แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครป.ตั้งกรรมการชุดใหม่ "สุริยันต์ ทองหนูเอียด" เป็นเลขาธิการ

Sun, 2010-07-11 22:45

"คณะกรรมการรณรงค์เพื่อ ประชาธิปไตย" แถลงวิกฤตการเมืองเกิดจากการใช้อำนาจของนักการเมืองและกลไกราชการที่ไม่สนอง ต่อประโยชน์ประเทศ - ประชาชน ชี้ถ้ามีปฏิรูป - การเข้าสู่อำนาจของนักการเมืองต้องออกแบบใหม่ การจะแก้ รธน.50 ต้องเริ่มจากความริเริ่มของประชาชน พร้อมเปิดตัวคณะกรรมการ ครป. ชุดใหม่ มี "ศิริชัย - สาวิทย์ - นิติรัตน์ - หงา คาราวาน" ร่วมนั่งที่ปรึกษา

ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงานวันนี้ (11 ก.ค.) ว่า คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้ออกแถลงการณ์ เรื่องท่าทีและบทบาท ครป.ต่อสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน โดยมีใจความระบุว่า ตามที่คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้จัดให้มีการประชุมสมัชชาคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ขึ้นในระหว่างวันที่ 10 – 11 กรกฎาคม 2553 ณ ห้องประชุมสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กรุงเทพมหานคร เพื่อกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์แผนงานและสมัชชาคณะกรรมการชุดใหม่นั้น ครป. แถลงผลการประชุมสมัชชาดังต่อไปนี้

1. ท่าทีและบทบาทต่อสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ดังนี้
1.1 กรณีปัญหาวิกฤตทางการเมือง อันเกิดจากการใช้อำนาจรัฐของนักการเมืองและกลไกราชการที่ไม่สนองต่อประโยชน์ ของประเทศ ประชาชน เราเห็นว่ามีความจำเป็นปฏิรูปการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของนักการเมืองและข้า ราชการอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลไกองค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่น ของนักการเมืองและข้าราชการ ซึ่งการทำงานที่ผ่านมาถือว่าล้มเหลวเกือบสิ้นเชิงจะต้องทบทวนเพื่อปฏิรูป กลไกใหม่ ให้ภาคประชาชนการเข้าถึงเครื่องมือในการตรวจสอบและใช้งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
1.2 เราเห็นว่าเพื่อให้เกิดการปฏิรูปการเมืองใหม่ สร้างกลไกประชาธิปไตยที่สามารถแก้ปัญหาวิกฤติประเทศที่เป็นอยู่ได้ จำเป็นต้องออกแบบการเข้าสู่อำนาจของนักการเมืองใหม่ ทั้งการปรับปรุงกฎหมายเลือกตั้งและพรรคการเมืองที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของ ประเทศ ปฏิรูปสถาบันบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการอย่างรอบด้าน รวมทั้งสร้างสถาบันทางเมืองของประชาชนที่ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าสู่อำนาจทาง การเมืองมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หากต้องมีแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เพื่อให้สอดคล้องการปฏิรูปการเมืองจะต้องเริ่มต้นจากริเริ่มของภาคประชาชน ด้วยการสรุปบทเรียนการใช้รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมา ทั้งกระบวนการยกร่างและการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ

1.3 เราเห็นว่า การปฏิรูปประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางโครงสร้าง ความยากจนของประชาชนที่ยากไร้เพราะเข้าไม่ถึงสิทธิและโอกาสสังคม จะต้องเชื่อมโยงถึงการใช้อำนาจของนักการเมือง ข้าราชการ กลุ่มทุนทั้งภายในและทุนข้ามชาติ และระเบียบกฎหมายที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมที่ เกิดขึ้น อันเป็นต้นตอสาเหตุของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและความยากจนของประชาชน อันเป็นวิกฤติของแผ่นดิน
2. ผลจากการประชุมสมัชชา ครป. ภายใต้ความซับซ้อนของสถานการณ์ทางการเมือง และความขัดแย้งทางความคิดของประชาชนในสถานการณ์ปัจจุบัน ครป.จึงขอเสนอ “ยุทธศาสตร์ปฏิรูปประเทศอย่างรอบด้านกับการรณรงค์ประชาธิปไตยภาคประชาชน” เพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานของประเทศอันเกิดจากการกระทำของนักการเมืองที่สร้าง ปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนส่งเสริมการสร้างเครือข่ายประชาชนให้มีความ เข้มแข็ง สร้างประชาธิปไตยที่เป็นธรรมและยั่งยืน อันจะนำไปสู่การปกป้องประโยชน์ของประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์นี้

2.1 ลดอำนาจรัฐ ตรวจสอบ ถ่วงดุลและต่อสู้
2.1.1 ติดตามและตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล และการทำหน้าที่นิติบัญญัติของนักการเมืองการปฏิบัติหน้าที่ของราชการ ทุกระดับและการทำงานของกระบวนยุติธรรมและองค์กรอิสระ
2.1.2 รณรงค์ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายและนโยบายให้สอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศ ร่วมทั้งริเริ่มการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยการรับฟังความเห็นจากทุกส่วนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
2.1.3 สร้างกลไก การตรวจสอบ ถ่วงดุลและองค์กรต่อสู้การเมืองภาคประชาชน เพื่อลดทอนอำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรมทั้งปวง
2.2 เพิ่มอำนาจประชาชน
2.2.1 ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าสู่การใช้อำนาจรัฐอย่างทั่วถึงตั้งแต่ท้องถิ่น จนถึงส่วนกลาง
2.2.2 ผลักดันให้มีการแก้ปัญหาความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชน ทั้งปัญหาเฉพาะและนโยบาย
2.2.3 สร้างเข้มแข็งให้กับองค์กรประชาชน ให้สามารถพึ่งตนเองและมีอำนาจในการจัดการตนเองได้อย่างแท้จริง ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและวัฒนธรรม
2.2.4 ส่งเสริมการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้ถึงประชาชนอย่างแท้จริง

โดยผลการประชุมสมัชชาได้คณะกรรม ครป.ชุดใหม่โดยมีรายชื่อต่อไปนี้

ที่ปรึกษา 1.อาจารย์สุธี ประศาสน์เศรษฐ 2.นายสุริชัย หวันแก้ว 3.นายชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ 4.นายศิริชัย ไม้งาม 5.นายสาวิทย์ แก้วหวาน 6.นายสุรชัย จันทิมาธร 7.นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ 8.นายประยงค์ ดอกลำใย 9.นายทวีป กาญจนวงศ์ 10. นายนุภาพ สวันตรัจฉ์ 11.อาจารย์เฉลิมพล แซมเพชร 12.นายสันติ คุณพิสิฐวงศ์
กรรมการบริหาร 1.อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ ประธาน 2.อาจารย์พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธาน 3.นายประวัติ บุญนาค รองประธาน 4.นายบำรุง คะโยธา รองประธาน 5.นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด เลขาธิการ 6.นางสาวอารีวรรณ จตุทอง รองเลขาธิการ 7.นายเมธา มาสขาว กรรมการ 8.นายเนรมิตร จิตรรักษา กรรมการ 9.นายสมควร พรหมทอง ผู้อำนวยการ 10.นางสาวอ้อมใจ หนูแดง เหรัญญิก

กรรมการภาคเหนือ 1.นายสุมิตรชัย หัตถสาร 2.นายจรัส ไหมยศ 3.นายสาคร สงมา 4.นายสมเกียรติ ใจงาม 5.นายสุริยา บุญโชติ 6.อาจารย์พิมานา ธิฉลาด 7.อาจารย์สุมิตร วอพะพอ 8.นายพอพันธ์ จินันทุยา 9.นายประสิทธิพร กาฬอ่อนศรี 10.นายศุภพล จริงจิตร 11.นายสุพล พูลพิพัฒน์

กรรมการภาคอีสาน 1.นายปราโมทย์ ผลภิญโญ 2.นายจักรพงศ์ ธนวรพงษ์ 3.ดร.ธีรพล เพ็งจันทร์ กรรมการภาคใต้ 1.ดร.ณัฐ พงษ์ จิตนิรัตน์ 2.นายธนู แนบเนียร 3.นายกิตติชัย ใสสะอาด กรรมการ ภาคกลาง ได้แก่ 1.นายประยุทธ วีระกิตติ 2.นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ 3.นายชัยวัฒน์ ตรีวิทยา กรรมการภาคตะวันออก-ตะวันตก ได้แก่ 1.นายสุทธิ อัชฌาศัย 2.นายวิชาญ อุ่นอก 3.นายอัมรินทร์ ยี่เฮง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน