แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เปิด ใจ "แดงอีสาน"


ภาพทิวธงแดงที่เห็นได้ทั่วไปในจว.ภาคอีสาน

.คำปัน
.

เป็น ข้อเขียน ในกรุงเทพธุรกิจ...จุดประกายซีรีส์ "เลาะรั้วเสื้อแดง"
มี 3 ตอน + 1 บท
คัดลอกบางส่วนมา ให้อ่านกันทีละตอนครับ
"
การ ที่ผลักประชาชนออกไปตรงนั้นได้มันก็ต้องเป็นอะไรที่สุดๆ แล้วนะ ไม่อย่างนั้นเขาไม่ออกไปหรอก"


"
สายลับหรือเปล่า?" คำถามทำนองนี้มักมีมาฝาก "คนแปลกหน้า" ที่โฉบผ่านมายังพื้นที่สีแดงแถบที่ราบสูง...เสมอ

ฟังดู อาจจะเป็นตลกร้าย แต่มันกลับสะท้อนถึงความรู้สึกข้างในที่ทั้งไม่ปลอดภัยและหวาดระแวง แม้พี่น้องเพื่อนฝูงที่ไปต่อสู้เรียกร้องถึงเมืองกรุง จะกลับมาแล้วก็ตาม

"
ข่าว ลือ" หรือ "เรื่องจริง"
"
มาจากกรุงเทพเหรอ?"


ไม่ทันฟังคำตอบ เจ้าของคำถามก็หันกลับไปบรรเลงเครื่องปรุงตามออเดอร์อย่างคล่องแคล่ว ร้านเล็กๆ ริมข้างทางของ กี (สงวนชื่อจริง) ถึงจะตั้งอยู่เป็นร้านสุดท้ายของหมู่บ้าน แต่ก็มีลูกค้าแวะเวียนมาสั่งอยู่ไม่ขาด เธอ และเชน (สงวนชื่อจริง) สามีมาทำร้านส้มตำอยู่ที่บ้านโคกสี อ.เมือง จ.ขอนแก่น มาเกือบๆ 2 ปีแล้ว

"
ถาม ไปทำไมล่ะ?" รอยยิ้มของกีผุดขึ้นที่มุมปากเมื่อถูกถามถึง "สีเสื้อ" ที่เลือกใส่

หลังสงวนท่าทีฟังคำอธิบายจากคนถาม เธอจึงให้คำตอบแบบภาพรวมว่า แถบอีสานนี้เชื่อขนมกินได้ว่า "แดง" ทั้งบาง

"
คน ที่นี่ร้อยคนจะมีสักคนที่ไม่ใช่" เชนเปรียบเทียบให้เห็นภาพ

เขายอม รับว่า ความกินดีอยู่ดีเมื่อครั้งรัฐบาลทักษิณ คือความประทับใจที่ทำให้คนส่วนใหญ่ทางนี้ "เลือกข้าง" เมื่อเปรียบเทียบกับภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงอย่างเห็นได้ชัดในวันนี้

"
เมื่อ ก่อนราคาวัวขายได้เป็นแสนเลยนะ แต่เดี๋ยวนี้แค่สามหมื่นยังไม่รู้เลยว่าจะมีคนเอาหรือเปล่า" เชนยกบางตัวอย่างขึ้นมาอธิบาย ซึ่งตัวเขายืนยันว่าช่องทางทำกินอื่นๆ ก็ครือกัน

"
ตอบพอดีๆ พูดเยอะไปแล้ว" เสียง "แตะเบรก" จากกี และลูกค้าขาประจำของเธอดังขึ้น เตือนให้รู้ว่าคนที่เขาคุยอยู่ด้วยนั้น "แปลกหน้า"ความคิด มุมมอง กระทั่งทัศนะทางการเมืองดูจะเป็นเรื่อง "ต้องห้าม" สำหรับคนต่างถิ่น ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะมีเสียงเล่าลือถึง "สายลับ" ที่ทั้ง "ฝ่ายราชการ" และ "เสื้อสีตรงข้าม" ส่งมา "ล้วงความลับ" กระทั่งสร้าง "ความปั่นป่วน" ในชุมชนก็เคย

"
เขาลือกันเยอะว่ามีสาย จากทหารเข้ามาหาข้อมูลจับคนที่เคยไปชุมนุม แล้วก็มีฝ่ายตรงข้ามที่เข้ามาปล่อยข่าว หมู่บ้านอื่นเขาเคยมีคนมาเอาข้อมูลไปออกข่าวช่องนั้นไง แล้วก็อะไรอีกสารพัด" เธออธิบาย

เหมือนที่ ไพรรัตน์ โพธิ์เศษ เจ้าของร้านซ่อมมอเตอร์ไซด์ในหมู่ 2 บ้านโคกสี และณี (สงวนชื่อจริง) ภรรยาของเขา เลือกจะส่งรอยยิ้มให้แทนการออกความเห็น หรือไม่ก็ยืนกรานว่า "ไม่รู้เรื่อง ไม่เกี่ยว ไม่เข้าใจ"

สถานการณ์ที่ยังไม่ถือว่า "นิ่ง" หลังคนเสื้อแดงแยกย้ายกลับบ้าน และยังมีข่าวคราวการเคลื่อนไหวแบบ "ใต้ดิน" แว่วมาให้ได้ยินอยู่สม่ำเสมอ ยิ่งทำให้ คำบอกเล่า เข้าเค้าความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ"คนแปลกหน้า" จึงเป็น "ผู้ต้องสงสัย" ทำให้การพูดคุยถูก "รักษาระยะ" ยิ่งเมื่อเข้าประเด็น "การเมือง" คำตอบ รวมทั้งความเห็นโดยทั่วไป หรือถ้าเป็นไปได้ ก็พยายามบ่ายเบี่ยงมากกว่าที่จะตอบ

"
จะเป็นนักข่าวจริงหรือเปล่าก็ ยังไม่รู้หรอก ถ้าข้อมูลเอาไปทำอย่างอื่นพวกเราก็เสียหาย" กีเปรยขึ้นด้วยรอยยิ้มตามภาษาคนค้าขาย หลังจากมองดู "หลักฐาน" ยืนยันตัวตน ของคนที่กำลังโยนคำถามมากมายใส่เธอ และคำพูดเหล่านั้นแสดงให้เห็นว่า "การ์ด" ของแม่ค้าส้มตำรายนี้ "ยังไม่ตก"


เปิดใจ "แดงอีสาน"

หาก มองย้อนกลับไปถึงเหตุผลในการ "เลือกข้าง" ของชาวบ้านในต่างจังหวัดภาคอีสาน กระทั่งถูกขนานนามว่าเป็น "ฐานที่มั่นเสื้อแดง" นั้น ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องปากท้องที่พวกเขาวัดความรู้สึกจากตัวเองได้เมื่อมีการ เปลี่ยนจากรัฐบาลหนึ่งไปเป็นอีกรัฐบาลหนึ่ง

ราคาผลผลิตที่งดงามเมื่อ วันวานถูกตัดทอนลงจนรายได้หักลบแทบไม่พอรายรับที่ เชนพูดถึงจะกลายเป็นภาพที่จับต้องได้ในความรู้สึกของคนอีสานโดยรวมก็ตาม แต่ผลข้างเคียงจากมาตรการที่รัฐสั่งปิดเคเบิลทีวี และสถานีวิทยุชุมชนเสื้อแดงนั้น ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่ารัฐอยุติธรรม

สิ่ง ที่กระตุกความคิดของทั้งคู่เริ่มให้เริ่มรู้สึกว่าถูกปิดหูปิดตาจาก รัฐบาล ก็คือ การหายไปของเคเบิลทีวี หรือกระทั่งคลื่นวิทยุท้องถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นคนพูด "ภาษาเดียวกัน"

"
ข่าววันนี้ดูเถอะ ไม่มีความเป็นกลาง ส่วนหนึ่งมันก็อาจจะเป็นอคติส่วนตัวของเราด้วย ตรงนี้เราก็ยอมรับ แต่วันนี้มีการสื่อสารด้านเดียว บางครั้งเราก็ทำใจให้เป็นกลาง ก็พอจะฟังได้นะ ข่าวที่ออกมาข้างเดียว ขณะที่เราอยากรู้ความเห็นจากอีกด้านด้วยก็ไม่มีให้ดู" เขาให้เหตุผลธนพงษ์ กองไตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านโคกสี เปิดเผยถึงพฤติกรรมการรับสื่อของชาวบ้านทั่วไปว่า คนที่ชอบเสื้อแดงที่มีอยู่กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่นั้นฟังวิทยุชุมชน และดูเคเบิลทีวีเป็นหลัก

"
การปิดสื่อส่งผลมาก เพราะคล้ายๆ รัฐพยายามปิดข่าว คนจะไม่ค่อยทราบเรื่อง ก็ยิ่งเชื่อ ยิ่งเชียร์เสื้อแดงมากขึ้น"
ความนิยมชมชอบอย่างไม่มีข้อสงสัยเหล่านี้ ถูกแสดงออกมาอย่างชัดเจนจนมีเรื่องเล่าทำนองว่า หากเข้ามาออกอาการ "ต่างสี" ในพื้นที่จะต้อง "โดนดี" ทุกรายไป กีเล่าเรื่องแม่ค้าร้านส้มตำรายหนึ่งใน อ.เขาสวนกวางไปแสดงอาการไม่ "สบอารมณ์" เรื่องการชุมนุมของเสื้อแดงที่กรุงเทพฯ อย่างออกนอกหน้า เธอจึงถูกบรรดาลูกค้า (เสื้อแดง) "ล้มโต๊ะ" ด้วยความไม่พอใจ

"
ความ ชื่นชอบส่วนตัว ทำให้เสื้อแดงรับสื่อเฉพาะทาง คือเคเบิลทีวี และวิทยุของเขาเอง ยิ่งเป็นทีวีสาธารณะที่นำเสนอข้อมูลคนละทาง เขาจะไม่เชื่อ"

ความรักและศรัทธาในตัว "ผู้แทน" ที่ตัวเองลงคะแนนสนับสนุนนั้นจึงกลายการต่อต้านการ "รัฐประหาร" เมื่อ 4 ปีก่อนอย่างชัดเจน และจากคติความเชื่อดังกล่าวจึงทำให้วิธีการตอบโต้ของเหล่า "แดงแนวหลัง" กับสื่อของรัฐจะคล้ายๆ กันทั่วภูมิภาคก็คือ "ถ้าไม่ได้ดู ก็ไม่เชื่อ"

"
เขา ปิดเรา เราก็ปิดเขา" ณีอธิบายสั้นๆ ถึงการ "เอาคืน" สื่อรัฐที่พวกเขามองว่าไม่เป็นธรรม และไม่เป็นกลาง ซึ่งไม่ต่างกันกับกีและเชนที่มองว่าวิทยุชุมชนให้ความจริงกับพวกเขา มากกว่า"ตั้งแต่มีวิทยุชุมชนยิ่งทำให้ความสนใจของชาวบ้านในเรื่องข่าวสาร บ้านเมือง ขยายวงกว้างอย่างมาก พอเขามาปิดทีวี ปิดวิทยุ มันก็เท่ากับปิดหูปิดตาประชาชน เรื่องนี้เรายอมไม่ได้ [color]การที่คนออกไปแสดงออกนั่นเขาก็ไม่ได้ทำเพื่อเขาเองหรอก เขาทำเพื่อลูกหลานเขา ทำเพื่ออนาคต ไม่ได้หวังจะได้เงินได้ทองกลับมาหรอก วันนี้เขาทำอย่างนี้กับเราได้ แล้วอนาคตล่ะ ลูกหลานชาวบ้านจะไม่ถูกกดขี่เหรอ" เชนสะท้อนมุมมอง


เสื้อ แดง (ไม่มีทาง)แสลงใจ

เสียงฟ้า และเม็ดฝนที่พรั่งพรูลงมาเป็นระยะนั้นได้เปลี่ยนภาพของอีสานที่แห้งแล้งให้ ดูชุ่มชื่นขึ้นทันตา และยังช่วยคลายความร้อนของอากาศไปได้บ้าง แต่อุณหภูมิในจิตใจของเหล่า "เสื้อแดง" ไม่ว่าจะ "ทัพหน้า" หรือ "แนวหลัง" ที่กรุ่นอยู่ ยังไม่มีใครรู้ว่าจะเย็นลงได้อย่างไร"พูดไปก็เท่านั้น เหนื่อย พูดไปมันก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา" ไพรรัตน์ตัดพ้อถึงรัฐบาลในวันนี้

เหมือน กับเสื้อแดงอีกหลายๆ คนที่มองเห็นถึงความไม่ยุติธรรมในการเข้าสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ทั้งไพรรัตน์ และเชนต่างก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า [color]สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นล้วน "เกินกว่าเหตุ" และ "สองมาตรฐาน" [/color]

"
เรื่อง อาวุธ มันเป็นการใส่ร้ายเพื่อสร้างสถานการณ์ปราบผู้ชุมนุม มันต้องมีเครือข่าย มีองค์กรชัดเจน ไม่ใช่แบบนี้ คนในนั้นก็มีแต่มือเปล่า [color]ถ้าผู้ชุมนุมใช้อาวุธจริงๆ ทหารยิงเข้ามา เขาก็ยิงสวนแล้ว"[/color] ช่างซ่อมมอเตอร์ไซด์เปิดประเด็น

ย้อนกลับไปตั้งแต่เริ่ม พวกเขาไม่มีใครคิดว่าเรื่องทั้งหมดจะลงเอยแบบนี้ แม้การเคลื่อนไหวจะเป็นการเรียกร้องเพื่อให้ทักษิณกลับมา


"เลาะรั้วเสื้อแดง" ตอน 2 จับเข่าคุยกับดีเจคลื่นวิทยุคนเสื้อแดงขอนแก่น แม้ไม่ใช่แกนนำ แต่ทัพแดงก็ขาดขุนศึกภูธรอย่างเขาไม่ได้คลื่นนี้สีเดียว (สีแดง)

ถ้า "แกนนำ" เปรียบได้กับศูนย์บัญชาการ เหล่า "ผู้ดำเนินรายการวิทยุชุมชน" ก็ไม่ต่างจาก "ขุนศึก" ที่คอยยึดโยงมวลชนให้รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน


"
เพราะเรากับชาวบ้านพูดภาษา เดียวกัน" สวัสดิ์ อุดม หรือ ดีเจสวัสดิ์ชัย จากสถานีวิทยุคนเสื้อแดง 98.75 จ.ขอนแก่น บอกถึงประสิทธิภาพของคลื่น ท้องถิ่น ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ข้าราชการไปจนถึงชาวไร่ชาวนา

สาเหตุสำคัญ จนทำให้พนักงานบริษัทอย่างเขากระโดดเข้ามานั่งจ้อบนหน้าปัดวิทยุก็คือ สีเสื้อ และแนวคิดที่ "แดง" อย่างชัดเจน เขาจัดรายการประจำทุกวัน 5.00 - 6.30 น. เป็นดีเจร่วมช่วง 8.00 - 9.00 น. ก่อนจะไปรับหน้าที่ควบคุมการออกอากาศตั้งแต่เวลา 18.00 - 24.00 น.


รายการ วิทยุของคุณฮิตไหม

แรกๆ ก็ไม่รู้ว่าฮิตหรือเปล่า คนโทรมาสายแทบไหม้เลยนะ (ยิ้ม) เฉพาะช่วงที่ผมจัดถ้ารับหมดนะ ก็ 50 สาย มันคล้ายๆ ว่าเขาขาดไม่ได้น่ะ วันหนึ่งเนี่ย พี่น้องเขาสนใจ ไม่ถึงว่าฮิตนะ แต่เขาจะต้องฟัง เพราะเรามันไม่เหมือนเขาไง ที่จัดเป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ ยิ่งตอนนี้ เรื่องการเมืองถือเป็นเรื่องอันดับหนึ่งเลยที่คนจะมาพูดกันการขับเคลื่อนทาง ภาคประชาสังคมในแง่การเมืองของภาคอีสานมีมากน้อยแค่ไหน

ภาคอีสานนี่ วิทยุการเมืองถือว่า พี่น้องให้ความสนใจ เพราะว่าสื่อทางการเมือง... คือ รัฐบาลเขาเสนอตามเรื่องของเขา ข้อมูลที่ลงมาสู่พี่น้อง เขาดูแล้วว่ามันไม่จริง มันไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของเขา เพราะว่าเขายังมีความรู้สึกว่า การเมืองของภาครัฐมันมีความเลื่อมล้ำ มีความไม่เป็นธรรมอยู่ แต่ว่า พี่น้องเขาก็ไม่รู้ว่าจะไปรับสื่อแบบไหนให้มันเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเขา และเขาต้องการประชาธิปไตย เพราะเดี๋ยวนี้เราต้องยอมรับว่าประชาชนเขามีความเข้มแข็งทางการเมืองแล้ว ในหมู่บ้านหรือชุมชน ก็มีการต่อยอดไปในหลายๆ พื้นที่


ที่ผ่านมา วิทยุชุมชนมีบทบาททำให้เขาตื่นตัวในเรื่องการเมืองอย่างไรบ้าง

ตอน แรกผมก็คิดว่าไม่น่าจะตื่นตัวนะ อาจจะมีพลังไม่มาก แต่พอเปิดไป 2-3 เดือน มันมีพลังอย่างเห็นได้ชัด ที่เราได้นำเสนอข้อมูลทางด้านการเมืองให้กับพี่น้อง และเขาสนใจ เชื่อถือเรา เช่น มีพี่น้องขับเคลื่อน เขาต้องการจะไปช่วย ก็ใช้วิทยุชุมชนนี่ประชาสัมพันธ์ เขาก็มารวมกัน แต่การรวมกันของเขาไม่ใช่รวมเป็นหลักร้อย แต่เป็นหมื่น เป็นแสนนะแต่ละจังหวัด แต่ละอำเภอ ได้ยินเขาก็ไปหมดสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า คนฟังมีความสนใจด้านการเมืองมากขึ้น วัดจากอะไร

วัดได้จาก หนึ่ง เขาโทรศัพท์มา สอง ถ้ามีกิจกรรมเราประชาสัมพันธ์ เขาจะมา ถ้าเป็นข่าวปัจจุบันเร่งด่วน ถ้าทำนาอยู่ ทำอะไรอยู่ เขาจะทิ้งมาเลย ยกตัวอย่าง เขาจะมายึดสถานีของเรา เนื่องจากนำเสนอข่าวสารที่มันตรงไปตรงมา ที่มันมีผลกระทบต่อการเมืองภาครัฐ เขาก็มาเลย มากันเป็นหมื่น เราก็วัดได้

สาม ก็คือ วัดอันเนื่องมาจากประชาชนสมทบทุนข้าวปลาอาหารในแง่ของการสนับสนุนเป็นจำนวน มาก เราออกอากาศไปว่าขอสนับสนุน เรื่องหยูกยา ข้าวปลาอาหาร เขาก็จะเอาของเข้ามาให้ และวัดได้จากเวทีเมื่อตอนที่เราจัดเวทีประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2553 ตอนแรกเราเข้าใจว่าคนจะมาเป็นหลักพัน แต่มาเป็นหลักแสนนะ ประมาณ 2แสนกว่าโน่นแหละ พื้นที่ร้อยกว่าไร่เต็มหมดเลย


ถ้ามองภาพใหญ่ ของภาคอีสาน 100 เปอร์เซ็นต์ มีวิทยุชุมชนที่ขับเคลื่อนทางการเมืองอยู่เท่าไหร่

ภาคอีสานที่มี ความเข้มแข็งในช่วงที่ผ่านมามีแค่ขอนแก่น และอุดรธานี ที่เข้มแข็งก็คือ เขามีกระบวนการทำงานตามระบบแบบแผน มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาบริหารจัดการเป็นเรื่องเป็นราวมากกว่าที่อื่น ทำงานเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งของเราจะมีสถานีที่เป็นระบบลูกข่ายลงไปอีก อย่างขอนแก่นก็จะมีลูกข่ายไปบ้านค้อ น้ำพอง ชุมแพ บ้านไผ่ โกสุมพิสัย มัญจาคีรี หมายถึงในพื้นที่ที่ได้ยินไม่ชัด เราก็เชื่อมสัญญาณสร้างเป็นเครือข่ายย่อยถ้าจะพูดจริงๆ สัดส่วนของวิทยุชุมชนในภาคอีสานที่เคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยน่าจะมีประมาณ 70 เปอร์เซนต์ของสถานีทั้งหมด แต่ก็จะมีสัก 10 เปอร์เซ็นต์ที่เข้มแข็งนะ มีสถานี วางระบบ เครือข่าย พร้อมที่จะต่อสู้กับอำนาจรัฐ พร้อมที่จะยืดอกสู้กันอย่างจริงจัง


ออกมาขับเคลื่อนชัดเจนอย่าง นี้ มีแรงเสียดทานอะไรบ้าง

เยอะนะ โดนหมายเรียก ตรวจค้น ตรวจสอบประวัติ ตรวจสอบอาชีพ ถ้าใครมีธุรกิจก็โดนตรวจสอบประวัติการเสียภาษี นี่คือจุดอ่อนที่เราไปสู้เขาไม่ได้ สองคือเขามีกำลังติดอาวุธ เวลาเขามาตรวจเรา ก็เอาทหาร ตำรวจพกอาวุธ มาประจำ (หัวเราะ) ก็วางตัวยากนะ โดยเฉพาะช่วงหลังนี่ยากมาก ตอนนี้ กอ.รมน.เขามายกเครื่องส่งไปแล้ว แต่เราก็มีของเราอยู่ เตรียมเอาไว้แล้ว ถ้าเขาเลิกประกาศเมื่อไหร่ก็ค่อยขึ้นใหม่ ตอนนี้ก็ทำเท่าที่ได้ เขาให้เราขยับ เราก็ขยับ เพราะช่วงนี้มันไม่ค่อยสะดวกฝ่ายรัฐเองก็จะบอกว่า การกระจายเสียงของวิทยุชุมชนส่วนหนึ่งก็เป็นการปลุกระดมคนให้ออกไป?

ฝ่าย รัฐก็จะชอบตั้งข้อกล่าวหาที่รุนแรง แต่ความจริง เราเพียงทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ บอกเล่า เชิญชวนผู้ที่สนใจ ด้วยความสมัครใจ แต่การปลุกระดมนี่คือ หน่วยงานภาครัฐกล่าวหาเรา ก็เหมือนที่พี่น้องของเราออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย เรียกร้องความเป็นธรรม แต่รัฐบาลเขาก็โยนความผิดมา กล่าวหาว่าเราเป็นผู้ก่อการร้าย ผมก็เป็นผู้ก่อการร้ายน่ะสิ คุณก็กำลังนั่งคุยอยู่กับผู้ก่อการร้ายนะ (หัวเราะ)


เรามีการทำความเข้าใจในเรื่องนี้กับผู้ฟังอย่างไรบ้าง

พี่ น้องเราเขาเข้าใจ เขาจะเข้าข้างเรา ตำรวจเขาก็เข้าข้างนะ ที่สนใจเราก็มี แต่เขาทำตามหน้าที่ เขาก็บอกข่าวสาร คอยช่วยเหลือกันอยู่

ก่อนหน้า นี้ การขับเคลื่อนทางวิทยุชุมชนเห็นผลเป็นรูปธรรมค่อนข้างชัดเจน แต่หลังจากนี้จะกลับไปเป็นอย่างนั้นไหม
ต่อๆ ไปมันจะต้องเข้มข้นกว่าเก่า เพราะเรามีบทเรียน แต่การบริจาคต่างๆ นี่เราจะทำในช่วงที่มีภารกิจเฉพาะกิจนะ เช่น พี่น้องเราต่อสู้อยู่ที่กรุงเทพฯ เราขอระดมพลข้าวสารไปส่ง แต่ถ้าอยู่เฉยๆ เราจะไม่ไปรบกวนพี่น้องนะ แล้วระดมเงินระดมทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่ารถ ค่าพาหนะ เหมารถเพื่อเอาพ่อแม่พี่น้องลงไปไง ส่วนค่าอาหารการกินจะอยู่ที่โน่น ที่โน่นเราจะตั้งกองอำนวยการของวิทยุของเราขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อจะเป็นจุดประสานงานกับที่นี่ ซึ่งก็จะมีกรรมการอีกชุดหนึ่งอารมณ์ของคนหลังจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเรา ได้มีการแลกเปลี่ยนภายในคลื่นมากน้อยแค่ไหน

เขาไม่พอใจ ส่วนใหญ่เขาไม่พอใจแกนนำ การต่อสู้ช่วงนี้เรายอมรับว่าเราแพ้ไง แกนนำเล่นประกาศมอบตัว อารมณ์ผู้ฟังก็ออกจะผิดหวัง แต่ไม่เลิกชอบนะ ก็ยังมีการพูดถึงอยู่บ้าง แต่จะเป็นการแสดงความเห็น พูดคุยกัน ไม่น่าทำอย่างนั้น น่าจะทำอย่างนี้ มากกว่า (หัวเราะ)


อย่างนี้ คุณก็ต้องลงไปที่แยกราชประสงค์ด้วย?

ต้องลง ทุกคนต้องลงไป เพื่อเอาสถานการณ์จริงขึ้นมาเล่าให้พี่น้องฟัง ผมลงไปอยู่ 3 วัน (ช่วงวันที่ 11-13 พฤษภาคม 2553) ตอนนั้นเราเห็นชัดๆ เลยว่าบรรยากาศตรึงเครียดนะ เพราะพี่น้องค่อนข้างระวังตัว มีข่าวออกมาว่าจะสลายการชุมนุม เราก็ต้องระวังตัวด้วย เพราะตอนนั้นเราใส่เสื้อแดงไม่ได้แล้ว ถ้าใส่เสื้อแดงก็มีสิทธิโดนทำร้าย แต่ตรงนั้นเรามีหน้าที่เป็นสื่อ เขาก็จะมีพื้นที่ให้อยู่ จะมีการ์ดคอยดูแลเรากลัวไหม

ไม่กลัว (หัวเราะ) ถ้ากลัวคงจะไม่ไป ได้ยินเสียงปืน เสียงระเบิดเยอะ เขายิงปืนประจำนะ กลางวันก็ยิง ยิงขู่ไง แต่พี่น้องส่วนมากพอได้ยินเสียงปืนเขาจะปรบมือไง (หัวเราะ) เพราะเขารู้ว่าแรกๆ มันยิงขู่ไง แต่พอช่วงหลังๆ มันเอาจริง

หาก รัฐบาลประกาศยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน วิธีที่เราจะใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้ามายกเครื่องไปได้อีกคือ อะไร
เราจะวางการ์ดไว้ คือตอนนี้จุดอ่อนที่ทำให้เราต้องยอมเขาก็คือ เขาประกาศใช้กฎหมาย ตรงนี้เราฝ่าฝืนไม่ได้ หลังจากนี้ก็อาจจะมีสมาชิกมาช่วยกันดู หรือถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้ เราประกาศรวมพลได้ไง แต่ว่าพอมี พรก.เราประกาศไม่ได้

ที่มา
โดย : ทีมข่าวจุดประกาย กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 3 มิถุนายน 2553 01:00

http://www.bangkokbiznews.com/home/detai...ีแดง).html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน