แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

จาตุรนต์:ยื้อ ถึงสิ้นปีเพื่อแบ่งงบ..ไม่มีเหตุผล


จาตุรนต์:ยื้อ ถึงสิ้นปีเพื่อแบ่งงบ..ไม่มีเหตุผล


เวลา นี้นายกฯกลายเป็นมาพูดว่าต้องฟังหลายฝ่าย ต้องฟังจากฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ และข้อเสนอที่สำคัญของนายกฯ เป็นข้อเสนอที่ทำไม่ได้ มันขัดแย้งกันอยู่ในตัว คือนายกฯมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการยุบสภา แต่ไม่ใช้ แต่กลับมาเสนอข้อเสนอที่ตัวเองทำไม่ได้ และรู้อยู่แล้วว่าทำไม่ได้ แก้รัฐธรรมนูญนายกฯไปอมพระมาพูดก็ไม่มีใครเชื่อว่าทำได้ แต่ยุบสภานายกฯไม่ต้องหารือใคร



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
30 มีนาคม 2553

หมายเหตุไทยอีนิวส์: นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย แถลงข่าวการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับนปช.กับทางออกทางการเมืองโดยการยุบสภา ที่โรงแรมเรดิสัน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2553 เวลา 13.00 น.



นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวถึงการเจรจาของฝ่ายรัฐบาลและนปช.ในการหาข้อยุติทางการเมืองเมื่อวัน อาทิตย์ที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า ผมจะแสดงความเห็นต่อการเจรจาทั้ง 2 ฝ่าย เพราะว่าเป็นการเจรจาที่สำคัญในการหาทางออกให้กับวิกฤตของประเทศ

การ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายมาถึงจุดที่เจรจากัน ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องดี เมื่อมีความเห็นแตกต่างกัน เมื่อมีวิกฤตของบ้านเมืองแล้วทั้ง 2 ฝ่ายมาพูดจาเจรจากันต้องถือว่าเป็นเรื่องดี ที่สำคัญคือว่า การเจรจาจะมีผลอย่างไร และทางออกนั้นจะเป็นทางออกที่แก้วิกฤตได้จริงหรือไม่ มีเหตุผลดีหรือไม่ เป็นเหตุผลสำคัญที่ต้องดูกันต่อ

จากการเจรจากัน เมื่อวานนี้ ผมคิดว่าที่ข้อเสนอของฝ่าย นปช.ก็มีความชัดเจนแตกต่างจากเดิมที่ต้องการให้มีการยุบสภาทันที ก็เปลี่ยนมาเป็นยุบสภาในทันทีภายใน 15 วัน

ในส่วนของนายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าจากที่นายกฯพูดในการเจรจาครั้งแรก แสดงให้เห็นว่าท่านยังไม่เข้าใจหรือไม่ตระหนักถึงภาวะวิกฤตของประเทศ จาก การที่มีความขัดแย้งทางความคิดเห็น ความขัดแย้งทางการเมืองที่พัฒนามายาวนานพอสมควร และเป็นความขัดแย้งที่ลึกซึ้ง ทำให้คนในสังคมมีความแตกต่าง หรือแม้กระทั่งแตกแยกกันทางสังคม

ท่านนายกฯอาจจะยังไม่แสดงให้เห็นว่า เข้าใจหรือทุกข์ร้อนเท่าไร ท่านนายกฯ ยังเป็นการพูดในลักษณะหาทางอยู่ให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงเท่ากับเป็นการยืดเวลา ปล่อยให้วิกฤตคงอยู่ต่อไป และจะทำให้ประเทศเสียโอกาสในการแก้ปัญหา

เพราะการอยู่นาน ไป รัฐบาลก็ไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้ ผมเป็นห่วงตรงที่ว่า เมื่อความขัดแย้งในสังคมเป็นความขัดแย้งในที่ลึก และเข้มข้นมากอย่างนี้ เกรงว่า จะเกิดภาวะกว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ คือไม่ทำอะไร ไม่แก้ปัญหา แล้วก็ปล่อยให้ขัดแย้ง และวิกฤตขยายตัวต่อไป เข้มข้นมากขึ้น และจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ ขณะนี้ก็เป็นที่ทราบกันดีว่ามีความพยายามเข้าไปก่อกวน ทำร้าย ทำลายการการชุมนุมของประชาชนเกิดขึ้นติดๆกันแล้วในช่วงหลังๆ ก็ไม่ทราบว่าจะบานปลายถึงขั้นไหน

แต่จุดที่สำคัญที่นายกฯได้พูดไปแล้วแล้วคนจะจับได้หรือไม่ ไม่ทราบ แต่ผมสังเกตจากที่ติดตามมาตลอด ผมคิดว่านายกรัฐมนตรีได้ไปเสนอสิ่งที่ท่านเองทำไม่ได้ เป็นเรื่องสำคัญ ท่านนายกฯได้พูดเหมือนกับที่ผ่านมา พยายามพูดให้คนเข้าใจว่า ท่านเองก็พร้อมจะยุบสภา แต่ต้องมีเงื่อนไข 3 ข้อ คือ

ข้อ 1.คือเศรษฐกิจต้องดีขึ้นเสียก่อน ถึงขณะนี้ท่านเองก็บอกว่า เศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว

ข้อที่ 2 คือ ทุกฝ่ายไปหาเสียงได้ เมื่อมีการเลือกตั้งในส่วนนี้ฝ่าย นปช.เขาก็ยืนยันหนักแน่นชัดเจนแล้วว่า ถ้ายุบสภาแล้วต่างคนก็ต่างหาเสียงกันไป ไม่ไปก้าวก่ายขัดขว้างอะไรใครทั้งสิ้น

ก็เหลืออีกข้อหนึ่งก็คือ ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้กติกาให้เป็นที่ยอมรับเสียก่อน



อัน นี้เป็นเงื่อนไข 3 ข้อเดิม ซึ่งนายกฯได้ยกขึ้นในการเจรจาครั้งแรก

ท่านนายกฯไม่ได้บอกว่า รัฐธรรมนูญที่จะแก้ให้ชอบธรรมเสียก่อน มันเป็นรัฐธรรมนูญมาตราไหน เนื้อหาเป็นอย่างไร และที่ผ่านมาก็พูด ให้คนเข้าใจได้ว่า ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการยุบพรรค เพราะท่านบอกว่าเดี๋ยวเลือกมาแล้ว ฝ่ายหนึ่งชนะแล้วถูกยุบพรรคอีกจะทำยังไง

ปัญหา ก็มีว่า รัฐธรรมนูญว่าด้วยการยุบพรรค มาตราอะไรก็ตามของนายกฯ ผมเข้าใจว่า หมายถึงการยุบพรรค นายกรัฐมนตรีจะทำให้เป็นจริงได้อย่างไร ในเมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้มีมติชัดเจนไปแล้วว่า ไม่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราใดทั้งสิ้น

เพราะฉะนั้นสิ่งที่นายกฯ ยกขึ้นมาเป็นเงื่อนไขว่า แก้กติกาให้เป็นที่ยอมรับเสียก่อนดีไหม แล้วค่อยยุบสภา เป็นการเสนอสิ่งที่ท่านเองก็รู้อยู่แล้วว่า ทำไม่ได้ และมันเป็นความขัดแย้งในตัว

เวลานี้มีข้อ เรียกร้องจากฝ่ายวิชาการเสนอว่า ให้รัฐบาลยุบสภาภายใน 3 เดือน เพื่อให้มีเวลาแก้กติกาก่อนการเลือกตั้งเสียก่อน ปัญหาคือว่า เมื่อมีข้อเรียกร้องอย่างนี้ออกมา ต้องถามนายกรัฐมนตรีว่า ท่านจะใช้เวลาเท่าไรที่จะแก้กติกา ใช้เวลาเท่าไร ทำอย่างไร ซึ่งถ้าซักไซร้กันจริงๆ วันสองวันเราก็จะรู้กันแล้วว่า ทำไม่ได้แน่ เพราะว่าพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่เห็นด้วย ที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีความเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้

มันก็อยู่ตรงประเด็นที่ว่า เมื่อแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้แน่ๆแล้ว ยุบเร็วหรือยุบช้าอันไหนดีกว่ากัน ในขณะนี้รัฐบาลทำอะไรไม่ได้ บริหารประเทศไม่ได้ ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นมา ต้องมีเบี้ยล่างของทหาร ของพรรคร่วม ที่สำคัญวิกฤตของประเทศมีมาก จนกระทั่งไม่มีใครมีสมาธิทำอะไร การยืดเวลาออกไป โดยแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ด้วย ยุบเร็วก็ไม่ได้แก้รัฐ ธรรมนูญ ยุบช้าก็ไม่ได้แก้รัฐธรรมนูญ หรืออยู่ครบเทอมก็ไม่ได้แก้รัฐธรรมนูญ

การอยู่ต่อไปนานๆ ยิ่งจะทำให้บ้านเมืองยิ่งเสียหาย และสุ่มเสี่ยงที่วิกฤตจะบานปลาย กลายเป็นความรุนแรง ความเสียหายใหญ่หลวงต่อประเทศชาติได้ การยุบ เร็วจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า เพราะว่าร่นระยะเวลาในการแก้ไขปัญหา วิกฤตของประเทศ ทำให้เราก้าวไปสู่การแก้ไขปัญหาในขั้นต่อๆไป ก็คือว่า เลือกตั้งแล้วจะไปแก้รัฐธรรมนูญกัน จะไปลงมติก็ทำได้เร็วยิ่งขึ้น ทั้งหมดจะเร็วขึ้น ถ้าคิดตามอายุรัฐบาล การยุบสภาในเร็วๆ นี้เลย ก็เท่ากับจะเร็วขึ้นถึงปีกว่า ทำให้ประเทศพ้นจากภาวะวิกฤต ภาวะคาราคาซังได้ดีกว่าปล่อยให้นานๆออกไป

เพราะอย่างไรก็ตาม ไม่มีทางที่นายกรัฐมนตรีจะแสดงให้คนเห็นได้ว่า ท่านจะสามารถนำพาให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้ แล้ว ข้อเสนอในการเจรจาครั้งแรกจึงเป็นข้อเสนอที่แปลกประหลาดคือ เป็นข้อเสนอจากผู้ที่รู้อยู่แล้วว่า ทำไม่ได้ อันนี้ผมก็เป็นห่วงว่า ถ้าปล่อยนานไป มันจะเกิดภาวะกว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้แน่ๆ มีโอกาสสูง และจะเป็นเรื่องน่าเสียดายที่นายกรัฐมนตรีเนื่องจากต้องการอยู่นานๆ เท่านั้นเอง ทั้งๆที่ทำอะไรไม่ได้ แต่กลับจะไม่สนใจหาทางแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ ทั้งๆที่สามารถทำได้


ผู้ สื่อข่าวถามว่า การยุบสภาควรจะเกิดขึ้นปลายปี 2553 มองว่า นานเกินไปหรือไม่

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า เรื่องควรยุบสภาเมื่อไร มันเป็นเรื่องที่ต้องหาเหตุผลมารองรับ ถ้าพูดว่าปลายปี โดยเฉพาะไปพูดว่าสิ้นปีงบประมาณเสียก่อน มันไม่มีเหตุผล

เพราะ มันเป็นเรื่องว่า ฝ่ายบริหารก็อยากจะใช้งบประมาณ มันก็จะไปเข้าที่ว่า คนเขามักวิจารณ์ว่า รัฐบาลนี้อยู่เพื่อใช้งบประมาณ เพื่อจะแบ่งปันงบประมาณกัน จึงไม่มีเหตุผล

ข้อเสนอฝ่ายนัก วิชาการบอก 3 เดือนแล้วให้แก้กติกาเสียก่อน เป็นข้อเสนอที่มีเหตุผล แต่ว่าพอไล่จริงๆ ก็จะพบว่าไม่มีความจำเป็นต้องใช้เวลา 3 เดือน เพราะมันทำไม่ได้ คือเขาบอก 3 เดือนเพื่อแก้ไขกติกาให้เป็นที่ยอมรับเสียก่อน รัฐบาลนี้และรัฐสภานี้อย่างไรก็ไม่แก้รัฐธรรมนูญแล้ว เพราะว่าพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคร่วมรัฐบาลเขาคุยกันแล้ว พรรคร่วมต้องแก้ไขเพียง 2 มาตรา ซึ่งไม่เกี่ยวกับกติกาเลือกตั้งที่คนไม่ยอมรับ พรรคประชาธิปัตย์ลงมติไม่แก้ด้วยเลย แล้วคุณจะไปแก้รัฐธรรมนูญกันยังไง

เพราะฉะนั้นข้อเสนอ 3 เดือนที่นักวิชาการพูด สิ่งที่นักวิชาการพูดที่ผมเห็นด้วยก็คือว่า ผมเห็นด้วยเรื่องการกำหนดเวลาในการจะยุบสภา และควรจะทำเร็ว เขาพูด 3 เดือนไม่ใช่นานไปเหมือนพรรคร่วมรัฐบาลคิด หรือเหมือนกับที่นายกฯ คิดว่า ขอซักครึ่งหนึ่ง ต่อรองเหมือนขายของกันอยู่ เขาพูดกัน 3 เดือน แต่ว่าที่ผมอยากจะบอกว่า ข้อเสนอ 3 เดือนนั้น ไส้ในมันคือบอกว่า เพื่อแก้กติกาเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ มันทำไม่ได้

ใช้เวลาเพียง 3 วันก็รู้ว่าทำไม่ได้ เช่น เราเคยให้พรรคประชาธิปัตย์ลงมติพรรคใหม่เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ไหมว่า ไปให้พรรคร่วมลงมติร่วมกันว่าให้แก้รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งใหม่ ทั้งหมด ทุกมาตราที่เกี่ยวให้ลงมติเป็นที่ยอมรับอย่างนี้ได้ไหม พรุ่งนี้ก็เรียกประชุมลงมติ เราก็จะรู้ทันทีว่า การแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับ ไม่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า เวลาที่จะเลือกการยุบสภาควรจะมีเหตุผลรองรับอย่างไร


ผู้ สื่อข่าวถามว่า เวลา 2 สัปดาห์ที่กลุ่มเสื้อแดงกำหนดไม่มองว่าเป็นการเร็วเกินไป

นาย จาตุรนต์ กล่าวว่า 2 สัปดาห์ก็คือว่า เมื่อเขาเห็นว่า ทางออกของการแก้ปัญหาวิกฤตต่างๆ มันจบไปแล้ว เขาก็เลยเสนอว่า ให้ยุบสภาทันที แต่เมื่อมาเจรจา ฝ่ายรัฐบาลอยากจะไปเจรจา ฝ่ายรัฐบาลอยากจะไปคุยอะไรก็ไปคุยกันซะ ก็เลยเสนอว่า 2 สัปดาห์มันก็พอมีเหตุผล

แต่ผมก็ไม่ได้บอกว่าต้อง 2 สัปดาห์ คือถ้าพรรคร่วมรัฐบาลไปคุยกันและมีมติชัดเจนว่า เราจะแก้รัฐธรรมนูญ สมมุติอย่างนี้นะ มันก็จะมีเหตุผลว่า นั่นก็ต้องรอดูการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ว่าเขามีแต่มติ ไม่แก้รัฐธรรมนูญไปหมดแล้ว จะต้องการเวลาอะไร มันก็จะไม่เหลือว่า จะรอเวลาอะไร

เมื่อไม่มีเหตุผลแต่ยังจะอยู่ไป นาน อยู่ไปปีครึ่งเลย ก็คือเสียโอกาสในการแก้ เพราะอย่าลืมว่าเลือกตั้งมาเราจะต้องเจอปัญหาต่างๆตามมาอีก สู้เรายุบให้เร็ว แก้ปัญหาให้เร็ว หาทางให้ประชาชนมาตัดสิน มามีส่วนในการตัดสิน ทุกอย่างจะร่นเข้ามาให้เร็วขึ้น แล้วจะทำให้เราจะก้าวพ้นวิกฤตแบบนี้ แล้วไปสู่การแก้ไขปัญหาประเทศในด้านอื่นได้เร็วขึ้น

ผู้ สื่อข่าวถามว่า มองจำนวนผู้ชุมนุมที่มากหรือไม่ว่า หากการเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

นาย จาตุรนต์ กล่าวว่า คือในส่วนนี้ถ้าดูจากการชุมนุมในช่วง 2 สัปดาห์มานี้ การที่แกนนำผู้ชุมนุมเขายืนยันเรื่องสันติวิธี แล้วเขาก็ปฏิบัติตามนั้นอย่างเคร่งครัด ถ้ายังยืนยันอยู่อย่างนี้ ความน่าเป็นห่วงก็น้อยลง และประเด็นที่เป็นเรื่องดีคือเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาที่ประชาชนเข้าไปเชิญ ทหารขอให้ทหารกลับกรมกองจากวัดต่างๆ และทหารก็ยอมออกไปโดยดี มันเป็นภาพที่ดีคือ ทหารก็ไม่ได้คิดทำร้ายประชาชน และยอมรับในเหตุผลว่า การที่เอาทหารไปอยู่ตามวัด มันขัดต่อหลักสากล มันขัดต่อหลักที่นานาประเทศเขาจะยอมรับได้ ทีนี้ก็เป็นความรู้สึกที่สวยงาม ที่เป็นสัญญลักษณ์ว่า ประชาชนไทยไม่เห็นด้วยที่เอาทหารมาแก้การเมือง

แต่ว่าทางรัฐบาลก็ยังพูดว่า เดี๋ยวจะเอากำลังทหารกลับมาอีก ตรงนี้ไม่ดี ทีนี้ถ้าประชาชนมาก แล้วรัฐบาลคิดจะเอาทหารกลับมาอีก จะมาล้อมสภาบ้าง จะเอามาตามจุดต่างๆ อีกบ้าง จะด้วยข้ออ้างอะไรก็ตาม ซึ่งเป็นข้อสรุปไปหมดแล้ว ไม่เหมาะสม เป็นภาพที่ลงหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ที่ทหารออกมา แล้วประชาชนก็ขอบใจยิ้มแย้มแจ่มใสกันไปวันนั้น ถ้าเอากลับมาอีก ความเสี่ยงก็กลับมาอีก และตอนนี้ที่มีข่าวไปเผาเต้นท์บ้าง แอบจะไปตีคนตอนระหว่างกลับจากชุมนุมบ้าง อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่า มันเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความรุนแรง

เพราะฉะนั้นใน เวทีเจรจานายกฯพูดเหมือนกับว่าไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้เลย คิดแต่จะโต้วาที หรือทำยังไง พูดตรงๆ คือหาเสียงกับคนดู ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องไม่เหมาะกับการจะแก้วิกฤต ต้องอย่าลืมว่า เมื่อวันเสาร์ที่แล้วมันเป็นวิกฤตเห็นชัด คนเขาไม่รู้ว่า ไปเชิญทหารออกจากวัด หรือไปเชิญออกจากบางที่ เขามีดินก็ดี อะไรก็ดี ไม่รู้จะปะทะกันหรือเปล่า แต่ดีที่มันจบโดยราบรื่น ผ่านอย่างนี้ไปเหมือนกับว่านายกฯไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้นอย่างนี้ไม่ได้ ซึ่งประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็รู้สึกมีความมั่นใจมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า มันควรยุบสภาได้แล้ว เขาก็ยังจะใช้เสรีภาพของเขาต่อไป และถ้านายกฯไม่คิดแก้อะไรอย่างนี้มันเป็นอันตราย


ผู้ สื่อข่าวถามว่า การเกิดเหตุระเบิดรายวัน มองว่าเชื่อมโยงหรือมีผลทำให้เกิดการแตกหักเร็วขึ้นหรือไม่

นาย จาตุรนต์กล่าวว่า เป็นความเสียหายแน่นอน ระเบิดที่เกิดต้องประณามกันว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ไม่สมควรทำ ไม่ว่าฝ่ายไหนก็ตาม แต่เมื่อเกิดขึ้นติดๆ กัน แล้วรัฐบาลทำอะไรไม่ได้ และทำไม่ได้มาแต่ต้นแล้ว และก็เป็นคนปล่อยข่าวเองว่าจะมีการก่อวินาศกรรม มีการผลิตอาวุธออกมาโดยไม่รู้เจ้าของ แล้วต่อมาก็รู้บ้างไม่รู้บ้าง ไม่สืบสวนเอาผู้ทำความผิดมาลงโทษอย่างจริงจัง พอมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ไม่รู้ว่าจากฝ่ายไหน มันก็ทำให้บรรยากาศการลงทุน บรรยากาศการท่องเที่ยวก็ดี ความรู้สึกที่มาโยงวิกฤตการเมืองมันก็สูงขึ้น อันนี้ก็เป็นปัญหาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งก็ต้องนำมาคิดประกอบด้วย

เวลา นี้นายกฯกลายเป็นมาพูดว่าต้องฟังหลายฝ่าย ต้องฟังจากฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ และข้อเสนอที่สำคัญของนายกฯ เป็นข้อเสนอที่ทำไม่ได้ มันขัดแย้งกันอยู่ในตัว คือนายกฯมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการยุบสภา แต่ไม่ใช้ แต่กลับมา เสนอข้อเสนอที่ตัวเองทำไม่ได้ และรู้อยู่แล้วว่าทำไม่ได้ แก้รัฐธรรมนูญนายกฯไปอมพระมาพูดก็ไม่มีใครเชื่อว่าทำได้ แต่ยุบสภานายกฯไม่ต้องหารือใคร ถ้าบอกว่าพรรคร่วมฯเห็นไม่ตรง ซี่งการที่พรรคร่วมรัฐบาลเห็นไม่ตรงนั้นแหละเป็นการยุบสภาได้ ไม่ใช่ต้องรอให้พรรคร่วมรัฐบาลเห็นตรงกัน เหตุผลในการยุบสภาเขาเป็นอย่างนี้ คือหมายความว่า นายกฯคิดว่า ต้องแก้รัฐธรรมนูญ พรรคร่วมไม่แก้ พรรคตัวเอง หรือส.ส.ของตัวไม่แก้ ก็ต้องยุบสภา เพราะฉะนั้นเหลือทางเลือกนายกฯก็ต้องลาออกไป ซึ่งก็ไม่แก้ปัญหาอีก


ผู้ สื่อข่าวถามว่า มองบทบาทของกองทัพอย่างไรในเวลานี้ ถ้าเทียบกับบทบาทของกองทัพในรัฐบาลชุดที่แล้ว

นาย จาตุรนต์กล่าวว่า บทบาทของทหารถ้าเทียบกับทหารในรัฐบาลชุดที่แล้วถือว่า ลำเอียงอยู่มาก และเข้ามาดูแลแก้ปัญหาอุ้มรัฐบาลนี้เต็มตัว เต็มที่ แต่ก็ต้องชมเชยเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทหารเลือกที่จะไม่ปราบประชาชน ไม่ปะทะกับประชาชน และผมก็สงสัยว่าที่นายกฯ ต้องไปเจรจา เพราะทหารเขาสงสัญญาณบอกว่า ไม่ไหวแล้วหรือเปล่า ผมคิดว่า ทหารในตอนนี้ ผมไม่เรียกร้องให้ทหารไปกดดันรัฐบาลให้ยุบสภา เพราะผมคือว่าอันนั้นขัดต่อหลักการประชาธิปไตย แต่ทหารต้องบอกกับรัฐบาลว่า ถ้าต่อไปนี้ถ้ามาสั่งทหารให้ปราบปรามประชาชนจะไม่ทำเด็ดขาด ทหารควรจะบอกไปซะ ไม่อย่างนั้นเขาจะมีความมั่นใจว่า ถ้าเกิดอะไรขึ้นเขาจะใช้ทหารปราบประชาชนได้ แต่ว่าถึงขั้นไปบอกให้นายกฯยุบสภา ผมว่าไม่เห็นด้วย มันเป็นการแทรกแซงรัฐบาล


ผู้สื่อข่าวถามว่า มองทิศทางการเจรจาต่อไปอย่างไร

นายจาตุรนต์กล่าวว่า คือถ้านายกฯยังใช้วิธีพลิ้วไป แล้วหาเสียงกับคนทั่วไปแบบโดยเชื่อว่า คนจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ไม่มีประโยชน์อะไร สุดท้ายก็ลงเอยแบบต่างคนต่างแยกย้ายกันกลับไป เสียดายจะไปถามนายกฯยังไงว่า ข้อเสนอที่นายกฯเสนอนั้น นายกฯจะแก้รัฐธรรมนูญมาตราไหน และจะทำได้ยังไง ใช้เวลาเท่าไรในการดำเนินการ และใช้เวลาเท่าไรถึงจะเห็นได้ชัดว่า ท่านทำได้หรือไม่ได้ คือถ้าตอบคำถามนี้วันนี้ก็สรุปได้แล้วว่า มันไม่มีทางอื่นนอกจากยุบสภา แต่ถ้าเฉไฉไม่ตอบ มันก็เป็นสไตล์อย่างนายกฯ คือว่า จะหาเสียงให้คนเข้าใจว่า อยากให้อยู่นานๆ

ผู้สื่อ ข่าวถามว่า การตั้งกรอบให้มีการยุบสภาภายใน 2 สัปดาห์ คิดว่าจะทำให้บรรยากาศโดยรวมตึงเครียดมากขึ้นหรือไม่

นาย จาตุรนต์ กล่าวว่า มันผ่อนคลายไปบ้างแล้วนะ เพราะก่อนนี้เขาเสนอให้ยุบทันที จริงๆ มันออกไม่ตรงกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมันก็เป็นไปได้ เพียงแต่อย่างที่ผมบอกคือว่า ต้องหาเหตุผลมารองรับให้ได้ว่า ใช้เวลาเท่าไรเพื่ออะไร ทำประชามติตอนเลือกตั้งทำได้ แต่ในแง่กฎหมายไม่แน่ใจว่าทำได้ไหม จะทำอย่างนั้นเลยก็ได้ ก็เป็นอีกแบบหนึ่งทั้งเลือกตั้งและลงประชามติว่าจะแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ มันไม่มีหลักประกันอะไรเลย เพราะการลงประชามติโดยรัฐธรรมนูญและโดยกฎหมายไม่มีผลผูกพันต่อการยุบสภา

ถ้าพรรคประชาธิปัตย์เพียงพรรคเดียวยืนยันว่า ไม่แก้ ถึงประชามติมาแล้วเขายังไม่แก้ แก้ไม่ได้ สมมุติรัฐบาลคิดจะไปทำประชามติ พรรคประชาธิปัตย์ต้องประชามติก่อนว่า จะแก้รัฐธรรมนูญอย่างนี้ถึงพอจะมีเหตุผลคิดกันต่อ พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคเดียวที่ชัดเจนที่สุดว่าไม่แก้แม้แต่มาตราเดียว ถ้ายืนยันว่า ต้องแก้กติกาก่อนก็ต้องยุติแค่นั้น

มันจะยังมีทางอื่นนอกจากยุบสภาไหม ยังนึกไม่ออก มันก็กลับมาที่เดิม เวลานี้ความเห็นคือรัฐบาลไม่ควรอยู่ครบเทอม อันนี้มันเห็นตรงกันหมดแล้วว่าควรจะต้องยุบสภาก่อนเวลา ต่างกันอยู่ตรงว่า จะอยู่นานเท่าไร และด้วยเหตุผลอะไร เวลานี้ถ้าบอกว่าใช้งบประมาณกันให้สนุกก่อนใครเขาจะฟัง มันก็เหลือตรงว่า เลือกตั้งแล้วจะหาเสียงได้ อันนี้ทำสัตยาบันก็หมดแล้ว จะเหลือที่ว่าจะแก้กติกายังไง ซึ่งแก้กติกามันมาติดตรงที่ว่า มันแก้ไม่ได้แน่นอนแล้ว เวลานี้ยังจะแสดงยังไงว่าแก้ได้ เป็นไปไม่ได้ พรรคร่วมฯมีมติว่าให้แก้ คุณก็ต่างกันแล้วจะแก้มาตราไหน

ผู้ สื่อข่าวถามว่า ประธานวุฒิสภากับคุณเสนาะก็ไม่เห็นด้วยกับการยุบสภา ในฐานะที่พรรคประชาราชเป็นเพื่อนพรรคร่วมฝ่ายค้านต้องมีการพูดคุยกันหรือไม่

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ทางประธานวุฒิสภามีความเห็น ก็ไม่รู้ว่าท่านต้องการทางออกอย่างไร อยากจะให้ทำตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ก่อนหรือไม่ ก็ไม่ทราบ ซึ่งอันนั้นมันก็เลยไปแล้ว

ส่วนข้อเสนอเรื่องตั้งรัฐบาลแห่งชาติขึ้นมาแก้ปัญหา มันก็เป็นการมองว่า ให้รัฐบาลชุดนี้บริหารต่อไปก็ไม่ได้ สภาก็ยังติดค้างเรื่องต่างๆ อยู่ แต่การตั้งรัฐบาลแห่งชาติถ้าไปถามพรรคประชาธิปัตย์จะพบว่า ยิ่งยากกว่าเรื่องอื่นทั้งหมด พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีทางที่อยู่ๆ จะบอกว่า เชิญพรรคฝ่ายค้านเป็นรัฐบาลร่วมกัน ส่วนรัฐบาลแห่งชาติประเภทที่เอาคนนอกมาเป็นนายกฯ มันทำไม่ได้อยู่แล้ว

ยุบสภาไม่ใช่แก้ปัญหาทั้งหมดได้ แต่แก้ไขปัญหาบางส่วนได้ เรื่องความเห็นที่รัฐบาลไม่ชอบธรรม แล้วก็มันจะเป็นการเร่งกระบวนการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาของประเทศไทยยังจะมีอยู่เยอะแยะ แต่ถ้าปล่อยทั้งหมดอย่างนี้ ปัญหาทั้งหมดก็จะไม่ได้แก้เลย

0000

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน