แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รายงาน: ภาพรวมการจับกุม "คนเสื้อแดง" 5 จังหวัดอีสาน

หมายเหตุ: เอกสารเผยแพร่ งานแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายชุมนุมกรณีเมษายน-พฤษภาคม 2553” โดย เครือข่ายสันติประชาธรรม เมื่อวันที่ 19 ก.ค.53 ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภาพรวมสถานการณ์การจับกุม
อันเนื่องมาจากการชุมนุมของ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และประมวลกฎหมายอาญา ในพื้นที่ภาคอีสาน 5 จังหวัด
(อุบลราชธานี ขอนแก่น มุกดาหาร อุดรธานี และมหาสารคาม) [i]

1. เรือนจำกลาง จ. อุบลราชธานี รวม 45 คน (ชาย 39 คน หญิง 6 คน)
ข้อหา: กระทำความผิดต่อเจ้าพนักงาน ความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบก ก่อให้เกิดความวุ่นวาย บุกรุก วางเพลิงเผาทรัพย์ มั่วสุมผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
สถานะทางคดี: ผู้ต้องหาประมาณ 15 รายอยู่ระหว่างการฝากขัง 18 รายถูกอัยการสั่งฟ้องศาลแล้ว โดยบางรายมีทนายความ บางรายยังไม่มีและต้องการความช่วยเหลือทางคดี ที่เหลืออยู่ระหว่างการสอบสวนของตำรวจและไม่ระบุสถานะ

2. เรือนจำกลาง จ. ขอนแก่น รวม 10 คน (ชาย 8 คน หญิง 2 คน)
ข้อหา: ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ (ศาลากลาง/สถานีโทรทัศน์ช่อง 11)
สถานะทางคดี: ทั้งหมดอยู่ระหว่างการฝากขังและสอบสวน

3. เรือนจำกลาง จ. มหาสารคาม รวม 12 คน (ชายทั้งหมด)
ข้อหา: วางเพลิง ออกนอกเคหะสถาน มีอาวุธ (กรณีผู้ต้องหารายหนึ่งมีเสื้อกันกระสุนโดยไม่มีใบอนุญาต)
สถานะทางคดี: ทั้งหมดอยู่ระหว่างการฝากขังและสอบสวน

4. เรือนจำกลาง จ. มุกดาหาร รวม 23 คน (ชาย 22 คน หญิง 1 คน)
ข้อหา: วางเพลิงเผาทรัพย์
สถานะทางคดี: อยู่ระหว่างการฝากขังและสอบสวน (17 รายฝากขังครั้งที่ 5) มากกว่าครึ่งของผู้ต้องหาไม่มีทนายความและต้องการความช่วยเหลือทางคดี

5. เรือนจำกลาง จ. อุดรธานี รวม 54 คน (ชาย 44 คน หญิง 10 คน)
ข้อหา: พยายามวางเพลิงทั้งหมด ยกเว้น 10 รายโดนข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
สถานะทางคดี: ทั้งหมดอยู่ระหว่างสอบสวน ยกเว้น 3 รายถูกตัดสินจำคุกระหว่าง 6 เดือน – 1 ปี 6 เดือนและอยู่ระหว่างอุทธรณ์คดี

สภาพปัญหา

1. การออกหมายจับพร่ำเพรื่อ
1.1 หลักฐานไม่ชัดเจน
บางหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี (เช่น อำเภอสว่างวีรวงศ์) ชาวบ้านจำนวนกว่าครึ่งถูกออกหมายจับ โดยหลักฐานที่ใช้เป็นเพียงภาพถ่ายซึ่งเห็นใบหน้าของผู้ถูกออกหมายจับไม่ ชัดเจน บางรายถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมแล้วนำรูปมาให้ชี้ แต่ปรากฏว่าไม่ใช่รูปตนเองเลยต้องปล่อยตัว

1.2 ผู้ถูกออกหมายจับไม่ทราบว่าตนเองถูกออกหมาย
ในหลายจังหวัด ผู้ถูกออกหมายจับไม่ทราบว่าตนเองถูกออกหมายจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจบุก เข้าจับกุม บางรายไปร่วมชุมนุม ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเผาศาลากลางจังหวัด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำรูปถ่ายจากคนละเหตุการณ์มาเชื่อมโยงว่าเป็นเหตุการณ์ เผาศาลากลางจังหวัด หรือบางรายไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุมแต่อย่างใด แต่ในวันเกิดเหตุเข้าไปยืนสังเกตการณ์หรือถ่ายรูป บางรายแค่เดินผ่าน หรือมีรถของตนจอดอยู่บริเวณใกล้เคียงทำให้ตกเป็นผู้ต้องสงสัยและถูกออกหมาย จับ

ชาวบ้านรายหนึ่งปรากฏในรูปถ่าย [ii] ตามหมายจับของตำรวจข้อหาวางเพลิง ทั้งๆ ที่เขาพยายามห้ามไม่ให้วางเพลิง คล้ายกับกรณีจับกุมผู้ใหญ่บ้านที่ขอนแก่น ซึ่งระบุว่าตนเองไปในที่เกิดเหตุเพื่อห้ามผู้ชุมนุมไม่ให้วางเพลิงและเผา ทำลายสถานที่ราชการ [1]

2. การปฏิบัติไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่รัฐขณะจับกุมและควบคุมตัว
2.1 ใช้กำลังทำร้ายขณะจับกุม
ในจังหวัดมุกดาหาร ผู้ต้องหา 16 ราย จากทั้งหมด 23 รายเล่าว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายขณะสลายการชุมนุมและจับกุมตัวแม้ไม่ได้ ต่อสู้ขัดขวาง ยกตัวอย่าง ผู้ต้องหาชื่อนาย ก. เล่าว่าเขาไม่ได้ร่วมชุมนุมแต่ทราบว่ามีการเผาศาลากลางจึงมายืนดู เมื่อเห็นผู้ชุมนุมวิ่งหนีขณะมีการสลายการชุมนุม จึงวิ่งตามแต่ถูกตำรวจตีศีรษะแตกก่อนจะจับกุมตัวไว้ บางรายถูกตำรวจเตะด้วยร้องเท้าคอมแบต เลือดไหลออกจมูก และยังมีอาการเวียนศีรษะจนกระทั่งปัจจุบัน

2.2 พูดจูงใจ/ขู่/ ใช้กำลังบังคับให้รับสารภาพ
กรณีนาย ว. ผู้ต้องหาเล่าว่าถูกจูงใจให้รับสารภาพว่ามีส่วนร่วมในการเผาศาลากลางจังหวัด แห่งหนึ่ง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เหตุผลว่าหากรับสารภาพจะได้รับโทษเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อรับสารภาพกลับถูกขังและต้องคดีอาญา
หรือกรณีของนาย ส. เล่าว่าตำรวจบอกว่าหากไม่รับสารภาพว่าเผาศาลากลางจังหวัดแห่งหนึ่ง หรือชี้รูปอาจต้องติดคุกหลายสิบปี เขาจึงรับสารภาพแต่ไม่ได้ชี้รูปใคร และยังมีบางรายที่เล่าว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังบังคับให้รับสารภาพ [iii]

3. สิทธิในการเข้าถึงทนายความ/ ปัญหาทนายความไม่เพียงพอ
มีทนายความท้องถิ่นเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาในเรือนจำ 5 จังหวัด แต่ผู้ต้องหาส่วนใหญ่ยังไม่มีทนายความและไม่รู้สถานะทางคดีของตน หลายรายเข้าใจว่าพวกเขายังอยู่ในระหว่างฝากขัง ในขณะที่ความเป็นจริงกำลังจะถูกสั่งฟ้องในอีกไม่กี่วัน ปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปัญหาจำนวนทนายความไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ที่ถูกจับกุม นอกจากนั้นผู้ต้องหาบางรายปฏิเสธความช่วยเหลือจากทนายความสิทธิมนุษยชนที่ไป จากส่วนกลางบางส่วนเนื่องจากความไม่ไว้วางใจในตัวบุคคลและองค์กร

4. สิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
ผู้ต้องหาทั้งหมดไม่ได้รับสิทธิการปล่อยตัวชั่วคราว (ประกันตัว) เนื่องจากศาลเกรงว่าจะหลบหนี หรือกลับมาก่อเหตุไม่สงบ ในขณะที่ความเป็นจริงผู้ต้องหาส่วนใหญ่ไม่ได้มีความพยายามหลบหนีการจับกุม ใดๆตั้งแต่แรก แต่เป็นเพราะไม่ทราบมาก่อนว่าพวกเขาโดนหมายจับของทางราชการจึงไม่ได้ไปมอบ ตัว

5. สภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำ
สภาพในเรือนจำกลางของทั้ง 5 จังหวัดค่อนข้างแออัด ส่วนหนึ่งมาจากระเบียบเกี่ยวกับการสร้างอาคารห้ามไม่ให้สร้างสูงเกินรั้ว ทำให้เรือนจำหลายแห่งไม่สามารถขยายพื้นที่เพื่อรองรับนักโทษได้ หนึ่งในผู้ต้องหาอธิบายสภาพที่นอนในเรือนจำว่า นอนเท่าหมอนกว้างมีเพียงเรือนจำกลางจังหวัดอุบลราชธานีเท่านั้นที่สามารถแยกผู้ต้องหาชายที่ เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองออกจากผู้ต้องหาคดีอื่นๆ

6. ผลกระทบต่อครอบครัว
ครอบครัวของผู้ต้องหาหลายรายได้รับผลกระทบจากการที่คนในครอบครัวของพวกเขา ถูกจับกุม ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อรายได้ ชีวิตครอบครัว สูญเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล ทำลายสภาพจิตใจสมาชิกในครอบครัว หลายครอบครัวต้องอยู่อย่างลำบากเนื่องจากผู้ต้องหาเป็นเสาหลักของครอบครัว ยกตัวอย่าง กรณีนาย ม. ภรรยามีอาการทางประสาท ไม่มีใครหาเลี้ยงลูกสามคนซึ่งกำลังอยู่ในวัยเรียนหลังจากที่เขาถูกจับ

7. มีโรคประจำตัวหรือได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุม
ผู้ต้องหาในเรือนจำกลาง จังหวัดอุบลฯจำนวน 23 ราย จากทั้งหมด 45 รายมีโรคประจำตัวอาทิ ความดันสูง เบาหวาน ลมชัก มีปัญหาทางจิตหวาดระแวง เลือดจาง ไทรอยด์ หรือได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุม เช่น โดนยิงและถูกอายัตตัวจากโรงพยาบาล ยาที่แพทย์ในเรือนจำให้เป็นเพียงยารักษาโรคพื้นฐานและไม่มีแพทย์ที่เชี่ยว ชาญเฉพาะด้าน

---------------------------------------------
[1] http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1279121692&grpid=04&catid=

[i] ข้อมูล ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2553 จำนวนผู้ต้องหาและสถานะทางคดีในเรือนจำทั้งหมดนำมาจากเอกสารการเข้าเยี่ยม เรือนจำกลางของคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง ระหว่างวันที่ 8 – 11 ก.ค.2553 ขอขอบคุณคณะอนุฯ ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล ส่วนข้อมูลที่เหลือมาจากการลงพื้นที่ของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ จากการสลายชุมนุม เม.ย. พ.ค. 53

[ii] เว็บไซด์ตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี, หมายจับผู้กระทำผิดห้วงรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พื้นที่อุบลราชธานี http://www.ubonratchathani.police.go.th/1_1_new_ubon/tung2010/tung-new/chukchen/Cho7.html

[iii] ไม่สามารถใส่รายละเอียดได้เพื่อความปลอดภัยของผู้ต้องหา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน