แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศาลไต่สวน อนุญาตขัง ‘สมบัติ’ ต่อ 7 วัน ยังซักถามไม่เสร็จ

Sat, 2010-07-03 03:38

วันนี้ 2 ก.ค.53 เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.ที่ศาลอาญารัชดา ศาลขึ้นบัลลังก์ไต่สวนกรณีทนายความของนายสมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวนายสมบัติ ซึ่งถูกควบคุมตัวตามหมายควบคุมตัวตามพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) เนื่องจากการควบคุมตัวไม่ชอบ ทั้งนี้ ในเบื้องต้นศาลได้สั่งให้มีการไต่สวนผ่านระบบเทเลคอนเฟอร์เรนท์ แต่ภายหลังศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้อง ของทนายความ ให้นำตัวนาย สมบัติ มาไต่สวนต่อหน้าศาล เพื่อเปิดโอกาสให้สามารถแสดงพยานหลักฐาน เหตุผล และข้อเท็จจริงถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการควบคุมตัว
ตามคำ ร้องของนายสมบัติ ระบุว่าการควบคุมตัวดังกล่าวกระทำโดยมิชอบ และไม่มีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เนื่องจากการจัดกิจกรรมเป็นไปเพื่อการแสดงออกซึ่งความเห็นทางการเมือง โดยวิธีการสันติและปราศจากอาวุธ ตามสิทธิเสรีภาพที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งผูกพันประเทศไทย

สืบ เนื่องจากเมื่อวันที่ 21 พ.ค.53 ศาลอาญาได้อนุมัติหมายจับนายสมบัติ จาก นั้นเจ้าหน้าที่ได้เข้าควบคุมตัวนายสมบัติขณะทำกิจกรรมผูกผ้าแดงที่ป้ายราช ประสงค์ เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.53 และถูกนำตัวไปควบคุมที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บก.ตชด.) ภาค 1 คลอง 5 จ.ปทุมธานี ต่อมาเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.53 นายสมบัติ ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการควบคุมตัวและขอให้ปล่อยตัว โดยได้รับความช่วยเหลือ ทางกฎหมายจากศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน (ศรส.) มีนายอานนท์ นำภา ทำหน้าที่ทนายความ
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงเช้ามีผู้ใกล้ชิด เพื่อน และประชาชนมารอในกำลังใจและเข้ารับฟังการไต่สวนราว 10 คน ขณะที่นายสมบัติ ถูกเบิกตัวจาก บก.ตชด.ภาค1 มายังศาลอาญา โดยสวมเสื้อยืดสีขาวด้านหน้าพิมพ์ข้อความ “I am RED วันอาทิตย์สีแดง”

สมบัติ ให้สัมภาษณ์ก่อนเริ่มการไต่สวนว่า เพิ่งได้ทราบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่านอกจากการไต่สวนกรณีถูกควบคุมตัวโดยศอ ฉ.ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้ว ยังต้องขึ้นศาลกรณีที่ถูกฟ้องในคดีอาญาความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุก เฉินอีกด้วย โดยในสำนวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบมาว่ามีการระบุว่าเขาได้ปลุกระดมประชาชน ให้นำยางรถยนต์มาเผาด้วยทั้งที่ไม่เป็นความจริง
ในการ พิจารณาคดีทนายความได้เบิกตัวและซักถามเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบ ผู้ยื่นขอต่อระยะเวลาการควบคุมตัวนายสมบัติ โดยเจ้าหน้าที่ชี้แจงเหตุผลการขอหมายจับต่อศาลว่า ผู้ต้องสงสัยได้ร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงมาโดยตลอด ระหว่างชุมนุมมีเหตุการณ์ไม่สงบภายในบ้านเมืองตลอดมา มีคนร้ายก่อความไม่สงบหลายครั้งจนนายกฯ ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้ต้องสงสัยทราบถึง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และข้อกำหนดต่างๆ ดีแต่ก็ยังร่วมชุมนุมฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เรื่อยมา ต่อมา ศอฉ.ได้กระชับวงล้อมแยกผู้ชุมนุมกับผู้ก่อการร้าย ผู้ชุมนุมได้ตอบโต้การทำงานของเจ้าหน้าที่จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวน มาก หลังเหตุการณ์ดังกล่าวผู้ต้องสงสัยยังนำกลุ่มบุคคลมาชุมนุม ปราศรัยบนถนนประดิษฐ์มนูธรรม ชักชวน ปลุกระดม ให้ผู้ชุมนุมตอบโต้การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงออกหมายจับกุมผู้ต้องสงสัยในฐานะผู้สนับสนุนหรือร่วมกระทำให้เกิด สถานการณ์ฉุกเฉิน นอกจากนั้น วันที่ 26 มิ.ย.53 ผู้ต้องสงสัยยังนำกลุ่มบุคคลมาชุมนุมและผูกผ้าสัญลักษณ์สีแดงที่แยกราช ประสงค์ ตำรวจจึงจับกุมตัวตามหมายจับมาควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะเห็นได้ว่าหลังเหตุการณ์ไม่สงบผู้ต้องสงสัยยังดำเนินการทางการเมืองโดยการ ปลุกระดมชักชวนให้มีการชุมนุมและทำกิจกรรมทางการเมืองที่ทำให้เกิดความแตก แยกในสังคมอันจะทำให้เกิดความไม่สงบ ขัดต่อหลักกฎหมาย แม้จะอ้างเรื่องสิทธิโดยชอบธรรมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่สิทธิดังกล่าวกระทบต่อการใช้ชีวิตปกติของประชาชนทั่วไป และมีกฎหมายคือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน บัญญัติห้ามไว้

ส่วน เหตุที่ขอขยายเวลาการควบคุมตัวนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า เนื่องจากผู้ต้องสงสัยมีพฤติการณ์สนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ไม่สงบใน บ้านเมือง และพนักงานผู้ซักถามยังซักถามผู้ต้องสงสัยไม่แล้วเสร็จจึงขอขยายระยะเวลาต่อ อีก 7 วัน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองปราบปรามระบุด้วยว่า เขาไม่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์การชุมนุมของนายสมบัติในวันที่ 21 พ.ค.ตามที่มีการตั้งข้อกล่าวหา ไม่ทราบรายละเอียดต่างๆ ทราบเพียงรายงานตามที่ตำรวจ สน.วังทองหลางส่งมาให้

จากนั้นในช่วงบ่าย นายสมบัติได้เข้าเบิกความกับศาล โดยกล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 21 พ.ค.53 ซึ่งได้กระทำการจนทำให้เกิดเป็นคดีว่า ขณะนั้นเป็นช่วงเวลาหลังจากเมื่อวันที่ 19 พ.ค.35 มีการสลายการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ โดยเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบไล่ยิงประชาชนกลางเมือง แต่ในสื่อกลับเสนอแต่ข่าวของเจ้าหน้าที่ทหารและผู้สั่งการ แต่ไม่ได้มีการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงในด้านของผู้ชุมนุม สวนสาธารณะขนาดเล็กใต้ทางด่วน จึงกลายเป็นสถานที่ที่ประชาชนใช้ในการมานั่งพูดคุยกัน เพราะพวกเขาไม่รู้ว่าจะไปรับรู้ข้อมูลได้จากที่ไหน
“การที่ผู้คนออกมาเสาะหาข้อ เท็จที่เขากำลังเป็นทุกข์ ถือเป็นปฏิกิริยาพื้นฐานของมนุษย์ แต่การที่รัฐบาลบอกให้พวกเขาเงียบอยู่กับบ้านต่างหากที่ขัดกับพื้นฐานของ มนุษย์” นายสมบัติกล่าว
นายสมบัติกล่าวต่อมาว่าก่อน ที่เขาจะเข้าร่วมกิจกรรมที่บริเวณสวนสาธารณะดังกล่าว มีประชามชนจำนวนหนึ่งได้ไปพบปะและทำกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ร่วมทั้งภาพถ่ายกันอยู่ก่อนแล้ว ส่วนตัวเขาได้โพสต์ข้อความในอินเตอร์เน็ตก่อนที่จะไปร่วมพูดคุยกับผู้คนที่ นั่น โดยไม่รู้ว่าคนจะมาเท่าไหร่ และเมื่อวันที่ 20 พ.ค.53 เขาก็ไปที่สวนสาธารณะแห่งนั้นด้วย

เมื่อทนายถามถึงจำนวนคนที่ ไปรวมตัวกันนายสมบัติกล่าวว่าอยู่ที่ราว 10-80 คนแล้วแต่วันและช่วงเวลา ซึ่งเขาไม่รู้ว่าใครเป็นใคร เพราะต่างนั่งจับกลุ่มพูดคุยกันกระจัดกระจายอยู่ในสวนหย่อม เป็นการพูดคุยกันปกติ ไม่มีเวที และบอร์ดนิทรรศการภาพถ่าย เป็นการนำรูปของแต่ละคนที่มีไปติดตามกำแพง แต่ตัวเขาเป็นคนที่คนทั่วไปคุ้นหน้าเนื่องจากเป็น นกป.จึงมีคนนำโทรโข่งมาให้โดยขอให้พูดคุยกับคนที่มารวมตัวกัน นอกจากนั้นก็ยังมีผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ที่วัดปทุมฯ มาบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้ เขายืนยันว่าไม่ได้มีความคิดที่จะจัดชุมนุมทางการเมืองหรือปลุกระดมแต่อย่าง ใด และไม่มีการพูดให้ระดมยาง หรือการยุยงให้เผาดังที่ถูกกล่าวหา

“ในฐานะที่มีความเป็นมนุษย์ และมีความผูกพันกับผู้คนที่เสียชีวิต บาดเจ็บ และกำลังเสียขวัญ ไม่รู้ว่าตัวเองจะเป็นเช่นไรต่อไป จำเป็นที่จะต้องมีการพูดคุยแบ่งปันสิ่งที่เกิดขึ้น ให้คนที่รู้เรื่องราวมาบอกเล่าให้ฟัง” นายสมบัติกล่าว

นายสมบัติเล่าต่อมาว่า นับตั้งแต่เวลาประมาณ 12.00 น.ที่เขาเข้าไปร่วมกิจกรรมการพูดคุยดำเนินไปราว 2 ชั่วโมง จากนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนกว่า 200 นาย เข้ามาในพื้นที่และขอให้ยุติกิจกรรมต่างๆ ซึ่งไม่เห็นประโยชน์ใดๆ ในการดื้อรั้น พวกเขากึงแยกย้ายกันเดินทางกลับ และในวันนั้นก็ไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาใดๆ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

“ผมไปเพราะสามัญสำนึก และคิดว่าเป็นสิทธิที่จะแสดงแดงออก โดยไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร” นายสมบัติกล่าว

ต่อคำถามของทนายว่าทราบหรือ ไม่ว่าตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ได้ห้ามไม่ให้มีการชุมนุมทางการเมือง นายสมบัติตอบว่าทราบ แต่ส่วนตัวเขาคิดว่าการประกาศบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล แต่เกิดจากความต้องการที่จะใช้กำลังทหารปราบปราม อีกทั้งเห็นว่าการกระทำของเขาและประชาชนจำนวนหนึ่งในสวนหย่อม ไม่ได้เป็นการปิดถนน ไม่ได้สร้างความวุ่นวาย จึงไม่น่าจะเข้าข่ายการชุมนุมทางการเมืองที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย

นายสมบัติกล่าวด้วยว่า ส่วนตัวเขาคิดว่าการแจ้งความในข้อหายุยง ปลุกปั่น เป็นความต้องการของคนที่เชื่อมโยงกับรัฐบาลที่ต้องการใส่ความ รังแก โดยใช้อำนาจกฎหมายและกลไกของรัฐเพื่อมาละเมิดสิทธิของคนที่เห็นต่าง และเหตุผลที่เจาะจงที่ตัวเขานั้นเป็นเพราะตั้งแต่ที่การชุมนุมยุติลง เขาเป็นคนเดียวที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อสู้ในเชิงสัญลักษณ์ ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง ซึ่งคิดว่ารัฐบาลมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ต่อต้านรัฐ และอาจนำไปสู่การต่อสู้ในรูปแบบใหม่ๆ รัฐบาลต้องการกำจัดทุกคนที่เห็นต่างไม่ว่าจะเป็นสายเหยี่ยว หรือสายพิราบที่ใช้วิถีทางสันติวิธี

ทั้งนี้ นายสมบัติยังได้ให้ข้อมูลถึงการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในการต่อต้านรัฐ ประหาร 19 ก.ย.49 ร่วมรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 อีกทั้งเข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองในนามแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จ การ (นปก.) ต่อต้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แต่ในการเคลื่อนไหวของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เขาไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวใดๆ

นายสมบัติ ให้ข้อมูลด้วยว่า หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมโดยกำลังทหารบนถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 ซึ่งทำให้ผู้ชุมนุม นปช.และทหารบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนไม่ต่ำกว่า 20 ราย เขาได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นหนึ่งใน “คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาตรวจสอบกรณีเหตุความรุนแรงจากการขอคืน พื้นที่จากกลุ่มผู้ชุมนุม เมื่อวันที่ 10 เม.ย.” ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและได้เข้าไปในพื้นที่การชุมนุมเพื่อดู ข้อมูลหลักฐาน แต่หลังจากเข้าร่วมประชุม 2-3 ครั้งก็ได้ยื่นจดหมายลาออกเนื่องจากเห็นว่าการทำงานไม่ได้เอาจริงเอาจังและ ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายสมบัติกล่าวอีกว่าเขาทำงานเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคม โดยใช้วิธีรณรงค์เชิงสัญลักษณ์ และเป็นผู้เสนอแคมเปญ “แดงไม่รับ” ในการรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และต่อมาสีแดงถูกใช้แทนการต่อสู่เชิงสัญลักษณ์ และนำมาขับเคลื่อนในกิจกรรมการเมืองจนถึงปัจจุบัน พร้อมยืนยันว่าไม่ได้มีพฤติกรรมในการยั่วยุหรือปลุกระดมให้เกิดความรุนแรง และไม่เห็นด้วยการใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมทางการเมืองไม่ฝ่ายต่อ ฝ่ายใด
“การต่อสู้ทางการเมือง ต้องใช้วิธีการทางการเมืองเท่านั้น” บก.ลายจุดกล่าว
เมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในวันที่ 7 เม.ย.53 ทั้งที่ยังไม่ได้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ ส่วนตัวมีความคิดว่ารัฐบาลต้องการใช้อำนาจทางการทหารกับผู้ที่คิดเห็นแตก ต่างกับรัฐบาล และต่อมาก็เกิดเหตุการณ์ วันที่ 10 เม.ย.53 ซึ่งมีการใช้กำลังทหาร รถหุ้มเกราะ และอาวุธสงครามเต็มรูปแบบเพื่อสลายการชุมนุม

ส่วนข้อกล่าวหาจากเจ้า หน้าที่ตำรวจที่ระบุถึงพฤติกรรมยั่วยุ ปลุกระดม นายสมบัติยืนยันว่าไม่เป็นความจริง แต่การแสดงออกของเขาเป็นไปเพื่อยืนยันสิทธิการแสดงความเห็นทางการเมือง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรมที่ชื่อ “เปลือยเพื่อชีวิต” เมื่อวันที่ 18 พ.ค.53 ที่บริเวณใต้ทางด่วนสามเหลี่ยมดินแดง โดยชักชวนกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงมาถอดเสื้อผ้า เพื่อเป็นสัญลักษณ์สื่อสารไปยังคนทั่วไปในสังคมให้รู้ว่าพวกเขามีเพียงตัว เปล่า ไม่มีอาวุธ

นายสมบัติกล่าวว่าการกล่าว หาดังกล่าว ทำให้เขาเสื่อมเสียชื่อเสียง และขัดแย้งกับกิจกรรมที่เขาเคยทำมา อย่างไรก็ตาม หากได้รับการปล่อยตัว เขาก็จะทำกิจกรรมรณรงค์ต่อไป โดยยืนยันว่าสิทธิทางการเมืองคือสิทธิมนุษยชน

ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอปล่อยตัว เนื่องจากการควบคุมตัวไม่ชอบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภาย หลังจากการไต่ส่วนเสร็จสิ้นลงเมื่อเวลาประมาณ 14.00 น.ศาลให้รอฟังคำสั่งในห้องพิจารณาคดี นายสมบัติก็ได้เขียนข้อความขนาดสั้นๆ ถึงความรู้สึกของเขาต่อการไต่สวนในวันนี้ และแจกจ่ายให้กับกลุ่มแฟนคลับที่มาฟังการพิจารณาคำร้อง อีกทั้งได้นั่งพูดคุยกันอย่างเป็นกันเอง

เมื่อเวลา 15.30 น.ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอปล่อยตัว โดยระบุว่าจากพฤติการณ์ของผู้ร้องที่ส่อให้เห็นว่าเป็นการชุมนุมทางการเมือง จริง ในระหว่างที่ยังมีการคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยมีการนำรูปเหตุการณ์สลายการชุมนุมไปติดในบริเวณสถานที่ และได้พบกับคน 10-80 คน ดังนั้นการควบคุมตัวจึงชอบด้วยกฎหมาย ศาลจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง

อีกทั้ง ในวันเดียวกันนี้ครบกำหนด 7 วันของการควบคุมตัว และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการยื่นขอควบคุมตัวต่อไปอีก 7 วันต่อผู้พิพากษาเวร ซึ่งศาลได้พิจารณาอนุญาตตามคำขอของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่มีการฟ้องคดีอาญากับนายสมบัติแต่อย่างใด


บก.ลายจุด: เราจะไปทางไหนกัน ?
*ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าห้อง พิจารณาคดีเพื่อไต่สวนขอปล่อยตัว ศาลอาญา (2 ก.ค.53)

มองกรณีของตัว เองอย่างไร

“การดำเนินกิจรรมทางการเมืองของผม ผมไม่มีช่องทางไหนอีกแล้วนอกจากเฟซบุ๊ก มันเป็นช่องทางของปัจเจกชนที่จะสื่อสารไปสู่สาธารณะ เกิดเหตุแบบนี้ขึ้นทำให้เห็นว่าจริงๆ แล้วรัฐมีนโยบายเกี่ยวกับการจัดการแบบไม่ปราณีเลย เต็มที่ ในทัศนะผม แม้แต่การสร้างเรื่องเท็จก็ยังทำได้ เพียงแต่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ”

“การเคลื่อนไหวข้างนอกไม่เกิดผลกระทบต่อรัฐบาลเลย ไม่เลย มันไม่มีข่าวเลยว่ามีใครไปถามแล้วตอบคำถาม มีแค่กรณีของกรรมสิทธิฯ เท่านั้นที่ถูกจี้ให้ตอบ แต่ถ้าไม่มีคนจุดเทียนไปเขาจะไม่มีทัศนะเรื่องนี้เลย คนมักบอกว่าข้าราชการเกียร์ว่างแต่องค์กรอิสระที่ต้องดูแลเรื่องนี้นั้นดู เหมือนจะยิ่งกว่าเกียร์ว่าง บางคนเป็นเครื่องมืออีกฝ่ายในการปราบปรามประชาชน”

โดนคดีแบบนี้จะส่งผลต่อกลุ่ม กิจกรรมย่อยๆ ที่เริ่มสร้างกิจกรรมทางการเมืองของตัวเองอย่างที่คุณสมบัติพยายามรณรงค์ไหม


“ผมบอกแล้วว่าผมไม่ใช่แกนนำ เป็นแกนนอน ผมไม่ควรต้องแสดงความรับผิดชอบต่อการเกิดหรือไม่เกิดกลุ่มย่อยต่างๆ เพราะมันเกิดจากการที่แนวนอนทั้งหลายจะเห็นด้วยและสนับสนุนแนวทางนี้ แต่ก็เห็น่วาเกิดการเคลื่อนไหวอย่างเห็นได้ชัด มีการตื่นตัว ในมุมหนึ่งเป็นปัจจัยที่ตอบโต้คืน รัฐบาลกดดันผมและขบวน แต่ถ้าเราไม่ทำไรเลย แปลว่าแนวทางแบบนี้ของรัฐบาลประสบความสำเร็จ แต่ขณะเดียวกันการตอบโต้คืนมันก็คือการบอกว่าคุณทำไม่สำเร็จ มันจำเป็นมากที่จะเรียนรู้วิธีการตอบโต้คืนในรูปแบบที่เหมาะสม เมื่อรัฐบาลใช้กฎหมายเราก็ต้องใช้รูปแบบ เช่น การยืนจดหมาย การออกแถลงการณ์ กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นเรื่องต้องออกแบบ


“สิ่งสำคัญคือการชิงพื้นที่สื่อ เพราะเราอาศัยกลไกของรัฐไม่ได้ อย่างกิจกรรมที่ไปพ่นรูปที่ราชประสงค์ ติดสติ๊กเกอร์ หรืออะไรทำนองนั้น มันอาร์ตมาก ผมรู้สึกว่าแนวคิดนี่ใช่เลย แบบชนชั้นกลาง ไม่ใช่ประเภทไม่จัดวาง แต่มีการคิดเวิร์ดดิ้ง ทำตำแหน่งจัดวางให้สวยงาม อย่างการไปแปะสติ๊กเกอร์ที่ป้าย “Together We Can” เป็น jamming มันไม่ได้ทำลายนะ แต่ไปป่วน message เกิดการตลก ล้อเลียน มันง่ายและเหมาะกับคนชั้นกลาง”


“อาทิตย์ที่ผ่านมา ผมคิดเรื่องการเอาปากกาวาดพระอาทิตย์ในที่สาธารณะที่มีที่ว่าง เช่น สะพานลอย ฯลฯ “

แล้วก็อาจโดนปรับ ห้าร้อย หรือสองพันบาทข้อหาทำสกปรก

“นี่แหละสันติวิธี คุณต้องท้าทายกฎหมาย ไม่ใช่ไม่ผิดกฎหมาย สันติวิธีผิดกฎหมายได้ เพียงแต่มันไม่รุนแรง ไม่ทำความรุนแรงให้คนอื่น แต่ว่าถ้าเขาบอกว่าคุณห้ามทำอะไรเลยแล้วไม่ทำ คุณก็เสร็จ แค่เอาปากกาไปเขียน ผมว่ามันพอ มันน่าทำ แค่วาดรูปพระอาทิตย์เท่านั้นเอง ถ้าเกิดทุกที่มันเป็นการแสดงความท้าทายอย่างซอฟท์ด้วย ไม่หยาบคาย ไม่ก้าวร้าว เหมือนพวกกราฟฟิตี้ แค่ประกาศว่า “ฉันมาแล้ว” เหมือนโคลัมบัสไปปักธงในที่ที่เขาค้นพบ การขึ้นรูปพระอาทิตย์สีแดงมันสนุกมาและน่ารัก ถ้าผมออกไปได้จะไปดันเรื่องนี้ต่อ บางทีเราน่าจะทำปากกาเคมีสีแดงรุ่นประชาธิปไตย แจกด้วยก็ดี แท่งสิบบาท ยี่สิบบาท เป็นของที่ระลึกด้วย(หัวเราะ)”


อยู่ที่ บก.ตชด.ได้รับการดูแลดีไหม


“ดี เจ้าหน้าที่ก็ท่าทีดีมาก แต่เขาไม่ค่อยบอกอะไรมากนัก เรื่องคดีก็เถอะถ้าผมไม่ถามก็ไม่รู้ แล้วที่สังเกตได้คือมีการสอบปากคำ ซักถามตลอดเวลา เยอะมาก ผลัดเปลี่ยนกันมา อย่างคนที่เคยถูกคุมตัว 30 วันก็สอบกันทั้ง 30 วัน ไม่รู้ทำไม”


ถ้าถูกฟ้องคดี อาญาอีก อาจถูกคุมตัวในเรือนจำ กังวลไหม กลัวไหม


“มันทำงานระดับจิตใต้สำนึกนะ ตอนออกมาจากคุกคราวนั้นผมก็ยังฝันถึงมันอีกหลายคืน เพราะมันขัดแย้งกับจิตใต้สำนึกของเรา ทุกอย่างในนั้นสำหรับผมมันเป็นประเด็นหมดเลย เห็นอะไรก็เป็นประเด็นหมดแม้แต่ท้องฟ้า มันเครียดมาก เพียงแต่เราใช้เหตุผลกดมันไว้ว่านี่เป็นเรื่องชั่วคราว อย่างนั้นอย่างนี้ แต่จริงๆ แล้วเราขยะแขยงกับสิ่งนั้นมาก เพราะเราเป็นพวกเสรีนิยมสุดโต่ง (หัวเราะ)”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน