แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สื่อ ไร้พรมแดนฟัน ธงให้UNสอบอาชญากรรมไทย



[img]http://img101.imageshack.us/img101/5210/610xuz.jpg[/img]

พิธี ศพของนายฮิโรยูกิ มูราโมโต ชาวญี่ปุ่น นักข่าวสำนักข่าวรอยเตอร์ ถูกยิงที่หน้าอก ขณะปฏิบัติหน้าที่เหตุปฏิบัติขอคืนพื้นที่ของรัฐบาลไทย 1 ในบรรดาผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่เสียชีวิตในเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองใน ไทย



โดย องค์กร ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน

หมายเหตุไทยอีนิวส์:องค์กร สื่อไร้พรมแดน( Reporters sans frontières-RSF)ได้แถลงข่าวลงวันที่ 8 กรกรฎาคมนี้ มีเนื้อหาเรียกร้องกดดันต่อรัฐบาลไทย และเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ(UN) นาย บัน คี มุน ให้องค์กรต่างๆของ UN เข้ามามีส่วนร่วมกับการสอบสวนอย่างอิสระโปร่งใสในอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในไทย ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งมีส่วนทำให้ผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างประเทศเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวน มากด้วย..ข้อเรียกร้องนี้มีขึ้นภายหลังจากที่องค์กรสื่อไร้พรมแดนได้สืบสวน ทุกๆฝ่ายอย่างรอบด้านแล้ว



8 กรกฎาคม 2553

Licence to Kill
บทวิเคราะห์และบทสัมภาษณ์


ผู้สื่อ ข่าวไร้พรมแดนเรียกร้องให้มีการสอบสวนกรณีอาชญากรรมต่อสื่อมวลชนอย่างโปร่ง ใส

ในช่วงเหตุการณ์วิกฤติการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ ช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานั้น วิชาชีพสื่อมวลชนได้รับผลกระทบอย่างยิ่ง ทั้งในด้่านความเป็นอิสระในการทำงานและด้านความปลอดภัย

ในจำนวนผู้ เสียชีวิตทั้ง 90 รายนั้น มีนักข่าวต่างประเทศอยู่ด้วย 2 คน และมีกรณีที่นักสื่อสารมวลชนได้รับบาดเจ็บมากถึง 10 ราย โดยในจำนวนนี้บางรายอาจต้องเสียสมรรถภาพทางร่างกายไปตลอดชีวิต

นอก จากนี้แล้ว ยังมีกรณีการเซ็นเซอร์และปราบปรามสื่ออีกมากมาย อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนตั้งแต่หลังช่วงทศวรรษ ค.ศ.90

ผู้สื่อข่าว ไร้พรมแดน (Reporters Without Borders- Reporters sans frontières) จัดทำรายงานฉบับนี้ขึ้น โดยมีเป้าหมายจะสะท่้อนเสียงของกรณีตัวอย่าง 10 ราย ที่นักสื่อสารมวลชนได้รับการคุกคามหรืออันตราย ทั้งจากฝ่ายแรก ได้แก่ ทหาร หน่วยกำลังพิเศษ และทหารรับจ้าง และฝ่ายที่สอง กล่าวคือ ผู้ชุมนุมเสื้อแดง ซึ่งเป็นสมาชิกของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ

โดย ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเลือกที่จะเป็นสื่อกลางและกระบอกเสียงให้แก่สื่อมวลชน ในครั้งนี้ นอกจากนั้นแล้ว ยังได้สัมภาษณ์ตัวแทน
จากรัฐบาลไทยและทนาย ความของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร อีกด้วย บางกรณีตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงการคุกคามสื่อมวลชนทั้งจากฝ่ายความมั่นคงและ ฝ่ายผู้ชุมนุมเสื้อแดงอย่างชัดเจน

หลังจากที่ได้มีการสลายผู้ชุมนุม ครั้งใหญ่กลางกรุงเทพมหานครฯ ในวันที่ 19 พฤษภา-คม แม้ว่าฝ่ายรัฐบาลจะเป็นผู้ชนะในสงครามนองเลือดในครั้งนี้ แต่ชัยชนะครั้งนี้ก็ไม่ได้มาโดยปราศจากคำถามต่อความรุนแรงของทหาร มีประจักษ์พยานมากมายถึงการยิงประชาชนไร้อาวุธ และนักสื่อสารมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้อาศัยช่องทางจากภาวะฉุกเฉินและภาวะระส่ำระสายของบ้านเมืองที่ เกิดจากผู้ชุมนุมเสื้อแดง เพื่อปฏิบัติการจัด
การกับฝ่ายตรงข้าม โดยไม่คำนึงถึงกฎหมายระหว่างประเทศ หรือกฎหมายของประเทศไทยที่ระบุการคุ้มครองพลเมืองไว้อย่างช้ดเจน

นัย ยะสำคัญของการสอบสวนอย่างเป็นสากล

ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ต้องการเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการสอบสวนอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในช่วง วิกฤติการณ์ทางการเมืองครั้งนี้อย่างโปร่งใส และขอเสนอให้มีการขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศ เนื่องจาก หากไม่มีการสอบสวนอย่างเป็นอิสระ เหตุการณ์ครั้งนี้อาจทำให้ประเทศไทยสูญเสียความน่าเชื่อถือในเวทีนานาชาติ

หาก ฯพณฯนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีความจริงใจในการรวมใจประชาชนไทยอีกครั้ง ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนขอเรียกร้องให้มีการเพิ่มทั้งทรัพยากรและอำนาจแก่คณะ กรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อให้คณะทำงานดังกล่าวมีความอิสระในการทำงานอย่างแท้จริง

ในโอกาส ที่ประเทศไทยได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนขอเรียกร้องให้เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นาย บัน คี มุน ให้ความร่วมมือกับประเทศ โดยการให้องค์กรต่างๆของสหประชาชาติเข้ามามีส่วนร่วมกับการสอบสวนในครั้งนี้

ทั้ง นี้ ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความช่วยเหลือและข้อมูลแก่ คณะทำงานอย่างโปร่งใสเและเป็นอิสระ

ต่อข้อถามขององค์กร ดร.ธานี ทองภักดี โษกกระทรวงการต่างประเทศได้ยืนยันว่า คณะกรรมการสอบสวนเหตุการณ์นองเลือดที่เกิดขึ้นจะสามารถทำงานอย่างเสรี โดยดร.ธานีได้กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการให้คำตอบที่ชัดเจนต่อประชาชน
ต่อ กรณีความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงเดือน เมษายน และพฤษภาคม และรัฐบาลยินดีจะรับผิดชอบทุกกรณี ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสอบสวนในเรื่องดังกล่าว

สำหรับ นาย โรเบิร์ต อัมเสตอร์ดัม (Robert Amsterdam) ทนายความของอดีตนายกรัฐมนตรีนั้น ตัวเลขผู้บาดเจ็บล้มตายบ่งบอกอย่างชัดเจนแล้ว โดยนาย อัมเสตอร์ดัมกล่าวว่า การที่มีนักสื่อสารมวลชนบาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น แสดงให้เห็นว่ามีการละเลยต่อความปลอดภัยของภาคประชาชนโดยมีพยานหลักฐานแสดง ให้เห็นว่านักสื่อสารมวลชนตกเป็นเป้าของความรุนแรง

ทั้งนี้ มร.อัมเสตอร์ดัม และทีมกฎหมายกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อให้รัฐบาลตอบข้อซักถามต่อความรุนแรงที่ เกิดขึ้น โดยเขาได้ทิ้งท้ายว่า
จำนวนตัวเลขของผู้ได้รับผลกระทบนั้นส่วน ใหญ่นั้นเป็นฝ่ายผู้ชุมนุม นั่นแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าความรุนแรงมาจากฝ่ายใด

ทั้งนี้ มร.อัมเสตอร์ดัมกล่าวว่าเขาไม่มีความมั่นใจต่อความจริงใจของฝ่ายการเมืองใน การนำเสนอข้อเท็จจริง

Rules of Engagement และการเซ็นเซอร์

องค์กร ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนตั้งข้อถามว่า จำนวนนักสื่อสารมวลชนที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตนั้นเป็นผลมาจาก อุบัติเหตุเพียงอย่างเดียวหรือไม่ ทั้งนี้ มีนักข่าวมากมายที่ทำงานเสนอข่าวสารในบริเวณที่ชุมนุม และมีจำนวนหนึ่งที่อาจขาดการอบรมด้านการทำงาน
ในพื้นที่อันตรายหรือไม่ ได้ใช้อุปกรณ์การป้องกันภัยที่พอเพียง

รวมถึงการขาดการอบรมในด้านการ ป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อพลเมืองของทหารที่ทำหน้าที่ควบคุมและสลาย การชุมนุม หรือว่าเหตุการณ์เศร้าสลดที่เกิดขึ้นมีเหตุมาจากความตั้งใจคุกคามนักสื่อสาร มวลชน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักสื่อสารมวลชนชาวต่างประเทศ) โดยตรง

ผู้ สื่อข่าวไร้พรมแดนได้รับคำบอกเล่าจากนักข่าวชาวยุโรปที่อยู่ในพิ้นที่ว่าใน ช่วงวันสุดท้ายของการชุมนุมนั้น ทหารได้ใ้ช้อาวุธสงครามกับประชาชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักข่าว นั่นแสดงให้เห็นว่าทหารไม่ได้เคารพ Rules of Engagement

ในประเด็นนี้ดร.ธานี ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวว่า ทหารได้รับคำสั่งให้เคารพข้อปฎิบัติเฉพาะ แต่เมื่อมีการยิงทหารไร้อาวุธในวันที่ 16 เมษายนนั้น ทหารก็ได้รับคำสั่งให้ใช้กระสุนจริงเพื่อป้องกันตนเองจากชายชุดดำ ซึ่งเป็นฝ่ายเดียวกับผู้ชุมนุมนปช. แต่เขาได้ย้ำว่า กองทัพไม่ได้รับการอนุญาตให้ยิงประชาชนแต่อย่างใด

ประเด็นสำคัญอีก ประการหนึ่งสำหรับผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนคือ การเซ็นเซอร์สื่อที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเมือง รวมถึงการ Self-censorship(การเซ็นเซอร์ตัวเอง) ของสื่อบางส่วนด้วย ในกรณีนี้ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ยังได้มีคำสั่งให้ปิดกั้นสื่อมากมาย รวมทั้งประชาไทด้วย ทั้งนี้ ดร.ธานีได้ยืนยันกับองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับเสรีภาพสื่อเป็นอย่างยิ่ง แต่ได้เพิ่มเติมว่า สถานการณ์ฉุกเฉินบังคับให้สื่อต้องมีความรับผิดชอบในการทำงาน

องค์กร ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนได้สัมภาษณ์และวิเคราะห์ในกรณีสื่อมวลชนได้รับการคุก คามดังรายนามต่อไปนี้

1. การเสียชีวิตของนักข่าวอิสระชาวอิตาเลี่ยน นาย Fabio Polenghi
2. การเสียชีวิตของผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่นของสำนักข่าวรอยเตอร์ นาย ฮิโรยูกิ มูราโมโตะ
3. กรณี นาย Nelson Rand ผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์ France24 ได้รับบาดเจ็บสาหัส
4. กรณี นาย ไชยวัฒน์ พุ่มพวง ช่างภาพอาวุโสของหนังสือพิมพ์ The Nation ได้รับบาดเจ็บ
สาหัส
5. กรณีการปิดกั้นเวบไซต์ประชาไท
6. กรณีวางเพลิงสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ถนนพระรามสี่
7. การสัมภาษณ์ นางสาว Agnès Dherbeys ช่างภาพหนังสือพิมพ์ The New York Times
ในขณะ เกิดเหตุ
8. กรณี นาย สุบิน นวมจันทร์ ช่างภาพหนังสือพิมพ์มติชนได้รับบาดเจ็บ
9. กรณี นาย Chandler Vandergrift นักข่าวอิสระชาวแคนาดา ได้รับบาดเจ็บสาหัส
10. คำบอกเล่าของสื่อมวลชนชาวต่างประเทศ ที่ไม่ต้องการเปิดเผยนาม

Vincent Brossel Reporters Without Borders - Asia Desk 47, rue Vivienne 75002
Paris Tel : (33) 1 44 83 84 84 - Fax : (33) 1 45 23 11 51 E-mail : asia@rsf.org
Web : www.rsf.org



Report on violence against media during recent Bangkok unrest

Posted by นักข่าวชาวรากหญ้า at 7/09/2010 05:01:00 หลังเที่ยง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน