แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คันเดียว-ลูกผสม 3 ประเทศ ซ้ำไร้วี่แววเสร็จทบ.ยังจ่อเซ็น "รถเกราะยูเครน" อีก 121 คัน?



Posted by คมชัดลึก ,

เข้าทำนอง "ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก" อีกแล้ว สำหรับกองทัพบก(ทบ.) เมื่อมีข่าวว่ามีการยื่นแผนการจัดซื้อ "รถหุ้มเกราะยูเครน" ลอตที่สองอีก 121 คัน

ทั้งที่รถหุ้มเกราะยูเครนลอตแรก 96 คัน วงเงินเกือบ 4,000 ล้านบาท ยังไม่ได้รับการส่งมอบ
ท่ามกลางข้อครหาว่า สาเหตุที่ส่งมอบล่าช้า เพราะยังประกอบ "เครื่องยนต์" และ "เกียร์" ยังไม่แล้วเสร็จใช่หรือไม่ !?

โดย เฉพาะกับข้อสังเกตที่ว่า เหตุใดถึงต้องหันไปใช้เครื่องยนต์จาก "เยอรมนี" และเกียร์จาก "สหรัฐอเมริกา" แทนที่จะใช้เครื่องยนต์จากยูเครน ซึ่งเป็นผู้ผลิตตัวถังโดยตรง

ความล่าช้าในการส่งมอบรถหุ้มเกราะให้ แก่กองทัพไทย จึงสอดคล้องกับข้อสงสัยของวงในระดับสูงของ ทบ. ที่ระบุก่อนหน้านี้ว่า สาเหตุของความล่าช้าในการส่งมอบรถหุ้มเกราะยูเครนมีเพียงประการเดียว
นั่น คือ (อดีต)ประเทศแม่ของยูเครน คือ "รัสเซีย" ในสมัยที่ยังรวมกันเป็นอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเครื่องยนต์ของรถหุ้มเกราะในตระกูล "บีทีอาร์" ส่วนยูเครนซึ่งเป็นประเทศบริวารมีความสามารถในระดับแค่ "ประกอบตัวถัง" เท่านั้น

เมื่อรัสเซียไม่ยอมส่งมอบเทคโนโลยีการผลิตเครื่องยนต์ รวมทั้งไม่ยอมขายเครื่องยนต์ให้ยูเครน เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างกัน ยูเครนจึงไม่สามารถหาเครื่องยนต์ให้ไทยได้

นี่จึงเป็นสาเหตุที่ต้องวิ่งขาขวิดไปหาซื้อเครื่องยนต์ และเกียร์จากอีก 2 ประเทศข้างต้นใช่หรือไม่ !?!?
วง ในของกองทัพรายเดิม ชี้ว่า ขณะนี้ที่กองทัพบกยังให้กำหนดเวลาการส่งมอบรถหุ้มเกราะยูเครนไม่ได้ เพราะทางยูเครนเองก็ยังไม่สามารถให้คำตอบว่าจะประกอบเสร็จเมื่อใด

"เรื่อง นี้เป็นเรื่องที่น่าเศร้าของกองทัพไทยมากที่รถคันเดียว แต่กลับต้องใช้ส่วนประกอบจาก 3 ประเทศ ดังนั้น การประกอบจึงต้องใช้เวลามาก เพราะต้องมีการดัดแปลงอีกเยอะเพื่อให้มีประสิทธิภาพใช้ได้ตรงตามสเปกที่กอง ทัพต้องการ"

ที่สำคัญ คือ ในการจัดซื้อระหว่างรัฐต่อรัฐ แม้ดูผิวเผินอาจจะดูดีในเรื่องของความโปร่งใส แต่แท้จริงแล้วกลับมีช่องโหว่ประการสำคัญ นั่นคือ เป็นสัญญาที่ไม่มีการกำหนด "ค่าปรับ" จึงไม่สามารถเรียกร้องความเสียหายได้ แม้จะส่งมอบล่าช้าแค่ไหนก็ตาม

อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่า เรื่องนี้กองทัพบกต้องทวงถามไปยังยูเครนว่า จะส่งมอบได้เมื่อใด เพราะก่อนหน้านี้มีการเลื่อนการส่งมอบมาแล้วหลายครั้ง ล่าสุด ก็เลื่อนจากปลายปี 2552 มาเป็นต้นปี 2553 แต่จนป่านนี้ก็ยังไร้วี่แววว่า รถยูเครนจะเข้าประจำการได้เมื่อไหร่

วงในรายนี้ จึงต้องการคำตอบที่ชัดเจนจาก ทบ. ว่าจะให้คำตอบสังคมได้หรือไม่ว่า รถหุ้มเกราะยูเครนจะนำเข้าประจำการได้เมื่อไหร่ ไม่ใช่ว่าลอตเก่ายังไม่รู้ว่าจะส่งมอบได้เมื่อไหร่ หรือจะมีประสิทธิภาพคุ้มค่าคุ้มราคาหรือไม่ แต่กลับมีการสั่งซื้อลอตที่ 2 อีกแล้ว

"เรื่องนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต้องอย่าเกรงใจกองทัพ เพราะถ้าตอบประชาชนไม่ได้ รัฐบาลจะเสียเอง ซึ่งตัวนายกฯ ไม่มีปัญหาเรื่องความโปร่งใสอยู่แล้ว แต่กับคนรอบข้างท่านต้องพิสูจน์ให้เห็นว่ามีความโปร่งใสเช่นกัน"

ส่วน ข้ออ้างที่ว่าจะนำไปประจำการในกองพลทหารราบ เช่น พล.2 รอ. เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับป้องกันชายแดนนั้น เขาเห็นว่า ด้วยศักยภาพของกำลังพล และอาวุธเท่าที่อยู่ก็สามารถเอาชนะได้ไม่ยากอยู่แล้ว ซึ่งจริงๆ แล้วน่าจะไปเน้นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศดีกว่า

ขณะที่ พล.ท.เอกชัย วัชรประทีป เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก แถลงข่าวชี้แจงสาเหตุความล่าช้าในการส่งมอบว่า เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขข้อตกลงสัญญา จากเดิมที่มีการระบุในสัญญาเกี่ยวกับการใช้ตัวเครื่องยนต์ดอยช์ จากประเทศเยอรมนี มาเป็นเครื่องยนต์รุ่นเอ็มทียู ของประเทศเยอรมนี และเกียร์เอริสันของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการเสนอให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พิจารณาในรายละเอียด และเตรียมที่จะชี้แจงคณะรัฐมนตรี(ครม.) เร็วๆ นี้

เจ้ากรมสรรพาวุธ ทหารบก ยังให้ความมั่นใจเรื่องกำหนดการส่งมอบรถหุ้มเกราะลอตแรกว่า จะสามารถผ่านพ้นไปด้วยดี โดยรถหุ้มเกราะล้อยางลอตแรก จำนวน 96 คัน จะสามารถเข้ามาประจำการได้ทั้งหมด จำนวน 96 คัน ภายในปี 2554

"แต่ เบื้องต้น จะเข้ามาประจำประเทศไทยลอตแรก 2 คัน ในช่วงเดือนกันยายน 2553 หลังจากที่มีการนำเข้ามาแล้ว จะมีการเปิดแถลงข่าวในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง"

ส่วนวงเงินงบประมาณ การจัดซื้อในลอตที่ 2 ประมาณ 5,000 ล้านบาท จำนวน 121 คัน ใช้งบประมาณผูกพัน 3 ปี ตั้งแต่ปี 2552-2554 โดยจะจัดซื้อกับตัวแทนจำหน่ายโดยตรงของยูเครน ขณะที่ลอตแรกมีการจัดซื้อแบบรัฐต่อรัฐ และไม่หวั่นข้อครหาเรื่องความโปร่งใส

นี่คือประเด็นคำชี้แจงทั้งหมดของกองทัพบกที่ฟังแล้วน่าใจหายไม่น้อย เพราะกว่าจะได้ยลโฉมรถเกราะยูเครนลอตแรกก็ปาเข้าไปเดือนกันยายน

จากเดิมที่เคยแถลงว่าจะนำเข้ามาประจำการบางส่วนได้ในต้นปี 2553 แถมยังมาให้เห็นตัวเป็นๆ แค่ 2 คันเสียด้วย !?

นอก จากนี้ กองทัพบกยังต้องตอบคำถามอีกมากว่า เหตุใดจึงต้องเร่งซื้อลอตที่ 2 ทั้งที่ลอตแรกยังลูกผีลูกคนว่า จะได้ครบเมื่อไหร่ และยังพิสูจน์ไม่ได้ด้วยว่า จุดด้อยต่างๆ ที่มีผู้คนตั้งข้อสังเกตก่อนหน้านี้มากมายเป็นจริงอย่างที่ผู้คนครหากันหรือ ไม่

ตราบใดที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ยังเคลียร์สารพัดข้อกังขาของรถหุ้มเกราะลอตแรกไม่ได้ การเร่งจัดซื้อลอตที่ 2 ก่อนเกษียณไม่ถึง 2 เดือน อาจถูกมองว่าเป็นการ "ทิ้งทวน" เหมือน ผบ.เหล่าทัพรุ่นพี่ก่อนหน้านี้อีกหลายคน

ทีมข่าวความมั่นคง

http://www.oknation.net/blog/komchadluek/2010/07/21/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน