แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

นักกิจกรรมบุกบ้านพิษณุโลก ลั่นค้านปฏิรูปบนซากศพ





"เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อ ประชาธิปไตย" รณรงค์หน้าบ้านพิษณุโลก ประณามคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ซื้อเวลาให้รัฐบาลที่มาจากการเข่นฆ่าประชาชน ด้านอานันท์เผยการปฏิรูปไม่มีวันเสร็จสิ้น วาระการทำงานไม่ใช่เรื่องใหญ่ เตรียมทำงานคู่ขนานกับสมัชชาของ นพ.ประเวศ เหมือนแฝดอิน-จัน


นักกิจกรรมโผล่ต้านคณะกรรมการปฏิรูปประเทศฯ ลั่นเสียดายคนตายไม่ได้ปฏิรูป

วันนี้ (9 ก.ค. 53) เวลา 13.30 น. ที่บ้านพิษณุโลก เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย (คกป.) ซึ่งประกอบด้วยนักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่และนิสิตนักศึกษาจาก สนนท. ได้ทำกิจกรรมรณรงค์คัดค้านการเข้ามาทำหน้าที่ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ที่หน้าประตูบ้านพิษณุโลก ก่อนที่การประชุมคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยซึ่งมีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยที่มี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานจะได้เริ่มขึ้น

การชุมนุมดังกล่าวมีการแสดงละครโดยการที่ผู้รณรงค์ได้นำเอาเอาสีแดงมาทา ที่ทาตัวและนอนอยู่หน้าประตูบ้านพิษณุโลก โดยผู้จัดกิจกรรมระบุว่าเพื่อเป็นการเปรียบเทียบว่า คณะกรรมการทั้งสองชุดได้จัดตั้งขึ้นอยู่บนซากศพของประชาชนที่ถูกสังหารใน เดือนเมษาถึงพฤษภาที่ผ่านมา นอกจากนั้นในการรณรงค์ได้มีการถือป้ายรณรงค์มีเนื้อหาเช่นเสียดายคนตายไม่ได้ปฏิรูป” “ไม่ขอปรองดองกับฆาตกร” “เขตอภัยทาน งดปฏิรูปบนซากศพและคนตาย 90 คน พวกคุณไม่แคร์

ระหว่างการรรณรงค์ ดังกล่าวได้มีคณะกรรมการปฏิรูปได้เดินทางมาเข้าร่วมประชุมในบ้านพิษณุโลก อย่างต่อเนื่องอาทิ เช่น ทั้งนายชัยอนันต์ สมุทวณิช นางรัชนี ธงไชย นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ ฯลฯ ทยอยเดินทางเพื่อเข้าร่วมประชุม โดยคณะกรรมการเหล่านี้ไม่ได้แสดงอาการสนใจต่อการรณรงค์ดังกล่าว

ขณะที่เมื่อรถของนายอานันท์ ปันยารชุนขับเข้ามา ซึ่งเมื่อมาถึงประตูบ้านพิษณุโลก นายอานันท์ได้เปิดประตูรถและเดินผ่านกลุ่มผู้ประท้วงเข้าไปเล็กน้อยก่อนที่ จะขึ้นรถเพื่อเข้าไปสู่ที่ประชุม หลังจากนายอานันท์เข้าที่ประชุมแล้ว กลุ่มผู้ชุมนุมจึงเดินทางกลับ

อานันท์เผยจะทำงานนคู่ขนานกับสมัชชาหมอประเวศ เหมือนแฝดอิน-จัน

สำหรับบรรยากาศการประชุมเมื่อเวลา 14.00 น. ได้เริ่มมีการประชุม โดยมีกรรมการเข้าร่วมทุกคน ยกเว้นพระไพศาล วิสาโล ทั้งนี้ นายอานันกล่าวก่อนการประชุมว่า จากการสำรวจเนื้อหาข่าวของ นสพ.ฉบับต่างๆ ส่วนใหญ่ลงครบถ้วนถูกต้อง แต่ก็มีบางฉบับซึ่งนักข่าวอาจจะเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่ยังไม่รู้จักประวัติ ศาสตร์ จึงอ้างอิงตำแหน่งต่างๆ ของกรรมการไม่ตรงตามเจตนารมณ์ที่ตนพิจารณาคัดเลือก

โดยนายอานันท์ ได้ยกตัวอย่างด้วยว่า เช่น นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธ์ ตนไม่ได้เลือกเพราะเคยเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่เลือกเพราะเป็นนักหมายที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษี หรือนายเพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ เป็นนักวิชาการด้านการเกษตร เคยลงมือทำนาด้วยตัวเองมาแล้ว หรือนายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ตนไม่ได้สนใจว่าเคยเป็นคณบดีรัฐศาสตร์ที่ไหน แต่เลือกเพราะเคยเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 เช่น เดียวกับนายนิธิ เอียวศรีวงศ์ และนายศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ก็เลือกเพราะเป็นนักประวัติศาสตร์

นายอานันท์ กล่าวด้วยว่า สำหรับ ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ ก็เป็นคนที่ทำการศึกษาเรื่องสลัมและชุมชนแออัดมายาวนาน นายสมชัย ฤชุพันธ์ นั้นตนเลือกเพราะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการคลังและงบประมาณ นายพงศ์โพยม วาศภูติ ไม่ได้เลือกเพราะเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย แต่เพราะเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการปกครอง นายชัยอนันต์ สมุทวนิช ก็เลือกเพราะเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมกับการปฎิรูปการเมืองในอดีต ไม่ใช่เพราะเป็นผู้บังคับวชิราวุธวิทยาลัย

"อย่างไรก็ตาม การประชุมวันนี้จะคุยเรื่องกรอบการทำงานยังไม่ลงถึงเนื้อหาสาระ เพื่อกำหนดว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องเร่งด่วนต้องทำก่อน-หลัง ซึ่งกรรมการชุดนี้จะทำงานคู่ขนานกับชุด นพ.ประเวศ วะสี เหมือนฝาแฝด อิน-จัน นอกจากนี้ จะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญ หรือทำวิจัยเพิ่มเติม เพื่อเป็นข้อมูลศึกษาของเรา " นายอานันท์ กล่าว

และเมื่อเวลา 14.30 น. นพ.ประเวศเดินทางมายังที่ประชุม เพื่อบอกถึงแนวทางการทำงานของกรรมการปฏิรูป เพื่อกรรมการสองชุดจะได้ทำงานประสานกันได้

อานันท์เผยเป็นการคุยทั่วไปเพื่อเขียนแผนงาน ลั่นปฏิรูปไม่มีวันเสร็จสิ้น วาระการทำงานไม่ใช่เรื่องใหญ่

ข้อมูลจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ ยังระบุด้วยว่า หลังการประชุมยาวนานกว่า 3 ชั่วโมง นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูป ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้ได้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้คิดและพูดออกมาดังๆ เป็นการคุยทั่วๆ ไป ซึ่งจะนำไปสู่การเขียนแผนงาน ทั้งนี้การปฏิรูปไม่มีวันเสร็จสิ้น ทุกประเทศก็มีการปฏิรูปอยู่เรื่อยๆ ดังนั้น วาระการทำงาน 3 หรือ 5 ปี คงไม่ใช่เรื่องใหญ่ เรามีเวลาเท่าใดก็ทำไปเท่านั้น แค่ต้องรู้ว่าจะปฏิรูปเรื่องใด หากกว้างไปคงจะทำเสร็จยาก หากแคบไปก็ไม่สำเร็จ

คณะกรรมการเราไม่มีอำนาจด้านบริหารคงไปล้วงลูกไม่ได้ แต่เมื่อคณะกรรมการเห็นว่ามีปัญหาต้องแก้ให้ชาวบ้านอย่างปัจจุบันทันด่วน เช่น เรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความไม่ยุติธรรม หรือกรณีถ้าพบว่าต้องมีการปรับปรุงระบบราชการแผ่นดิน การจัดงบประมาณรูปแบบใหม่ หรือต้องแก้ไขกฎกระทรวง ก็สามารถกระตุ้นให้รัฐบาลที่มีอำนาจไปดำเนินการแก้ไขได้นายอานันท์ กล่าว

นายอานันท์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของการประชุมนั้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม คณะกรรมการจะนัดประชุมทุกวันจันทร์และพฤหัสบดี เวลา 13.30 น.ที่บ้านพิษณุโลก แต่สัปดาห์หน้าคณะกรรมการหลายคนติดภารกิจ จึงเปลี่ยนมาเป็นวันอังคารที่ 13 ก.ค.และวันศุกร์ที่ 16 ก.ค.แทน

เมื่อถามว่า ที่ประชุมได้วางกรอบการทำงานหรือไม่ว่าเรื่องใดควรแก้ไขก่อนหรือหลัง นายอานันท์ กล่าวว่า ยัง เรายังไม่เร่งรีบคงต้องประชุมอีกสัก 2 ครั้ง ถึงจะกำหนดแผนการระยะยาวหรือระยะกลางได้ วันนี้เป็นเพียงการเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้โต้แย้ง และแสดงความคิดเห็น ยอมรับว่า คณะกรรมการที่มาประชุมได้สะท้อนปัญหาออกมามากหลายเรื่อง

นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด เลขานุการคณะกรรมการปฏิรูป กล่าวว่า การสะท้อนปัญหาต่างๆ ของกรรมการครั้งนี้ พบว่า มีทั้งปัญหาในเชิงประเด็น และปัญหาของกลุ่มคน เช่น ปัญหาของเกษตรกรที่เป็นประเด็นใหญ่ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้านอาหาร เนื่องจากเกษตรกรมีอายุมากขึ้น แต่คนวัยรุ่นส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรน้อยลง รวมทั้งยังมีปัญหาเรื่องการกระจายการทรัพยากรที่ดินทำกิน และปัญหาหนี้สิน นอกจากนี้ที่ประชุมยังพูดถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในเรื่องของระบบงบประมาณ เกี่ยวกับความไม่สมดุลของการกระจายงบประมาณลงสู่ท้องถิ่น รวมทั้งสิ่งที่ไม่ใช่ปัญหา แต่เราต้องมองไปถึงอนาคตทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป ในอีก 10 ปี 20 ปีข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร ขั้นตอนการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปในระยะต่อไปจะดูว่ามีวิธีแก้ไขปัญหา อย่างไร โดยจะนำสิ่งต่างๆ ที่รับรู้ และปัญหาที่เสนอมาจากคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปมาจัดลำดับความสำคัญในการแก้ไข ปัญหา

นักกิจกรรมค้านคณะกรรมการปฏิรูปฯ เพราะกลัวซื้อเวลาและฟอกผิดให้อภิสิทธิ์

ด้่านนายวรรณเกียรติ ชูสุวรรณ ผู้ประสานงานเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคม ซึ่งมาจัดกิจกรรมรณรงค์ที่หน้าบ้านพิษณุโลกในวันนี้กล่าวว่า เราเพียงแต่มารณรงค์เพื่อกระตุ้นเตือนผู้ทำหน้าที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ว่า พวกเขามีบทบาทเพียงแค่การซื้อเวลาและฟอกความผิดให้กับรัฐบาลอภิสิทธิเท่า นั้น เราอยากเรียกร้องถึงจิตสำนึกของกรรมการปฏิรูปประเทศทั้งหลายว่า สถานะอันทรงเกียรติที่พวกเขาได้รับการสถาปนาขึ้นนั้น มีที่มาอันเดียวกับผู้ที่อนุมัติให้มีการสังหารประชาชนในการชุมนุมจากสะพาน ผ่านฟ้าลีลาศ ถึงแยกราชประสงค์ ที่ทำให้มีคนไทยต้องเสียชีวิตไปกว่า 90 ราย นั่นเอง

ในการรณรงค์ดังกล่าวทางกลุ่มผู้รณรงค์ได้ออกแถลงการณ์ประกอบ มีเนื้อหาคัดค้านแผนการปฏิรูปประเทศ ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย และสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยด้วย (รายละเอียดแนบท้าย)

000

ปฏิรูปประเทศไทย อำมหิต ไร้เกียรติ ไร้ศักดิ์ศรี

ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เดินหน้าแผน ปรองดองโดยกำหนดให้การปฏิรูปประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของแผน โดยแต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานกรรมการปฏิรูปประเทศไทย (คปร.) และนายแพทย์ประเวศ วะสี เป็น ประธานกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศไทย (คสป.)

ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2553 นายอานันท์ ปันยารชุน ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย จำนวน 19 คน และ นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยจำนวน 27 คน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังรายชื่อที่ปรากฎเป็นข่าวตามสื่อมวลชนทั่วไป

พวกเราในนามของเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อ ประชาธิปไตย (คกป.) มีความเห็นต่อการแต่งตั้งคณะกรรมการทั้งสองชุดข้างต้นดังนี้

1.เราเห็นว่า การปฏิรูปประเทศไทยในครั้งนี้เป็นเพียงการซื้อเวลาของรัฐบาล เพื่อจะไม่คืนอำนาจให้ประชาชนผ่านกระบวนการเลือกตั้ง และเป็นเครื่องมือที่รัฐบาลใช้เบี่ยงเบน ประเด็นความสนใจของสังคมต่อข้อเรียกร้องที่ให้มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงและ รับผิดชอบในกรณีที่มีผู้เสียชีวิตและผู้สูญหายนับร้อยราย และผู้บาดเจ็บพิการนับพันรายจากการที่รัฐบาลสั่ง กระชับ พื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา ตลอดจนการใช้มาตรการที่รุนแรงและละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อไล่ล่าบดขยี้คน เสื้อแดงและการปฏิบัติการทางจิตวิทยาในระดับต่างๆ ของหน่วยงานด้านความมั่นคง ดังนั้นการเข้าร่วมกระบวนการปฏิรูปประเทศไทยเท่ากับเป็นการสนับสนุนให้ รัฐบาลมีความ ชอบธรรมที่จะไม่แสดงความรับผิดต่อการใช้ความรุนแรงและใช้อำนาจรัฐอย่างไร้ ความเป็นธรรม การกระทำดังกล่าวย่อมนับเป็นความอำมหิตแบบหนึ่ง

2.ขณะที่ประชาชนกำลังให้ความสนใจและตั้งคำถามถึงความ เป็นประชาธิปไตยในสังคมไทย แต่ที่มาของคณะกรรมการทั้งสองชุดข้างต้นกลับสวนทางกับหลักการประชาธิปไตยโดย สิ้นเชิง ใช้วิธีการแต่งตั้งจากบนลงล่างมาโดยตลอด นับตั้งแต่ นายกรัฐมนตรี แต่งตั้ง ประธานกรรมการฯ และ ประธานกรรมการฯ แต่งตั้ง คณะกรรมการฯ นอกจากนี้การมีที่มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ที่ได้ชื่อว่า นายกฯ ร้อยศพจากการปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนที่ผ่านมาจึงทำให้คณะกรรมการทั้งสองชุดข้างต้น ไร้เกียรติและศักดิ์ศรีอย่างที่สุด

ท้ายที่ สุดพวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสังคมไทยจะร่วมกันรับรู้และร่วมกันผลักดัน เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ความถูกต้อง ความยุติธรรม และประชาธิปไตยที่แท้จริงเกิดขึ้นในสังคมไทยต่อไป

เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย (คกป.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน