แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เอ็มโอยูปี43ยังจำเป็นสำหรับไทย


Posted by คมชัดลึก

การที่คณะกรรมการมรดกโลก หรือยูเนสโก เลื่อนการพิจารณาแผนการปรับปรุงพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารตามที่รัฐบาล กัมพูชาเสนอไปเป็นปี 2554 ที่ประเทศบาห์เรน ดังนั้นเวลา 1 ปีนับจากนี้ไปรัฐบาลชุดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะต้องทำความจริงให้ปรากฏ โดยเฉพาะพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่ขณะนี้รัฐบาลกัมพูชาเกณฑ์ประชาชนเข้าไปอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก


เพราะ หากปล่อยให้เนิ่นนานออกไปจะยิ่งเป็นการเพิ่มปมปัญหาหนักขึ้น เพราะการจะขับไล่ให้ประชาชนของกัมพูชาที่เข้าไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรออกไป ไม่ใช่เรื่องง่าย อาจจะต้องใช้ระยะเวลา 2-3 ปี ผนวกกับการ แก้เกมตามแผนการปรับปรุงพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารตามที่ทางรัฐบาลกัมพูชาเสนอไปยัง คณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่มีการประชุมที่ประเทศบราซิลก็จะเพิ่มปมให้หนักขึ้นไปอีก

แต่ นั่นเป็นเพียงการ แก้เกมกับมิตรประเทศที่กำลังจะเป็นเจ้าของปราสาทเขาพระวิหารเท่านั้น แต่ศึกใหญ่ที่คนไทยกำลัง หลงทางคือประเด็นกรณีการแก้ไขข้อตกลงสนธิสัญญาระหว่างไทย-กัมพูชา เมื่อปี 2543 ในสมัยยุคของ นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี โดยข้อตกลงคือการร่วมสำรวจ และปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งไม่ชัดเจนว่าใครได้เปรียบ-เสียเปรียบ

ข้อตกลงสนธิสัญญาระหว่างไทย-กัมพูชา เมื่อปี 2543 ระบุไว้ว่า ระหว่างที่ดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวไทย-กัมพูชา ห้ามละเมิด หรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพื้นที่ยังไม่มีความเห็นสอดคล้องกัน หรือพื้นที่ยังไม่ได้มีการปักปันเขตแดนโดยเด็ดขาด

แต่ข้อถกเถียงที่ เกิดขึ้นในตอนนี้คือต้องการให้รัฐบาล ยกเลิกเอ็มโอยูฉบับดังกล่าว เนื่องจากปัญหาสำคัญ คือแผนที่ที่มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

โดยใน ส่วนของฝ่ายไทยยึดพื้นที่ตามอัตราส่วนคือ 1 ต่อ 50,000 ขณะที่ฝ่ายกัมพูชายึดตามอัตราส่วนคือ 1 ต่อ 200,000 จึงทำให้เกิดข้อพิพาทขัดแย้งกัน ทั้งนี้เมื่อตีความในแผนที่ออกมา โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร ถ้ายึดแผนที่ตามอัตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ที่ขีดไม่เรียบร้อยอาจจะไม่ตรงกับเส้นสันปันน้ำ เพราะหากผิดเพียง 1-2 มิลลิเมตร จะผิดเพี้ยนไปจากเป็นจริงประมาณ 200-400 เมตร

ดังนั้น อาจจะเกิดความคลาดเคลื่อน และไม่ตรงกับเส้นแบ่งเขตแดนตามสันปันน้ำที่ประเทศไทย และสากลยึดถือมาโดยตลอดว่า เส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ยึดเขตแดนตามสันปันน้ำ ทำให้ถูกมองว่าไทยอาจจะเสียเปรียบกัมพูชา

ถ้า รัฐบาลยกเลิกเอ็มโอยู จะยิ่งทำให้เกิดปัญหายุ่งเหยิง และโอกาสที่เราจะเสียเปรียบมีสูง เพราะหากไปดำเนินการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ จะทำให้เรื่องการละเมิดพื้นที่จะเข้าทางกัมพูชามากกว่านี้ ที่ผ่านมาเราก็ไม่ได้ละเมิดในพื้นที่ทับซ้อนอยู่แล้ว เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าสงวน ทั้งนี้การละเมิดเข้าไปในพื้นที่ไม่ได้มีผลทางด้านกฎหมาย เพราะสุดท้ายก็จะต้องมีการพิจารณาสนธิสัญญาที่ไทยทำไว้กับฝรั่งเศสแหล่งข่าวระบุ

แหล่งข่าวทางด้านทหารยังระบุว่า ทุกอย่างจะต้องทำตามสนธิสัญญา เพราะมีการระบุไว้ชัดเจนว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นของใคร เพียงแต่มีการปักปันเขตแดน 73 หลัก ซึ่งไม่ได้รวมในพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งเดิมยังไม่ได้มีการสำรวจ หรือปักปัน และยังไม่มีหลักเขต โดยหลักเขตจะอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของปราสาทเขาพระวิหาร หลักเขตที่ 1 อยู่ที่ จ.สุรินทร์ และหลักเขตที่ 73 คือ จ.ตราด

บริเวณพื้นที่ ตั้งแต่ จ.สุรินทร์ ถึงช่องบก อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ยังไม่ได้มีการปักปันเขตแดน และไม่มีใครระบุว่า เขตแดนอยู่ตรงไหน ซึ่งข้อคัดค้านของไทยก็ถูกต้อง เมื่อเขตแดนยังไม่ชัดเจนจะมาดำเนินการเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร ไม่น่าจะทำได้ ทั้งนี้ปัญหาอยู่ที่บันทึกข้อตกลงที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอเข้าไปยัง รัฐสภา 3 ข้อ โดยสาระสำคัญคือ ขออนุญาตนำคณะกรรมการปักปันเขตแดนพูดคุยกับกัมพูชา

เขาย้ำว่า คณะกรรมการปักปันเขตแดนได้ทำกันมาตลอด แต่พอเกิดความขัดแย้งกันทำให้หยุดไปประมาณปีกว่า ถ้าตรงนี้กลับฟื้นฟูขึ้นมา และสำรวจปักปันเขตแดนได้ก็น่าจะคุยกันและตกลงกันได้ โดยนับจากนี้ไป 1 ปี จะทำได้หรือไม่

ทั้งนี้ มีข้อจำกัดในเรื่องมาตรา 190 ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ถ้าทำอะไรที่เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ และส่งผลกระทบเขตแดนหรืออธิปไตย จะต้องผ่านความเห็นชอบของสภา

ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะสรุปในวันนี้ว่าใครได้ใครเสีย หรือกระทั่งใน 1 ปี ปัญหาที่ทับซ้อนจะจบสิ้นลง

แต่ที่แน่ๆ ในแง่มุมของผู้ดูแลรับผิดชอบแล้ว เอ็มโอยูปี 2543 ยังพอมีประโยชน์ที่เอื้อให้แก่ไทยอยู่

ทีมข่าวความมั่นคง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน