แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วสันต์ สายรัศมี: ชีวิตและผลตอบแทนพยานปากเอก 6 ศพวัดปทุมวนาราม

วสันต์ สายรัศมี หรือ เก่ง อายุ 27 ปี เป็นอาสาสมัครหน่วยกู้ชีพวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน เขาภาคภูมิใจในงานตระเวนช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต ที่ทำมานานหลายปี กระทั่งเกิดความขัดแย้งทางการเมือง เขายังคงทำหน้าที่ของเขา โดยยืนยันว่าไม่ได้สนใจกับเรื่องการเมืองมากนัก ไม่ดูหน้าว่าใครเป็นใคร ไม่สนว่าใครอยู่ฝักฝ่ายไหน

สำหรับการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง เขาก็ช่วยเหลือตั้งแต่เมษายน 2552 กระทั่งเหตุการณ์เมษายนวิปโยค 2553 จนมาถึงเหตุการณ์นองเลือดในเดือนถัดมา

เก่งเป็นอาสาสมัครหนวยกู้ชีำำพที่อยู่ในเหตุการณ์ กระชับพื้นที่ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เขาเข้าไปหลบอยู่ในวัดปทุมวนารามกับผู้ชุมนุมหลายพันคน หลังจากแกนนำประกาศยอมมอบตัวในช่วงบ่ายแก่ของวันที่ 19 พ.ค.53 ขณะที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ทยอยไปพักอยู่ด้านในของวัด เต๊นท์พยาบาลยังตั้งอยู่ด้านหน้าวัด อาสาสมัครยังปักหลักอยู่ตรงนั้นเพื่อดูแลผู้คนที่ทยอยเข้ามา แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อกระสุนปืนสาดเข้ามายังผู้ชุมนุมด้าน หน้าประตูวัดที่มีป้าย เขตอภัยทานขนาดใหญ่ และยังสาดเลยมาถึงเต๊นท์พยาบาลของพวกเขาด้วย

เก่งเป็นผู้ที่เสี่ยงชีวิตช่วยเหลือคนบาดเจ็บ ณ จุดปะทะสำคัญหลายแห่ง ตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 19 พ.ค. แม้แต่คนที่ตายไปแล้วเขาก็ยังพยายามเข้าไปลากเอาศพออกมาด้วยเกรงว่าศพจะสูญ หายเหมือนการกวาดล้างทางการเมืองหลายๆ ครั้ง หลายคนที่ทำอย่างเขาถูกยิงเสียชีวิตไปด้วย แต่เขารอดมาได้ ช่วงเย็นของวันที่ 19 พ.ค.ในวัดปทุมฯ เก่งยังคงทำเช่นเดิม หลายคนที่ทำอย่างเขาถูกยิงเสียชีวิต แต่เขาก็รอดมาได้

วันรุ่งขึ้น เขายังคงอยู่เฝ้าศพในวัดปทุมฯ กระทั่ง หมอพรทิพย์ โรจนสุนันท์ เข้ามาตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ และมีการลำเลียงศพไปผ่าพิสูจน์ยังโรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามถนน โรงพยาบาลซึ่งพวกเขาได้แต่มอง และไม่สามารถเอาคนเจ็บฝ่าดงกระสุนข้ามไปส่งได้เลยในคืนวันที่ 19 พ.ค.

เขาอยู่ตรงนั้นตลอด และตามไปเฝ้าศพเพื่อนอีกที่โรงพยาบาลตำรวจรอจนญาติมารับ ทั้งยังไม่รีรอที่จะพูดในสิ่งที่เห็นกับนักข่าวที่เข้าไปสอบถามเหตุการณ์ ขณะที่อีกหลายคนที่ร่วมเหตุการณ์เลือกที่จะเงียบเพราะวิตกกังวลเกี่ยวกับ อันตรายที่อาจมาถึงตัว

เขายืนยันอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นจนถึงตอนนี้ว่า เห็นทหารบนรางบีทีเอสที่สาดกระสุนลงมายังเขตวัด

เขายังคงทำอย่างนั้นตลอดเดือนสองเดือนหลังเหตุการณ์ ทั้งการให้สัมภาษณ์กับสื่อหนังสือพิมพ์ ทีวี กระทั่งปรากฏตัวและบอกเล่าเรื่องราวตามเวทีเสวนาทางการเมืองต่างๆ ในมหาวิทยาลัย พร้อมกับเปิดคลิปเหตุการณ์เท่าที่รวบรวมมาได้

สำหรับเก่งแล้วการสูญเสีย เพื่อนที่ร่วมอุดมการณ์ช่วยเหลือผู้คน ใกล้ชิดสนิทสนม กินนอนด้วยกัน และตายต่อหน้าต่อตา กระทั่งตายคามือเขา รวมแล้วถึง 3 คน (กมลเกด อัคฮาด, อัครเดช ขันแก้ว, มงคล เข็มทอง) เป็นเรื่องยากจะยอมรับ อาจเพราะ เพื่อนดูเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในชีวิตของเก่ง ผู้ที่มียายคอยผู้อุปการะเลี้ยงดูมาตลอดชีวิต ขณะที่พ่อและแม่ที่แท้จริงทิ้งเขาไปตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อเริ่มโตเป็นวัยรุ่น เขาก็ตัดสินใจออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านกับกลุ่มเพื่อนฝูง เผชิญโชคเพียงลำพังในเมืองกรุง ยืนบนลำแข้งตนเองมาโดยตลอด อาศัยรับจ้างล้างจาน เด็กเสิร์ฟ จนทำอาหารได้ และเก็บเงินเปิดร้านของตัวเอง รวมไปถึงงานต่างๆ อีกสารพัน ตามประสาผู้โชกโชนชีวิต

ปัจจุบันเก่งมีลูกวัย 9 ขวบที่อยู่ในความอุปการะของยายและพี่เขย โดยมีเขาทำหน้าที่ส่งเสียเลี้ยงดูทั้งยายและลูกเพียงลำพัง

ตั้งแต่ออกมาให้ข้อมูลความเลวร้ายในวันที่ 19 พ.ค. ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องคอยหลบซ่อนตัวด้วยเกรงอันตรายจะเกิดขึ้นในยุคที่การลอบสังหารกลับ กลายมาเป็นเรื่องธรรมดาอีกครั้ง และยิ่งสร้างความกังวลให้เพิ่มมากขึ้น เมื่อได้รับแจ้งจากญาติพี่น้องที่พักอาศัยอยู่ภายในซอยประชาอุทิศ 29 ว่าบริเวณหน้าบ้านพักมีหมายเรียกของศูนย์อํานวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ติดไว้ที่ประตู ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีข้อความระบุว่า ให้ไปรายงานตัวที่ ศอฉ. พร้อมระบุถึงโทษจำคุก 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หากฝ่าฝืนคำสั่ง มีลายเซ็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธาน ศอฉ. กำกับตอนท้าย

เก่งตัดสินใจที่จะไม่ไปรายงานตัวเพราะเกรงจะถูกจับกุม โดยเขายืนยันว่าเขาไม่ได้ทำสิ่งใดผิด และแม้ไม่มีใครเข้ามาดูแล คุ้มครองชีวิตของเขาในฐานะพยานของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เขาก็จะอาศัยเพื่อนของเขาที่คอยโอบอุ้มชีวิตของเขาต่อไป และแม้ย้อนเวลาได้ เขาก็จะทำในสิ่งที่ได้ทำลงไปแล้วโดยไม่ลังเล เพราะต้องการทวงถามความยุติธรรมให้แก่เพื่อนของเขา รวมถึงประชาชนมือเปล่าที่เสียชีวิตในฝันร้ายอันแสนยาวนานนั้น

ศอฉ.ออกหมายเรียกพยานปากเอกหน่วยกู้ภัย วสันต์ แสงรัศมี


เมื่อวันที่ 2 ก.ค.53 เว็บไซต์ ข่าวสดรายงานว่า นายวสันต์ หรือเก่ง แสงรัศมี เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมอาสาพยาบาลที่ติดอยู่ภายในวัดปทุมวนาราม เมื่อวันสลายม็อบแดง 19 พ.ค. เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้รับแจ้งจากญาติพี่น้องที่พักอาศัยอยู่ภายในซอยประชาอุทิศ 29 ว่าบริเวณหน้าบ้านพักหลังดังกล่าวได้มีหมายเรียกของศูนย์อํานวยการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ติดไว้ที่ประตูบ้านพัก โดยติดไว้ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีข้อความระบุว่า ให้ตนไปรายงานตัวที่ศอฉ. แต่ไม่ระบุวันนัดหมาย พร้อมกับลงชื่อท้ายหมายว่าเป็นคำสั่งของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานศูนย์อํานวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และข้อความห้ามดึงออก

นายวสันต์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาตนไม่เคยทําอะไรที่ผิดกฎหมาย แต่ที่เข้าไปอยู่ภายในวัดปทุมวนารามในวันนั้น เนื่องจากเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตที่อยู่ในวัด ยืนยันว่าตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับเหตุรุนแรงในพื้นที่ และไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมนปช. ซึ่งในใจตนคิดว่าการที่ศอฉ.นําหมายมาแปะที่หน้าบ้านเพื่อเรียกตนไปพบนั้น ก็เพื่อต้องการให้ตนเป็นพยานในคดีต่างๆ เพราะไม่รู้หาวิธีไหนเชิญตนไปพบ เพราะไม่มีความผิด และขณะนี้ตนต้องอยู่แบบหวาดผวา หวาดกลัวต้องหลบๆ ซ่อนๆ ไปตามสถานที่ต่างๆ และตนจะไม่เดินทางไปพบแน่ นอนเพราะไม่ได้ผิดอะไร

สำหรับนายวสันต์ หรือเก่ง เป็นหน่วยกู้ชีพที่ออกมาทวงความยุติธรรมให้ น.ส.กมลเกด อัดฮาด นายมงคล เข็มทอง และนายอัครเดช ขันแก้ว เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพและพยาบาลอาสาที่ถูกยิง 3 ศพในวัดปทุมวนาราม และอีก 1 ศพคือนายมานะ แสนประเสริฐศรี ที่บ่อนไก่ และยังเป็นคนที่ยืนยันว่าในวันรุ่งขึ้นที่พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เข้าไปชันสูตรศพน.ส.กมนเกดในเบื้องต้น พบว่ามีหัวกระสุนติดอยู่ที่บาดแผลบริเวณหน้าท้องของน.ส.กมนเกด

วันเดียวกัน ที่ศาลาประชาคม ภายในชุมชนบ่อนไก่ นางมาลี แสนประเสริฐศรี มารดา นายมานะ หรือเบิร์ด แสนประเสริฐศรี อายุ 25 ปี เจ้าหน้าที่กู้ภัยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งที่ถูกยิงศีรษะเสียชีวิตขณะเข้าไปช่วย เหลือผู้บาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ได้จัดพิธีทําบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ลูกชายที่ครบรอบการเสียชีวิต 49 วัน มีบรรดาเจ้าหน้าที่กู้ภัยป่อเต็กตึ๊ง และผู้ที่เคยติดอยู่ภายในวัดปทุมฯและที่เคยร่วมชุมนุมอยู่บริเวณบ่อนไก่ มาร่วมงานกว่า 100 คน รวมทั้งน.ส.นวรัตน์ ฤกษ์มงคลรุจ อายุ 20 ปี แฟนสาวนายมานะ โดยเจ้าหน้าที่มูลนิธิได้จัดบอร์ดแสดงภาพเหตุการณ์สลายม็อบของรัฐบาล และภาพนายมานะที่ถูกยิงเสียชีวิต

น.ส.นวรัตน์กล่าวว่า ตนกับพี่มานะคบหากันมากว่า 2 ปี และเขาเป็นคนที่ชอบช่วยเหลือผู้เดือดร้อน นิสัยดี และเป็นคนขยันทุกวันเขาจะออกไปขับแท็กซี่ที่ซื้อไว้เกือบทุกวัน และเวลามีเหตุก็จะให้ผู้โดยสารลง ส่วนตัวเองก็ไปช่วยเหลือทันที โดยไม่คิดเงินลูกค้า และช่วงที่อยู่ด้วยกันตนยังเคยออกไปกู้ภัยกับเขาด้วย แต่พอมาช่วงหลังที่มีม็อบไม่ได้ไป เพราะพี่มานะไม่ให้ไป บอกว่ามันอันตราย ก่อนหน้าที่พี่มานะเสียชีวิตขณะนั้นอยู่กับตนในร้านเกมหลังโลตัส พระราม 4 ระหว่างนั้นพี่มานะเอามือมาจับแก้มตน และตนก็ได้กลิ่นเหม็นเน่าทั้งๆที่พี่มานะเพิ่งอาบน้ำมา ไม่นานพี่มานะก็หอมแก้มตนและก็ออกไปทำงานเพราะมีเหตุยิงกันที่บ่อนไก่ เหมือนเป็นลางบอกเหตุ หลังจากหายไปนานหลายชั่วโมงจนเกือบค่ำ ตนได้โทร.หาพี่มานะก็มีคนรับสายแทนบอกว่าพี่มานะตายแล้ว ตนตกใจมากรีบไปที่โรงพยาบาลทันที ตนเสียใจและเศร้าใจมาก ความจริงพี่มานะบอกตนว่าหากผ่อนรถแท็กซี่หมด ก็จะเก็บเงินสักก้อนมาขอตนแต่งงาน และสร้างบ้านอยู่ด้วยกัน แต่ต้องมาเสียชีวิตเสียก่อน

วันเดียวกัน นายวุฒิกร อินทรภูวศักดิ์ ผู้ช่วยรมต.ประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) เป็นประธานพิธีมอบเงินเยียวยาช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ ความไม่สงบ ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. จำนวน 71 ราย แบ่งเป็นผู้เสียชีวิต 5 ราย และผู้บาดเจ็บ 66 ราย รวมเป็นเงิน 5 ล้านบาท

โดยนายวุฒิกร กล่าวว่า เงินช่วยเหลือที่มอบให้ผู้เสียหายในวันนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 71 ราย รวมเป็นเงิน 5 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายตามระยะเวลาที่เข้าพักรักษาตัว ที่ระบุในหลักเกณฑ์การช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยพม.ได้มอบเงินเยียวยาให้ผู้เสียหายไปแล้ว 12 ครั้ง รวมครั้งนี้ด้วยเป็น 1,381 ราย เป็นเงิน 70,743,209 บาท

วันเดียวกัน นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้มอบหมายให้นายสุทิพย์ ไชยเดช นิติกรปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่กรมคุ้มครองฯ เดินทางมาชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีนายพงศ์พิชาญ ธนาถิรพงศ์ อายุ 47 ปี โชเฟอร์แท็กซี่เหยื่อปืน ให้สัมภาษณ์ว่าค่าสินไหมทดแทนที่ร้องขอถูกตัดออกจากวาระการประชุมคณะกรรมการ พิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาในวันนี้ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา จนเกิดควมเครียดปีนขึ้นบันไดชั้น 8 ขู่ฆ่าตัวตาย

นายสุทิพย์ กล่าวว่า ขอชี้แจงว่าคณะกรรมการพิจารณาฯ ต้องตรวจสอบพิจารณาตามลำดับเรื่องที่ร้องขอเข้ามา โดยเรื่องที่นายพงศ์พิชาญร้องเข้ามาในวันที่ 21 พ.ค. อยู่ในลำดับที่ 62 จึงยังไม่ได้เข้าวาระการประชุม เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนรวบรวมหลักฐานว่ามีคุณสมบัติตามที่ พ.ร.บ. ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 กำหนดไว้หรือไม่ โดยนายพงศ์พิชาญให้การว่าโดนยิงประมาณ 5 ทุ่ม ขณะเดินอยู่บริเวณถ.ราชปรารภเพื่อไปทำธุระ จากนั้นมีเสียงปืนดังขึ้น และเห็นแสงเลเซอร์สีฟ้าพุ่งมาบริเวณหน้าผาก จึงยกแขนขึ้นมาบังและรู้สึกว่าแขนข้างซ้ายถูกยิงจนเลือดไหล จึงหลบเข้าข้างกำแพงและนั่งรถจักรยานยนต์ออกมา ก่อนมีคนมาช่วยนำตัวส่งโรงพยาบาล มีความขัดแย้งกับที่ให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์ว่าโดนยิงประมาณ 5 ทุ่ม ขณะไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง บริเวณหน้าปั๊มเอสโซ่ ซ.รางน้ำ ถ.ราชปรารภ

"การที่กรรมการพิจารณาฯ จะอนุมัติจ่ายเงินซึ่งเป็นเงินหลวงแก่ใคร จำเป็นต้องตรวจสอบหลักฐานทั้งจากตำรวจ โรงพยาบาล และพยานแวดล้อม ให้แน่ชัดเพื่อนำมาประกอบกับกฎ หมายตามพ.ร.บ.ฯ มาตราที่ 3 ที่ระบุว่าผู้เสียหายหมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือร่างกายหรือจิตใจ เนื่องจากการกระทำความผิดทางอาญาของผู้อื่น โดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น ร่วมกับรายการท้ายพ.ร.บ.ฯ ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต มาตรา 288 ถึง 294 และหมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย มาตรา 295 ถึง 300 ประกอบกัน ซึ่งถ้าเป็นตามที่ผู้ร้องได้ให้สัมภาษณ์ก็ถือเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ กระทำความผิด และผิดหลักเกณฑ์การร้องขอดังกล่าว" นิติกรปฏิบัติการ กล่าว

เก่ง วสันต์ สายรัศมีเจ้าหน้าที่กู้ภัยเปิดใจทั้งน้ำตา

Mon, 07/05/2010 - 11:16 | by madu | Vote to close topic

เปิดใจหลังศอฉ.เรียกตัว...เห็นแล้วพูดไม่ออก...พี่น้องไปดู กันเอง

http://www.youtube.com/watch?v=Om_c4Wrl4oM&feature=player_E M B E Dded#!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน