลเซีย เป็นการเปิดหน้าใหม่ ของประวัติศาสตร์ประเทศ 

การปกครองแบบรัฐเดียว คงเป็นไปไม่ได้แล้ว สำหรับประเทศไทย สิ่งที่ประเทศต้องการคือความใหม่ ไม่ใช่มาพูดเรื่องความสามัคคีไร้สาระที่เป็นไปไม่ได้
แต่คงเป็นไปไม่ได้ เพราะดูๆ กรรมการปฏิรูป แต่ละคน ไม่เหลาเหย่ ก็บ้อท่า
รสนิยมทางการเมืองที่แตกต่างกันสุดขั้วของประชาชนในแต่ละภาค ทำให้ไม่อาจจะใช้รูปแบบเก่าได้อีก
เพราะต่อให้เลือกตั้งอีกกี่ครั้ง พรรคแมลงสาปก็ไม่อาจจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่คนภาคใต้ รวมทั้งคนกรุงเทพฯ  ก็ยังเลือกพรรคแมลงสาปอยู่ดี
ก็ควรให้โอกาสพรรคที่พวกเขาชื่นชอบ บริหารภูมิภาคที่ประชาชนชื่นชอบเขา ส่วนผลการบริหารจะเป็นอย่างไร  ประชาชนเขาก็จะเห็นความแตกต่างเองในที่สุด
การดำรงค์ชาติให้คงมั่นน้้น  ไม่จำเป็นจะต้องรวมกันเป็นรัฐเดียว มีรัฐบาลเดียว ทำงานตั้งแต่เหนือจรดใต้ครับ
การดำรงค์ชาติ  ดำรงค์เผ่าพันธ์เป็นประเทศ ให้เจริญรุ่งเรือง มีแนวคิดแยกออกเป็นภูมิภาค ตามประวัติศาสตร์ เผ่าพันธ์และภาษา 
ในโลกนี้ มีประเทศมากมายที่ทำเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็น จีน  รัสเซีย  อเมริกา อินเดีย มาเลเซีย แม้แต่อังกฤษ ก็ตาม
แต่สิ่งหนึ่ง ที่ไม่อาจมองข้ามที่ทุกชาติจะต้องมี นั่นคือ ต้องมีองค์กรหนึ่งคอยเชื่อมโยง  และแก้ไขปัญหาเมื่อมีความขัดแย้ง  นั่นคือองค์กรแห่งภราดรภาพ
อเมริกา เมื่อครั้งต่อสู้แยกเอกราชจากอังกฤษนั้น  ไม่อาจรวมตัวกันได้หากปราศจากองค์กรที่เรียกว่า ฟรีเมสัน ซึ่งคอยประสานงาน และแต่งตั้ง จอร์จ วอชิงตันเป็นแม่ทัพใหญ่  เมื่อแยกเอกราชเสร็จ องค์กรนี้ก็แปรเปลี่ยนไป แต่บริบทแห่งภราดรภาพยังคงอยู่
มาเลเซีย แยกเป็นรัฐ  แต่ก็มีสถาบันกษัตริย์เป็นองค์กรแห่งภราดรภาพ
ผิดกับพม่า ไม่มีองค์กรเช่นว่านี้  พม่าจึงล้มเหลวด้านการรวมชาติ
ดังนั้น  หากประเทศไทยต้องแยกออกเป็นหลายรัฐ จึงต้องมีองค์กรแห่งภราดรภาพที่เข้มแข็ง  ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เหมาะที่จะทำหน้าที่นี้
รัฐบาลกลาง  ทำหน้าที่ประสานงานในชาติ บริหารงานที่สำคัญของชาติ คือความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็น ด้านต่างประเทศ ด้านการเงินและด้านการทหาร เป็นตัวแทนของประเทศในองค์กรนานาชาติ ที่มา ต้องมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งประเทศ และต้องแยกจากรัฐสภา  หากจะล้มก่อนวาระต้องมาจากประชามติเท่านั้น
ผมว่าความวุ่นวายจากความแตกแยกของคนในชาติ มาไกลเกินประสานกันได้ด้วยการปกครองระบอบเดิมแล้ว 
หากการลงทุนตั้งสภาปฏิรูป  แล้วมาพูดเรื่องสามัคคีที่เป็นไปไม่ได้ คงไร้ประโยชน์เปล่าๆ   สุดท้ายก็ยังแบ่งข้างกันเหมือนเดิม การแก้ปัญหาของประเทศ ท่ามกลางความขัดแย้งที่บานปลาย ต่างฝ่ายต่างก็ยึดมั่นถือมั่น  โดยเฉพาะพวกที่แพ้ สู้ความนิยมของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้
คือการแก้โครงสร้างของประเทศ โดยมีโจทย์ว่า  เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไรในประเทศเดียวกันให้ได้อย่างสงบสุข โดยไม่ต้องเผชิญหน้าสู้รบกัน สามารถแข่งกันพัฒนาในแนวทางที่ตนเชื่อ
วันหนึ่ง  เมื่อความคิดเห็นของประชาชนทั้งประเทศ ค่อยๆจูนไปในทางเดียวกัน พรรคที่ไร้คุณภาพ ก็จะถูกกำจัดไปโดยธรรมชาติ
********
วิกิพีเดีย:สมาพันธรัฐ /สหพันธรัฐ
สหพันธรัฐ (อังกฤษfederation) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า รัฐสหพันธ์ เป็นรัฐอธิปไตยประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะของสหภาพรัฐหรือภูมิภาคที่ปกครองตนเองบางส่วน ที่รวมเข้าด้วยกันโดยรัฐบาลกลาง หรือ รัฐบาลสหพันธ์ ในสหพันธรัฐ สถานะการปกครองตนเองของรัฐองค์ประกอบนั้นตามแบบได้รับการคุ้มครองตามรัฐ ธรรมนูญและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยการตัดสินใจฝ่ายเดียวของรัฐบาลกลาง

ระบอบการปกครองหรือโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญที่พบในสหพันธรัฐนั้นทราบกันในชื่อ ระบอบสหพันธรัฐ เป็นระบอบการปกครองที่ตรงข้ามกับรูปแบบรัฐอีกประเภทหนึ่ง คือ รัฐเดี่ยว ตัวอย่างสหพันธรัฐ เช่น ประเทศเยอรมนี ซึ่งประกอบด้วยสิบหกรัฐ (Länder) ที่รวมเข้ากันเป็นสหพันธ์

สห พันธรัฐนั้นอาจประกอบไปด้วยประชาชนที่หลากหลายทางเชื้อชาติ และมีพื้นที่กว้างใหญ่ (ดังเช่น ความหลากหลายอย่างที่สุดในอินเดีย) แม้สหพันธรัฐจะไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยทั้งสองประการที่กล่าวมาก็ตาม สหพันธรัฐนั้นส่วนมากก่อตั้งขึ้นจากความตกลงแต่เดิมระหว่างรัฐอธิปไตยจำนวน หนึ่งโดยตั้งอยู่บนความกังวลหรือผลประโยชน์ร่วมกัน ความตกลงแรกเริ่มได้สร้างเสถียรภาพซึ่งเกื้อหนุนผลประโยชน์ร่วมกันข้ออื่น นำดินแดนที่แตกต่างกันสิ้นเชิงมาใกล้ชิดกัน และให้ดินแดนทั้งหมดมีหลักความเห็น (common ground) กว่าแต่ก่อน ในขณะเดียวกัน ความตกลงนี้ได้รับการรับรองและมีการจัดขบวนการเพื่อผสานรวมกันให้ใกล้ชิด ยิ่งขึ้น แต่ก็มีบางช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจัยวัฒนธรรมร่วมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เชื้อชาติหรือภาษา บางขั้นตอนในแบบนี้ถูกเร่งให้เร็วขึ้นหรือบีบอัด

องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ คือ องค์ประชุมกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ (Forum of Federations) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงออตตาวา รัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแบ่งปันแนวคิดและแนวปฏิบัติในการจัดการระบบการปกครองแบบสหพนธ์ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 9 ประเทศ

รูปแบบสหพันธรัฐ

ใน ระบอบสหพันธรัฐ รัฐบาลท้องถิ่น (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "รัฐบาลองค์ประกอบ") นั้นถือว่ามีอำนาจอธิปไตยในบางส่วน ทั้งยังมีอำนาจเฉพาะที่รัฐบาลกลางไม่สามารถใช้ได้ ส่วนรัฐบาลกลางจะมีอำนาจในการบริหารจัดการระบบราชการส่วนรวม และมีอำนาจในการกำหนดนโยบายทางการทูต ซึ่งรวมไปถึงการค้า การสื่อสาร และการทหาร ซึ่งเป็นอำนาจที่รัฐบาลท้องถิ่นไม่มีในครอบครอง อีกทั้งยังไม่มีสถานะเป็นรัฐอธิปไตยในกฎหมายสากลซึ่งจะถือว่ารัฐบาลกลางเป็นตัวแทนของรัฐบาลท้องถิ่นทั้งประเทศ


ส่วนใหญ่ แล้ว ทั่วทั้งของสหพันธรัฐจะใช้ระบบรัฐบาลกลาง-ท้องถิ่นในการบริหารราชการ แต่ในบางกรณี สหพันธรัฐอาจมีดินแดนที่รัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุมโดยตรง อย่างเช่นประเทศแคนาดาและออสเตรเลียที่ รัฐบาลกลางมีอำนาจในการเปลี่ยนหรือยกเลิกขอบเขตอำนาจบริหารของรัฐบาลท้อง ถิ่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมก่อน ทำให้ปัจจุบันแต่ละรัฐของสองประเทศนี้มีอำนาจในการปกครองตนเองที่ไม่เท่า เทียมกัน 
หรือประเทศอินเดีย ที่นอกจากรัฐบาลองค์ประกอบแล้ว ยังมีดินแดนที่อยู่ใต้อาณัติของสหภาพอีกหลายแห่งด้วยกัน 
และสหรัฐอเมริกาที่มีเขตปกครองพิเศษของรัฐบาลกลาง คือกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (DC = District of Columbia; เขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย) ซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษที่ติดต่อกับรัฐเวอร์จิเนียและรัฐแมริแลนด์ โดยวอชิงตัน ดี.ซี. อยู่ในเขตฝั่งซ้ายของแม่น้ำพอตอแมก (Potomac River) 
ในกรณี ข้างต้น รัฐบาลกลางจะแยกเขตปกครองออกจากการปกครองของรัฐบาลท้องถิ่นดั้งเดิม และใช้พื้นที่ของเขตเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการต่างๆ ตามที่รัฐบาลกลางกำหนด ส่วนใหญ่แล้วเขตการปกครองพิเศษที่รัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุมโดยตรงจะอยู่ใน บริเวณที่มีประชากรเบาบางเกินกว่าที่จะตั้งเป็นรัฐ หรือไม่ค่อยมีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากเท่าใดนัก หรือไม่ก็เป็นบริเวณที่เคยมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่นเมืองหลวงของประเทศ
ต้นกำเนิด ของสหพันธรัฐ ส่วนใหญ่มีจุดเริ่มต้นมาจากข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐอธิปไตย ซึ่งอาจเป็นข้อตกลงเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการค้าหรือการทหาร (ในกรณีของสหรัฐอเมริกา) หรือข้อตกลงระหว่างรัฐเพื่อสถาปนารัฐชนชาติเดียว ที่รวบรวมเขตแดนจากรัฐต่างๆ ที่มีเชื้อชาติเดียวกันเข้ามารวมกันเป็นประเทศเดียว (ในกรณีของเยอรมนี) 
อย่างไรก็ ดี ต้นกำเนิดและความเป็นมาของแต่ละชาติย่อมแตกต่างกัน อย่างในออสเตรเลีย ที่สถาปนาสหพันธรัฐจากการอนุมัติของประชาชนผ่านการลงคะแนนเสียงในประชามติ รัฐธรรมนูญออสเตรเลีย 
ในขณะที่ประเทศบราซิลเคยใช้ทั้งระบอบสหพันธรัฐและการปกครองแบบรัฐเดียว บราซิลในปัจจุบันประกอบไปด้วยรัฐที่มีอาณาเขตเหมือนในยุคเริ่มแรกที่เพิ่งมี การตั้งอาณานิคมในบราซิลโดยชาวโปรตุเกสซึ่ง ในปัจจุบันก็ยังคงมีความสำคัญในหลายๆ ด้านต่อประเทศ และรัฐใหม่ที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยรัฐบาลกลาง โดยรัฐล่าสุดถูกตั้งขึ้นมาผ่านรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2531 โดยมีจุดประสงค์หลักคือเป็นที่ตั้งให้กับหน่วยงานบริหารราชการ

สมาพันธรัฐ (อังกฤษconfederation) เป็นศัพท์การเมืองสมัยใหม่ หมายถึง การรวมกันของหน่วยการเมืองเป็นการถาวรเพื่อให้มีการเคลื่อนไหวร่วมกันตามหน่วยอื่น[1] สมาพันธรัฐ ตามปกติก่อตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญา แต่ภายหลังมักก่อตั้งขึ้นจากการเห็นชอบรัฐธรรมนูญร่วมกัน สมาพันธรัฐมีแนวโน้มสถาปนาขึ้นเพื่อจัดการกับปัญหาร้ายแรง เช่น การป้องกัน การระหว่างประเทศหรือสกุลเงินร่วม โดยมีรัฐบาลกลางที่ถูกกำหนดให้จัดหาการสนับสนุนแก่สมาชิกทั้งหมด

ธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐซึ่งประกอบขึ้นเป็นสมาพันธรัฐนั้นแตกต่างกันมาก เช่นเดียวกับความสัมพันธ์รหว่างรัฐสมาชิก รัฐบาลกลางและการกระจายอำนาจให้รัฐต่าง ๆ ก็มีแตกต่างกันเช่นกัน สมาพันธรัฐอย่างหลวมบางแห่งคล้ายคลึงกับองค์การระหว่างรัฐบาล ขณะที่สมาพันธรัฐอย่างเข้มอาจเหมือนสหพันธรัฐ

ข้อพิจารณาเรื่อง สถานการณ์การเมือง และความคืบหน้า 'พ.ร.บ.นิรโทษกรรม'

ที่มา : Thai E-News



ข้อพิจารณาเรื่อง สถานการณ์การเมือง และความคืบหน้า 'พ.ร.บ.นิรโทษกรรม'


โดย กานต์ ยืนยง
ใน ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์การเมืองโดยทั่วไปไม่ร้อนแรงอย่างที่คาดคิด เพราะประชาชนทั่วไปไม่ได้ให้ความสนใจมาก คิดว่าเพราะสาเหตุหลักคือเบื่อหน่ายความขัดแย้ง (ดูสวนดุสิตโพล[1]) ทั้งเผอิญมีข่าวที่น่าสนใจเข้ามาในจังหวะเดียวกัน คือ การเยือนเมืองไทยของทีมบาร์เซโลนา และการแต่งงานระหว่าง เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ วัย 32 ปี และหนุ่มใหญ่นักการเมืองชื่อดังวัย 45 ปี เอ๋-ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม


           ในขณะที่ปัจจัยภายในของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล-ทักษิณนั้น ได้แตกออกเป็นสามกลุ่ม คือกลุ่ม (1) กปท. (กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ) และคณะเสนาธิการร่วมกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) นำโดย พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ ซึ่งมีการชุมนุมมวลชนที่เวทีสวนลุมพินี, (2) เวทีผ่าความจริงพรรคประชาธิปัตย์ และ (3) พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งยังอยู่ในที่ตั้ง การที่มีการแบ่งมวลชนออกไปหลายกลุ่ม และไม่มีการดำเนินการที่เป็นเอกภาพกันจึงทำให้ทอนกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลลง ไปมาก
            นอกจากนี้ท่าทีที่ไม่ชัดเจนในการดำเนินการทางการเมืองของประชาธิปัตย์ ว่าจะใช้การเมืองนอกสภา หรือในสภาในการต่อสู้ทางการเมือง จึงทำให้มีลักษณะกลับไปกลับมา ซึ่งเมื่อมองจากปีกการเมืองสายปฏิรูปของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งน่าจะมีกำลัง อยู่ไม่น้อยแต่แสดงออกผ่านทางท่าทีของ คุณอลงกรณ์ พลบุตร ก็น่าจะมองได้ว่าการแสดงออกดังกล่าวมีทิศทางที่ก้าวร้าวและไม่สนับสนุนระบอบ ประชาธิปไตย ในขณะที่ปีกการเมืองอีกสายหนึ่งก็คงจะมองว่าการแสดงออกดังกล่าวไม่เข้มแข็ง และไม่มีลักษณะแตกหักดังที่ควรจะเป็น คุณอภิสิทธิ์และเครือข่ายนักการเมืองรุ่นใหม่ที่รายล้อมเขาอยู่ก็เลือก เหมือน ๆ ที่เคยเลือกมาคือเอียงไปทางปีกการเมืองที่ต้องการ “ชน” กับรัฐบาล
 อย่างไรก็ตามคำตัดสินของศาลอาญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณี 6 ศพที่วัดปทุมวนาราม ก็คงจะไม่เป็นผลดีกับ คุณอภิสิทธิ์ และแกนนำพรรคประชาธิปัตย์มากนัก
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานของผู้ร้อง และญาติผู้ตายทั้งหกคน อันประกอบด้วยประจักษ์พยาน พยานแวดล้อม และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ตายที่ 1 และที่ 3-6 ถึงแก่ความตายเพราะถูงยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง ขนาด .223 หรือ 5.56 ม.ม. จากเจ้าพนักงานซึ่งเป็นทหารสังกัดกองพันจู่โจม กรมรบพิเศษที่ 3 ค่ายเอราวัณ จ.ลพบุรี ที่ประจำการอยู่บนรถไฟฟ้า และผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายเพราะถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง ขนาด .223 หรือ 5.56 มมม. จากเจ้าพนักงานซึ่งเป็นทหารสังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ ที่ประจำการอยู่บนถนนพระรามที่ 1 จึงมีคำสั่งว่า ผู้ตายที่ 1- 6 ถึงแก่ความตายในวัดปทุมฯ เวลากลางวัน เมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 เหตุและพฤติกรรมที่ตาย เนื่องจากถูกยิงด้วยกระสุนปืนขนาด .223 หรือ 5.56 มม. ซึ่งวิถีกระสุนมาจากเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส บริเวณระหว่างถนนพระราม 1 และหน้าวัดปทุมฯ ในการควบคุมพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์ตามคำสั่งของศอฉ.เป็นเหตุให้ผู้ตายที่ 1 มีบาดแผลกระสุนปืนทะลุปอดและหัวใจเสียโลหิตปริมาณมาก[2]

            ในทางการเมือง นี่จะทำให้ผู้รับผิดชอบต่อคำสั่งในขณะนั้น  ซึ่งมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง ในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ. เป็นประธาน ในขณะนั้นจะปฏิเสธความรับผิดชอบทางการเมืองได้ยาก ปัจจัยนี้คงจะเป็นตัวแปรหนึ่ง ที่ทำให้เอาเข้าจริงแล้วแกนนำของพรรคประชาธิปัตย์ ยังต้องชั่งน้ำหนักในการเคลื่อนไหวทางการเมือง ว่าจะ “ชน” กับรัฐบาลอย่างเต็มตัวหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันต้องยอมรับว่าโมเมนตัมของฝ่ายต่อ ต้านรัฐบาลยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอในการเคลื่อนไหวมากนัก
สำหรับการตอบโต้ของรัฐบาลที่ผ่านมามีทั้ง (1) การออก พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ (นายกรัฐมนตรีได้สั่งยกเลิกไปแล้ว) ทำให้มีการวางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสกัดเส้นทางโดยรอบรัฐสภา (2) การออกคำสั่งห้ามกดไลค์ ห้าม แชร์ บน social media ของ กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ หรือแม้แต่ (3) การไม่ถ่ายทอดสดการอภิปราย พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในสภา เป็นต้น มาตรการเหล่านี้คงพอจะประเมินได้ว่ารัฐบาลมีความกังวลกับสถานการณ์มากเกิน จริง จนทำให้มองได้ว่ามีการออกมาตรการที่เกินจำเป็นกว่าสถานการณ์ออกมาใช้ แต่อย่างไรก็ตามอาจเป็นผลมาจากการข่าวกรองภายในของรัฐบาลที่ไม่เป็นที่เปิด เผยก็ได้ แต่ข้อเท็จจริงคือ ฝ่ายตรงข้ามปลุกมวลชนไม่ขึ้น (จำนวนมวลชน เวทีผ่าความจริงมี 2 - 3 พัน คน, จำนวนมวลชน กปท. ที่สวนลุมฯ มี 800 – 1,000 คน เป็นต้น)
            ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ก็ทราบถึงจุดอ่อนของตนเอง จึงพยายามรอและคงกำลังของตนเอาไว้ มวลชนจากสันติอโศกเข้ามาที่พื้นที่สวนลุมฯ เพื่อช่วยตรึงสถานการณ์ คนเหล่านี้เป็นมวลชนที่ไม่ใช้เงินเป็นต้นทุนสนับสนุนสูง พวกเขาสามารถปักหลักพักค้างได้ ทำให้อาจมองได้ว่าการตรึงกำลังดังกล่าวน่าจะรอสถานการณ์จำเพาะ 2 เรื่องคือ (1) การนิรโทษกรรมให้กับคุณทักษิณ ถ้าฝ่ายรัฐบาลพยายามเคลื่อนไหวในเรื่องนี้โดยเชื่อมโยงกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม (ซึ่งในปัจจุบันคงทำได้ไม่ง่ายในช่วงแปรญัตติ แม้จะมองได้ว่ายังมีพ.ร.บ.นิรโทษกรรมอีกหลายฉบับที่ถูกมองว่า มีการนิรโทษกรรมให้ครอบคลุมคุณทักษิณอยู่ด้วย ค้างอยู่ในสภาก็ตาม) หรือต่อให้ไม่มีก็ฝ่ายต่อต้านก็คงพยายามดึงให้ไปเกี่ยวข้องอยู่ดี และ (2) สถานการณ์เรื่องคำตัดสินปราสาทพระวิหาร อาจผสมด้วยการโยกย้ายทหาร, ช่วงระยะเวลาที่คาดว่าจะมีปัญหา หรือกำหนดการเตรียมเคลื่อนใหญ่น่าจะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม
            รัฐบาลก็คงจะอ่านความเสี่ยงทางการเมืองเหล่านี้ออก นายกรัฐมนตรีจึงให้ คุณวราเทพ รัตนากร และ คุณพงษ์เทพ เทพกาญจนา ดำเนินการเรื่องสภาปฏิรูป และการปรองดอง แต่อย่างไรก็ดี ในขณะนี้มีหลายฝ่ายดำเนินการเรื่อง เวทีสานเสวนา - การปรองดองอยู่แล้ว เช่น กลุ่มสันติวิธี ทั้งจาก สถาบันพระปกเกล้า มหาวิทยาลัยมหิดล ฯลฯ ในความเป็นจริงรัฐบาลควรจะให้การสนับสนุน และขอข้อสรุปเวทีเหล่านั้น มากกว่าไปลงมือทำเอง เพราะจะถูกมองว่าไม่เป็นกลาง และฝ่ายตรงข้ามก็จะปฏิเสธการเข้าร่วม ซึ่งทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง (ยกเว้นว่าจะมองว่าเป็นการสร้างภาพทางการเมืองซึ่งไม่จำเป็นสำหรับรัฐบาลนี้ เพราะมีภาพบวกจากเรื่องอื่นอยู่แล้ว) จะไปซ้ำรอยประชาธิปัตย์
ทั้งนี้ภาพใหญ่ของรัฐบาลคือ จำเป็นจะต้องมีการขับเคลื่อนเรื่อง การปรองดอง + การปฏิรูปโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน อย่างเป็นจริงเป็นจัง หรือทำ double play ในลักษณะเดียวกับการเล่นเบสบอลที่การเล่นของฝ่ายป้องกันในรอบเดียวจะต้องทำ ให้ผู้เล่นฝ่ายรุกถูกออกจากฐานพร้อมกันทั้งสองคน คือเป็นการกำจัดปัญหาเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง และการแก้ปัญหาเรื่องโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านการขนส่งซึ่งล้าสมัยมา นาน เรื่องพวกนี้ต้องทำให้เกิดผลจริง ไม่ใช่การสร้างภาพ นอกจากนี้เรื่องนี้อันที่จริงก็มีความชอบธรรม เพราะไม่ว่าพรรคการเมืองใดก็ตามขึ้นมาเป็นรัฐบาลก็จำเป็นจะต้องดำเนินนโยบาย ตามแนวทางนี้ เพื่อเตรียมประเทศรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกที่กำลังมาถึง
            เมื่อพิจารณาถึงพื้นฐานความขัดแย้ง ก็จะพบว่าความขัดแย้งในขณะนี้แก้ไขยาก เพราะขัดแย้งถึงระดับรากฐาน ฝ่ายเสื้อแดงอาจมองได้ว่า ทำไมฝ่าย "เสื้อเหลือง" รัฐประหาร ซึ่งมีความผิดสูงสุดเพราะเป็นการล้มรัฎฐาธิปัตย์ แต่ผู้กระทำการกลับไม่ต้องรับโทษอะไรเลย มีการบรรจุมาตราที่ย้ำเรื่องนี้เอาไว้ในรัฐธรรมนูญ ถ้าหากจะมองไปก็แทบไม่ต่างอะไรกับการนิรโทษกรรมให้กับตนเอง และนอกจากนั้นก็มีใช้กระบวนการไม่ถูกต้องในการเอาผิดคุณทักษิณ (หรือพูดง่าย ๆ คือมีปัญหาเรื่อง due process) ซึ่งถ้าเคร่งครัดเรื่องกฎหมายจริง ต่อไปนี้จะไม่สามารถเอาผิดคุณทักษิณได้อีกเลย เพราะ due process ผิดแต่ต้นความผิดที่ได้ตัดสินกับคุณทักษิณไปแล้วจะเป็นอันโมฆะ และจะย้อนกระบวนการพิจารณาคดีใหม่ก็ไม่ได้ เพราะกฎหมายห้ามพิจารณาคดีสองครั้งในเรื่องเดิม (ดูตัวอย่างคดีอาชญากรสงคราม จอมพล ป พิบูลสงคราม[3])  ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(4) เป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลย อันเป็นการสอดคล้องกับหลักสากลซึ่งเรียกกันในภาษาลาตินว่า Non bis in idem
            ความขัดแย้งโดยพื้นฐานนี้ พัฒนามาถึงจุดที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะต้องเอาชนะกันให้ได้เด็ดขาด แต่ตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของไทย ไม่ได้มีความขัดแย้งขนาดใหญ่เหมือนในต่างประเทศ และในขณะเดียวกันทางสากลที่จับตามองอยู่ รวมถึงข้อเท็จจริงคือทั้งสองฝ่ายยังคงมีกำลังก้ำกึ่งกัน
  แต่ข้อเท็จจริงพื้นฐานคือ ทั้งสองฝ่ายต่างประสบความสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเสื้อแดง เสื้อเหลืองหรือฝ่ายไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล หรือแม้แต่ฝ่ายที่ไม่มีสี เช่นญาติของมวลชนฝ่ายเสื้อแดงที่เสียชีวิตในระหว่างชุมนุม, คุณนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม และนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด (น้องเกด) เป็นต้น ทุกฝ่ายต่างก็ต้องการความจริง และมีปมปริศนาบางอย่างที่ยังคลี่คลายไม่ได้เช่นคนเสื้อดำ ข้อมูลเท่าที่ผมทราบมามีปฏิบัติการจริง และมีมากกว่านั้น และไม่รู้ว่าเป็นฝ่ายใคร เราพร้อมจะรื้อฟื้นหรือไม่ และถ้ารื้อฟื้นแล้วจะยอมรับได้หรือไม่ และให้อภัยได้จริงหรือไม่ เรื่องเหล่านี้คงจะเป็นสิ่งยุ่งยากในตอนนี้ เพราะแม้แต่ผู้ต้องขังจากคดีการทำความผิดกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทุกฝ่ายก็ไม่อยากเอาขึ้นพิจารณาบนโต๊ะเจรจาด้วยซ้ำ
นี่ยังไม่นับปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาเรื่องอัตลักษณ์ของสังคมไทยที่ผูกกับเรื่องศาสนาด้วย แม้จะไม่ชัดเจนก็ตาม


[2] ดู http://www.dailynews.co.th/crime/224274
[3] ใน คดีนั้นคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติอาชญากรสงครามได้ยื่นฟ้องจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายเพียร ราชธรรมนิเทศ และนายสังข์ พัฒโนทัย กล่าวหาเป็นใจความว่าสมัครใจเข้าร่วมสงครามรุกรานกับญี่ปุ่น
โดยร่วมยุทธทาง ประเทศพม่ากับโฆษณาชักชวนให้เห็นชอบในการทำสงครามรุกราน การกระทำหลังสุดที่โจทก์หาว่าจำเลยได้กระทำผิด เกิดระหว่างวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาชญากรสงคาม พุทธศักราช 2488 มาตรา 3(1) และมาตรา 4 ขอให้ริบทรัพย์และเพิกถอนสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย
พระราชบัญญัติดัง กล่าวมีบทบัญญัติว่า ไม่ว่าการกระทำอันบัญญัติว่าเป็นอาชญากรสงครามนั้นจะได้กระทำก่อนหรือหลัง วันใช้พระราชบัญญัตินี้ผู้กระทำได้ชื่อว่าเป็นอาชญากรสงคราม และจะต้องได้รับโทษดังที่บัญญัติไว้ทั้งสิ้น คดีนี้คือ คดีตามคำพิพากษาฎีกาที่ 2-4/2489 ซึ่งศาลฎีกาโดยพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์เป็นเจ้าของสำนวนร่วมวินิจฉัยกับ พระยาเลขวณิชธรรมวิทักษ์ พระยาธรรมบัณฑิตสิทธิศฤงคารและพระชัยประชาเป็นองค์คณะ
ได้ชี้ขาดว่าพระ ราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พุทธศักราช 2488 เฉพาะที่บัญญัติย้อนหลังให้การกระทำ ก่อนวันใช้พระราชบัญญัติเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติด้วยนั้น ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและเป็นโมฆะ การกระทำที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กระทำผิดเกิดก่อนวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2488 อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติอาชญากรสงครามได้ออกใช้ทั้งสิ้น เมื่อบทบัญญัติที่โจทก์ฟ้องขอให้เอาผิดแก่จำเลยเป็นโมฆะอันจะลงโทษจำเลยไม่ ได้ ศาลฎีกาจึงไม่ฟังคำพยานหลักฐานของโจทก์ในเรื่องนี้ต่อไปอีก แล้วพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ ปล่อยจำเลยพ้นข้อหาไป
ดูข้อมูล: 
http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/Article07.pdf
ขอบคุณภาพประกอบข่าวจาก The Nation โพสทูเดย์ เดลินิวส์ คมชัดลึก

สดุดีวีรประวัติ 68 ปีไทยมีเอกราช : ไม่มีเทวดาฟ้าประทานให้ แต่ด้วยจิตใจเสียสละรักชาติของราษฎร

ที่มา :  Thai E-News

 

สดุดีวีรประวัติ 68 ปีไทยมีเอกราช:ไม่มีเทวดาฟ้าประทานให้ 

แต่ด้วยจิตใจเสียสละรักชาติของราษฎร 

 

รูปภาพ : From War to Peace, August 16, 1945
16 สิงหา 2488/1945 ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการฯ ประกาศสันติภาพ
15 สิงหา จักรพรรดิฮิโรฮิโต ญี่ปุ่น ประกาศยอมแพ้สงครามโลก ครั้งทีี่่ สงครามมหาเอเชียบูรพา 
09 สิงหา สหรัฐฯ ทิ้งปรมาณูลูกที่สอง ลงที่นางาซากิ คนตายไปเกือบแสน ในพริบตา 
06 สิงหา สหรัฐฯ ทิ้งปรมาณูลูกแรก ลงที่ฮิโรชิมา คนตายไปเกือบแสน ในพริบตา

เดือนสิงหาคม ปี 2488 หรือ 68 ปีมาแล้ว 
มีเหตุการณ์สำคัญ ควรเรียน จดจำ จาก ปวศ มากมาย 
และสำคัญสำหรับอนาคต ของสยามประเทศ กับ ประชาคมอาเซียน ครับ 

ปีนั้น 17 สิงหา ซูการ์โน ก็ประกาศเอกราช อินโดนีเซีย 
ปีนั้น 30 สิงหา เบาได๋ ก็ประกาศสละราชสมบัติ 
สิ้นสุดระบบจักรพรรดิศักดินา 
อีกไม่กี่วันต่อมา คือ 2 พฤศจิกา โฮจิมินห์ ก็ประกาศเอกราช เวียดนาม

ปีนั้น ด้วยการนำของ ฯพณฯ ปรีดี ไทยเรามีความหวัง ไม่ถูกปรับให้แพ้สงคราม 
บ้านเมืองจะเป็น ประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยใหม่

5 ธันวา ปีนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 8 ก็เสด็จกลับจากสวิส 
พร้อมพระมารดา และอนุชา 
แต่ 9 มิถุนา 2489/1946 หรือ 6 เดือนต่อมา 
ก็ต้องพระแสงปืน สวรรคต อย่างมีเงื่อนงำ 
ฯพณฯ ปรีดี ถูกใส่ร้ายป้ายสี "ฆ่าในหลวง" 

8 พฤศจิกา พลโทผิน ขุณหะวัน 
ร่วมมือกับพรรค ปชป ของ ควง อภัยวงศ์ 
ทำ "รัฐประหาร" 
และแล้ว สยามประเทศไทย 
ก็กลับกลายเป็น อประชาธิปไตย 
จนแล้ว จนรอด ก็ยังไม่หลุดออกจาก บ่วงกรรม อันนี้

สรุป 
นิทาน เรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า 
เรายังไม่ได้เรียน หรือ รับอนุญาต ให้เรียนรู้จาก ปวศ ครับ

เสรีไทยเดินสวนสนามหลังสงครามสงบ 16 สิงหา 2488 ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ ประกาศสันติภาพ ทำให้ไทยมีเอกราชสมบูรณ์ ไม่ตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม


Name:  IMG_0112.JPG
Views: 495
Size:  307.2 KB
เสรีไทยแพร่


เสรีไทย สกลนคร

ใน เวลานั้นนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการ ในห้วงเวลานั้นในหลวงรัชกาลที่ 8 รวมทั้งพระชนนี สมเด็จพระอนุชา(ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน) ประทับอยูที่สวิตเซอร์แลนด์ 

พระ ราชวงศ์ชั้นสูงในเวลานั้นที่ประทับในเมืองไทยมีสมเด็จพระพันวสาอัยยิกาเจ้า นายปรีดีได้เชิญเสด็จอพยพไปประทับที่อยุธยา ระหว่างที่เสด็จอพยพหลบภัยอยู่นี้ สมเด็จฯ ทรงมีพระราชหฤทัยนึกถึงสมเด็จพระราชนัดดาอยู่เสมอ ได้ตรัสว่า

“ดีใจ๊ ดีใจ หลานอยู่เมืองนอกไม่ต้องมาลำบากอย่างนี้ ไม่อย่างนั้นฉันคงเอาไม่รอด ห่วงหลาน”

การ ถวายความอารักขาให้พ้นภัยสงครามครั้งนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้ทรงซาบซึ้งพระทัยดี และเมื่อสิ้นสงคราม ได้รับสั่งเรียกนายปรีดี ไปที่ประทับและขอบใจ ซึ่งคณะเสรีไทยถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง (อ่านรายละเอียด)


ปากคำหัวหน้าเสรีไทย:เราถือประโยชน์ของชาติสำคัญกว่า แต่ผมประมาทเลยโดนพวกเก่าเล่นงาน



หมายเหตุไทยอีนิวส์:ประสบการณ์และความเห็นบางประการของรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ สัมภาษณ์โดย ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ เผยแพร่ในfacebookของ Sinsawat Yodbangtoey เราได้คัดมาเฉพาะัในส่วนที่พูดถึงขบวนการเสรีไทย

ฉัตรทิพย์ :
อาจารย์ครับ เมื่อโยงเรื่องนี้เข้ากับเสรีไทยซึ่งเป็นขบวนการ (movement) ที่มาจากประชาชนเยอะมากทีเดียว ผมได้ไปทางภาคอีสานและได้เคยคุยกับคนที่เคยเป็นเสรีไทยเก่า ได้ไปเห็นสนามบินของเสรีไทยผมรู้สึกว่ามีขบวนการที่มาจากประชาชนมาก 

ก็อยากเรียนถามอาจารย์ว่ามีช่วงหนึ่งหลังสงครามที่คณะเสรีไทยมีบทบาทมากทำไมในช่วงนั้นโอกาสที่จะจัดตั้งทางด้านประชาชนหรือชาวนาให้ได้ทำการอะไรต่างๆ เพื่อประโยชน์ของเขา หรือเพื่อมีส่วนมีเสียงในสังคมในรัฐบาลให้มากยิ่งขึ้นไปกว่านั้น มันจึงจบลงไปด้วยเวลาสั้นเหลือเกิน 

ทำไมในช่วงนั้นท่านอาจารย์ไม่สามารถจะทำให้พลังของประชาชนอันนั้นมาสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ก้าวหน้ากว่าได้ ทั้งๆที่รู้สึกว่า เป็นช่วงที่มีเชื้อขึ้นมาเยอะแยะแล้ว แต่ทำไมกลับฟุบไปอีก อาจารย์กรุณาอธิบายด้วยครับ

ท่านปรีดี :คือการต่อสู้ญี่ปุ่นในระหว่างสงคราม เรามิได้เป็นชนชั้น เพราะถือเช่นนั้นไม่ได้ คือว่าต้องทุกชนชั้น คือคนไทยที่รักชาติจะอยู่ในชั้นใดก็ตามที่ร่วมมือการต่อสู้ญี่ปุ่น และความจริงก็เป็นเช่นนั้น คือมีเจ้าหลายองค์ หรือลูกเจ้า พวกเศรษฐี พวกโดยมากก็เป็นครู ประชาชนผู้แทนที่เขาเคยจัดตั้งก็หลายคน และเราได้ตกลงกันว่ามีเพียงการกู้เอกราชของชาติและเอกราชสมบูรณ์ที่ถูกญี่ปุ่นยึดครองให้สำเร็จและให้สัมภาษณ์โดยรับรองมีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คุณอ่านหนังสือของผมหรือยัง หนังสือตอบพระพิศาลเรื่องเสรีไทย 


และเมื่อเราให้คำมั่นไว้อย่างนั้นแล้ว เมื่อเสร็จสงครามเดือนสิงหา เดือนกันยาเราก็ยุบเลิก เราจะไปฉวยโอกาสเอามาทำเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของเรามันก็ผิดความประสงค์ไป

ฉัตรทิพย์ :ก็ถ้าเพื่อประชาชนเล่าครับ

ท่านปรีดี :มันก็เท่ากับไปหักหลังเขา มันทำไม่ได้ ผมเห็นว่าเราไม่ควรทำ อีกอันหนึ่งเราก็ปล่อยว่าใครจะตั้งพรรคอย่างไรก็เอา อย่างเช่น ในภาคอีสานก็มีพรรคสหชีพซึ่งคุณเตียง, ทองอิน, ถวิล, จำลอง บุคคลระดับหัวหน้าที่ถูกเขาจับเอาไปฆ่า


ทีนี้เกี่ยวมาถึงสหชีพนั้นผู้แทนอีกหลายส่วนก็ได้ช่วยกันจัดตั้งขึ้น แต่ว่าก็เป็นอดีตเสรีไทยส่วนมากคือ เสรีไทยในบางชนบท ส่วนมากมีผู้แทนราษฎรที่ติดต่อกับราษฎรในท้องถิ่นและครูประชาบาล ครูประชาบาลมีอิทธิพล คุณคงเข้าใจ เป็นอันว่าถ้าผมไม่คิดถึงคำสัญญาว่าเอาเถอะ ทุกคนมาร่วมกันนะเราจะไม่หักหลังกัน ถือประโยชน์ของชาติเป็นส่วนใหญ่ แล้วผมก็อาจพิจารณาทำอย่างที่คุณคิดว่าทำไมผมไม่ทำ แต่นี่ผมทำอย่างนั้นไม่ได้

ฉัตรทิพย์ :อาจารย์สัญญากับคนอื่นๆ ที่มาร่วมที่ไม่ใช่ชนชั้นชาวนา

ท่านปรีดี :ชาวนาแท้จริงที่เข้าร่วมขบวนเสรีไทยเป็นคนซื่อสัตย์ถือประโยชน์ส่วนรวมของชาติเหนือชนชั้นของตน และรู้ว่าต้องมีขบวนการกว้างใหญ่รวมทุกชนชั้นจึงต่อสู้ศัตรูระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้นได้ เมื่อกองบัญชาการเสรีไทยในนามของเสรีไทยได้เห็นสมควรให้สัญญากับบุคคลแห่งชนชั้นใดที่มาเข้าร่วมขบวนการแล้ว ขบวนการก็ต้องซื่อสัตย์ 


ฉัตรทิพย์ : เป็นความกดดันจากต่างประเทศด้วยหรือเปล่าครับ

ท่านปรีดี : ไม่ใช่ความกดดัน เราก็ต้องการที่ให้ชาวอังกฤษ อเมริกาเขาเข้าใจ เพราะคุณย่อมทราบแล้วจากที่ผมเคยชี้แจงไว้ในหลายบทความ รวมทั้งในหนังสือของผมชื่อ “ จดหมายของนายปรีดี พนมยงค์ ถึงพระพิศาลสุขุมวิท เรื่องจดหมายเหตุของเสรีไทยเกี่ยวกับปฏิบัติการในแคนดี นิวเดลฮี และสหรัฐอเมริกา” ใจความสำคัญ ขบวนการเสรีไทยจำต้องปฏิบัติภารกิจในการรับใช้ชาติไทย ๒ ด้านประกอบกันคือ

๑) ต่อสู่ญี่ปุ่นผู้รุกราน และ๒) ปฏิบัติการเพื่อให้สัมพันธมิตรรับรองว่าประเทศไทยไม่ตกเป็นฝ่ายแพ้สงคราม และการผ่อนหนักเป็นเบา

ทั้งนี้เพราะรัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกา และก่อสถานะสงครามกับจีน ฝ่ายบริเตนใหญ่และออสเตรเลียและสหภาพอาฟริกา (ขณะนั้นยังอยู่ในเครือจักรภพ “Commonwealth” ของอังกฤษ) ก็ได้ประกาศสงครามต่อประเทศไทยเป็นการโต้ตอบ ฉะนั้นขบวนการเสรีไทยจึงต้องปฏิบัติด้านสำคัญนี้ด้วย ซึ่งต่างกับขบวนการการจีนก๊กมินตั๋ง, จีนคอมมิวนิสต์, กับองค์การที่ขึ้นต่อจีน จึงต่อสู้ญี่ปุ่นด้านเดียวก็พอแล้ว เพราะจีนมิได้มีสถานะสงครามกับสัมพันธมิตร

เราถือประโยชน์ของชาติสำคัญที่สุดกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวและกลุ่ม แต่ผมประมาทไปก็เลยโดนพวกเก่าเล่นงาน

ส่วนขบวนการกุมภาพันธ์นั้น ความจริงคุณเตียงมิได้เกี่ยวข้องไม่ได้ส้องสุมอะไร แต่เขาเห็นว่าคุณเตียงเป็นศิษย์ผม เขาก็จับไปฆ่า

ฉัตรทิพย์ :แต่ทำไมพลังถึงสูญไปเร็ว ถึงแม้ว่าท่านไม่ได้สนับสนุนเต็มที่แล้ว

ท่านปรีดี :ถึงแม้เขาถูกทำลายโดยรัฐประหาร ๒๔๙๐ แต่เขาก็ยังคงเกาะเป็นกลุ่มกันอยู่ ต่อมาเมื่อบุคคลระดับหัวหน้าถูกปราบถูกฆ่า กลุ่มก็ค่อยๆ ละลายไป
************



เมื่อวานนี้ 




คำชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติพรรคสหชีพ

คำบอกเล่าเกี่ยวกับพรรคสหชีพนั้นมีจำนวนไม่น้อย ฉะนั้นผมจึงขอให้คุณกับสานุศิษย์โปรดสอบสวนเอกสารหลักฐานซึ่งเป็นประวัติศาสตร์แท้จริงของการเมืองแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้

๑. เมื่อขบวนการเสรีไทยได้ยุบตนเองในวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๘ แล้ว สมาชิกแห่งขบวนการนั้นก็แยกย้ายกันไปประกอบกิจต่างๆ กันตามสมัครใจ อาทิ บางคนกลับไปเป็นข้าราชการประจำตามเดิม บางคนประกอบธุรกิจส่วนตัว บางคนรับใช้ชาติในทางการเมืองโดยสมัครเป็นผู้แทนราษฎรอิสระบ้าง ประกอบเป็นพรรคการเมืองตามอุดมการณ์ของตนบ้าง ฯลฯ

๒. พรรคสหชีพเป็นพรรคหนึ่งในบรรดาหลายพรรคที่ตั้งขึ้นภายหลังกันยายน ๒๔๘๘ โดยใช้วีธีต่อสู้ทางรัฐสภา

การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จนถึงก่อนรัฐประหาร ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ นั้น สมาชิกพรรคสหชีพได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรจำนวนมาก แต่ยังมีจำนวนไม่พอที่จะตั้งเป็นรัฐบาลโดยลำพังผู้แทนราษฎรของพรรคสหชีพได้ ฉะนั้นพรรคสหชีพจึงร่วมกับพรรคแนวรัฐธรรมนูญและพรรคอิสระกับผู้แทนอิสระที่ไม่สังกัดพรรคใดประกอบเป็นรัฐบาลขึ้น

๓. ต่อมาในวันที่ ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ ได้มีบุคคลคณะหนึ่งทำรัฐประหารล้มระบบปกครองประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๘๙ และได้สถาปนาระบบรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับ ๙ พ.ย. ๒๔๙๐ ที่มีฉายาว่ารัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม และได้เชิญนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล

การรัฐประหารครั้งนั้นได้จับกุมสมาชิกพรรคสหชีพไปคุมขังไว้หลายคน และคุกคามที่จะจับกุมผู้ที่สงสัยว่าเตรียมการต่อต้าน

๔. แม้สมาชิกพรรคสหชีพถูกจับกุมและถูกคุกคามก็ดี แต่สมาชิกพรรคสหชีพก็พยายามต่อสู้ตามวิถีทางรัฐสภา

ฝ่ายรัฐประหาร ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ กับผู้ร่วมมือได้ใช้วิธีกีดกันอดีตผู้แทนรุ่นหนุ่มจำนวนมากที่สังกัด
พรรคสหชีพ, แนวรัฐธรรมนูญ, อิสระ มิให้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร

พิมพ์เขียวปฏิรูป แค่ "ทักษิณ" คุย "พล.อ.เปรม" ก็ไม่จบ โดย ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์



"ดร.ชัยวัฒน์" วิจัยพิมพ์เขียวปฏิรูป แค่ "ทักษิณ" คุย "พล.อ.เปรม" ก็ไม่จบ



ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นนักวิชาการด้านสันติวิธี เป็นหนึ่งในหลายคนที่ "สภาปฏิรูปการเมือง" ของ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี ส่งเทียบเชิญเพื่อให้เข้าร่วมองคาพยพ แต่สุดท้ายเขาปฏิเสธคำเชิญนั้น โดยบอกว่า เพราะเขาไม่ได้เตรียมตัว

แต่ก่อนหน้านั้น เขาและลูกทีมหมกมุ่นอยู่กับงานวิจัยปัญหาความขัดแย้งทางสังคม-การเมือง เรื่อง "พื้นที่สันติวิธี/หนทางสังคมไทย"

"ดร.ชัย วัฒน์" จึงสังเคราะห์ความคิดที่ตกผลึกจากงานวิจัยผ่านหน้ากระดาษ "ประชาชาติธุรกิจ" แม้เขาไม่เข้าร่วมวงสภาปฏิรูปการเมือง แต่เขาได้วางวิธีพูดคุยแบบสันติวิธีอย่างน่าสนใจ


- สภาปฏิรูปการเมืองช่วยให้เกิดความปรองดองได้ไหม
ไม่ ทราบว่านายกฯอยากเห็นอนาคตของสภาปฏิรูปการเมืองเป็นอะไร เท่าที่ฟังบอกว่าจะให้ใครต่อใครเข้ามา มีอะไรจะได้แลกเปลี่ยนกัน แต่การพยายามให้มีทุกฝ่ายในสังคมที่แยกขั้ว นั่นไม่ใช่เรื่องง่าย แล้วเราเริ่มเห็นว่าคนจำนวนหนึ่งเข้ามา แต่คนอีกจำนวนหนึ่งไม่ยอมเข้ามา เรื่องสำคัญไม่ใช่คนที่มา แต่เป็นคนที่ไม่ยอมมา ว่าจะทำอย่างไรถึงจะมีสะพานสร้างไปสู่คนเหล่านั้น เพราะถ้าไม่มีมุมมองจากคนเหล่านั้น มันก็จะเป็นที่ประชุมของคนที่มีความเห็นคล้ายกัน

- วิธีที่จะนำคนที่ไม่ยอมมา เปลี่ยนใจมาเข้าร่วมสภาปฏิรูปได้ต้องทำอย่างไร
มัน เริ่มได้หลายวิธี วิธีหนึ่งคือ ทำอย่างไรถึงมองปัญหาจากมุมของเขา ในการศึกษาวิจัยด้านความขัดแย้งจะอธิบายเสมอว่า สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องทำ คือ มองเรื่อง ๆ เดียวกัน แต่อย่ามองในมุมมองของตัว ต้องมองมุมของอีกฝ่าย เราก็จะเห็นว่าเรื่องนี้ทำไมถึงสำคัญขนาดนี้กับเขา ทำไมเขาถึงรู้สึกว่าจะเป็นจะตาย

- คิดว่านายกฯมองจากมุมมองของฝ่ายตรงข้ามไหม
ถ้า คิดจากมุมของรัฐบาล คิดว่ารัฐบาลคงหาวิธี และวิธีที่รัฐบาลอยากทำ คือ อยากใช้วิธีที่ไม่อยากให้มีฝ่ายใดเสีย บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น สามารถเชิญฝ่ายต่าง ๆ เข้ามาพูดคุยกันได้ก็เข้ามาก่อน ส่วนจะคุยได้ผลไหมก็อีกเรื่องหนึ่ง วิธีนี้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่เขาคิดออก ไปเชิญคนสำคัญของชาติบ้านเมืองเข้ามา ไม่ว่าคุณบรรหาร (ศิลปอาชา) พล.อ.ชวลิต (ยงใจยุทธ) คุณอุทัย (พิมพ์ใจชน) คนเหล่านั้นเขาเห็นดีเห็นงามด้วยก็มา

- การเชิญบุคคลที่มีชื่อเสียงร่วมเป็นคณะกรรมการ สามารถช่วยทำให้ปรองดองเกิดขึ้นไหม
ท่าน เหล่านี้คงมีความเห็นอะไรของท่านอยู่ แต่ช่วยได้จริงไหม...มันตอบยาก คือแน่นอนคนต้องมองว่านี่เป็นวิธีการทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาล แต่เชื่อในที่สุดว่าคุยกันดีกว่าตีกัน แต่มันต้องมีวิธีการคุยเหมือนกัน บางเรื่องสำคัญ ๆ ไม่ใช่เรื่องที่ควรจะพูดในที่สาธารณะ

- ปัญหาความขัดแย้งขณะนี้ ควรคุยในที่ลับหรือที่แจ้งจะเหมาะสมที่สุด
ควร จะใช้ทั้งสองอย่าง แต่ควรดูเป็นเรื่อง ๆ ไป ว่าอะไรควรนั่งคุยกันบนโต๊ะกาแฟตอนเช้าที่ไม่มีนักข่าวอยู่ เหตุผลคือความขัดแย้งบางเรื่องไม่ใช่แค่ประเด็นของเรื่อง สมมติญาติพี่น้องทะเลาะกันเรื่องมรดก บางทีนำเรื่องไปถึงศาล นำเรื่องไปลงหนังสือพิมพ์ พอเป็นอย่างนั้นสิ่งที่เสียหายไปไม่ใช่ใครจะได้ หรือใครจะชนะ แต่คือความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่ต้องซ่อม ซึ่งมันไม่ได้ซ่อมในที่สาธารณะ มันอาจจะค่อย ๆ ซ่อมในที่รโหฐาน หลังจากนั้นค่อยมาที่สาธารณะ แล้วจับมือกัน ถ่ายรูปกัน จริง ๆ ในการเจรจาระหว่างประเทศและเจรจาความเมืองมันมีเวทีต้องคุยกันก่อน มีคณะทำงานละเอียดรอบคอบ พอสุดท้ายค่อยบอกว่าเราตกลง เราจะเจรจากันแบบนี้นะ มันแบบนี้ทั้งนั้น

- ถ้าโฟกัสตัวคู่ขัดแย้งอย่างคุณทักษิณ ชินวัตร และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่ปรากฏผ่านคลิปเสียงคล้ายนักการเมือง คิดว่าความขัดแย้งจะจบไหม
เรา กำลังอธิบายว่าความขัดแย้งนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำ เป็นความขัดแย้งของคุณทักษิณกับคุณเปรม แต่ถ้าไม่ใช่ล่ะ คือผมมองว่าความขัดแย้งของบุคคลมันสัมพันธ์อยู่กับความขัดแย้งแบบอื่น ๆ ซึ่งฝังอยู่ในโครงสร้าง การดีกันในระดับบุคคลช่วยไหม...ช่วย แต่ทำให้ความขัดแย้งในโครงสร้างหายไปไหม...ไม่

- 6-7 ปีที่ผ่านมา ความขัดแย้งไม่ใช่เฉพาะกลุ่ม แต่เป็นความขัดแย้งลึกถึงโครงสร้าง
จึง ไม่เห็นด้วยว่าทั้งหมดเป็นปัญหาของคุณทักษิณ หรือของคุณอภิสิทธิ์ ผมเห็นว่าคุณทักษิณหรือคุณอภิสิทธิ์อยู่ในบริบททางสังคมการเมือง และบริบททางสังคมการเมืองมีพลังสังคมการเมืองหลายอย่าง เช่น พลังเศรษฐกิจ พลังวัฒนธรรม ซึ่งเวลานี้สังคมกำลังเปลี่ยน และคนแต่ละคนอาจเป็นตัวแทนของพลัง 2 อย่างซึ่งต่างกัน พวกนั้นจำเป็นต้องหาวิธีอยู่กับมันให้ได้ ว่าเรากำลังอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลง

- ความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
โจทย์ ของนักวิจัยสันติภาพที่น่าสนใจ คือ อารมณ์ในสังคมไทย ซึ่งน่าสนใจ 2 อัน คือ อารมณ์ขัน กับความเกลียดชัง ซึ่งอารมณ์ขันเป็นพลังทางการเมืองได้จากกลุ่มบางกลุ่มที่ใช้อารมณ์ขันเป็น เครื่องมือ มีการใช้ในต่างประเทศ เช่น เซอร์เบีย ที่ต่อสู้กับเผด็จการสันติวิธีผ่านอารมณ์ขัน ส่วนด้านที่เป็นปัญหาคือความเกลียดชังที่เป็นปัญหาใหญ่ อาจนำไปสู่ความรุนแรงได้ง่ายที่สุด

- หลังจากวิจัยความขัดแย้งในปัจจุบัน อะไรที่เป็นอุปสรรคขัดขวางความปรองดองมากที่สุด
การ ปรองดองที่เป็นภาพใหญ่มันยาก โดยเฉพาะการปรองดองที่เกิดหลังจากความรุนแรงไปแล้วมันเลยยิ่งยาก สังคมไทยตั้งแต่ปี 2549 ถึงปัจจุบัน มันเกิดเหตุสำคัญ 2 อย่าง คือ การยึดอำนาจ 19 กันยา มันทำให้สังคมฉีกออกจากกัน ผลของมันทำให้ความมั่นใจในสังคมการเมืองไทยมันแยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกยังเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้งเป็นเรื่องสำคัญ อีกฝ่ายหนึ่งไม่...การยอมรับการรัฐประหารคือการสูญเสียศรัทธาที่มีต่อระบอบ ประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้งเป็นฐาน แต่นั่นยังพอพูดกันได้อยู่บ้างในบางเรื่อง

แต่ พอถึงการชุมนุมปี 2553 เกิดความรุนแรงบนท้องถนน ต่อสู้กัน นำไปสู่การเผาพื้นที่บางพื้นที่ มีผู้เสียชีวิต 90 คน บาดเจ็บ 1,700 คน พอทำอย่างนี้จึงทำให้ความปรองดองมันยาก รอยแผลแบบนี้มันจัดการลำบาก รอยแผลแบบนี้มันมีผู้เสียหายที่จะอยากเห็นความจริง อยากได้ความยุติธรรม แต่ทั้งความจริงและความยุติธรรมซึ่งเป็นเงื่อนไขของการปรองดองมันมีต้นทุน ต่อการปรองดองสูง คือโจทย์อันหนึ่งที่เรากำลังเจออยู่ในสังคมไทย

- จะแก้โจทย์ที่ยากได้อย่างไร
คง ต้องไปดูตัวอย่างจากที่ต่าง ๆ บางเรื่องเชื่อว่าความจริงรักษาได้ทุกอย่าง บางทีเขาก็คิดว่าการลืมสำคัญ แม้กระทั่งตัวอย่างของประเทศแอฟริกาใต้ที่มักเอ่ยถึงเสมอ คือ คณะกรรมการสัจจะและการปรองดอง คนที่เป็นคนทำเรื่องนี้มี 2-3 คน คือ เนลสัน เมนเดลล่า, เดสมอนด์ ตูตู, เอฟ ดับบลิว เดอ เคลิร์ก ซึ่งเมลเดลล่าบอกว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้บางเรื่องมันต้องลืมบ้าง ผมตอบไม่ได้ว่าต้องทำอะไร แต่บอกเพียงว่ามีเงื่อนไขพวกนี้อยู่ เวลาเราคิดเรื่องปรองดองมันไม่ได้ไป Track เดียว

- แต่เมื่อศาลอาญาชี้ว่าคดี 6 ศพวัดปทุมวนาราม เป็นการถูกยิงจากเจ้าหน้าที่ ฝ่ายคนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยเรียกร้องความรับผิดชอบจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่อีกฝ่ายก็บอกว่าเรื่องทั้งหมดมีคุณทักษิณและคนเสื้อแดงเป็นต้นเหตุ อย่างนี้จะหันหน้ามาแล้วลืมกันได้อย่างไร
โจทย์ ใหญ่ของสังคมไทยมันเลยกลายเป็นว่าเราจะอยู่กับความจริงที่เกี่ยวข้องกับตัว เราเองอย่างไร แต่ความจริงที่มีอยู่ในสังคมไทยมี 2 ชั้นซ้อนอยู่เสมอ 1.ความจริงของเรื่องที่เราพูดถึง คือ ใครเป็นคนยิงที่วัดปทุมฯ อันนี้เป็นข้อเท็จจริง แต่ 2.สังคมไทยเวลาที่มีความรุนแรงเกิดขึ้น คนผิดชี้ตัวได้ว่าใครคนยิงคนสั่ง แต่สังคมไทยทั้งหมดได้ทำเพียงพอหรือเปล่าที่จะทำไม่ให้ความรุนแรงนั้นเกิด ขึ้น ถ้าคำตอบคือ ทุกคนยังไม่ได้ทำอย่างเพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้ความรุนแรงเกิดขึ้น เราเองก็คงต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วยในความรุนแรงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่คนพวกนั้นเท่านั้น

เหมือนกับ บอกว่า ในที่สุดมีคนยิง แต่ก่อนคนยิงจะเหนี่ยวไกก็มีผู้บังคับบัญชา ก่อนมีผู้บังคับบัญชาต้องมีการสั่ง ก่อนมีการสั่งต้องมีกระบวนการบางอย่าง ก่อนมีกระบวนการบางอย่างต้องมีการสร้างความเกลียดชัง ถ้าพูดอย่างนี้เราอาจเห็นมากขึ้นไหมว่า ไม่ใช่ฝั่งนู้นที่ผิดคนเดียว เราก็มีส่วนผิดด้วยแม้จะอยู่ไกลก็ตาม

- เราจะจัดสมดุลระหว่างผู้ที่เป็นเหยื่อ กับผู้ที่สั่งการตามกฎหมายอย่างไรให้ไปด้วยกันได้
วิธี คิดของผม ปืนทุกกระบอกเวลามันยิงมีเหยื่อ 2 ด้าน ด้านหนึ่งอยู่ที่ด้ามปืน อีกด้านหนึ่งอยู่ที่ปลายกระบอกปืน คนเรามักจะเห็นเหยื่อที่ปลายกระบอกปืน แต่เรามักไม่เห็นว่าคนที่ยิงเป็นเหยื่อเหมือนกัน ใครก็ตามที่เหนี่ยวไกในปี 2553 คนเหล่านั้นผมคิดว่าเขาก็ถูกหล่อหลอมมาว่า

อีก ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ร้าย ทำร้ายบ้านเมือง ในแง่นั้นเขาจึงเป็นเหยื่อ ดังนั้น หนึ่งในที่วิจัยจึงมุ่งไปที่ความเกลียดชังมาจากไหน กลไกอะไรที่ทำ ของพวกนี้ต่างหากที่สังคมไทยต้องเข้าใจ

- ทุกวันนี้วาทกรรมการสร้างความเกลียดชังก็ยังมีจากพรรคการเมือง 2 พรรค แม้ด้านหนึ่งรัฐบาลประกาศปรองดอง แต่ด้านหนึ่งก็ยังสร้างความเกลียดชังตลอดเวลา
คือ เขาอาจทำไปโดยยังไม่ได้เห็นชัดเจนว่าความเกลียดชังมีประสิทธิภาพ การผลิตอารมณ์มันจึงส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการเมือง ฉะนั้น คนที่รู้ดีที่สุดในเรื่องนี้คือพวกนักการเมือง เพราะสิ่งที่เขาขับขี่มันไม่ใช่เรื่องเหตุผล เรื่องที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น แต่เป็นเรื่องอารมณ์ของผู้คน

- ถ้าเตือนนักการเมืองในฐานะที่เป็นผู้สร้างวาทกรรมการเกลียดชังได้จะบอกว่าอะไร
ก็ จะตอบว่าความเกลียดชังมันเป็นยาพิษ เพราะยาพิษนี้ออกฤทธิ์ช้า เวลามันออกฤทธิ์มันรักษาลำบาก เพราะความเกลียดชังบางอย่างพอลงไปลึกแล้วมันก่อรูปเป็นอคติ แล้วเราก็มองโลกเป็นอีกแบบหนึ่ง โลกที่เรามองเห็นมันอันตรายต่ออนาคต มันทำร้ายอดีต และมันแย่งชิงปัจจุบันไปจากเรา

- ความปรองดองจะเกิดขึ้นอีกนานไหม
ตอบไม่ได้ มันยาก (หัวเราะ)


เงินกู้ 2 ล้านล้าน โดย วีรพงษ์ รามางกูร

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ


เงินกู้ 2 ล้านล้าน


คอลัมน์ คนเดินตรอก
โดย วีรพงษ์ รามางกูร 

ข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งที่สื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามกัน มากคือ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อมาตั้งเป็นกองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ อันได้แก่ ระบบการขนส่งโดยราง ท่าเรือน้ำลึก สนามบิน ทางด่วน แต่ไม่เห็นพูดถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

อ่าน ข่าวดูแล้วก็อดสงสารประเทศไทยไม่ได้ เพราะมีนักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นักการเงิน การคลัง ออกมาผสมโรงอยู่ด้วยมากมาย เหตุผลก็คือ กลัวรัฐบาลนี้จะสร้างหนี้ให้ลูกหลานต้องแบกภาระ

สาเหตุ ที่จะมีการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ก็เพราะว่าประเทศไทยมีเงินออมสูงกว่าเงินลงทุนมาตลอด 15 ปีแล้ว หลักฐานง่าย ๆ ตามหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นก็คือ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล

มาตลอด 15 ปี จนบัดนี้ก็ยังเกินดุลอยู่ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดแปลว่าเรามีเงินออมสูงกว่าเงินลงทุนมาตลอด 15 ปี

เงินออมส่วนเกินที่สูงกว่าเงินลงทุนนี้แหละคือหยาดเหงื่อของคนรุ่นเราที่อดออมไว้ให้ลูกหลาน นับ ๆ ดูแล้วก็กว่า 6-7 ล้านล้านบาท

เงินออมส่วนเกินจากหยาดเหงื่อรุ่นเรา นี้ เมื่อไม่ลงทุนเป็นสิ่งของจริง ๆ ก็เอาไปให้รัฐบาลอเมริกันกู้บ้าง อังกฤษกู้บ้าง ยุโรปกู้บ้าง โดยไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลดอกเบี้ยถูก ๆ ของเขามาเป็นทรัพย์สินของชาติ

เรา แต่เป็นทรัพย์สินที่จะเสื่อมค่าลงทุกวัน ซึ่งเป็นความคิดของรัฐบาลที่ผ่าน ๆ มาที่คิดไม่เป็น เพราะคิดว่าเราไม่มีเงิน ถ้าจะทำต้องไปกู้หนี้ยืมสินจากต่างประเทศมาลงทุน

ทาง ที่ถูกก็คือ ควรเปลี่ยนทรัพย์สินของชาติจากกระดาษที่ออกโดยรัฐบาลอเมริกัน อังกฤษ ยุโรป มาเป็นสิ่งของที่จับต้องได้ ซึ่งจะมีมูลค่าราคาการลงทุนก่อสร้างแพงขึ้นเรื่อย ๆ ไว้ให้ลูกหลาน

เรา ใช้ เพราะถ้ารอให้ลูกหลานทำ ราคาคงแพงกว่านี้มาก อีกทั้งเงินออมในกระเป๋าเราที่อยู่ในรูปพันธบัตรรัฐบาลอเมริกา อังกฤษ ยุโรป ก็คงเสื่อมค่าลงไปทุกวันด้วย

เมื่อ จะลงทุนขนาดใหญ่ ใช้เงินมาก จะระดมเงินออมในประเทศที่มีอย่างเหลือเฟือมาลงทุนอย่างไร ก็มี 2 วิธี คือ ใช้จากภาษีอากร หรือไม่ก็กู้จากประชาชนผู้ออม ขอใช้คำว่ากู้จากประชาชนผู้ออม ไม่ใช่กู้จากต่างประเทศ

ลอง มาดูว่าถ้าใช้จากภาษีอากรโดยบรรจุไว้ในงบประมาณประจำปี ซึ่งตาม พ.ร.บ.วิธีการของบประมาณ ถ้ารายได้ไม่พอและเงินกู้ตามปกติติดเพดาน ก็ต้องขึ้นภาษีเอากับประชาชน ซึ่งก็ไม่น่าจะเป็นหลักการที่ถูกต้อง เพราะของเหล่านี้ใช้ไปถึงลูกถึงหลาน แล้วให้รุ่นเราจ่ายทั้งหมดก็ไม่น่าจะถูก เพราะโครงการที่ลงทุนมีอายุการใช้งานเป็นเวลานาน อาจจะเลยศตวรรษก็ได้

แต่ ถ้าไม่เอาภาษีมาใช้โดยใส่ในงบประมาณประจำปี ก็ต้องกู้จากประชาชนผู้ออม ผู้ออมก็จะได้ดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทนต่อการอดออมมาตลอด 15 ปี ดอกเบี้ยก็ไม่ได้แพงอะไรนัก แล้วก็ทยอยจ่ายเงินต้นไป 50 ปี ทั้ง ๆ ที่อายุการใช้งานของระบบราง สนามบิน ท่าเรือ ฯลฯ นั้น

ยืน ยาวกว่า 50 ปีมากนัก อาจจะถึง 100 ปีก็ได้ ดูอย่างรางรถไฟ ทางรถไฟที่รัฐบาลพระพุทธเจ้าหลวงท่านไปออกพันธบัตรเงินปอนด์ที่ฝรั่งเศสมาลง ทุน ใช้มา 120 ปี

แล้วก็ยังอยู่ ถ้ารุ่นเราต้องมาจ่ายค่าเวนคืนที่ดิน ค่าราง อาจจะต้องรออีกจนเราเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างเดี๋ยวนี้ถึงจะทำได้

มรดก จากรุ่นพระองค์ท่านนี้ รับภาระหนี้มาตั้งแต่รุ่นทวดรุ่นปู่ แต่มีรางรถไฟให้รุ่นเราใช้ รางรถไฟของพระองค์ท่านนอกจากให้ผู้คนใช้เดินทางแล้ว ยังสามารถนำอำนาจรัฐไปสู่ท้องถิ่น ทำให้ประเทศไทยเป็น

"รัฐ ชาติ" อย่างสมบูรณ์ด้วย มิฉะนั้นป่านนี้ 4 จังหวัดภาคใต้กับ 7 จังหวัดภาคเหนือ แล้วยังจังหวัดภาคอีสานคงไม่ได้รวมอยู่ใน "รัฐไทย" แล้ว

ของ ที่มีอายุเป็นร้อย ๆ ปี และลงทุนด้วยเงินออมของประชาชนในประเทศ เป็นของที่ไม่อันตรายต่อฐานะการคลังของประเทศ จะคิดอัตราผลตอบแทนต่อการลงทุนของโครงการที่มีอายุยาว ๆ ขนาดนั้นคิดลำบาก

ที่ สำคัญเมื่อกู้มา 2 ล้านล้านบาทแล้ว ไม่ได้กู้มาก่อสร้างสิ่งที่ไม่มีผลตอบแทนคืน เพราะกู้มาให้รัฐวิสาหกิจเจ้าของโครงการกู้ต่อ หรือบางอย่างอาจจะเอาไปร่วมทุนกับรัฐบาลกู้ต่อ ซึ่งจะมีผลตอบแทนคืนให้รัฐบาลไปใช้หนี้ประชาชนผู้ออมในอนาคตด้วย เพราะโครงการเหล่านี้ไม่ได้ใช้ฟรีเหมือนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบท แต่รัฐวิสาหกิจเจ้าของโครงการ

ย่อมต้องใช้หนี้คืนรัฐบาล ให้ไปคืนประชาชน ถึงตอนนั้นประชาชนผู้ออมอาจจะไม่

อยาก ให้ใช้คืนก็ได้ เพราะได้ดอกเบี้ยดีกว่าฝากธนาคารและมั่นคงกว่าฝากธนาคาร แม้ว่าจะสร้างรางให้ฟรีเหมือนทางหลวงแผ่นดินก็ยังคุ้มค่า ดีกว่าเอาไปซื้อพันธบัตรอเมริกันดอกเบี้ยถูก ๆ

คำ ถามที่ควรถามแต่ยังไม่ได้ถามก็คือ เมื่อลงทุนแล้วรัฐบาลจะจัดการบริหารอย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพและสามารถคืนทุนได้ภายใน 50 ปี รัฐบาลจะลงทุนเรื่องราง แล้วจัดประมูลสัมปทานให้เอกชนลงทุน

เรื่องรถ การเดินรถ การบำรุงรักษา โรงซ่อมบำรุง จะทำเองหรือให้เอกชนทำ ค่าโดยสารจะคิดเท่าไหร่

ระยะ เวลาขาดทุนนานเท่าไหร่ 10 ปี หรือ 15 ปี กระแสเงินสดระหว่างนั้นจะจัดการอย่างไร ถ้าค่าโดยสารแพงไปคนอาจจะใช้น้อย ถ้าถูกเกินไปกระแสเงินสดจะไหวไหม จะขาดทุนแค่ไหน

ถ้าไม่ไหวจะทำอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันดู

ที่ ควรจะทำก็คือ รางเป็นของรัฐบาลเหมือนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบท ลงทุนให้ฟรี ตั้งเงื่อนไขค่าโดยสารและคุณภาพของบริการ แล้วเปิดประมูลไปทั่วโลก ให้สัมปทานเอกชนมา

เดินรถ ทำนองเดียวกันกับรถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงเทพฯ

คราว นี้ ถ้ากู้จากแหล่งเงินทุนภายในประเทศ รัฐบาลเป็นลูกหนี้ แต่ประชาชนเป็นเจ้าหนี้ ประชาชนผู้เสียภาษีเป็นทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ ลูกหลานรับภาระจ่ายคืนหนี้สินที่ตนเองก็เป็นเจ้าหนี้ด้วย แต่ประชาชนทั้งหมดเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่รัฐบาลจะลงทุน

การ บำรุงรักษาซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากในการบริหารจัดการ ก็ควรจะตั้งเงื่อนไขแล้วเปิดประมูล หรือจะพ่วงไปกับการประมูลสัมปทานการเดินรถด้วยก็จะดี จะได้ไม่มีปัญหาระหว่างผู้บำรุงรักษาและผู้เดินรถ รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจอย่าทำเองเลย ได้ไม่คุ้มเสีย ทั้งในแง่รายได้ รายจ่าย และคุณภาพของบริการ

สำหรับรถไฟราง คู่ความกว้าง 1 เมตรของเดิมก็ควรวางให้ทั่วประเทศ เอาไว้ใช้ขนสินค้าที่ไม่ต้องการความเร็ว และไว้บริการประชาชนรายได้น้อย รวมทั้งบริการฟรีสำหรับประชาชนที่ยากจน เป็นการลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน รวมทั้งสร้างสายใหม่ แต่ที่อยากเห็นคือรถไฟรางแคบก็ใช้ไฟฟ้า จะได้ประหยัดพลังงานได้ด้วยอีกโสดหนึ่ง

พวก เราเคยสร้างประวัติศาสตร์ค้านโครงการเขื่อนยันฮี หรือเขื่อนภูมิพล สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มาแล้ว คราวนี้ก็คงเป็นประวัติศาสตร์เช่นเดียวกัน คือคัดค้านโครงการลงทุนไปเสียหมด เพราะกลัวการคอร์รัปชั่น ไม่ใช่กลัวการลงทุนมากเกินไป หรือลงทุนในโครงการที่ไม่มีประโยชน์

คราวนี้ก็คงเหมือนกัน

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน