แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อธิการบดีคนใหม่ ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


Thu, 2010-08-05 15:49

สายพิน แก้วงามประเสริฐ

[img]http://img42.imageshack.us/img42/162/4862994264956085b027.jpg[/img]

เดือนกันยายน พ.ศ.2553 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะมีอธิการบดีคนใหม่ เวลานี้จึงเป็นช่วงของการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยคนใหม่

ผู้เข้ารับการสรรหาล้วนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการเป็นอย่าง ดี เพราะต่างผ่านการศึกษาในระดับสูง มีผลงานด้านการวิจัย มีประสบการณ์การสอน และเคยมีตำแหน่งบริหารทั้งในระดับคณะหรือในระดับมหาวิทยาลัยมาไม่มากก็น้อย

คุณสมบัติตามที่กล่าวมาคงมีไม่แตกต่างกันมากนัก แต่สิ่งสำคัญคือ ภาพลักษณ์ของอธิการบดีคนใหม่กับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นไปใน ทิศทางเดียวกันหรือไม่ เนื่องจากรากเหง้าที่มาและตัวตนของมหาวิทยาลัยที่ครั้งหนึ่งเคยชื่อว่า มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จึงจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการเมือง

โดยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำเนิดขึ้นในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2477 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยเพียง 2 ปี นอกจากนี้ผู้ก่อตั้งหรือผู้ประศาสน์การคือนายปรีดี พนมยงค์ ยังเป็นหัวหน้าคณะราษฎรสายพลเรือน ที่เป็นมันสมองของคณะราษฎร มีความมุ่งหมายในการก่อตั้งว่า "มหาวิทยาลัย ย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎร์ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมี ควรได้รับตามหลักเสรีภาพในการศึกษา"

ดังนั้นแรกเริ่มเดิมที มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงเป็นมหาวิทยาลัยเปิด ที่ใครๆ ก็สามารถทำงานด้วยเรียนไปด้วยได้ ลูกคนยากคนจนที่ไม่มีโอกาสได้เรียนมหาวิทยาลัย เมื่อมหาวิทยาลัยแห่งนี้กำเนิดขึ้นก็สามารถพลิกผันชีวิตตนเองจนได้เป็นธรรม ศาสตรบัณฑิต กลายเป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียง ได้กลับมาช่วยเหลือคนยากคนจนก็มีให้เห็น

มหาวิทยาลัยแห่งนี้ผลิตนักคิดนักเขียน นักการเมืองที่กล้าท้าทายอำนาจเผด็จการ นักต่อสู้เพื่อคนยากคนจำนวนไม่น้อย

หลายเหตุการณ์ทางการเมืองที่มหาวิทยาลัยเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นขบวนการเสรีไทย กบฏวังหลวง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และเหตุการณ์อื่นๆ อีกหลายเหตุการณ์ ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ยืนอยู่เคียงข้างประชาชนเสมอมา ดังคำขวัญที่คุ้นๆ กันอยู่เสมอว่า "ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน" (กุหลาบ สายประดิษฐ์)

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังมีภาพลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยที่เคียงคู่และต่อสู้ เพื่อความยุติธรรมให้กับประชาชน ดังคำขวัญที่ว่า "หากขาดโดม เจ้าพระยา ท่าพระจันทร์ ก็เหมือนขาดสัญลักษณ์พิทักษ์" (เปลื้อง วรรณศรี)

ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน ทุกครั้งเมื่อประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในอดีตมหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่เคยนิ่งดูดาย

วาระที่ พ.ศ.2553 เป็นวาระครบรอบ 110 ปี ชาตกาลของนายปรีดี พนมยงค์ มีคำขวัญที่คุ้นหูว่า "110 ปี ความดีไม่สูญหาย" เวลาที่ผ่านไปพิสูจน์ให้เห็นว่าผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แม้ต้องพบรักมรสุมทางการเมืองด้วยการถูกใส่ร้ายป้ายสีต่างๆ นานา จนไม่อาจอยู่บนผืนแผ่นดินไทยที่รักของท่านได้ก็ตาม แต่เวลาได้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า "110 ปี ความดีไม่สูญหาย" จริงๆ

มีคนจำนวนไม่น้อยตระหนักและเห็นความสำคัญของท่าน ที่ต้องการให้ประเทศชาติเกิดความเจริญก้าวหน้า สามารถธำรงปกป้องการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่ให้ความสำคัญกับประชาชน

นอกจากนี้ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเป็นเวลากว่า 70 ปี เป็นประวัติศาสตร์ของการต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรมเสมอมา ตลอดจนการต่อต้านการใช้อำนาจเผด็จการแม้แต่คราวที่มหาวิทยาลัยถูกทหารยึดใน สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ตาม แต่ในที่สุดด้วยพลังของความสามัคคี นักศึกษาก็สามารถยึดมหาวิทยาลัยกลับคืนมาได้

ด้วยที่มาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดจนภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่เป็นมหาวิทยาลัยของคนทุกชนชั้น และมหาวิทยาลัยเพื่อปวงชน ดังนั้น เพื่อรักษาภาพลักษณ์และภาระหน้าที่ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้พึงมี การสรรหาจนกระทั่งได้ตัวอธิการบดีคนใหม่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คงไม่อาจได้เพียงผู้มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว หรือเพียงบริหารมหาวิทยาลัยได้เก่ง ได้ดีเท่านั้น

นั่นคืออธิการบดีต้องทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นเหมือนบ่อน้ำที่บำบัด ความกระหายของราษฎรเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ข้างประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งด้วยการมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถ มีจิตสำนึกแบบประชาธิปไตย มุ่งรับใช้ประชาชน แม้ท่ามกลางความเปลี่ยนไปของสังคมในวันนี้ ที่กระแสทุนนิยมเข้าครอบงำวิถีชีวิตผู้คนที่ทำให้เห็นเงินเป็นใหญ่ แต่ภาระของอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ การสร้างจิตวิญญาณให้กับเยาวชนคนหนุ่มสาวเหล่านี้ให้ได้

ดังนั้น คนเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงต้องมีสัญญาประชาคม ที่ต้องนำพามหาวิทยาลัยให้เป็นบ่อบำบัดความกระหายของราษฎร และเป็นสถาบันทางการศึกษาที่มีหน้าที่ปลูกปั้นปัญญาให้แก่ผู้คนในสังคม

รวมทั้งการปกป้องธำรงรักษาการปกครองระบอบประชาธิปไตย เหมือนดั่งเจตนารมณ์ของผู้ประศาสน์การ และอยู่เคียงข้างประชาชนทุกชนชั้นอย่างแท้จริง

แต่บทบาทท่าทีของอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง ทั้งการใช้ความรุนแรงกับประชาชน การที่ประเทศต้องตกอยู่ในภาวะฉุกเฉิน อธิการบดีไม่ได้แสดงท่าทีของการอยู่เคียงข้างประชาชน หรือปกป้องสิทธิมนุษยชน ให้สมกับที่เป็นผู้นำสถาบันการศึกษาที่ควรเป็นเสาหลักของการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยแต่อย่างใด

ทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบันแทบไม่มีบทบาทของมหาวิทยาลัยของคน ทุกชนชั้น และเป็นที่พึ่งของประชาชน ทั้งที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นผลผลิตของคณะราษฎร และการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475

ภาพลักษณ์ดังกล่าวของอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน จึงเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่สอดคล้องกับการกำเนิดและบทบาทของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ในอดีต

ดังนั้น ในวาระที่จะมีอธิการบดีคนใหม่ หากการสรรหาแล้วได้บุคคลที่มีทั้งความรู้ความสามารถด้านวิชาการ การบริหาร และมีภาพลักษณ์ของความเป็นนักประชาธิปไตย และมีความรักต่อประชาชนโดยเฉพาะคนยากคนจนแล้ว

อธิการบดีคนใหม่คงเป็นความภาคภูมิใจของชุมชนธรรมศาสตร์ และคนในสังคมได้อย่างไม่อายใคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน