Sat, 2009-07-18 11:52
จำนวน ประชากรของไทยมีประมาณ 66 ล้านคน ขณะที่หมายเลขโทรศัพท์มือถือมีจำนวนกว่า 85 ล้านเลขหมาย โดยร้อยละ 90 เป็นระบบเติมเงิน ไม่มีการจดทะเบียน ขณะที่เจ้าของเบอร์จดทะเบียนมีจำนวนไมน้อยที่ไม่เชื่อมั่นในความถูกต้องของ บิลค่าโทรศัพท์ เจ้าของเบอร์เติมเงินก็เผชิญกับปัญหา “วันหมด-เงินไม่หมด” และผู้ใช้บริการทั้งหมดนี้ต้องรับมือกับโทรศัพท์เสนอขายของบริษัทประกัน ชีวิต สินค้า เอสเอ็มเอสดูดวง เอสเอ็มเอสข่าว โทรไม่ติด โทรหาเบอร์ฉุกเฉินไม่ได้เพราะไม่มีสัญญาณ
และขณะ ที่เบอร์โทรศัพท์มีมากกว่าจำนวนประชากร แต่ในหลายๆ พื้นที่แม้แต่ชานเมืองกรุงเทพฯ หรือใจกลางกรุงเทพฯ เอง ยังเข้าไม่ถึงโทรศัพท์พื้นฐาน ด้วยเหตุผล “อยู่นอกพื้นที่บริการ” หรือ “คู่สายเต็ม”
สิ่ง เหล่านี้ เป็นเรื่องที่คุ้นชินได้ยินกันบ่อยๆ เป็นเรื่องใกล้ชิดกับทุกคนซึ่งต้องการเครื่องมือสื่อสาร แต่เมื่อพูดคำว่า "สิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม" อาจจะเป็นคำที่ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยนักในสังคมไทย “คนที่เข้าใจเรื่องโทรคมนาคมก็ยังไม่เข้าใจเรื่องของสิทธิผู้บริโภค คนที่เข้าใจเรื่องสิทธิผู้บริโภคก็ยังไม่เข้าใจเรื่องกิจการโทรคมนาคม” นพ.
และด้วย เหตุนี้เอง วันที่ 17-20 ก.ค. สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ร่วมกับเว็บไซต์ประชาไท และสยามอินเทเลเจนท์ ยูนิต จัดการอบรมผู้สื่อข่าวพลเมืองในกิจการโทรคมนาคมให้กับผู้สื่อข่าวพลเมืองและ ผู้ประสานงานของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมในพื้นที่ต่าง จังหวัด โดยมีนักข่าวพลเมืองด้านกิจการโทรคมนาคมเข้าร่วมทั้งสิ้น 43 คน
คณา รักษ์ เจริญศิริ เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์สาธารณะ สบท. กล่าวว่า โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวคุ้มครองสิทธิ เกิดจากการที่ สบท. ต้องการพัฒนาศักยภาพให้กับเครือข่ายในด้านการสื่อสารสาธารณะ โดยจะเน้นการติดอาวุธด้านการสื่อสารสาธารณะไม่้ว่าจะเป็นการเขียนข่าว ทำคลิปวิดีโอ หรือถ่ายภาพ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมนำไปใช้สื่อสาร หรือรณรงค์ให้ความรู้เรื่องสิทธิในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมในแต่ละพื้นที่ต่อไป
การอบรม เปิดฉากด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคาดหวังจากผู้เข้าร่วม การอบรมทั้งหมด โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 4
ทองอยู่ พรมชมชา หรือ "พี่ทองอยู่" ผู้สื่อข่าวพลเมืองจากศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นจาก จ.เพชรบูรณ์ บอกเล่าถึงประสบการณ์การทำข่าวกับ "สยามนิวส์" หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัด ที่บางครั้ง พี่ทองอยู่ส่งการรายงานข่าวไปพร้อมภาพประกอบไปแล้ว แต่กองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์อาจจะตัดสินใจไม่ตีพิมพ์เนื้อข่าว แต่ตีพิมพ์เฉพาะภาพข่าวที่ส่งเท่านั้น โดยไม่นำเนื้อข่าวที่เขาเขียนลงไปด้วย การเข้าอบรมครั้งนี้จึงหวังว่าจะสามารถเพิ่มพูนทักษะการเขียนข่าวได้ด้วย
ส่วน "จี๊ด" อภิญญา สอาดบุตร จากศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จ.ประจวบคีรีขันธ์ บอกว่านอกจากการพัฒนาทักษะการรายงานข่าวแล้ว ยังคาดหวังว่าการเข้าร่วมอบรมครั้งนี้ จะเป็นการสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมในพื้นที่ ต่างๆ ด้วย
จากนั้น เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากต่างประเทศโดย อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ก่อตั้งเว็บ ไซต์ blognone.com และ นพ.
อิสริยะ กล่าวถึงกิจการโทรคมนาคมว่า นอกจากโทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต mobile broadband (3G) Gateway และเคเบิลทีวีแล้ว อาจร่วมไปถึงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์บนโครงข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งในอนาคตการ พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ จะเข้ามามีบทบาทในวงการเคเลคอมซึ่งจะช่วยขยายขอบเขตของการสื่อสารให้กว้าง ขวางขึ้น ทั้งนี้ ภาพรวมของปัญหาของเทคโนโลยีใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องสิทธิผู้บริโภคในต่างประเทศ ประกอบด้วย 1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ยก ตัวอย่างปัญหาของเว็บที่ให้บริการในลักษณะ social network ที่ยากจะควบ คุมความเป็นส่วนตัวของบุคคล เช่น รูปหลุดจาก My Space หรือ ในกรณีของ Google street view เทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้มองเห็นภาพในมุมมองเหมือน อยู่บนถนนจริง แต่ภาพเหล่านั้นอาจมีภาพส่วนตัวของบุคคลที่ไม่เหมาะสมกับการเผยแพร่รวมอยู่ ด้วย
2.ใน เรื่องราคา (Pricing) เขายกกรณีของ sms ในอังกฤษที่มีราคาแพงมาก โดย ข้อมูล 1 เมกะไบต์ ราคา
4.กรณีการ ผูกขาด (Monopoly) ยกตัวอย่างของบริษัท AT&T ใน สหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทรายใหญ่รายแรกที่ผูกขาดการให้บริการดทรศัพท์บ้าน และคิดค่าใช้จ่ายสูงมาก สุดท้ายศาลสหรัฐมีคำสั่งให้ AT&T แตก บริษัทย่อยเป็น 7 แห่งเพื่อให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น หรือการผูกขาดของระบบปฎิบัติการ windows จากบริษัท Microsoft ซึ่ง ผู้ใช้คอมพิวเตอร์กว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของโลกใช้ระบบนี้ทำให้เกิดผลกระทบในการแข่งขันทางการตลาด ทำให้ อเมริกา อียู และเกาหลี ห้ามมีการลงโปรแกรมบางตัวในคอมพิวพ์เตอร์ที่วางขายในประเทศนั้นๆ 5.การจำกัดการเข้าถึง (Censorship) ยกตัวอย่างกรณีศาลในบราซิลมีคำสั่งบล็อกเว็บ Youtube เนื่อง จากมีการโพสต์คลิปวิดีโอที่แอบถ่ายนางแบบบราซิลคนหนึ่ง ทำให้คนทั่วไปเข้าไม่ถึงเว็บนี้ซึ่งมีเนื้อหาหลากหลายมากจึงเกิดการรณรงค์ คัดค้านการบล็อกเว็บจนกระทั่งศาลฎีกากลับคำตัดสินให้ยกเลิกการบล็อก ด้วยเหตุว่าถึงอย่างไรก็ไม่สามารถปิดกั้นทางอินเทอร์เน็ตได้เนื่องจากมีการ โพสต์คลิปในเว็บอื่นมากมาย
ด้าน นพ.
จากนั้น องค์กรผู้บริโภคสากลได้พัฒนาขึ้น และมีการพูดคุยและรับรองเรื่อง “สิทธิ ผู้บริโภคสากล” เพิ่มขึ้นเป็น 8 ข้อ ประกอบด้วย 1.สิทธิที่จะเข้าถึงสินค้าและบริการที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน เช่น การเข้าถึงยา อาหาร 2.สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ 3.สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนที่จำเป็นเกี่ยวกับสินค้าหรือ บริการ 4.สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการได้อย่างอิสระ 5.สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม 6.สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและค่าชดเชยความเสียหาย 7.สิทธิที่จะได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริโภค 8.สิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย
ส่วน ประสบการณ์ต่างประเทศ นพ.ประวิทย์ ยกตัวอย่างกรณีการพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคในประเทศออสเตรเลียว่า มีการบริการอย่างทั่วถึง ซึ่งในเรื่องนี้ประเทศไทยยังขาดเพราะบางพื้นที่ไม่มีบริการโทรศัพท์สาธารณะ นั่นแสดงให้เห็นว่าประชาชนไม่สามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคนได้ทุกคน นอกจากนี้ยังมีการให้บริการกับคนบางกลุ่มเป็นกรณีเฉพาะ เช่น คนหูหนวก การโทรศัพท์จะใช้การสื่อสารผ่านตัวกลางที่จะถ่ายทอดข้อความจากตัวอักษรของคน หูหนวกออกไปเป็นข้อความเสียงแก่ผู้รับปลายทาง อีกทั้งขณะนี้มีเทคโนโลยีอย่าง Webcam ที่ช่วยในการสื่อสารได้
บริการ โทรคมนาคมของออสเตรเลียมีบริการทดแทนกรณีที่อุปกรณ์หลักไม่สามารถใช้งานได้ เป็นเวลานาน ยกตัวอย่างโทรศัพท์บ้านเสียจะมีบริการทดแทน มีการกำหนดให้การตลาดและการโฆษณาต้องไม่ทำให้เกิดการเข้าใจผิด มีการป้องกันข้อความอิเล็กทรอนิคที่ไม่ต้องการ เช่น SMS รบกวน จากบริษัทขายสินค้า ซึ่งในส่วนประเทศไทยผลสำรวจจากเอแบคโพล เมื่อกลางปี 51 ระบุว่าคนไทยกว่า 79 เปอร์เซ็นต์ถูก SMS รบกวน โดยที่มากที่สุดคือ SMS โหล ดริงค์โทน/เพลงรอสาย ดูดวง และเล่นเกมชิงโชค
มีการ ป้องกันการขายสินค้าและบริการทางโทรศัพท์ ซึ่งในส่วนนี้เกี่ยวของกับข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากผู้โทรมาขายสินค้าจะทราบข้อมูลส่วนตัว เช่น เบอร์โทร ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น ฯลฯ ของคนที่เป็นเป้าหมาย และนอกจากเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลยังคำนึงถึงเรื่องความเป็นส่วนตัว ในส่วนโทรศัพท์พื้นฐานโทรทางใกล้คิดราคาต่อครั้ง มีการกำหนดให้โทรศัพท์ต้องโทรเข้าหมายเลขฉุกเฉินได้ โดยเฉพาะในกรณีของคนป่วยที่ต้องการการรักษาอย่างเฉียบพลันหากโทรศัพท์ชำรุด จะได้รับการพิจารณาแก้ไขให้ก่อน นอกจากนี้ยังมีเรื่องสิทธิในเรื่องการคงเลขหมายคือการเปลี่ยนระบบใหม่แต่ สามารถใช้เบอร์เดิมได้ มีการกำหนดให้แจ้งข้อมูลบริการที่มีอัตราสูง ดูแลที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม มีมาตรฐานการบริการ และมีจรรยาบรรณผู้ประกอบการ
สำหรับ ประเทศไทยใช้ระบบเติมเงิน ไม่มีการจดทะเบียน อาจเป็นเพราะสามารถเติมเงินทีละนิดได้ และคนหนึ่งใช้หลายเลขหมาย ซึ่งกลายเป็นปัญหาเรื่องการตรวจสอบตัวตน โดยเฉพาะผู้ใช้โทรศัพท์ไปในทางมิชอบ สำหรับในส่วนที่จดทะเบียนปัญหาที่เจอคือ การไม่เชื่อข้อมูลจากใบเรียกเก็บเงิน เนื่องจากมาตรฐานของไทยไม่มีระบบตรวจสอบการรายงานข้อมูลความผิดพลาดของการ บริการที่รายงานโดยผู้ประกอบการ อาจทำให้เกิดการรายงานข้อมูลเท็จได้ ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีการผลักดันให้มีระบบตรวจสอบที่สร้างความน่าเชื่อถือให้ มากขึ้น
การอบรม วันที่ 2 เริ่มด้วยการเสวนา “สื่อหลักVS สื่อทางเลือก” โดย แสงจันทร์ สีดำ จาก ASTV ผู้จัดการ สฤณี อาชวานันทกุล บรรณาธิการ www.onopen.com อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล จาก Open Dream และอรพิณ ยิ่งยงพัฒนา จากเว็บไซต์ www.ilaw.or.th
สฤณีกล่าวว่าสื่อทางเลือกหรือนักข่าวพลเมืองก็ต้องมี จรรยาบรรณ คือความถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน และความเป็นอิสระ “เราอาจจะเลือกข้างก็ได้แต่ก็พยายามดูที่ประเด็นเป็นหลัก และที่มาที่ไป และข้อเท็จจริง แยกแยะว่าอะไรที่เป็นข้อเท็จจริง อะไรคือความเห็น” และนักข่าวพลเมืองต้องเปิดรับความคิดเห็นเพื่อเรียนรู้จากคนอ่านซึ่งสามารถ สะท้อนความคิดเห็นต่อผู้เขียนได้เหมือนกัน ซึ่งเป็นลักษระเด่นของสือทางเลือก หรือสื่อใหม่
“โครง สร้างของนิวมีเดีย ไม่ได้ผูกขาด หรือปิดกั้นความคิดเห็น นักข่าวพลเมืองเป็นคนธรรมดา และมีเสรีภาพกว่านักข่าวกระแสหลัก เช่นเราคิดว่ามันแย่ เราก็พูดได้ ไม่เหมือนนักข่าวกระแสหลัก แต่เราต้องอธิบายให้ได้ว่าทำไมมันถึงแย่ และประเด็นสำคัญของสื่อพลเมืองก็คือการเปิดโอกาสให้คนแสดงความเห็น ให้คนเข้ามาถกเถียงกับเรา หรือชี้ให้เราเห็นว่าข้อมูลเราผิด เราก็สามารถเปิดกว้างได้” สฤณีกล่าว
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุลกล่าวว่า งานข่าวแบบดั้งเดิมเป็นการเน้นผลลัพธ์สุดท้าย เป็นผลิตภัณฑ์ แต่งานข่าวแบบใหม่เป็นข่าวที่เน้นตัวกระบวนการ เช่นการเขียนบล็อกก็มีการสะท้อนกลับ “อาจจะมีคนบอกว่าบนอินเทอร์เน็ตมีแต่ข่าวลือ และสิ่งที่บล็อกเกอร์เขียนไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งการพูดแบบนี้ แสดงทัศนคติที่ไม่ยอมรับการทำงานของสื่อใหม่ บล็อกเกอร์มีข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือน่าจะเป็นข่าวลือ แต่จุดเด่นคือสามารถเติมเต็มข้อมูลได้”
อาทิตย์ ระบุว่า สื่อกระแสหลักอาจะถูกมองว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ แต่ด้วยวิธีการทำข่าวแบบเดิมที่ไม่สามารถนำเสนอทุกประเด็น มีการตรวจตราความเรียบร้อย แต่ขณะเดียวกันการทำงานของกอง บ.ก. ก็เป็นการเลือกว่าจะเสนอประเด็นอะไรและไม่เสนอประเด็นอะไร ดังนั้นแม้สื่อจะเป็นพื้นที่สาธารณะจริงแต่มันก็ถูกกำหนดโดยกอง บ.ก. ในการกำหนดวาระ แต่ว่านักข่าวพลเมืองไม่มีข้อจำกัดในเรื่องความเป็นเจ้าของหรือธุรกิจมันสาม รรถกำหนดวาระของเราเองได้
“เราใน ฐานะพลเมือง เป็นคนในพื้นที่ เป็นคนที่เดือดร้อนในประเด็นนั้นๆ เราอยู่กับปัญหา เราเป็นคนที่เดือดร้อนกับมัน แล้วเราก็พูด นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่ผมคิดว่า เป็นแง่มุมของพลเมืองในนักข่าวพลเมือง”
อาทิตย์ กล่าวต่อไปด้วยว่า สิ่งที่ใหม่ในนิวมีเดีย ไม่ใช่แค่เทคโนโลยี แต่คือความเป็นพลเมือง “เทคโนโลยีมันทำให้เราพูดได้ดังขึ้น นักข่าวพลเมืองจะพูดอาจจะไม่ต่างกับที่เราจะพูดกับญาติพี่น้องเรา แต่อาจจะต้องระวังเพราะว่าคนที่เราจะพูดด้วยไม่ได้ใกล้ชิดหรือรู้จักกับเรา ก็อาจจะต้องปูพื้นหน่อยว่ามันเป็นมาอย่างไร และอาจจะนำเสนอในลักษณะสื่อผสมได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นภาพ การ์ตูน หรืออะไรอื่นๆ”
อรพิณ กล่าวว่าสื่อพลเมืองไม่ได้เป็นเรื่องที่จะมาแทนที่สื่อกระแสหลัก แต่จริงๆ เป็นเรื่องอุดรูรั่วซึ่งกันละกัน เพราะพลังของสื่อหลักก็มีคือเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มาก รวดเร็ว ทันเวลา แต่ถ้าเป็นสื่อพลเมือง ข้อดีคือสามารถสืบค้นข้อมูลได้ง่าย และสิ่งที่สื่อใหม่สร้างวัฒนธรรมการสื่อสารก็คือการตรวจสอบถ่วงดุลข้อมูล ระหว่างผู้อ่านและผู้เขียน นอกจากเป็นฝ่ายส่งข้อมูลแล้วก็เป็นฝ่ายรับข้อมูลด้วย เช่น ทวิตเตอร์ แต่ข้อควรระวังคือต้องไม่ทำตัวเป็นสแปม คืออย่ามองคนอื่นเป็นผู้รับสารแต่ฝ่ายเดียว
ภายหลัง การเสวนา ผู้เข้าร่วมอบรมแยกย้ายกับฝึกหัดเขียนข่าวอีกครั้ง
การอบรม ที่ดำเนินมาถึงวันสองนี้ จะดำเนินต่อเนื่องไปอีก 2 วันซึ่งจะเสริมทักษะด้านเทคนิคให้กับผู้สื่อข่าวพลเมือง รวมถึงทำความรู้จักกับพื้นที่สื่อใหม่ในโลกไซเบอร์ เช่น ทวิตเตอร์ และบล็อก
การอบรม ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นการทำงานของนักข่าวพลเมืองคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ด้านกิจการโทรคมนาคม หลายๆ ประเด็นอาจจะยังเป็นเรื่องใหม่ และเต็มไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกมากมาย ที่ไม่ใช่เพียงแค่การใช้โทรศัพท์มือถือโทรเข้า-ออก หรือเปิดอินเตอร์เน็ตเพื่ออ่านข่าวหรือเช็คอีเมล์ แต่สิ่งเหล่านี้สามารถกลายมาเป็นพื้นที่ใหม่ๆ ในการสื่อสารของนักข่าวพลเมือง ที่ยังต้องเดินทางต่ออีกไกล
"นอกจาก เครือข่ายจะได้อาวุธในการสื่อสารสาธารณะแล้ว ก็คาดหวังให้เขาไปดำเนินการจริง อาทิ สื่อข่าว หรือสื่อสารสาธารณะในพื้นที่จริง ในอนาคตก็อยากจะสร้างเครือข่ายนักข่าวคุ้มครองสิทธิให้เข้มแข็ง เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมมีประสิทธิภาพมากขึ้น" คณารักษ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์สาธารณะกล่าวย้ำจุดมุ่งหมายของการอบรมอีก ครั้ง
ขณะที่ "มะห์" หรือ โสวิภา อินทรสุข นักข่าวพลเมืองจากศูนย์คุ้มครองสิทธิเพื่อผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กลไกภาคตะวันออก/กลาง จาก จ.ระยอง กล่าวว่า ที่ผ่านมามีความพร้อมในการทำสื่อส่วนหนึ่ง คือ ถนัดการพูดเพื่อสื่อสาร แต่ยังเขียน ยังเรียบเรียงไม่คล่อง
มะห์ กล่าวถึงความคาดหวังของเธอจากการร่วมอบรมครั้งนี้ซึ่งจะทำไปเผยถ่ายทอดต่อ ให้กับเพื่อนๆ ในเครือข่ายว่า "เมื่อเขาทำเป็น เขาจะทำเอง และเป็นตัวอย่างให้คนในพื้นที่อื่นๆ ได้”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น