การยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดีเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบที่เป็น รูปธรรมในสงครามแห่งทวีปยุโรป เพราะทันที่ที่กองทัพสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกในวันที่ 6 มิถุนายน 1944 ต่อมาอีกเพียง 10 เดือน สงครามในทวีปยุโรปก็ยุติลงอย่างสิ้นเชิง.. ชัยชนะที่นอร์มังดี เป็นเพียงชัยชนะขั้นต้นเพียง 1 ชัยชนะของการรบ แต่เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่เพื่อนำมาสู่ชัยชนะในขั้นสุดท้ายแห่งสงครามโลก... ดังนั้นการวางแผนเพื่อให้ได้รับชัยชนะในสงครามแห่งนอร์มังดี จึงเป็นการวางแผนที่สำคัญยิ่งเพราะถ้าพลาดการรบในขั้นต้นครั้งนี้ ก็จะพ่ายแพ้ในการรบแห่งสงครามใหญ่ทั้งหมดด้วย...
การเริ่มต้นของการต่อสู้ของพี่น้องผู้รักประชาธิปไตยที่ผ่านมาตั้งแต่แรก เริ่มเมื่อประมาณปี 2547 ต่อ 2548 นั้น... แรก ๆ ก็เป็นการเริ่มต้นต่อสู้เพราะต่อต้านการปลุกระดม, การใส่ร้าย, และการให้ข้อมูลที่บิดเบือนของ กลุ่ม พธม. และ ASTV โดยการให้ความจริงอีกด้านของข้อมูลที่ถูกบิดเบือน... จนกระทั่งมีการรัฐประหารเกิดขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2549 ..การต่อสู้ของพี่น้องผู้รักประชาธิปไตยจึงเปลี่ยนไปเป็นการต่อต้านรัฐ ประหารและอำนาจเผด็จการแทน..
การต่อสู้ในระยะแรก ๆ ของพี่น้องผู้รักประชาธิปไตยจึงเป็นไปอย่างชนิดสะเปสะปะ.. เป็นการต่อสู้โดยไม่มีแผนการณ์.. เป็นการต่อสู้เพราะทนเห็นความอยุติธรรมไม่ได้.. ไม่มีการจัดระบบหรือวางแผนเป็นรูปแบบใด ๆ จึงกระจัดกระจายถอยร่น... ฝ่ายประชาธิปไตยถูกทำลายลงอย่างหมดทางต่อสู้... เหมือนกับในระยะแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ที่สัมพันธมิตรพ่ายแพ้ทุกแนวรบ..
จนกระทั่งเวลาผ่านไปเกือบ 4 ปี กระแสแห่งการต่อสู้เริ่มย้อนกลับ เวลานี้ประชาชนไทยผู้มีจิตใจเป็นธรรม และรักในประชาธิปไตยเริ่มรวมตัวกันมั่นคงมากยิ่งขึ้น...มีการจัดการ และมีระบบการวางแผนที่ชัดเจนมากขึ้น ได้ผ่านการลองผิดลองถูกด้วยชีวิต, เลือดเนื้อ, หยาดเหงื่อ, และน้ำตามาตลอด...จนขณะนี้กระบวนของประชาชนพร้อมแล้วที่จะประกาศการต่อสู้ กับอำนาจเผด็จการขั้นแตกหัก..
แต่ทว่า...การยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ยังไม่เกิดขึ้น... แม้ว่าการต่อสู้ด้วยการชุมนุมเรียกร้องในหลายที่หลายแห่งได้เกิดขึ้นโดยทั่ว ไป.. แต่การปราศัยและให้ความรู้เรื่องของเป้าหมายโครงสร้างของอำนาจ เผด็จการยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการปราศัยให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความไม่ยุติธรรม หรือความ สองมาตรฐานที่เกิดขึ้นในประเทศนี้เท่านั้น.. ซึ่งสิ่งนี้คือเบื้องต้นของการให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องการต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตย
เริ่มมีการพูดกันถึงการต่อสู้เพื่อชนชั้นกันบ้าง... เช่นมีการใช้คำว่า “ไพร่ และชนชั้นศักดินาอมาตย์”.. โดยได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบเรื่องของทศกัณฑ์ ในรามเกียรติ์ฉบับปฏิวัติความคิด.. และพูดถึงตัวอย่างของบุคคลที่เป็นผู้ต่อสู้เพื่อชนชั้นอย่าง ดร. พิมราว รามชี เอ็มเพ็จก้า ซึ่งเป็นชนชั้นจัณฑาลและได้ต่อสู้เพื่อชนชั้นของตนเอง..
ปูนนก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น