แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข้อ โต้ตอบ"อัมสเตอร์ดัม-สภาทนาย"

Porsche



คอลัมน์ รายงานพิเศษ


สำนักงานกฎหมาย อัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ ซึ่งรับการว่าจ้างจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ต่อสู้คดี "ผู้ก่อการร้าย" และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับทีมทนายความแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ (นปช.)

ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)

รวมทั้ง นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ
(คอป.) นายกิติพงษ์ กิติยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขานุการคอป.
และ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ

เรียกร้องให้สอบสวนตาม หลักกฎหมายระหว่างประเทศ โดยดำเนินการผ่านองค์กรอิสระ
เปิดหลักฐาน-พยาน ทุกด้านทันทีที่ร้องขอ และให้ความสะดวกในการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง

ขณะ ที่ นายสัก กอแสงเรือง นายกสภาทนายความ ออกแถลงการณ์ตอบโต้ มีเนื้อหา ดังนี้

?จ.ม.เปิดผนึกจี้รัฐบาลไทย

วัตถุประสงค์ของหนังสือ ฉบับนี้
เพื่อย้ำถึงสิทธิของลูกความในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็น ธรรมตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ

และไม่จำกัดเพียงการตรวจสอบข้อเท็จ จริงที่เกี่ยวข้องทั้งปวง อย่างเต็มที่ เป็นธรรม และสมบูรณ์
ย่อมรวมถึง การตรวจสอบและวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงความเหมาะสม
และความสมควรแก่เหตุ ของการใช้กำลังของหน่วยงานของรัฐบาลไทยที่กระทำต่อการชุมนุม

สนธิ สัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิของพลเรือน
(International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) ซึ่งประเทศไทยร่วมตกลง
มีข้อกำหนดให้หลักประกันแก่ลูกความของสำนักงาน ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการได้รับสิทธิต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรม

และยัง รับรองสิทธิที่จะได้รับคำแนะนำ คำปรึกษาอย่างมีอิสระ
และรับรองสิทธิ ผ่านทางทนายความและผู้เชี่ยวชาญอิสระที่จะตรวจสอบ
ทดสอบพยานหลักฐานทั้ง ปวงที่ใช้อ้างในการกล่าวหาและดำเนินคดีลูกความของสำนักงาน

กรณีของ ลูกความบางราย สิทธิที่จะตรวจสอบพยานหลักฐานย่อมเกี่ยวพันไปถึงข้อเท็จจริง
ที่ เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเสียชีวิตของบุคคล จำนวน 90 ราย ที่เกิดขึ้นระหว่างการชุมนุม

ลูกความของสำนักงาน 13 ราย ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้เกี่ยวพัน หรือก่อให้เกิดการใช้กำลังและความรุนแรง
ข้อเท็จจริง ข้อมูล และพยานที่เกี่ยวข้องโดยตรง
และโดยเหตุแวดล้อมกับการเสียชีวิตของ พลเรือน-ทหาร จึงเกี่ยวพันโดยตรงกับการตั้งข้อกล่าวหาของรัฐบาลไทย

และ พยานหลักฐานจะเป็นตัวพิสูจน์ว่า รัฐบาลไทยได้ปฏิบัติต่อประชาชนที่เข้าชุมนุมอย่างเหมาะสม
และโดยสมควรแก่ เหตุหรือไม่ และยังจะพิสูจน์ว่าการใช้กำลังโดยรัฐบาลไทยเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือ ไม่
เป็นชนวนก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงหรือไม่

ประเทศไทยมี ภาระหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศตามหลักสนธิสัญญาแห่งกรุงเจนีวา ปี 1949
สนธิ สัญญาสหภาพยุโรปว่าด้วยการก่อการร้ายปี 1977
สนธิสัญญาว่าด้วยตัวประกัน สนธิสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการประทุษร้ายปี 1984
และสนธิสัญญาแห่งนคร นิวยอร์ก ว่าด้วยอาชญากรรมต่อบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ปี 1973

การดำเนินการของรัฐบาลไทยที่เป็นการละเมิดหลักประกันต่อ พลเรือนว่าจะไม่ถูกกระทำวิสามัญฆาตกรรม
และการกักขังหน่วงเหนี่ยวไว้ตาม อำเภอใจ อาจเป็นการกระทำที่เป็นอาชญากรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศ
แม้จะ อ้างเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเหตุกรณีพิเศษ

เหตุ นี้ รัฐบาลไทยจึงมีภาระหน้าที่ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ที่จะสืบสวนสอบสวนอย่างเต็มที่ ครบถ้วน
และเป็นธรรม และในสภาวการณ์เช่นนี้ รัฐบาลไทยต้องให้องค์กรที่เป็นอิสระและมีความเป็นกลางสอบสวนข้อเท็จจริง

หาก การสอบสวนมีการละเมิดสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามสนธิสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ
รัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินคดีเพื่อทำให้เกิดความ ยุติธรรม การที่รัฐบาลล้มเหลวในการดำเนินการเช่นนี้
อาจถือเป็นการกระทำ ละเมิดต่อภาระหน้าที่ต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

และตามที่คณะ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กำหนด อาจมีสถานการณ์
ที่หากรัฐไม่ ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ตามมาตรา 2 ของสนธิสัญญาจะนำไปสู่การกระทำที่ละเมิดสนธิสัญญาโดยรัฐ

ภายใต้หลัก การของกฎหมายระหว่างประเทศ ลูกความของสำนักงานและคณะทนายความที่สู้คดี จึงมีสิทธิร้องขอ ดังนี้

1. ให้ดำเนินการผ่านองค์กรที่มีความอิสระและเป็นกลาง สืบสวนสอบสวนถึงการใช้กำลังอาวุธโดยหน่วยงานของรัฐ
ที่กระทำต่อประชาชน ผู้ร่วมการชุมนุม อย่างเต็มที่ เป็นธรรมและโดยสมบูรณ์

2. เก็บรักษาพยานหลักฐาน ทั้งวัตถุพยาน พยานทางนิติเวช เอกสาร เทปบันทึกภาพและเสียง
ที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานรัฐ

3. เปิดเผยรายละเอียดของพยานหลักฐานต่างๆ ต่อคณะทนายความของลูกความของสำนักงานโดยละเอียด
และในทันที รวมถึงแถลงการณ์จากตำรวจ และ/หรือทหาร เจ้าหน้าที่ของรัฐ

4. อนุญาตและเปิดโอกาสให้ลูกความของสำนักงาน โดยคณะทนายความในการตรวจสอบ

ก. วัตถุพยานต่างๆ และชันสูตรและวิเคราะห์หลักฐานในทางนิติเวชโดยอิสระ รวมถึงการชันสูตรศพ
การทดสอบการใช้ยุทธภัณฑ์ทหาร การวิเคราะห์วิถีกระสุน

ข. พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสอบปากคำ การไต่สวน คำให้การ รายงานการชันสูตร
และรายงานวิถี กระสุน รายงานของผู้เชี่ยวชาญ

ค. พยานผู้เชี่ยวชาญและพยานอื่นๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการตั้งข้อกล่าวหา

ง. รายงานผู้เชี่ยวชาญทางทหาร ข้อมูลข่าวกรอง และรายงานการสอบสวนอื่นๆ
ที่ หน่วยงานรัฐจัดเตรียมเพื่อใช้กับการชุมนุมของคนเสื้อแดง

5. อนุญาตให้คณะทนายความ เข้าร่วมในการสัมภาษณ์การสอบปากคำพยาน
การสอบสวน บุคคลโดยหน่วยงานของรัฐบาลไทย กรมสอบสวนคดีพิเศษ ศอฉ. คณะกรรมการฯ
หรือ คณะทำงานด้านการสืบสวนสอบสวนใดๆ ของทางการ

6.เปิดโอกาสให้คณะทนาย ความ เข้าถึงเพื่อการตรวจสอบเอกสารหลักฐานของหน่วยงานราชการ
หรือทหาร เกี่ยวกับยุทธวิธีในการจัดการกับการชุมนุม (ที่เรียกกันว่าเป็น "แผนการหลัก")

เอกสารเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางการทหารในการสลายการ ชุมนุม
คำสั่งปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ ของกองทัพ
ข้อมูลที่ เกี่ยวกับคำสั่งทั้งด้วยวาจาและที่เป็นลายลักษณ์อักษรของกองทัพเกี่ยวกับการ สลายการชุมนุม
รวมทั้งบรรยายสรุปและการรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์

7.ให้ ทนายความมีโอกาสเข้าถึงวัตถุพยานและรายงานทางนิติเวช
ทั้งข้อมูลทางการ แพทย์ของการบาดเจ็บ เสียชีวิตของทหาร พลเรือน
การศึกษาและทดสอบวิถี กระสุน บันทึกภาพและเสียงที่เกี่ยวกับการชุมนุม
การสลายการชุมนุม รายงานการชันสูตรศพ แถลงการณ์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ศอฉ. คอป.
หรือคณะ กรรมการชุดอื่นๆ ที่ตั้งโดยรัฐ

8.ให้ความสะดวกแก่ทนายความในการ สัมภาษณ์ ผู้บัญชาการ ผู้บังคับการของกองทัพ
ผู้นำทางการเมืองที่มี อำนาจสั่งการกองทัพ พยานผู้เชี่ยวชาญที่หน่วยงานของรัฐบาลไทยเชื่อถือ

สำนัก งานหวังว่ารัฐบาลไทยจะปฏิบัติหน้าที่ตามภาระหน้าที่ที่มีและผูกพันไว้ภายใต้ กฎหมายระหว่างประเทศ
และจะรอฟังคำตอบภายใน 10 วันข้างหน้า

?สภา ทนายความแถลงโต้

สืบเนื่องจากกรณีนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม มีจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ รองนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงยุติธรรม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อ้างว่าตนเองเป็นทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ

ขอ ให้หน่วยงาน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบที่บานปลายจน เป็นการก่อการร้ายในประเทศไทย ให้ส่งมอบข้อมูลเอกสารรวมทั้งให้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จ จริงที่เป็นกลาง
และมีกรณีอื่นอีกรวม 8 เรื่องด้วยกันนั้น

สภา ทนายความเห็นว่าการกระทำของนายโรเบิร์ต เกินกว่าหน้าที่ของทนายความที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไปทั้งในระดับสากล และโดยเฉพาะในประเทศไทย จึงขอแถลงการณ์ให้ประชาชนและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความ เหมาะสม อันเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายส่วนหนึ่งของสภาทนายความต่อสาธารณชน ดังนี้

1. นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เป็นทนายความให้พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มผู้ต้องหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายได้เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา

หาก นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม จะรับเป็นทนายความของพ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มผู้ต้องหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย
เพื่อต่อสู้คดีในศาลของประเทศ ไทย นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ต้องเข้าสู่กระบวนการการเรียนรู้กฎหมายไทย
ซึ่ง เทียบได้กับมาตรฐานสากล

โดยเฉพาะการสืบสวนสอบสวน การตั้งข้อกล่าวหากับลูกความของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
นายโรเบิร์ต อัมสเตอดัมส์ ไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้มีการสอบสวน
หรือให้ปฏิบัติเป็น กรณีพิเศษกับลูกความของตนแต่อย่างใด

เพราะการดำเนินคดีข้อหา หรือฐานความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร
และความผิดเกี่ยว กับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย
ซึ่งกระบวนการยุติธรรมของ ไทยได้ดำเนินการไปตามหลักการและวิธีการโดยชอบด้วยกฎหมาย
และกติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่ง (พลเมือง) และทางการเมือง

หน่วย งานของรัฐบาลโดยเฉพาะในกระบวนการยุติธรรมไม่จำเป็นต้องปฏิบัติการอย่างใด
ตาม หนังสือเรียกร้องของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม

ในทางตรงกันข้าม ควรเชิญชวนให้นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เข้ามาเรียนรู้กฎหมายไทย
เพื่อจะ ได้ทราบว่ากฎหมายไม่ได้แตกต่างไปจากมาตรฐานสากลและในประเทศสหรัฐอเมริกา

2. กระทรวงการต่างประเทศไม่ควรนิ่งเฉยต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
ควรดำเนินการ และจับตาดูกระบวนการนำเสนอข่าวสาร
ซึ่งมุ่งโจมตีการดำเนินงานของกระบวน การยุติธรรมเกี่ยวกับการก่อการร้าย การคอร์รัปชั่นในประเทศไทย
ซึ่งเป็น อำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์

ควรมีการตรวจสอบเว็บไซต์ของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เป็นระยะๆ หากมีข้อมูลที่บิดเบือนหรือไม่ตรงกับความจริง
ซึ่ง เป็นการสนับสนุนการก่อการร้าย กระบวนการยุติธรรมไทยต้องดำเนินการทางคดีกับนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ตามประเภทและลักษณะความผิดโดยทันที

3. กรมสอบสวนคดีพิเศษต้องเร่งรัดและดำเนินคดีกับผู้ก่อการร้ายโดยเร็ว
และ ต้องมีความระมัดระวังในการให้ข่าวตอบโต้นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ไม่ควรจะให้ราคาค่างวดอะไรกับการออกมาเสนอข่าวดังกล่าว เพราะนั่นคือลักษณะทั่วไปของทนายความสหรัฐอเมริกาในคดีอาญา
ที่จะต้องออก มาโพนทะนาว่าลูกความไม่ได้รับความเป็นธรรม

ในทางตรงกันข้าม คดีผู้ก่อการร้าย ในประเทศสหรัฐอเมริกามีวิธีการสืบสวนสอบสวนไม่ได้แตกต่างไปจากวิธีการ
ใน ประเทศไทย หรือแม้แต่คดีที่ประเทศสหรัฐอเมริกาให้กำลังเข้าจับกุมผู้ก่อการร้ายข้าม ชาติมาขังไว้ที่
เรือนจำกวนตานาโมเบย์ อันเป็นการควบคุมที่ไม่ชอบด้วยกระบวนการยุติธรรม
จนสมาคมทนายความแห่ง ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องแถลงการณ์คัดค้านให้รัฐบาลสหรัฐดำเนินการทางคดีกับ
เจ้า หน้าที่รัฐบาล เพื่อมิให้มีการจับคนมาขังคุกฟรีๆ

4. กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้หลบหนีคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วของศาลยุติธรรมไทย
และ เป็นผู้อยู่เบื้องหน้าเบื้องหลังของการชุมนุม ซึ่งมีกลุ่มบุคคลดำเนินการยุยงส่งเสริมให้ประชาชนก่อความไม่สงบขึ้น โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวมีการสะสมอาวุธและใช้อาวุธก่อการร้าย ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ

ดังนั้น การดำเนินงานตามข้อเรียกร้องของนายโรเบิร์ต อัมสเตอดัมส์ จึงไม่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างใดทั้งสิ้น

คณะทนายความไทยที่นายโร เบิร์ต อัมสเตอร์ดัม กล่าวอ้างว่าจะให้เป็นตัวแทนในการรับมอบข้อมูลเอกสารต่างๆ นั้น วิชาชีพทนายความเป็นอิสระสามารถดำเนินการเองได้ แต่การดำเนินการตามกุศโลบายของทนายความต่างประเทศก็ดี หรือการดำเนินการใดๆ นั้นพึงปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทยซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้ว

และโดย เฉพาะการทำหน้าที่ทนายความของไทยนั้นจะต้องอยู่ภายใต้กฎกติกา มรรยาท ที่ถูกต้อง
ซึ่งสภาทนายความสนับสนุนให้ท่านใช้วิจารณญาณและปฏิบัติ หน้าที่อย่างเต็มกำลังเพื่อลูกความของท่าน

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2Iyd3dNVEF6TURjMU13PT0=&sectionid=TURNd05BPT0=&day=TWpBeE1DMHdOeTB3TXc9PQ==



1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ15 กรกฎาคม 2553 เวลา 20:19

    ไม่เห็นด้วย การกระทำ ของ นายทักษิณ ชินวัตร

    ตอบลบ

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน