แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

นัก วิชาการฝรั่งตั้งคำถาม นโยบาย "ลูกเสืออินเตอร์เน็ต" ของรัฐบาลจะสำเร็จแค่ไหน?


Monday, 5 July 2010

ที่มา มติชน


นิโค ลัส ฟาร์เรลลี่ นักวิชาการประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ได้เขียนบทความชื่อ "จาก ลูกเสือชาวบ้านถึงลูกเสือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต" (ฟรอม วิลเลจ สเก๊าท์ส ทู ไซเบอร์ สเก๊าท์ส) ลงในเว็บล็อก "นิวแมนดาลา" (นวมณฑล) ซึ่งมีเนื้อหาโดยสังเขปดังต่อไปนี้

ในช่วงเวลาก่อนการ มาถึงของ "ยุคดิจิตอล" นโยบายทางด้านความมั่นคงแห่งชาติของไทย มักจะมีหน่วยปฏิบัติงานเป็นทหารในกองทัพ, กองกำลังพลเรือน, เจ้าหน้าที่ตำรวจ และองค์การภาคพลเมือง

หนึ่งในองค์กรเหล่านั้น ซึ่งนำไปสู่กรณีถกเถียงกันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ก็คือ "ลูกเสือชาวบ้าน" แม้ว่าวันเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ขององค์กรดังกล่าวจะเป็นเพียงความทรงจำ อันรางเลือน ทว่าลูกเสือชาวบ้านก็ใช่จะปลาสนาการไปจากสังคมไทยเลยเสียทีเดียว

ปัจจุบัน นี้ พวกเขาถือเป็นหน่วยงานอย่างเป็นทางการหน่วยหนึ่งที่ขึ้นตรงกับกองบัญชาการ ตำรวจตระเวนชายแดน และศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้านฯ ก็ยังมีภารกิจในการระดมผู้คนและโฆษณาชวนเชื่อมาอย่างต่อเนื่อง

การ ที่ลูกเสือชาวบ้านยังคงมีความสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยดำรงอยู่ภายในหน่วยงานราชการด้านความมั่นคง จึงส่งผลให้พวกเขาสามารถจะเคลื่อนพลออกมาได้อีกครั้งหนึ่ง

ล่าสุด นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพิ่งเดินทางไปเป็นประธานพิธีเปิดโครงการสร้าง"ลูกเสือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต" (Cyber Scout) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามของรัฐบาลที่จะ "ควบคุมตรวจตรา" สื่อออนไลน์

รายงานข่าวระบุว่า ลูกเสือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจำนวน 200 คน จะประกอบไปด้วย นักเรียนนักศึกษา, ครูอาจารย์, ข้าราชการ และผู้ปฏิบัติงานภาคเอกชน ซึ่งมีความรู้ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต

หน้าที่ของลูกเสือออนไลน์เหล่านี้ย่อมต้อง เป็นการ "เฝ้าสังเกตตรวจตรา" บรรดาเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ ตลอดจนสถาบันสำคัญ ๆ ของสังคม

อย่างไรก็ตาม ฟาร์เรลลี่กลับมองว่านโยบายดังกล่าวเป็นเพียงกลยุทธเพื่อให้มีข่าวคราวของ รัฐบาลปรากฏอยู่ในพื้นที่สื่อ ซึ่งถูกจัดขึ้นพอเป็นพิธีเท่านั้น

เนื่อง จากที่ผ่านมาความพยายามในการควบคุมตรวจตราอินเตอร์เน็ตของรัฐบาลมีทั้งความ สำเร็จและความล้มเหลวผสมผสานกันไป เมื่อ เว็บไซต์ใดถูกบล็อก คนทำก็ไปสร้างเว็บใหม่ในพื้นที่แห่งใหม่ ขณะเดียวกัน บรรดากลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่ติดตามเว็บไซต์เหล่านี้ก็ยังเริ่มตระหนัก รู้ถึงวิธีการในการตอบโต้นโยบายการควบคุมสื่อออนไลน์

เนื้อหาในเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกกลับได้รับ การทำสำเนา นำไปเผยแพร่ซ้ำ ตลอดจนกลายเป็นที่ดึงดูดใจของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น ด้วยสถานะ "ผิดกฎหมาย" ของมัน

นอกจากนี้ วิธีการบล็อก "เว็บ เพจ" เพียงหน้าใดหน้าหนึ่งของ "เว็บไซต์" บางแห่งก็ถูกดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และถูกเยาะเย้ยไปพร้อม ๆ กัน เพราะยิ่งเนื้อหาในเว็บเพจดังกล่าวถูกแบน มันก็จะกลายเป็นประเด็นยอดนิยมที่ได้รับความสนใจจากผู้คนมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการกระตุ้นคนที่เพิกเฉยไม่ใส่ใจเรื่องราวรอบตัว ให้หันมาสนใจเรื่องราวที่กำลังถูก"แบน" อีกด้วย

แม้ การดำเนินนโยบายเช่นนี้ของรัฐบาลจะทำให้คนบางกลุ่มมีความเชื่อมั่นว่า รัฐไทยจะสามารถควบคุมระลอกคลื่นจำนวน มหาศาลอันทรงพลานุภาพแห่งการวิพากษ์, การเสียดสีเหน็บแนม และการเผชิญหน้ากับคำวิจารณ์ต่าง ๆ ซึ่งซ่อนแฝงอยู่นอกเหนือไปจาก "เส้นขอบฟ้า" (ขอบเขตความรู้หรือประสบการณ์ในการทำความเข้าใจโลก) ของสังคมไทยเอาไว้ได้

แต่นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกลับไม่ เชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะบรรลุผลสำเร็จ มิหนำซ้ำ มันยังอาจเป็นตัว การกร่อนเซาะทำลายความน่าเชื่อถือของหลาย ๆ สถาบันสำคัญในสังคมไทยเสียเอง

ฟาร์ เรลลี่ปิดท้ายบทความชิ้นนี้ว่า เป็นที่แน่ชัดว่าการไหลเวียนแพร่หลายของ "เนื้อหา ต้องห้ามผิดกฎหมาย" ทางสื่ออินเตอร์เน็ตยังจะดำเนินต่อไป และอาจมีอัตราในการส่งต่อที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น จึงเป็นที่น่าสงสัยเหลือเกินว่า ถึงที่สุดแล้วรัฐบาลไทยชุดนี้จะต้องการ "ลูกเสืออินเตอร์เน็ต" จำนวนมากมายมหาศาลสักเพียงไหนมารับมือกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น?
แสดงเมื่อ 7/05/2010 04:23:00 AM

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 มกราคม 2555 เวลา 13:36

    555มีลูกเสือดีกว่าไม่มี ประสิทธิภาพของลูกเสือCYBERSCOUT มีพลังมาก ไม่เชื่อค่อยติดตามดูชิ อย่าริเล่นกับ เสือ เพราะเสือมัน "ร้าย"

    ตอบลบ

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน