Mon, 2010-07-12 05:31
เสวนาในโอกาสครบรอบ 78 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เสนอเป็นตอนจบ “สุชาติ เศรษฐมาลินี” สังคมไทยเป็นสังคมที่ฉีกขาด จากการใช้ความรุนแรง เกรงผลสอบซ้ำรอย “ตากใบ” “สมชาย ปรีชาศิลปกุล” ชี้ปรองดองแบบราชาชาตินิยมประชาธิปไตยสังคมสงเคราะห์ไม่ใช่ทางออก
เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 53 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 78 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร และครบรอบ 70 ปีเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นประเทศไทย ที่ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีโครงการเสวนาทางวิชาการ “70 ปีประเทศไทย: ประชาชน ประชาชาติ กับประชาธิปไตย” โดยช่วงเช้ามีการปาฐกถาโดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการอภิปราย หัวข้อ “จากสยามเป็นไทย: ประชาธิปไตยไปถึงไหนแล้ว?” ซึ่งประชาไทได้นำเสนอไปแล้วนั้น (อ่านข่าวย้อนหลัง)
ในช่วงบ่ายของการเสวนา เป็นการอภิปรายหัวข้อ “ปรองดองแห่งชาติ เยียวยาความเป็นไทย?” โดย รศ.ดร.
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี กล่าวนำการอภิปรายว่า ความขัดแย้งทางการเมืองเป็นที่น่าสนใจ ทำให้ 24 มิถุนายน ปรากฏอยู่ได้ ในช่วงที่ผ่านมามีคำที่ฟังไพเราะ เช่น ปรองดอง กระชับพื้นที่ คำเหล่านี้ในภาษาอังกฤษมันคือคำกลวงๆ ที่ฟังไพเราะ จอร์จ ออร์เวลล์ กล่าวว่า คำพูดทางการเมือง ความจริงแล้วคืออุปกรณ์ทางการเมืองที่ไม่มีความหมาย ฉะนั้นไม่ต้องถามหาความหมาย คำพวกนี้ มีหน้าที่ทางการเมือง ป่วยการที่จะหาความหมาย คำโกหกกลายเป็นเรื่องจริง คำเหล่านี้ผู้มีอำนาจเป็นผู้ใช้ และยังใช้เป็นเครื่องมือชักจูงประชาชนให้เห็นและเชื่อ คำเหล่านี้ต้องอาศัยผู้ฟังที่ฟังอย่างเชื่องๆ มันจึงมีความหมาย หน้าที่ของนักวิชาการคือต้องกะเทาะเปลือกออกมา
สุชาติ เศรษฐมาลินี: สังคมไทยเป็นสังคมที่ฉีกขาด จากการใช้ความรุนแรง
โดย สุชาติ เศรษฐมาลินี กล่าวว่า ได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนบ้านที่เป็นคนเสื้อแดงที่พูดถึงแนวทางปรองดองของ รัฐบาลว่า "มันฆ่ามา เราก็ฆ่าไป" ผมเห็นว่าความรู้สึกนี้เป็นความรู้สึกของคนจำนวนมาก ไม่ใช่เฉพาะปัจเจกบุคคล
สุชาติกล่าวว่า ตนมีความเป็นห่วงว่า ยิ่งมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความจริง คณะกรรมการ ปรองดองยิ่งทำให้รู้สึกว่าเหตุการณ์อาจจะรุนแรงขึ้น ถึงแม้ว่ามีการสอบสวนว่ามีความผิด แต่เวลาขึ้นศาลก็อาจจะถูกปล่อยไป เช่น กรณีตากใบ ผลการสืบสวนในครั้งนั้นชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุ แต่ ปรากฏถึงชั้นศาล ไม่มีการลงโทษเจ้าหน้าที่ คำพิพากษาบอกว่าคนตายเพราะไม่มีอากาศหายใจ ดังนั้นคณะกรรมการตรวจสอบในครั้งนี้ หวั่นเกรงว่าจะเป็นแบบนั้น
วัฒนธรรมหลายอย่างที่เกิดขึ้น ที่ไม่เคยเห็นคือ การสังหารด้วยปืนสไนเปอร์ ซึ่งเป็นอาวุธรุนแรง สังคมไทย มีความขัดแย้งรุนแรง ปรากฏการณ์เหลืองแดงนี้ไปทุกที่แม้ในครอบครัว สังคมปัจจุบันจึงเป็นสังคมที่ฉีกขาด ซึ่งเป็นผลพวงของการใช้ความรุนแรง
สิ่งที่รัฐบาลพยายามทำ เช่น การตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ที่มีคณะของ นพ.
สุชาติ อภิปรายถึงเงื่อนไขว่าในทุกสังคมที่การเยียวยาเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อต้องทำให้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เกิดการยอมรับเพื่อให้เรียนรู้ เพราะถ้าบาดแผลเขาถูกมองข้าม การปรองดองก็ไม่เกิดขึ้น และต่อไปคือต้องมีการสารภาพผิด แสดงความเสียใจ สุชาติเห็นว่า ถ้ามีสองสิ่งดังกล่าว ก็จะนำไปสู่การให้อภัย ถ้าทำเรื่องนี้ก่อนได้แล้ว การปฏิรูปต่างๆ ถึงจะเกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปการศึกษา การ ทำให้เด็กมีคุณภาพมากขึ้น
สุชาติ อภิปรายต่อว่า เขาเห็นว่าประเด็นสื่อเป็นเรื่องใหญ่ เขาเพิ่งกลับมาจากฮาวาย เริ่มติดตามการชุมนุมของเสื้อแดงอย่างใกล้ชิด แต่พบว่าบัดนี้สื่อเว็บไซต์ถูกปิด ผมคิดว่าแบบนี้ไม่ใช่ สังคมไทยไม่ควรเป็นแบบนี้ สื่อต้องมีเสรีภาพได้คิด ได้แสดงออก แต่บ้านเมืองเราขณะนี้คืออะไร
ส่วนมาตรการระยะยาวที่ต้องทำ คือต้องมีการปฏิรูปสถาบันทหารซึงเราไม่ค่อยพูดถึงกันคือ "ความรับผิดชอบของสถาบันทหารในการสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อสร้างสันติภาพ" เราต้องมีการตั้งคำถามเชิงปรัชญา การอนุญาตให้มีการเข่นฆ่าต้องมีการรับผิดชอบหรือไม่ ความจริงก็ไม่ใช่เฉพาะสถาบันทหารเท่านั้น แต่สถาบันการศึกษา สถาบันอื่นๆ เมื่อเห็นการเข่นฆ่าแล้ว เราจะแสดงออกทางพลังที่จะหยุดยั้งได้อย่างไร
ทั้งนี้ สุชาติ กล่าวถึง มาตรการเร่งด่วนถ้าอภิสิทธิ์ต้องปรองดอง 3 ข้อ ได้แก่ หนึ่ง ต้อง พ.ร.ก.ฉุกเฉินทันที เพราะไม่ช่วยรักษาความสงบ
สอง การยุติภาษาที่เป็นเกมทางภาษา ถ้าเราเอาวิตเกนสไตน์ (Ludwig Wittgenstein) มาพูดว่า ศัพท์บางอัน ซึ่งรัฐบาลสื่อกันรู้เรื่องเฉพาะในรัฐบาล เช่น กระชับวงล้อม แต่มันคือการเอาเอ็ม-16 ไปแจก ซึ่งมันมีเกมภาษาที่ต่างกัน
อย่างคำศัพท์ “ผู้ก่อการร้าย” ผมเห็นว่ามาจากผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งในรัฐบาลของอภิสิทธิ์ และเขาก็เป็นคนเชี่ยวชาญเรื่องภาคใต้ ในการสถาปนาทฤษฎีผู้ก่อการร้าย เป็นการสร้างสภาวะความกลัวคนเสื้อแดงว่าเป็นผู้ก่อการร้ายให้เกิดขึ้น
สาม เราจำเป็นต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดการพูดคุย แสดงความคิดเห็น ความรู้สึก แต่ละกลุ่มจะมีจุดร่วมเพื่อทำให้สังคมไทย สุขสงบมากกว่าที่เป็นอยู่ ผมยังไม่อยากใช้ว่า "ปรองดอง" เพราะผมรู้สึกว่าเป็นคำ กลวงๆ ที่ฟังดูไพเราะเท่านั้นเอง
ตนคิดว่าตอนนี้จะเอาคนที่แตกต่างกันมาคุยกันยังยากอยู่ สังคมไทยยังมี กลไกอีกมากที่จะก้าวข้ามความขัดแย้ง แต่รัฐบาลก็ต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบด้วย
สมชายชี้ปรองดองแบบราชาชาตินิยมประชาธิปไตยสังคมสงเคราะห์ไม่ใช่ ทางออก
ด้านสมชาย ปรีชาศิลปกุล ช่วงหลังเริ่มไม่ดูข่าว เพราะคิดว่าทำให้อารมณ์ขุ่นมัว มันทำให้ชีวิตที่สงบเย็น ดำรงอยู่ดีหายไป เรากำลังอยู่ในภาวะแตกแยก เรายังคุยกันไม่ได้มาก เมื่อผมเริ่มพูด ก็จะบอกว่าผมเป็นนักวิชาการเสื้อแดง เราอยู่ในภาวะแตกแยก "กูเกลียดมึง" รุนแรง ความรุนแรงในที่นี้ไม่ใช่การตีหัว ในบางพื้นที่มีการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุกคามหรือดำเนินการกับเสื้อแดง ความรุนแรงไม่ได้มีเฉพาะคนเสื้อแดงเท่านั้น เรามีพื้นที่น้อยมาก การที่ทำให้เราไม่สามารถพูด หรือแสดงความเห็นได้อย่างเสรี คือความรุนแรงอย่างหนึ่ง เป็นความริบหรี่ของสังคมไทย สมชายยังกล่าวถึง การใช้คำในทางการเมือง อย่างการใช้คำว่า "นิติรัฐ" ผลจากการหายใจเข้าออกเป็นนิติรัฐ แต่ทำให้มีคนตายเป็นจำนวนมาก ซึงไม่รู้ว่าเป็นนิติรัฐแบบไหน มีการปู้ยี้ปู้ยำความหมาย แต่ทำไมภาวะเช่นนี้จึงทำงานได้โดยไม่ถูกตั้งคำถาม จากสังคม
สมชาย กล่าวถึงโครงสร้างอภิปรายว่า จะพูดถึงสามเรื่อง หนึ่ง เกิดอะไรขึ้น สอง มองอย่างไร และ สาม ไปข้างหน้าอย่างไร
หนึ่ง ถามว่าได้อะไรเกิดขึ้น คือความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ได้เขย่า คือ ได้ท้าทายการล้มลงของรัฐบาล โดยประเด็นที่เราจะมองถึงปัญหา ณ จุดนี้ เขาจะบอกว่า ปัญหาความยากจน ทำให้คนมาเรียกร้อง และรากฐานของปัญหา คือ ความเหลื่อมล้ำของอำนาจที่กลุ่มคนมีความไม่เท่าเทียมกัน
สอง เราจะมองปัญหานี้อย่างไร สมชายอภิปรายต่อว่า คนจำนวนมากในสังคม มักจะบอกว่าเป็นปัญหาของความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ อันที่จริง รากฐานของปัญหา คือความเหลื่อมล้ำทางอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกัน
หมายความว่าพอยึดระบบเลือกตั้ง ผลของการเลือกตั้งก็ถูกเบี้ยว เมื่อมาชุมนุมก็ถูกกล่าวหาว่าถูกจ้าง ซึ่งข้อเรียกร้องในเรื่องสองมาตรฐาน คือ ไพร่และอำมาตย์ เป็นนัยยะของความไม่เท่าเทียมเชิงอำนาจซึ่งถูกฝังมาในสังคมไทยมานาน อาจารย์ไคน์ (Charles F. Keyes) เขียนบทความอภิบายว่าความเหลื่อมล้ำทางการเมืองนั้นอยู่ในทางวัฒนธรรมด้วย
สมชายกล่าวด้วยว่า เราสร้างวัฒนธรรมที่ทำให้คนชนชั้นกลางระดับล่างกลายเป็นตัวตลกในสังคมไทย ชาวบ้านกลายเป็นพวกขายเสียง และเลือก ส.ส. ในทางการเมือง เหมือนนิยายที่ปลูกฝังว่าชาวบ้านโง่ เลือกคนไม่เป็น เลือกคนไม่ดี เป็นต้น เราไม่ทำความเข้าใจ เพราะชาวบ้าน เลือกไม่เป็น ฉะนั้นสิ่งที่หยิบยื่นให้ชาวบ้านก็ต้องเลือกให้ เช่น เคยมีการเสนอให้ใช้ระบบ 70:30 คือมีคนเลือกให้ เป็นต้น
สาม ไปข้างหน้าอย่างไร แล้วสังคมไทยจะปรองดองกันแบบไหน หมอประเวศบอกว่า ปฏิรูปเป็นเรื่องของอนาคต แต่คุณหมอกำลังพิจารณาเป็นส่วนๆ ไม่ได้เป็นองค์รวม ตนมองว่าการปรองดอง คือการทำให้สังคมไทยอยู่ภายใต้กฎกติกา แต่คือการฟังมากกว่า แต่สิ่งที่เราเห็นปรองดองในปัจจุบัน คือ "ราชาชาตินิยมประชาธิปไตยแบบสังคมสงเคราะห์" อ๋อพวกนี้มาแบบยากจน ก็แจกเบี้ย แต่ผมคิดว่าสิ่งที่เขาต้องการคืออำนาจที่เท่าเทียมกัน
และตอนนี้กลไกยัดเยียดของอำนาจ คือ การทำโปรเจกต์เพื่อแก้ไขความขัดแย้งเฉพาะหน้า และระยะยาวเราต้องการสร้างสถาบันที่ทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันได้บ้าง ไม่ใช่แบบไปคนละเรื่อง นี่คือสิ่งที่เป็นภาระหน้าที่ ผมคิดว่าขณะนี้สถาบันการเมืองที่มีความชอบธรรมได้พังทลาย ไม่เว้นแม้แต่สถาบันใดสถาบันหนึ่ง
หัวใจสำคัญ คือ สถาบันการเมืองที่ทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ สำหรับผม คือ หนึ่ง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นพื้นฐาน สอง ความพร้อมในการยอมรับฟังเพื่อความเข้าใจ ระหว่างกัน และการสร้างสังคมที่ปรองดองอย่างเสรี บนพื้นฐานที่เราต้องพูดคุยร่วมกันได้
อรรถจักรชี้ “ปรองดอง” คำประดิษฐ์ใหม่ และการขยายตัวของอำนาจเชิงวัฒนธรรมหลัง 2490
อรรถจักร สัตยานุรักษ์ กล่าวว่า เราจะเข้าใจสถานการณ์นี้อย่างไร และก็ทำความเข้าใจส่วนแรก คือ คำว่า ”ปรองดอง” เป็นคำใหม่ คนเหนือ จริงๆ ก็ไม่มี คนลาวก็ไม่มี คนใต้ก็ไม่มี คำว่าปรองดอง น่าจะเป็นคำใหม่ และสันนิษฐานว่า น่าเกิดหลังปี 2490 คือ รัฐเผด็จการเป็นผู้ใช้คำนี้เพื่ออยู่ในอำนาจนั้น ดังนั้น คำว่า ปรองดองเป็นการจรรโลงระบบที่ดี ทำให้คนจำนวนไม่น้อยอึดอัด และจังหวะนี้ ทำให้รู้สึกว่าคุณอย่ามาปรองดองกับฉัน ดังนั้น เราต้องคิดว่า คำสะท้อนวิธีคิดของเครือข่ายของพระเอกลิเก โดยใช้บนฐานวิธีคิดของเผด็จการอำนาจ
แล้วเราต้องมาคิดคำใหม่ และ เราต้องการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงอำนาจของสังคมไทย ซึ่งถ้าเราเท้าความประวัติศาสตร์บ้าง ซึ่งอาจารย์
ก่อนปี 2516 เกิดคนกลุ่มใหม่ คือกลุ่มนักศึกษาไม่สามารถอยู่ในระบบราชการ คนกลุ่มนี้เข้าไปเปลี่ยนรูปแบบรัฐ และปัจจุบันก็เกิดคนกลุ่มใหม่ขึ้นมา แต่อยู่ในความสัมพันธ์อำนาจแบบเดิม ทำให้เขาอึดอัด ที่ผ่านมารัฐไทยไม่สามารถดูดกลืนคนกลุ่มต่างๆ ได้ จึงก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น คือการเปลี่ยนแปลงของชนชนชั้นนำ เท่านั้นเอง
การเกิดคนกลุ่มใหม่ คือกลุ่มที่อยู่ในภาคผลิตไม่เป็นทางการ ซึ่งเหมือนๆ กับหลายๆ ประเทศในเอเชีย โครงสร้างของรัฐไทย เป็นผลของการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่สามารถดูดซับคนทั้งหมดเข้าไปได้ ดังนั้นคนกลุ่มใหม่นี้ ไม่ใช่คนจน มีรายได้เกินเส้นความยากจน แต่อยู่ในภาคการผลิตที่ไม่เป็นทางการ แต่คนกลุ่มนี้อยู่นอกกลไกรัฐ นี่เป็นต้นเหตุของความเหลื่อมล้ำในสังคม เกิดปัญหาสองมาตรฐานอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นคนกลุ่มที่อยู่นอกกลไกรัฐ เขายังต้องการโอกาสในการขายของได้มากขึ้น จะเห็นว่าในสมัยทักษิณ ได้เปิดโอกาสให้ภาคการผลิตไม่เป็นทางการมีโอกาสในชีวิตมากขึ้น และเขามีอำนาจการตัดสินใจได้มากขึ้น ในขบวนการนี้มันซ้อนทับของความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระดับบน แยกอำนาจการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
หลังยุคจอมพลถนอม กิตติขจร อำนาจวัฒนธรรมมีอำนาจในการกำกับอำนาจทางการเมือง ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมไทย ทำให้เกิดความขัดแย้งของอำนาจทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องการรักษาอำนาจเดิม และ กลุ่มที่อยู่นอกระบบรัฐมาต่อสู้กัน
การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างส่วนบน คือ ตั้งแต่ 2490 สิ่งที่เป็นอำนาจวัฒนธรรมมีมากขึ้น แล้วจุดเปลี่ยนที่สำคัญ คือ 2520 เป็นต้นมา กระบวนการของอำนาจวัฒนธรรม ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับประชาธิปไตย ก่อให้เกิดศูนย์อำนาจวัฒนธรรมซ้อนกัน ดึงเอากลุ่มที่ต้องการรักษาสถานภาพเดิมไว้ กับกลุ่มนอกระบบการเมือง เข้ารวมกัน ถ้าเราไม่คิดให้ดี จะถูกลากไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มพยายามผลักความจริง ช่วงชิงความหมายของตัวเอง
และเรามีทางสายอื่น ซึ่งจะทำอย่างไร และทางสายที่สาม ก็จะทำอย่างไร และเราคิดกันไหมว่าด้วยสังคมอุดมคติ สังคมอุดมคติของเราอย่างไร เราจะเรียนรู้คนที่ไม่เหมือนเราอย่างไร เราจะทำอย่างไรให้เราเข้าใจทั้งหมดได้ แม้จะถูกปิดกั้นเรื่องบางเรื่องในทางเปิดเผย แต่ในทางลับเราก็พูดกันได้ ทำอย่างไรจะเพิ่มมุมมองความเข้าใจในสังคมไทยอย่างไร เราต้องเข้าใจคนชั้นกลางที่เบาปัญญา อ่อนอารมณ์ได้อย่างไร เรื่องคนตายก็ต้องเสียใจ ตนคิดว่าเราสามารถมีชัยชนะร่วมกันได้ที่ไม่นำสู่การเสียเลือดเนื้อ หากเราไม่หาทางสายที่สามที่จะผลักดันไปได้
ผมไม่คิดว่ากระแสสุดขั้วจะนำไปสู่สังคมสันติ ถ้าหากตอนนั้นในเหตุการณ์ไม่ถอยจะเกิดความรุนแรงมากขึ้น และผมเห็นด้วยกับสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เป็นครั้งแรกในชีวิต คือ มันไม่ใช่ชัยชนะด้วยเลือดเนื้อของประชาชน ซึ่งผมคิดว่า ถ้าหากเราไม่สามารถหาทางสายที่ 3 เราก็ตีกันอย่างนี้ไปเรื่อย แล้วเราจะทำอย่างไร เพื่อผ่านพ้น คงไม่ใช่นักวิชาการอย่างเดียว ซึ่งวิธีแก้รูปธรรม คือ เราต้องมีทางสายที่สาม ที่มีมากกว่าสองสี
ไชยันต์ รัชชกูล: การสรุปและข้อเสนอเยอรมันโมเดล
ไชยันต์ รัชชกูล กล่าวสรุปการอภิปรายว่า ในช่วงเช้ากับช่วงบ่าย คือ แนวคิดสังกัดสีกับไม่สังกัดสี ก็มีความเห็นว่า ช่วงบ่าย กับช่วงเช้า ในแง่นี้คล้องกัน คือ แบบประเภทสังกัดสี เสนอว่า ถ้ารัฐบาลทำผิด ก็มาขอโทษสิ แล้วการอภัยก็จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งอยากให้เราลองพิจารณากรณีเยอรมัน คือ นายกรัฐมนตรีเยอรมัน ไปหลุมฝังศพของผู้เสียชีวิตในโปแลนด์ ตอนหลังสงครามโลก คือ พอเขามาเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมัน และเขาก็คุกเข่าไปที่หลุมฝังศพ ที่เป็นจารึกภาพประทับใจมาก ซึ่งผมพูดอย่างนี้เป็นการแก้ไขโดยสังกัดสี และแนวคิดของการไม่สังกัดสี ก็คือ อย่าไปแก้ด้วยการปรองดอง และก็มีการแก้ปัญหาในหลายระดับ เช่น การทำบ้านเมืองให้ยุติธรรม
โดยจัดระบบเศรษฐกิจการเมืองให้ยุติธรรม เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาระยะยาว ลดความขัดแย้งลงไป ซึ่งการแก้ไขทางการเมืองเพื่อความปรองดอง ต้องทำเป็นทั้งระดับโครงสร้างและระดับเฉพาะหน้า ให้เกิดการยอมรับต่อผู้เสียชีวิต ซึ่งเราย้อนกลับไปในการอภิปรายตอนเช้า เราจะเห็นว่า มีความเห็นต่างกันในเรื่องประชาธิปไตย ตั้งแต่ 2475 จากกลุ่มนั้นเป็นกลุ่มนี้ แล้วเมื่อต่อมาเราอยู่ใน กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งเราต้องแก้ไขความขัดแย้ง ก็จัดกลุ่มเสื้อเหลืองและเสื้อแดงมาพูดคุยกัน สำหรับทำความเข้าใจเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยต่อไป ไชยันต์สรุป
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น