แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

เบื้อง หลังเช็คใบเดียว ความกลมเกลียวของอานันท์ และ เกษม จาติกวณิช

เบื้อง หลังเช็คใบเดียว ความกลมเกลียวของอานันท์ และ เกษม จาติกวณิช


"อิสรภาพราคา 8.7 พันล้านบาทของไทยออยล์"


ดีลการซื้อโรง กลั่นหน่วยที่ 1 และหน่วยที่ 2 ของไทยออยล์จากกระทรวงอุตสาหกรรมสำเร็จลุล่วงไปแล้วในวินาทีสุดท้ายของ รัฐบาลอานันท์ 2 โดยเป็นการซื้อขายตามราคาประเมินต่ำสุดของคณะกรรมการประเมินมูลค่าโรงกลั่น ของกระทรวงอุตสาหกรรมคือ 8,764,245,647.86 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่บริษัทผู้ประเมินฯ ทำการประเมินไว้ถึงเท่าตัว

แต่ เกษม จาติกวณิช ประธานกรรมการ และกรรมการอำนวยการไทยออยส์ก็ยินดีที่จะเขียนเช็คธนาคารกรุงไทยมูลค่าสูงที่ สุดจำนวนนี้มอบให้แก่กระทรวงอุตสาหกรรม


"มันเป็นการซื้ออิสรภาพให้ไท ยออยส์" เกษมกล่าวดด้วยสีหน้าชื่นบานในงานเซ็นสัญญาที่จัดขึ้นในวันรุ่งขึ้นหลังจาก คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการซื้อขายซึ่งได้เจรจายืดเยื้อยาวนานถึง 4 ปี


โรง กลั่นทั้งสองหน่วยนี้ไทยออยล์เป็นผู้จัดการสร้าง และยกให้เป็นทรัพย์สินของรัฐตามเงื่อนไขการประมูล เพื่อดำเนินกิจการโรงกลั่นน้ำมันรัฐบาลอนุมัติให้ไทยออยล์เช่าดำเนินการเป็น ระยะเวลา 20 ปีนับตั้งแต่ปี
2524

การซื้อหน่วยโรงกลั่นทั้งสองแห่ง นอกจากจะทำให้ไทยออยล์มีความคล่องตัวในการดำเนินงานแล้ว ยังเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ทำให้ไทยออยล์มีสินทรัพย์ถาวรเพื่อที่จะนำ บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ


ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ไท ยออยล์ระดมทุนและกระจายหุ้นแก่มหาชนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่เมื่อปี 2531 ครั้นไทยออยล์ยื่นเรื่องขอเข้าจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ปรากฏว่ามีปัญหาเรื่องไม่มีทรัพย์สินถาวรที่ใช้ในการดำเนินการและสัญญา เช่าสินทรัพย์สินถาวรควรมีอายุอย่างต่ำ 30 ปี ตลาดฯ ขอให้ไทยออยล์แก้ปัญหานี้


คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ มีความเห็นว่าสัญญาเช่าโรงกลั่นหน่วยที่ 1 และ 2 จะหมดอายุลงในปี 2544 บริษัทฯ ควรจะไปเจรจาต่ออายุสัญญาเช่าหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ทรัพย์สิน เป็นของบริษัทฯ โดยสมบูรณ์ จึงจะสามารถนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดฯ ได้

ไท ยออยล์พยายามเจรจาทั้งในเรื่องของการต่ออายุสัญญาและการซื้อโรงกลั่น ซึ่งมีอุปสรรคต่าง ๆ นา เกษมเคยกล่าวว่า "กฎระเบียบที่เป็นข้อแม้ต่าง ๆ นั้นสามารถแก้ไขได้โดยรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการต่ออายุสัญญาเช่าหรือการกระจายหุ้น หากรัฐไม่ต้องการให้กระจายหุ้นก็ไม่จำเป็นต้องต่ออายุสัญญา กำไรต่อหุ้นของไทยออยล์ดีมาก ผู้ถือหุ้นไม่ต้องการให้นำหุ้นเข้าตลาดฯ อยู่แล้ว แต่ที่เป็นห่วงคือหากจะมีการขยายโรงกลั่น หรือจะเข้าไปลงทุนในกิจการอื่นก็อาจจะไม่มีเงินลงทุนได้ง่ายและจะทำให้ กระจายผลกำไรต่อหุ้นแก่บุคคลอื่นด้วย"


รัฐบาลชาติชายอนุมัติให้ขาย โรงกลั่น 1 และ 2 แก่ไทยออยล์ไปแล้ว แต่เมื่อเรื่องเข้ามาสู่คณะรัฐบาลอานันท์ 1 กลับถูกตีกลับให้มีการทบทวนใหม่ โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่ารัฐบาลมีความจำเป็นเพียงไรที่จะต้องขายสมบัติให้ เอกชนหากไทยออยล์ต้องการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ มีหนทางอื่นไหมที่รัฐจะไม่สูญผลประโยชน์จากค่าเช่าโรงกลั่นทั้งสอง


หลัง จากทบทวนผ่านไปหลายครั้งและอดีตรองนายกรัฐมนตรีมีชัย ฤชุพันธุ์ซึ่งเป็นผู้คัดค้านการขายโรงกลั่นไทยออยล์ไม่ได้เข้าร่วมในรัฐบาล อานันท์ 2 ปรากฏว่าคณะรัฐมนตรีก็มีมติอนุมัติให้ไทยออยล์ซึ่งโรงกลั่นหน่วยที่ 1 และ 2 ได้ในราคาดังกล่าว


มตินี้เกิดขึ้นก่อนหน้าที่รัฐบาลอานันท์ 2 จะหมดอายุเป็นเหตุให้การจัดงานเซ็นสัญญามีขึ้นอย่างเร่งรีบขนาดที่ว่าธนาคาร กรุงไทยจะทำเช็คฉบับพิเศษ ซึ่งมีมูลค่าสูงสุดเท่าที่มีการซื้อขายจ่ายเงินด้วยเช็คเพื่อให้เกษมเซ็น จ่ายให้กระทรวงอุตสาหกรรมก็ไม่สามารถพิมพ์ได้ทัน

เกษมเปิดเผยว่า "เงินที่นำมาซื้อโรงกลั่นครั้งนี้มาจากส่วนเกินของเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ใน การดำเนินการบวกกับเงินกู้รายการเดิม ๆ ที่กู้มาแล้วยังไม่ได้จ่ายซึ่งจะต้องมีการกู้ใหม่และตอนนี้ก็หาเงินกู้ได้ แล้วโดยกู้ภายในประเทศประมาณ 5,000 ล้านบาทและภายนอกประเทศอีก 3,000 ล้านบาท"


เกษมเลือกที่จะจ่ายรวดเดียวเลยไม่มีการขยักขย่อนแม้จะคุย ว่าสามารถเจรจากับกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อขอจ่าย 3 งวดหรือไม่ต้องจ่ายในวันเซ็นสัญญาก็ได้ เขาเห็นว่าจะเป็นการสร้างภาระผูกพันเสียเปล่า ๆ และในเมื่อไทยออยล์มีเครดิตดีจริง สามารถหาเงินได้ ก็น่าที่จะจ่ายเสียให้สิ้นเรื่องไปเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความน่าเชื่อถือ จริง


ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติให้กู้เงินจำนวนดังกล่าวตั้งแต่เมื่อวันพฤหัสบดีก่อนหน้าที่ ครม. จะอนุมัติการซื้อหน่วยโรงกลั่นแล้ว

แบงกอก เชาว์ขวัญยืนกรรมการผู้จัดการใหญ่เปิดเผยด้วยว่า "การซื้อหน่วยโรงกลั่น 1 และ 2 ครั้งนี้ทำให้ไทยออยล์มีหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 40,309 ล้านบาทจากเดิมที่มีหนี้สิน 30,178 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนหนี้ต่อทุนเป็น 15.30 :1 จากเดิมที่มีสัดส่วนอยู่ที่
11.28 : 1
เกษมกล่าวว่า "หนี้สินเหล่านี้ทำให้ไทยออยล์ต้องจ่ายดอกเบี้ยวันละประมาณ 2 ล้านบาทบวกกับของเก่าอีกประมาณ 4 ล้านบาทเป็นวันละ 6 ล้านบาทแม้ไทยออยล์จะมีสัดส่วนหนี้ต่อทุนสูงขนาดนี้ก็ยังมีคนมารอจะให้กู้ อีกเยอะ"


เป้าหมายการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ของไทยออยล์ คือการลดภาระหนี้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากลงและแม้ว่าไทยออยล์สามารถระดมเงิน จากตลาดอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดายเป็นจำนวนมากแต่ไทยออยล์ก็ยังมีความจำเป็นที่จะเข้าตลาดหุ้น


เกษม เปิดเผยว่า "ผู้ให้กู้ทั้งหลายก็อยากที่จะเห็นเราเข้าไปอยู่ในตลาดหุ้นด้วยอย่างการกู้ 10,000 ล้านบาทครั้งหลังนี้ผู้ให้กู้ก็อยากจะมีการระบุข้อความว่าการกู้นี้ก็ด้วย ความหวังว่าไทยออยล์จะเข้าตลาดหุ้น และกิจการก็จะดีขึ้น และอีกอย่างหนึ่งเราจะกู้ไปสุดกู่อย่างนี้เรื่อย ๆ คงจะไม่ได้" เกษมให้ความเห็นว่า "ตัวเลขหนี้ต่อทุนที่สูงเช่นนี้จะเป็นปัญหาในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่นักลงทุนจะต้องดูต่อไป ตัวเลขนี้อาจจะทำให้พีอีเรโชสูงไปดังนั้นก่อนเข้าตลาดฯ ก็คงจะมีการแก้ไขปัญหานี้เพื่อให้เกิดความไว้ใจ"


แน่นอนว่าเกษมคง อยากจะเห็นเครดิตไทยออยล์ในหมู่นักลงทุนเหมือนกับที่แบงเกอร์จำนวนมากมอง เห็นความน่าเชื่อถือของไทยออยล์

ไทยออยล์มีผลกำไรสุทธิหลังการหักภาษีและ เงินส่วนแบ่งผลกำไรหรือค่ารอยัลตี้ที่ต้องให้กับรัฐบาลลดลงจาก 489 ล้านบาทในปี 2533 เป็น 304.19 ล้านบาทในปี 2534 ทั้งที่ในปีนี้มีรายได้ เพิ่มขึ้นเกือบ 8,000 ล้านบาทส่วนผลการดำเนินงานในปี 2535 ซึ่งไทยออยล์มีรอบปีบัญชีสิ้นสุดเมื่อ 30 กันยายน เกษมคาดหมายว่าจะมีผลกำไรประมาณ 800 ล้านบาทจากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ 500 ล้านบาท (ก่อนหักภาษีและส่วนแบ่งผลกำไรฯ) "ในช่วง 3 เดือนหลังที่ผ่านมานี่ เรามีกำไรมากกว่าช่วง 9 เดือนแรกคือกะไว้ว่าโรงกลั่นจะเสร็จก็เร่งการผลิตมากได้เป็นแสนบาเรลที เดียว"


การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องมีการลดสัดส่วนการถือหุ้นลงจำนวนหนึ่งเพื่อกันออกมา 25% สำหรับจดทะเบียน จุลจิตต์ บุณยเกตุ ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการกล่าวว่า "หุ้นจำนวนนี้จะ DILUTE ตาม
PORPORTION"
ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นไทยออยล์ ได้แก่ ปตท. 49% สนง. ทรัพย์สินฯ 2%, เชลล์ 15.05%, คาลเท็กซ์ 4.75% และผู้ถือหุ้นรายบุคคล
29.2%

แหล่งที่มาของข้อมูล (ไม่อยากบอกเลย แต่เพื่อความถูกต้อง)

นิตยสารผู้จัดการ( ตุลาคม 2535)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน