คอลัมน์ : เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง : ใครกลัวอนุสาวรีย์ปราบกบฏ (บวรเดช)?
โดย : กาหลิบ
เผด็จการอำ มาตยาธิปไตยไม่มีวันหยุด เมื่อสั่งฆ่าประชาชนและปกป้องรัฐบาลเปื้อนเลือดของตัวเองไว้ได้แล้ว อันดับต่อไปคือการทำลายประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยให้หมดสิ้น ชิ้นล่าสุดคือคำสั่งลับและด่วนให้เร่งงานทำลายอนุสาวรีย์ปราบกบฏที่วงเวียน หลักสี่ลงโดยพลัน
การทำลายก็ทำอย่างอำพราง โดยอ้างว่าเป็นแผนและโครงการที่มีอยู่แล้วของกรมทางหลวงเพื่อปรับผิวการ จราจรให้แถบนั้นเสียใหม่
ฟังเผินๆ ก็พอจะเข้าหูอยู่หรอกครับ แต่เมื่อพิจารณาลึกลงไปแล้วก็น่าหัวร่อ
เพราะเห็นชัดว่าเป็นการ อำพรางอำนาจเผด็จการ เหมือนใช้รถกระบะพุ่งชนรถมอเตอร์ไซด์ที่อดีตการ์ด นปช. ชื่อ “น้ำหวาน” นั่งซ้อนมา จนตายคาที่แล้วออกข่าวว่าเป็นอุบัติเหตุนั่นแหละ
อนุสาวรีย์แห่งนี้ เรียกชื่อเต็มๆ ว่า อนุสาวรีย์เพื่อระลึกถึงการปราบปรามกบฏบวรเดช
เหตุการณ์ เกิดขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๗๖ แต่มาเริ่มสร้างอนุสาวรีย์เอาในปี พ.ศ.๒๔๗๙
เมื่อ คณะราษฎรกระทำการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นในสยามประเทศ และประนีประนอมกับระบอบเก่าโดยรักษากษัตริย์ไว้เป็นประมุขในเชิงสัญลักษณ์ สยามก็เข้าสู่วงจรของการช่วงชิงอำนาจในลักษณะใหม่ คือฝ่ายเจ้าและอำมาตย์ พยายามใช้สายสัมพันธ์และเครือข่ายที่สร้างสมมายาวนานมาโค่นคณะปฏิวัติและชิง อำนาจคืนให้จงได้
เงินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ หัว ๒๐๐,๐๐๐ บาท อันเป็นก้อนมหาศาลในยุคนั้น กลายเป็นทุนหลักในการก่อหวอดรัฐประหารของฝ่ายเจ้าเพื่อโค่นฝ่ายประชาชน โดยให้อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลเจ้า ได้แก่ พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้า
พระยาศรีสิทธิสงคราม หรือ ดิ่น ท่าราบ ผู้เป็นหมายเลขสองของคณะ คือตาแท้ๆ ของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรีเขายายเที่ยง ต่อมาถูกฝ่ายรัฐบาลยิงตายเสียที่หินลับ (เสียงคร่ำครวญของลูกสาว คือแพทย์หญิงโชติศรี ท่าราบ อ่านได้ในหนังสือเรื่อง “กำสรวลพระยาศรีฯ” ที่มติชนพิมพ์มานานหลายปีแล้ว แพทย์หญิงโชติศรีฯ ผู้ภายหลังมาใกล้ชิดอย่างยิ่งกับค่ายมติชน น่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บางคนในค่ายมติชนเดินห่างจากฝ่ายประชาชน ไปสวามิภักดิ์กับกลุ่มอันธพาลที่ฆ่าประชาชนได้เหมือนสัตว์)
ฝ่าย รัฐบาลสู้เต็มที่ และได้รับชัยชนะ ถือเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายปฏิวัติประชาธิปไตยใช้กำลังจนได้รับชัยชนะเหนือฝ่าย ศักดินาเดิมที่เป็นเสมือนเชื้อชั่วไม่ยอมตายได้
ตัวการปฏิวัติเมื่อ วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้นเกือบจะไม่ได้ใช้กำลังเลย เพราะใช้กลยุทธ์ความประหลาดใจ (tactic of surprises) เป็นหลัก
แต่ ประโยชน์ใหญ่คือการกวาดบ้านในคณะราษฎรเอง เพราะหลังกบฏบวรเดช บทบาทของฝ่ายประชาธิปไตยแต่หัวใจเจ้า ก็ลดหรือหมดลงไป เช่น พระยาทรงสุรเดชและอีก ๓ ทหารเสือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นต้น สายของพระยาพหลพลพยุหเสนาและหลวงพิบูลสงครามกลับผงาดขึ้นมาเป็นใหญ่แทน ดร.
การปราบกบฏของพระองค์เจ้าบวรเดชเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๗๖ จึงเป็นธรณีประตูที่ทำให้ฝ่ายไพร่ก้าวลึกเข้าไปสู่ระบอบประชาธิปไตยได้ เพราะฝ่ายเจ้าไม่สามารถโงหัวได้อีกเลยจนถึงการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ร่วมกับฝ่ายเจ้าโค่นล้ม ดร.
กรม ทางหลวงอย่ามาอ้างแผนปรับผิวจราจรให้มันขบขันกันเลย อนุสาวรีย์ขนาดเล็กจิ๋วอย่างนั้นไม่ขวางทางใครแน่ ทางราชการปรับพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน โดยรักษาตัวอนุสาวรีย์ไว้ได้พร้อมกัน
ใครยังไม่เคยเห็นก็ควรไปดูเสีย ให้ประจักษ์ว่า การรื้ออนุสาวรีย์เป็นเพียงข้ออ้างอย่างสามานย์เพื่อทำลายความทรงจำของฝ่าย ประชาธิปไตยเท่านั้นใช่หรือไม่
เราต้องรักษาอนุสาวรีย์ปราบกบฏของ พระองค์เจ้าบวรเดชไว้เป็นอนุสติด้วยประการทั้งปวง
คนรุ่นนี้ และรุ่นต่อไปจะได้เข้าใจซาบซึ้งว่า การฆ่าโหดประชาชนที่ราชประสงค์ ไม่ใช่ความโหดร้ายครั้งแรกของคนบางคนและบางโคตรตระกูลในเมืองไทย.
----------------------------------------------------------------------------------
เขียนโดย Nangfa ที่ 14:58:00
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น