แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

"แผนกษัตริย์ศึก"ตั้งรับ3กองพลเขมร


Posted by คมชัดลึก

ผลการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกที่จะมีผลชี้ขาด อาจทำให้เสียงปืนที่บริเวณพื้นที่ทับซ้อน "เขาพระวิหาร" ดังกึกก้องขึ้นอีกครั้ง เพราะปราสาทพระวิหาร ถือเป็นพื้นที่เชิงสัญลักษณ์ทาง "ชาตินิยม" ของไทย-กัมพูชา มาโดยตลอด

เมื่อ ต่างฝ่ายต่างรู้เงื่อนไข และความเปราะบางของสถานการณ์ดี จึงต้องเสริมกำลังไว้อย่างเต็มพิกัด โดยฝ่ายกัมพูชาเตรียมกำลังไว้ถึง 3 กองพล ประกอบด้วย กองพลสนับสนุนที่ 3 กองพลสนับสนุนที่ 8 และกองพลสนับสนุนที่ 9

กำลังพลหลักที่ประชิดชายแดนไทย-กัมพูชา มากที่สุด คือ กองพลสนับสนุนที่ 3 ปักหลักอยู่ที่บ้านเดโช และบ้านสะแอม ต.กันตร๊วจ อ.ตะเปรียงปราสาท จ.พระวิหาร ซึ่งอยู่ตรงข้ามพื้นที่ ต.เสาธงชัย และ ต.ภูผาหมอก อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ของไทย

ขณะที่จุดยุทธ ศาlตร์สำคัญอีกจุดหนึ่ง ซึ่งเคยมีการปะทะรุนแรงมาแล้วเมื่อปีก่อน คือ "ภูมะเขือ" ที่ฝ่ายไทยเรียกว่า "พลาญอินทรี" ขณะที่กัมพูชาเรียกว่า "ลานอินทร์" ซึ่งอยู่ห่างปราสาทพระวิหารราว 4 กิโลเมตร

ภูมะเขือ จึงนับเป็นจุดที่เปราะบาง และเสี่ยงต่อการปะทะมากที่สุด หากได้รับไฟเขียวจาก "หน่วยเหนือ" ของแต่ละฝ่าย

อีก จุดที่วางกำลังเอาไว้จำนวนมาก คือ ด้านหลังปราสาทพระวิหาร ห่างไปประมาณ 5 กิโลเมตร บริเวณบ้านสะแอม และบ้านโกมุย ต.กันตร๊วจ ซึ่ง สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา วางแผนให้เป็น "เมืองเศรษฐกิจ" แห่งใหม่ของประเทศ

โดย ก่อนหน้านี้มีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก และระบบสาธารณูปโภค ทั้งสนามบิน โรงแรม กาสิโน และที่สำคัญคือ การสร้าง "กระเช้าลอยฟ้า" เพื่อขึ้นเขาพระวิหารด้านช่องบันไดหัก

ทั้งนี้ การเปิดหมู่บ้านใหม่ คือ "หมู่บ้านเดโช" พ้องกับชื่อเต็มของสมเด็จฮุน เซน คือ "สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน" ย่อมแสดงถึงความมุ่งมั่นของนายกฯ กัมพูชา ที่ต้องการขยายผลจากการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจกัมพูชา

การตั้งบุตรสาวของฮุน เซน มาควบคุมดูแลชายแดนด้านนี้โดยตรง แสดงให้เห็นว่า สมเด็จฮุน เซน เชื่อมั่นว่า ปราสาทพระวิหารจะต้องได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกแน่นอน และจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศขนานใหญ่

ด้วยความสำคัญของพื้นที่ ตรงจุดนี้ จึงทำให้พื้นที่บ้านสะแอมกลายเป็น "กองบัญชาการ" ทางยุทธการของกองทัพบกกัมพูชา และเป็นศูนย์บัญชาการของ "กองพลน้อย รพศ.911 ส่วนหน้า" ขึ้นตรงกับสมเด็จฮุน เซน มีกำลังพลราว 3,500 นาย

นอกจาก นี้ ยังมีกำลังพลจากกองพลน้อยสนับสนุนที่ 9 อีกประมาณ 2,500 นาย โดยมี พล.อ.กล กิม และ พล.อ.เอิง บุญเฮง ที่เรียนจบนายร้อย จปร.จากประเทศไทย เป็นผู้บังคับบัญชา

ส่วนอาวุธหนักก็มีการขนมาเตรียมพร้อมอย่างเต็มอัตราศึก ทั้งรถถัง รถหุ้มเกราะ ปืนใหญ่ และปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง

อัน ที่จริงแล้ว คงต้องบอกว่ากัมพูชาเตรียมพร้อมมานานแล้วด้วยซ้ำ เพราะก่อนหน้านี้ในการซ้อมรบกับชาติตะวันตก กัมพูชาก็พยายามแสดงแสนยานุภาพด้วยการทดสอบยิงจรวดมิสไซล์รุ่น BM-21 เพื่อข่มขวัญมารอบหนึ่งแล้ว

ขณะที่การเตรียมพร้อมของไทยได้ก็วางกำลังไว้ตามจุดยุทธศาสตร์ตั้งแต่ช่องบก จ.อุบลราชธานี เรื่อยมาจนถึงช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ

มี รายงานว่า กองทัพไทยได้เตรียมแผนการป้องกันประเทศ โดยใช้ชื่อ "แผนกษัตริย์ศึก" โดยจัดกำลังสนับสนุน 11 กองร้อยจากกองกำลังสุรนารี และเพิ่มฐานปฏิบัติการตั้งแต่ช่องบก-ช่องสะงำ มากกว่า 50 ฐาน โดยสนธิกำลังร่วมกัน 3 เหล่าทัพ

นอกจากนี้ ยังเตรียม "แผนบดินทรเดชา" เพื่อเตรียมความพร้อมรักษาอธิปไตยในระดับพื้นที่ด้วย

พ.อ.ธเนศ วงศ์ชะอุ่ม เสนาธิการกองกำลังสุรนารี (กกล.สุรนารี) กองทัพภาคที่ 2 ซึ่งพาสื่อมวลชนไปดูการเตรียมพร้อมของกำลังทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ยอมรับว่า หลังเกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างทหารไทยกับกัมพูชาเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 กองทัพได้มีการวางกำลังครอบคลุมพื้นที่ตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชาตั้งแต่ช่อง บก จ.อุบลราชธานี ไปจนถึงช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ

อย่างไรก็ตาม กำลังทหารของไทยไม่ได้เพิ่มเติมเข้าไปในพื้นที่เขาพระวิหาร แต่ก็มีการเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ในการรักษาอธิปไตยของประเทศ

"ทหาร ไทยจะไม่ยอมให้กัมพูชาเข้ามาในพื้นที่อธิปไตยของไทยเด็ดขาด ไม่ว่าผลการพิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารจะออกมาอย่างไร แต่ตอนนี้สถานการณ์ยังเป็นปกติ ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง และในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน เราก็ไม่อยากที่จะทะเลาะกันเอง เพราะกำลังพลของทั้งสองประเทศก็มีความสนิทสนมกันเป็นอย่างดี และไม่อยากให้เกิดการสู้รบกัน แต่ท้ายที่สุดแล้วแต่ละฝ่ายก็จะต้องเลือกเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติตนเป็น หลัก" เสนาธิการ กกล.สุรนารี กล่าวย้ำ

เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ที่ ล่อแหลม และการเสริมกำลังพลของทั้งสองฝ่ายอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้สถานการณ์ในห้วงเวลานี้สุ่มเสี่ยงต่อการปะทะ และสูญเสียเลือดเนื้ออย่างถึงที่สุด

กระนั้น เครื่องมือการต่อสู้ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศไม่ได้มีแค่แสนยานุภาพทาง การทหารอย่างเดียว หากแต่ต้องใช้ช่องทางทาง "การทูต" มาเป็นเครื่องมือเจรจาต่อรองด้วย เพราะถ้าคุยกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ทหารทั้งสองฝ่ายก็คงไม่ต้องบาดเจ็บล้มตายโดยใช่เหตุ

ทีมข่าวความมั่นคง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน