แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ดูหนัง เกาหลี แล้วย้อนดูตัว‘May 18’ ภาพสะท้อนจากแผ่นฟิล์ม-ภาพสะท้อนจากความจริง

เชิญดูหนังเกาหลีเรื่อง' MAY18' ซึ่งสร้างจากเรื่องจริงที่รัฐบาลเผด็จการชุนดูฮวานปราบปราบประชาชนอย่างนอง เลือด แล้วยัดข้อหาผู้ก่อการร้ายให้ พร้อมทั้งให้สื่อบิดเบือนสารพัด ในหนังจะมีตัวละครทั้งนายทหารแบบเสธ.แดง,พยาบาลแบบน้องเกด,แท็กซี่,พระและคน รากหญ้าที่ลุกขึ้นสู้ จนอาจเผลอไปว่านี่คือเหตุการณ์19พฤษภาอำมหิต53ของไทย เสร็จแล้วฟังเสวนาวิชาการ 16.30น.เป็นต้นไป 6 ก.ค.นี้ ที่ตึก2คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ(ฟรี)

518 : ตัวเลขแห่งความทรงจำของกวางจู

ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ สมาชิกกลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน (CCP) บอกกับผู้สื่อข่าวว่า เหตุผลที่เลือกเรื่อง May 18 มาฉายมาจากความเห็นที่ตรงกันของกลุ่ม เนื่องจากเรื่องนี้กำลังได้รับการกล่าวถึง ความที่เป็นภาพยนตร์เกาหลีจึงน่าจะดึดดูดให้มีผู้คนสนใจมากขึ้น รวมถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ยังสะท้อนความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิด ขึ้นในบ้านเราด้วย

ก่อนการฉาย ภาพยนตร์ พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงภาพยนตร์เรื่องนี้คร่าว ๆ บอกว่าตนมีโอกาสไปร่วมรำลึกครบรอบ 30 ปีเหตุการณ์กวางจูที่ประเทศเกาหลีใต้ในช่วงเดียวกับที่ประเทศไทยมีการปราบ ปรามผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยพอดี จึงคิดว่าเป็นเรื่องน่าเศร้ากับการที่ไปร่วมงานรำลึกในอีกประเทศหนึ่ง แต่กลับได้เห็นภาพการปราบปรามผู้ชุมนุมในอีกประเทศผ่านจอโทรทัศน์

ขบวนการเรียกร้อง ประชาธิปไตยในเมืองกวางจู (Gwangju Democratization Movement) ระบุถึงการลุกฮือของประชาชนในเมืองกวางจูตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. ถึง 27 พ.ค. ปี 2523 ซึ่งบางครั้งเหตุการณ์นี้ประชาชนเกาหลีจะเรียกว่าเหตุการณ์ '518' ซึ่งระบุถึงวันและเดือนที่เกิดเหตุการณ์

พิชญ์ กล่าวว่าประเทศเกาหลีมีเมืองหลวงคือกรุงโซลอยู่ใกล้กับชายแดนทางเหนือทำให้ มีเรื่องให้ต้องทำสงครามบ่อยจึงทำให้รูปแบบของรัฐทหารในเกาหลีเข้มแข็ง ขณะที่เมืองกวางจูเป็นเมืองที่ไม่ได้รับการพัฒนามากเท่าที่ควรในสมัยนั้น

พิชญ์เล่าอีกว่า หลังเหตุการณ์ที่ประชาชนถูกล้อมปราบ อีก 3 ปีถัดมาก็มีการจัดระลึกถึงเหตุการณ์นี้ทุก ๆ ปี มีประชาชนและญาติของผู้เสียชีวิตรวมตัวกันสร้างสุสานอย่างเป็นทางการให้ผู้ เสียชีวิต หลังจากนี้ก็มีคนยอมรับว่าเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมากขึ้น รวมถึงต่อมาก็มีการตั้งรางวัลสิทธิมนุษยชนกวางจู ต้องใช้เวลาเกือบ 20 ปีกว่าที่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นี้จะได้รับความยุติธรรม ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

"ถ้าหากเป็นสังคม ไทยจะจดเรื่องราวความรุนแรงที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้อย่างไร" พิชญ์ตั้งคำถาม

โดยที่ ประธานาธิบดีคิมยังซัม และคิมแดจุง-ผู้ที่ในอดีตเป็นหนึ่งในนักโทษจากเหตุการณ์กวางจู ประกาศนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ถูกตัดสินโทษข้อหาสังหารหมู่เหตุการณ์กวางจูเพื่อ ความสมานฉันท์

"คำว่าสมานฉันท์ใน ประชาธิปไตยแบบเกาหลีคือการที่ฝ่ายเคยถูกกระทำ มีโอกาสได้เอาคืนแต่ก็มีการนิรโทษกรรม ไม่เอาคืน" พิชญ์กล่าว

ภาพสะท้อนจาก แผ่นฟิล์ม-ภาพสะท้อนจากความจริง

ภาพยนตร์เรื่อง May 18 จัดเป็นภาพยนตร์แนวชีวิต (Drama) ที่สะท้อนภาพประวัติศาสตร์ ตัวเอกของเรื่องคือมินวู คนขับแท็กซี่ที่ต้องเลี้ยงดูน้องชายจินวูที่เป็นนักศึกษา

พวกเขาดำเนินชีวิต ประจำวันอย่างสงบสุขกับเพื่อนคนขับแท็กซี่และนางพยาบาลปักชิน-เอ จนกระทั่งในวันที่ 17 พ.ค. ภายใต้รัฐบาลจากการรัฐประหาร นายพลชุนดู-ฮวาน ประกาศกฏอัยการศึกเพื่อปราบปรามการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษา ภาพยนตร์ฉายให้เห็นการนำกองทัพเข้ามาในเมืองกวางจู และที่มาผู้ประท้วงขับไล่ทหารก็ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันฝ่ายรัฐก็สร้างภาพให้ผู้ชุมนุมกลายเป็น "กลุ่มกบฏ"

การใช้ความรุนแรง ของทหารทำให้ประชาชนไม่พอใจและเริ่มจัดตั้งกองกำลังป้องกันตนเองขึ้นมาจำนวน หนึ่ง การต่อสู้ยืดเยื้อไปจนถึงปลายเดือน พ.ค. เมื่อฝ่ายทหารยกทัพใหญ่รวมถึงรถถังเข้าปิดล้อมเมืองไม่ให้ติดต่อสื่อสารหรือ ขนส่งเสบียงกับภายนอก และท้ายที่สุดทหารก็ใช้กำลังเข้าปราบอย่างหนักจนได้รับชัยชนะ



ภาพจาก http://eng.gjcity.net/

หรือที่เขาว่า 'ชีวิตจริงยิ่งกว่าในหนัง' ?

หลังการฉาย ภาพยนตร์มีผู้เข้าร่วมรายหนึ่งที่บอกว่าตนเป็นการ์ดพยาบาลผู้ที่อยู่ใน เหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมในไทยทั้งวันที่ 10 เม.ย. และวันที่ 19 พ.ค. เขาให้ความเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ว่ามีความใกล้เคียงเรื่องจริงที่ เกิดขึ้นในประเทศไทยมากตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้าย

โดยเขาเล่า ประสบการณ์ส่วนตัวให้ฟังว่าตนเห็นคนเสียชีวิตต่อหน้าต่อตา 4-5 ศพ ในวันที่ 10 เม.ย. และไม่มีใครมีอาวุธเลย และในวันที่ 19 พ.ค. หลังจากที่รัฐบาลล้อมปราบโดยอ้างคำสวยหรูว่า "กระชับพื้นที่" ก็มีการปิดล้อมทำให้ส่งเสบียงไม่ได้ เขาเปรียบเทียบจุดนี้กับในภาพยนตร์ May 18 ฉากที่มีคนทำอาหารเลี้ยงกันเอง

"ต่างคนต่างต้อง ช่วยเหลือแบ่งปันอาหารกันในนั้นมีคนทุกภาพส่วนของสังคม ทั้งเด็ก ครูบาอาจารย์ นักกฏหมาย นักการเมือง จากภาคเหนือ ภาคอิสาน ภาคใต้ ทุกคนก็แบ่งกันกินอย่างประหยัด ๆ" การ์ดพยาบาลกล่าวถึงผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ของไทย "คนใต้ก็มานั่งกินส้มตำทั้งที่ไม่น่าจะชอบกินปลาร้า"

การ์ดพยาบาลเล่า เหตุการณ์ 19 พ.ค. ต่ออีกว่า มีเหตุหนึ่งที่เขาเสียใจมากคือมีคน ๆ หนึ่งสวมชุดสีขาว ถือหนังสติ๊กวิ่งเข้าไปทางรางรถไฟ BTS ซึ่งในตอนนั้นมีทหารอยู่บนรางแล้ว ชายผู้นั้นตะโกนว่า "ยิงพวกเราทำไม" แล้วเขาก็ยิงหนังสติ๊กขึ้นไปบนรางรถไฟ BTS ทหารก็ยิงสวนเขามา 2 นัดเสียชีวิต

นอกจากนี้เขายัง เล่าถึงเหตุที่มีศพหาย เล่าถึงการที่หน่วยอาสาพยาบาลและผู้สื่อข่าวต่างประเทศถูกยิง "คิดว่าใส่ชุดพยาบาลแล้วพวกเขาจะไม่ยิง" การ์ดพยาบาลกล่าวถึงกรณีกมลเกดและอัครเดช "พอตอนไปปั้มหัวใจอยู่เขาสาดมา 2 แม็ก ราว 30 นัด ยิงเข้าไปที่เต็นท์พยาบาล"

"มีนักข่าววิ่ง เข้ามาใส่หมวกคำว่า Press ให้เห็นว่าเป็นผู้สื่อข่าวก็โดนยิงที่ขา" ผู้เห็นเหตุการณ์เล่า เขาบอกอีกว่ามีความยากลำบากในการทำหน้าที่ และรู้สึกเสียใจที่ไม่อาจทำหน้าที่ได้เต็มที่เนื่องจากมีทหารคอยยิง อีกทั้งสภาพผู้หลบภัยอยู่ในวัดปทุมก็ต้องอยู่อย่างแออัด อยู่ในความมืด พูดเสียงดังก็ไม่ได้ ทั้งยังมีการยิงแก๊สน้ำตาเข้ามาในวัดด้วย

โดยการ์ดพยาบาลผู้ เป็นพยานทิ้งท้ายไว้ว่าอยากให้ทุกคนจดจำผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ไว้ ว่าอย่างน้อยพวกเขาก็สู้เพื่อเรา "มีประโยคหนึ่งที่กล่าวบนเวทีเสื้อแดงที่ผมชอบมากคือ ' สงครามมันมีวันจบ แต่เพื่อนร่วมรบอยู่ในใจเราตลอดไป' "

การต่อสู้ต้องไม่ลืม มิติด้านประวัติศาสตร์

ขณะเดียวกันผู้ชม อีกท่านหนึ่งที่บอกว่าตนชื่อวันเฉลิม เสนอความเห็นจากการได้ชมภาพยนตร์ว่า อยากให้ภาพยนตร์ชุดนี้เป็นบทเรียนในเรื่องการเรียกร้องประชาธิปไตยที่ต้อง ระวังไม่ให้นำไปสู่เงื่อนไขของการถูกล้อมปราบ และการใช้หัวใจอย่างเดียวไม่พอ

"เนื่องจากการ ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยเป็นกระบวนการที่ยาวนาน" วันเฉลิมกล่าว เขายังบอกอีกว่าการพยายามถ่ายทอดเรื่องการต่อสู้ประชาธิปไตยไปสู่อนาคต เช่นเดียวกับในเกาหลีใต้สามารถประยุกต์ใช้กับไทยได้เสมอ

"นักกิจกรรมทางการ เมืองต้องรู้ว่าการกระตุ้นมวลชนอย่างเดียวไม่เพียงพอ ขณะเดียวกันก็ต้องมีมิติด้านทางประวัติศาสตร์ กระตุ้นทางประวัติศาสตร์ด้วย ให้มีสำนึกร่วมกัน ผนึกตัวเองร่วมกับประวัติศาสตร์" วันเฉลิมกล่าวและเสริมว่าการคำนึงถึงมิติทางประวัติศาสตร์จะช่วยสร้างความคง ทนในกระบวนการประชาธิปไตย

มีความเห็นหนึ่ง กล่าวถึงภาพยนตร์ว่า ฉากที่มีการกอดลูกกอดเมียในภาพยนตร์ก็สะท้อนถึงชีวิตจริง ทำให้ตนนึกถึงตอนที่บอกกับครอบครัวก่อนไปในที่ชุมนุม "แน่นอนว่าเราต้องอย่าลืมเพื่อนร่วมรบ แต่อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือไม่ลืมว่าใครสั่งฆ่าเรา"

อีกความเห็นหนึ่ง บอกว่าพวกเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นเครื่องมือของนักการเมือง ซึ่งไม่อยากให้ประเด็นนี้มาบั่นทอนการต่อสู้ของประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มักจะมีคนตั้งคำถามว่าผู้ชุมนุมไปด้วยใจหรือเปล่า หรือใครจ้างวานหลอกลวงมา "คำพูดเหล่านี้มักจะมาจากคำพูดของคนที่ไม่ได้ไปร่วมชุมนุมเสื้อแดง ซึ่งดิฉันปฏิเสธ"

ทางออกของความ ยุติธรรมและความคับแค้น

ความเห็นในห้อง ประชุมอีกรายหนึ่งมองว่าการนิรโทษกรรมคนที่สั่งปราบปรามประชาชนเป็นเรื่อง ไม่ยุติธรรมต่อผู้เสียชีวิต และอยากให้ถามคนเสื้อแดงทั่วประเทศก่อนหากจะมีการนิรโทษกรรมผู้เกี่ยวข้อง กับเหตุการณ์ "อย่าลืมว่าอภิสิทธิ์ไม่เคยพูด 'ขอโทษ' เลย มีแต่พูดคำว่า 'เสียใจ' ที่ใคร ๆ ก็พูดได้"

ซึ่งตรงจุดนี้ พิชญ์ให้ความเห็นว่า ความยุติธรรมมี 2 ระดับ คือในระดับตาต่อตา ฟันต่อฟัน คือคุณทำเราคุณต้องถูกลงโทษ ขณะที่ในอีกระดับหนึ่งคือแบบ Transformative ซึ่งไปไกลกว่าระดับตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งเป็นการให้อภัย-แต่ก็จำไม่ลืม ซึ่งคนในสังคมเกาหลีมีการให้อภัยแต่ก็มีการจดจำ เขาเปลี่ยนเมืองให้เป็นเมืองประชาธิปไตย เป็นเมืองที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ มีการระลึกถึงและให้รางวัลกวางจูกับคนทั่วเอเชียซึ่งเรียกร้องในเรื่อง ประชาธิปไตย

"เขามองว่าจะช่วย เหลือคนทั่วเอเชียอย่างไรต่อ ไม่ให้ซ้ำบทเรียนของเขา" พิชญ์กล่าว "คือในความยุติธรรมในระดับที่คนผิดถูกตัดสินตามกระบวนการยุติธรรมแล้ว เขาก็แปลงตรงนี้ให้กลายเป็นพลังด้านบวกต่อไป"

แต่พิชญ์ก็กล่าว ว่ากรณีของเกาหลีต่างจากการ 'ปรองดอง' ของไทยที่ให้คนถูกกระทำเป็นฝ่ายให้อภัย


"ถึงมันจะเป็น แค่หนัง แต่มันก็เป็นส่วนหนึ่งของความจริง"

ผู้เข้าร่วมอีกราย หนึ่งซึ่งอยู่ในเหตุการณ์การปราบปรามผู้ชุมนุมในไทยตอน 10 เม.ย. เล่าให้ฟังว่าเขาไปนั่งอยู่ที่พื้นขณะที่ทหารเอากำลังบุกเข้ามา จนกระทั่งมีเด็กหนุ่มคนหนึ่งเข้ามาหาถามว่า "แม่ทำไมไปนั่งตรงนั้น " ซึ่งเขาเป็นทหารจากราบฯ 11 เขาบอกเขาทนไม่ได้ถึงมาช่วย แล้วตอนนี้เขาก็ต้องหนีอยู่ "เขาบอกว่า 'ขนาดแม่เป็นผู้หญิงแม่ยังสู้เลย แล้วผมเป็นใคร' "

นอกจากนี้ยังเล่า ถึงช่วงที่ต้องหลบภัยอยู่ในวัดปทุมฯ ว่าต้องทานอาหารอย่างยากลำบาก อาหารมีเพียงข้าวต้มหรืออย่างดีหน่อยก็มีไข่ เวลาตอนกลางคืนมีใครส่องไฟมาก็ต้องเอาผ้าปิดไว้ไม่ให้เขาเห็น

ผู้เข้าร่วมอีกราย ยังคงมีผ้าปิดตาข้างหนึ่งในขณะที่ร่วมงาน เขาบอกว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่สี่แยกคอกวัวจนต้อง ผ่าตัดดวงตา "ถ้าถามว่าผมเสียดวงตาข้างนึกแลกกับประชาธิปไตยได้ไหม ผมบอกว่าผมไม่เสียใจ"

"ตัวผมอาจจะมาจาก บ้านนอกมักจะมีคนหาว่าผมความรู้ต่ำ แต่ถึงผมจะจบ ป.4 แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้มาเดินเคียงบ่าเคียงไหล่พี่น้องเสื้อแดงทุกท่าน" เขาบอกอีกว่าอยากให้นิสิตนักศึกษาและคนรุ่นใหม่ช่วยกันสานต่อการต่อสู้ และคิดว่าแม้อีก 20 ปีข้างหน้าพวกเขาถึงจะได้รับความยุติธรรม แต่ก็ยังไม่สายเกินไป

"ถึงมันจะเป็นแค่ หนัง แต่มันก็เป็นส่วนหนึ่งของความจริง" ชายผู้มีผ้าปิดตากล่าว

ข้อมูลบางส่วน จาก
http://www.facebook.com/event.php?eid=133544099999235



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน