แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปฎิวัติ หรือ การรัฐประหารอย่างไหนสร้างประชาธิปไตยได้ และจริงหรือไม่?

โดย ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ

เหตุการณ์ปราบกบฎบวรเดชเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏในการประทุษร้ายประชาธิปไตยครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย

หลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 สาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจที่เสนอโดยนายปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกกล่าวหาจากผู้เสียประโยชน์ว่าเป็น "คอมมูนิสต์"

และชนวนสำคัญ ที่สุดคือข้อโต้แย้งในเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ใน ระบอบใหม่ เป็นผลนำไปสู่การนำกำลังทหารก่อกบฏโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อันเป็นที่มาของชื่อ "กบฏบวรเดช" โดยในที่สุดฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามคณะกบฏลงได้

ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าคณะกบฏและพระชายาได้หนีไปยังประเทศกัมพูชา

จะ เห็นได้ว่ากลุ่มกษัตริย์นิยมนำโดย พระองค์เจ้าบวรเดช คือตัวแทนกลุ่มที่เห็นความสูญเสียผลประโยชน์อำนาจเดิม ตั้งแต่ที่ท่านปรีดี พนมยงค์ ตัวแทนระบอบประชาธิปไตยเสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจ ซึ่งเสนอแนวทางการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก

อาทิ เรื่องการถือครองและการเช่าที่ดิน การจัดรัฐสวัสดิการ การแทรกแซงเศรษฐกิจโดยรัฐบาลด้วยวิธีการต่าง ๆ ด้วยหวังเปิดโอกาสให้เกษตรกรชาวไร่ชาวนาได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามหลายแนวคิดที่คล้ายกับหลักพื้นฐานเศรษฐกิจในแนวสังคมนิยมใน ประเทศอังกฤษ หรือในเวลาต่อมาที่เรียกว่าทุนนิยมโดยรัฐ และเรื่องดังกล่าวนี้เอง

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง วิจารณ์ข้อเสนอของ ปรีดี พนมยงค์อย่างจริงจัง ขณะที่ฝ่ายคณะราษฎรเองก็แตกแยกทางความคิด กระทั่งนำไปสู่การเปิดอภิปรายวิจารณ์ในรัฐสภา

ในที่สุดฝ่ายที่ไม่ เห็นด้วยต่อแนวทางดังกล่าวจึงเสนอให้ยกเลิกข้อเสนอนั้น เป็นเหตุให้ ปรีดี พนมยงค์ต้องถุกกดดันให้ไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสชั่วคราว ซึ่งทำให้คณะราษฎรหลายท่านโดยเฉพาะฝ่ายทหารประชาธิปไตย ไม่พอใจพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระยามโนปกรณ์นิติธาดา และนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ตัวแทนกลุ่มกษัตริย์นิยม ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476

หลังจากนั้นพระยาพหลพลพยุหเสนาผู้นำนายทหารคณะราษฎรได้เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีการล้างมลทินให้ ปรีดี พนมยงค์

แต่ ในเวลาถัดมาได้ไม่นานกลุ่มกษัตริย์นิยม ได้ตั้งตัวใหม่จากการร่วมมืออย่างเหนียวแน่นของบรรดากลุ่มนายทหารเผด็จการนำ โดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ทำการรัฐประหาร ในปี2500 จากจอมพล ป. พิบูลสงครามและได้ฟื้นฟูแนวคิดราชาชาตินิยมขึ้มมาใช้เป็นยุทธศาสตร์การ ปกครองอย่างเต็มกำลัง

หากจะเข้าใจสภาพสังคมไทยโดยภาพรวมจำเป็นต้อง เข้าใจ ทางด้านเศรษฐกิจต้องย้อนไปดูการปฏิรูปสมบูรณาญาสิทธิ์ในสมัยราชการที่5 ซึ่งได้สร้างรัฐทุนนิยมแห่งแรกในสยามประเทศ(รัฐชาติ)แต่ยังทรงปกครองด้วย ระบอบสมบูรณาณาสิทธิ์ ดังที่ ผาสุก พงษ์ไพจิตร กล่าวไว้ว่า พระองค์ทรงนำประเทศในฐานะพระมหากษัตริย์นักธุรกิจ....

และในที่สุด การปฎิวัติ 2475 ก็ได้สร้างคุณมหาศาลให้กับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเสียใหม่และ ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ทำให้ระบอบกษัตริย์ มิใช่สถาบันอย่างอดีต แต่กลายสภาพเป็นชุมชนทางเศรษฐกิจใหม่ ไปตามกลไกทุนนิยมแต่คงด้วยการรักษาระดับเหนือผู้แข่งขัน

นิตยสาร ฟอร์บส์ได้จัดอับดับให้ในหลวงเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เมื่อปี 2551 แม้ว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ชี้แจงว่า บทความดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากว่า ทรัพย์สินที่บทความนำมาประเมินนั้น ในความเป็นจริง มิใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่เป็นของแผ่นดิน ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับพระมหากษัตริย์ในประเทศอื่น

อย่างไรก็ ตามในปีต่อมาที่ฟอร์บส์ยังจัดอันดับให้ในหลวงทรงเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่ สุดในโลกนั้น ฟอร์บส์อธิบายว่า เนื่องจากในหลวงของไทยทรงมีพระราชอำนาจในการบริหารจัดการสำนักงานทรัพย์สินฯ จึงนับเป็นพระราชทรัพย์

จะว่าไปแล้วก็นับว่าเป็นการดี ที่เกิดความขัดแย้งขึ้นในแง่กระบวนการแนวคิด โดยเฉพาะ ทางเศรษฐกิจเกิดกลุ่ม แนวทางชาตินิยมนำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา หลวงพิบูลสงคราม นายมังกร สามเสน แนวทางเสรีนิยมผสมผสานสังคมนิยม นำโดยปรีดี พนมยงค์ พระยาสุริยานุวัตร หม่อมเจ้าสกลวรรณกร วรวรรณ และแนวทางอนุรักษ์นิยม หรือทุนขุนนางข้าราชการ นำโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา

ในแง่หนึ่งการพัฒนาการแห่ง รัฐก็ได้เริ่มเข้มข้นขึ้น แต่จะเป็นรัฐ ภายใต้อะไร จะเป็นภายใต้ประชาชน หรือ ภายใต้ขุนนางข้าราชการ การแตกตัวของกลุ่มทุนต่างๆเริ่ม พัฒนาอย่างมีระบบ จนนำไปสู่ การสร้าง สมาคม หอการค้า และนี่เองลัทธิเศรษฐกิจแบบผูกขาด ก็ได้ทำให้เกิดการโต้ตอบ แย่งชิงการผูกขาด จากกลุ่มทุนธรรมดา เป็นกลุ่มทุนที่ต้องอาศัย อำนาจข้าราชการคุ้มครองจึงจะปลอดภัยและมั่นคง

อาทิ ในช่วงปี 2491-2495 บริษัททหารสามัคคีเข้าควบคุมกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อย ซึ่งมี พลตรีผิน ชุณหะวัณ เป็นผู้จัดการใหญ่ หรือ อย่างชลประทานซิเมนต์ ก็มี กรรมการคือ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เหมืองแร่บูรพา ก็มีจอมพล ถนอม กิตติขจร

ดังที่ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล กล่าวไว้ว่า ในห้วงยามทางประวัติศาสตร์ที่รัฐข้าราชการแบบใหม่ กำลังได้ก่อรูปขึ้นมานั้น(2448-2490) แนวคิดเรื่องสิทธิทางการเมืองของประชาชนมิได้เกิดควบคู่กันนั้นหมายความว่า พลังการต่อสู้ของชนชั้นล่างไม่อาจเป็นพลังการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะด้วยการปกครองที่ใช้รูปแบบรัฐในประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายที่ ยอมให้การปกครองส่วนบน เป็นแบบอนุรักษ์นิยม แม้จะมีระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมแต่ก็มิใช่ รูปแบบราชการ(เสรีนิยม)สมัยใหม่

ผู้เขียนขออธิบายว่า ระบบราชการไทยเป็นระบบขุนนาง ไม่คำนึงถึงความสามารถ และผูกขาดอำนาจอย่างสูง ถูกแทรกแซงจากกลุ่มอภิสิทธิ์ชน กลุ่มต่างๆ ซึ่งอยู่ใต้ความคิดครอบงำระบบศักดินา ที่เชื่อเรื่อง บุญบารมี มากไปกว่า ความเสมอภาค ความเท่าเทียม

ด้วยเหตุนี้ การขยายอาณาจักร ลัทธิทุนขุนนางอำมาตย์ จึงครอบคลุม การต่อสู้ภาคประชาชน เห็นได้ง่ายสุด สหภาพแรงงานรถไฟ ที่นำเอาแนวคิดอนุรักษ์นิยม + แนวคิดหมูอ้วนแรงงาน มาใช้ในการต่อรอง กับ รัฐบาล

จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ผู้นำรัฐวิสาหกิจไทยจะตกเป็นทาสความคิดกษัตริย์นิยมโดยง่าย แทนที่จะเป็นสาธารณูปโภคเพื่อประชาชน กลับมีท่วงทำนองรับใช้อำมาตย์ กรณีการเข้าร่วมกับกลุ่มพันธมิตร (เสื้อเหลือง) และไม่มีข้อเสนอใดๆเป็นประโยชน์ต่อประชาชน

และแล้วการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ที่มีกลุ่มพันธมิตรฯนั่งหามเสลี่ยงคณะรัฐประหาร แต่ก็เกิดปรากฎการณ์ใหม่ขึ้นในเวทีภาคประชาชน คือสองขาประชาธิปไตย ที่มีการรวมกันระหว่างนักการเมืองหัวก้าวหน้าบางส่วนของพรรคไทยรักไทย กับ ประชาชนยอดหญ้าเครือข่ายผู้รักประชาธิปไตย จึงได้เกิด

กลุ่มงานแนว คิดต่างๆ ไล่เรียงกันมา จนเป็น แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผต็จการแห่งชาติ หรือ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน แต่ในที่สุดความพยายามทวงสิทธิ์อันชอบธรรม พังพินาศสาหัสสากรรจ์ และแล้ว นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ต้องสิ้นสภาพโดยปริยาย

เหตุ หนึ่งเชื่อผู้ใหญ่ในสมาคมไฮโซว่าจะมีตัวช่วย มาถ่วงดุลมิให้แพ้ แต่แล้วความจริง คือความจริง ไม่มีแม้กระทั่งคำขอโทษหรือเสียใจใดๆเลยจากผู้มีอำนาจ รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็คงสภาพเป็นรัฐบาลที่ถูกกฎหมาย แม้จะผ่านเหตุการณ์นองเลือดมาอย่างโชกโชน

หรือว่าเครือข่ายอำมาตย์มีพิษสงร้ายกว่าตัวอำมาตย์เสียอีก.....

ไม่เป็นไรยังมีผู้กล้าเหลืออยู่อีกมากที่แน่จริง ก็เห็นแดงสยามรำไรๆอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน