แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

จาตุรนต์:ยื้อ ถึงสิ้นปีเพื่อแบ่งงบ..ไม่มีเหตุผล


จาตุรนต์:ยื้อ ถึงสิ้นปีเพื่อแบ่งงบ..ไม่มีเหตุผล


เวลา นี้นายกฯกลายเป็นมาพูดว่าต้องฟังหลายฝ่าย ต้องฟังจากฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ และข้อเสนอที่สำคัญของนายกฯ เป็นข้อเสนอที่ทำไม่ได้ มันขัดแย้งกันอยู่ในตัว คือนายกฯมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการยุบสภา แต่ไม่ใช้ แต่กลับมาเสนอข้อเสนอที่ตัวเองทำไม่ได้ และรู้อยู่แล้วว่าทำไม่ได้ แก้รัฐธรรมนูญนายกฯไปอมพระมาพูดก็ไม่มีใครเชื่อว่าทำได้ แต่ยุบสภานายกฯไม่ต้องหารือใคร



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
30 มีนาคม 2553

หมายเหตุไทยอีนิวส์: นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย แถลงข่าวการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับนปช.กับทางออกทางการเมืองโดยการยุบสภา ที่โรงแรมเรดิสัน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2553 เวลา 13.00 น.



นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวถึงการเจรจาของฝ่ายรัฐบาลและนปช.ในการหาข้อยุติทางการเมืองเมื่อวัน อาทิตย์ที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า ผมจะแสดงความเห็นต่อการเจรจาทั้ง 2 ฝ่าย เพราะว่าเป็นการเจรจาที่สำคัญในการหาทางออกให้กับวิกฤตของประเทศ

การ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายมาถึงจุดที่เจรจากัน ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องดี เมื่อมีความเห็นแตกต่างกัน เมื่อมีวิกฤตของบ้านเมืองแล้วทั้ง 2 ฝ่ายมาพูดจาเจรจากันต้องถือว่าเป็นเรื่องดี ที่สำคัญคือว่า การเจรจาจะมีผลอย่างไร และทางออกนั้นจะเป็นทางออกที่แก้วิกฤตได้จริงหรือไม่ มีเหตุผลดีหรือไม่ เป็นเหตุผลสำคัญที่ต้องดูกันต่อ

จากการเจรจากัน เมื่อวานนี้ ผมคิดว่าที่ข้อเสนอของฝ่าย นปช.ก็มีความชัดเจนแตกต่างจากเดิมที่ต้องการให้มีการยุบสภาทันที ก็เปลี่ยนมาเป็นยุบสภาในทันทีภายใน 15 วัน

ในส่วนของนายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าจากที่นายกฯพูดในการเจรจาครั้งแรก แสดงให้เห็นว่าท่านยังไม่เข้าใจหรือไม่ตระหนักถึงภาวะวิกฤตของประเทศ จาก การที่มีความขัดแย้งทางความคิดเห็น ความขัดแย้งทางการเมืองที่พัฒนามายาวนานพอสมควร และเป็นความขัดแย้งที่ลึกซึ้ง ทำให้คนในสังคมมีความแตกต่าง หรือแม้กระทั่งแตกแยกกันทางสังคม

ท่านนายกฯอาจจะยังไม่แสดงให้เห็นว่า เข้าใจหรือทุกข์ร้อนเท่าไร ท่านนายกฯ ยังเป็นการพูดในลักษณะหาทางอยู่ให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงเท่ากับเป็นการยืดเวลา ปล่อยให้วิกฤตคงอยู่ต่อไป และจะทำให้ประเทศเสียโอกาสในการแก้ปัญหา

เพราะการอยู่นาน ไป รัฐบาลก็ไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้ ผมเป็นห่วงตรงที่ว่า เมื่อความขัดแย้งในสังคมเป็นความขัดแย้งในที่ลึก และเข้มข้นมากอย่างนี้ เกรงว่า จะเกิดภาวะกว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ คือไม่ทำอะไร ไม่แก้ปัญหา แล้วก็ปล่อยให้ขัดแย้ง และวิกฤตขยายตัวต่อไป เข้มข้นมากขึ้น และจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ ขณะนี้ก็เป็นที่ทราบกันดีว่ามีความพยายามเข้าไปก่อกวน ทำร้าย ทำลายการการชุมนุมของประชาชนเกิดขึ้นติดๆกันแล้วในช่วงหลังๆ ก็ไม่ทราบว่าจะบานปลายถึงขั้นไหน

แต่จุดที่สำคัญที่นายกฯได้พูดไปแล้วแล้วคนจะจับได้หรือไม่ ไม่ทราบ แต่ผมสังเกตจากที่ติดตามมาตลอด ผมคิดว่านายกรัฐมนตรีได้ไปเสนอสิ่งที่ท่านเองทำไม่ได้ เป็นเรื่องสำคัญ ท่านนายกฯได้พูดเหมือนกับที่ผ่านมา พยายามพูดให้คนเข้าใจว่า ท่านเองก็พร้อมจะยุบสภา แต่ต้องมีเงื่อนไข 3 ข้อ คือ

ข้อ 1.คือเศรษฐกิจต้องดีขึ้นเสียก่อน ถึงขณะนี้ท่านเองก็บอกว่า เศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว

ข้อที่ 2 คือ ทุกฝ่ายไปหาเสียงได้ เมื่อมีการเลือกตั้งในส่วนนี้ฝ่าย นปช.เขาก็ยืนยันหนักแน่นชัดเจนแล้วว่า ถ้ายุบสภาแล้วต่างคนก็ต่างหาเสียงกันไป ไม่ไปก้าวก่ายขัดขว้างอะไรใครทั้งสิ้น

ก็เหลืออีกข้อหนึ่งก็คือ ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้กติกาให้เป็นที่ยอมรับเสียก่อน



อัน นี้เป็นเงื่อนไข 3 ข้อเดิม ซึ่งนายกฯได้ยกขึ้นในการเจรจาครั้งแรก

ท่านนายกฯไม่ได้บอกว่า รัฐธรรมนูญที่จะแก้ให้ชอบธรรมเสียก่อน มันเป็นรัฐธรรมนูญมาตราไหน เนื้อหาเป็นอย่างไร และที่ผ่านมาก็พูด ให้คนเข้าใจได้ว่า ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการยุบพรรค เพราะท่านบอกว่าเดี๋ยวเลือกมาแล้ว ฝ่ายหนึ่งชนะแล้วถูกยุบพรรคอีกจะทำยังไง

ปัญหา ก็มีว่า รัฐธรรมนูญว่าด้วยการยุบพรรค มาตราอะไรก็ตามของนายกฯ ผมเข้าใจว่า หมายถึงการยุบพรรค นายกรัฐมนตรีจะทำให้เป็นจริงได้อย่างไร ในเมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้มีมติชัดเจนไปแล้วว่า ไม่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราใดทั้งสิ้น

เพราะฉะนั้นสิ่งที่นายกฯ ยกขึ้นมาเป็นเงื่อนไขว่า แก้กติกาให้เป็นที่ยอมรับเสียก่อนดีไหม แล้วค่อยยุบสภา เป็นการเสนอสิ่งที่ท่านเองก็รู้อยู่แล้วว่า ทำไม่ได้ และมันเป็นความขัดแย้งในตัว

เวลานี้มีข้อ เรียกร้องจากฝ่ายวิชาการเสนอว่า ให้รัฐบาลยุบสภาภายใน 3 เดือน เพื่อให้มีเวลาแก้กติกาก่อนการเลือกตั้งเสียก่อน ปัญหาคือว่า เมื่อมีข้อเรียกร้องอย่างนี้ออกมา ต้องถามนายกรัฐมนตรีว่า ท่านจะใช้เวลาเท่าไรที่จะแก้กติกา ใช้เวลาเท่าไร ทำอย่างไร ซึ่งถ้าซักไซร้กันจริงๆ วันสองวันเราก็จะรู้กันแล้วว่า ทำไม่ได้แน่ เพราะว่าพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่เห็นด้วย ที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีความเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้

มันก็อยู่ตรงประเด็นที่ว่า เมื่อแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้แน่ๆแล้ว ยุบเร็วหรือยุบช้าอันไหนดีกว่ากัน ในขณะนี้รัฐบาลทำอะไรไม่ได้ บริหารประเทศไม่ได้ ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นมา ต้องมีเบี้ยล่างของทหาร ของพรรคร่วม ที่สำคัญวิกฤตของประเทศมีมาก จนกระทั่งไม่มีใครมีสมาธิทำอะไร การยืดเวลาออกไป โดยแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ด้วย ยุบเร็วก็ไม่ได้แก้รัฐ ธรรมนูญ ยุบช้าก็ไม่ได้แก้รัฐธรรมนูญ หรืออยู่ครบเทอมก็ไม่ได้แก้รัฐธรรมนูญ

การอยู่ต่อไปนานๆ ยิ่งจะทำให้บ้านเมืองยิ่งเสียหาย และสุ่มเสี่ยงที่วิกฤตจะบานปลาย กลายเป็นความรุนแรง ความเสียหายใหญ่หลวงต่อประเทศชาติได้ การยุบ เร็วจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า เพราะว่าร่นระยะเวลาในการแก้ไขปัญหา วิกฤตของประเทศ ทำให้เราก้าวไปสู่การแก้ไขปัญหาในขั้นต่อๆไป ก็คือว่า เลือกตั้งแล้วจะไปแก้รัฐธรรมนูญกัน จะไปลงมติก็ทำได้เร็วยิ่งขึ้น ทั้งหมดจะเร็วขึ้น ถ้าคิดตามอายุรัฐบาล การยุบสภาในเร็วๆ นี้เลย ก็เท่ากับจะเร็วขึ้นถึงปีกว่า ทำให้ประเทศพ้นจากภาวะวิกฤต ภาวะคาราคาซังได้ดีกว่าปล่อยให้นานๆออกไป

เพราะอย่างไรก็ตาม ไม่มีทางที่นายกรัฐมนตรีจะแสดงให้คนเห็นได้ว่า ท่านจะสามารถนำพาให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้ แล้ว ข้อเสนอในการเจรจาครั้งแรกจึงเป็นข้อเสนอที่แปลกประหลาดคือ เป็นข้อเสนอจากผู้ที่รู้อยู่แล้วว่า ทำไม่ได้ อันนี้ผมก็เป็นห่วงว่า ถ้าปล่อยนานไป มันจะเกิดภาวะกว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้แน่ๆ มีโอกาสสูง และจะเป็นเรื่องน่าเสียดายที่นายกรัฐมนตรีเนื่องจากต้องการอยู่นานๆ เท่านั้นเอง ทั้งๆที่ทำอะไรไม่ได้ แต่กลับจะไม่สนใจหาทางแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ ทั้งๆที่สามารถทำได้


ผู้ สื่อข่าวถามว่า การยุบสภาควรจะเกิดขึ้นปลายปี 2553 มองว่า นานเกินไปหรือไม่

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า เรื่องควรยุบสภาเมื่อไร มันเป็นเรื่องที่ต้องหาเหตุผลมารองรับ ถ้าพูดว่าปลายปี โดยเฉพาะไปพูดว่าสิ้นปีงบประมาณเสียก่อน มันไม่มีเหตุผล

เพราะ มันเป็นเรื่องว่า ฝ่ายบริหารก็อยากจะใช้งบประมาณ มันก็จะไปเข้าที่ว่า คนเขามักวิจารณ์ว่า รัฐบาลนี้อยู่เพื่อใช้งบประมาณ เพื่อจะแบ่งปันงบประมาณกัน จึงไม่มีเหตุผล

ข้อเสนอฝ่ายนัก วิชาการบอก 3 เดือนแล้วให้แก้กติกาเสียก่อน เป็นข้อเสนอที่มีเหตุผล แต่ว่าพอไล่จริงๆ ก็จะพบว่าไม่มีความจำเป็นต้องใช้เวลา 3 เดือน เพราะมันทำไม่ได้ คือเขาบอก 3 เดือนเพื่อแก้ไขกติกาให้เป็นที่ยอมรับเสียก่อน รัฐบาลนี้และรัฐสภานี้อย่างไรก็ไม่แก้รัฐธรรมนูญแล้ว เพราะว่าพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคร่วมรัฐบาลเขาคุยกันแล้ว พรรคร่วมต้องแก้ไขเพียง 2 มาตรา ซึ่งไม่เกี่ยวกับกติกาเลือกตั้งที่คนไม่ยอมรับ พรรคประชาธิปัตย์ลงมติไม่แก้ด้วยเลย แล้วคุณจะไปแก้รัฐธรรมนูญกันยังไง

เพราะฉะนั้นข้อเสนอ 3 เดือนที่นักวิชาการพูด สิ่งที่นักวิชาการพูดที่ผมเห็นด้วยก็คือว่า ผมเห็นด้วยเรื่องการกำหนดเวลาในการจะยุบสภา และควรจะทำเร็ว เขาพูด 3 เดือนไม่ใช่นานไปเหมือนพรรคร่วมรัฐบาลคิด หรือเหมือนกับที่นายกฯ คิดว่า ขอซักครึ่งหนึ่ง ต่อรองเหมือนขายของกันอยู่ เขาพูดกัน 3 เดือน แต่ว่าที่ผมอยากจะบอกว่า ข้อเสนอ 3 เดือนนั้น ไส้ในมันคือบอกว่า เพื่อแก้กติกาเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ มันทำไม่ได้

ใช้เวลาเพียง 3 วันก็รู้ว่าทำไม่ได้ เช่น เราเคยให้พรรคประชาธิปัตย์ลงมติพรรคใหม่เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ไหมว่า ไปให้พรรคร่วมลงมติร่วมกันว่าให้แก้รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งใหม่ ทั้งหมด ทุกมาตราที่เกี่ยวให้ลงมติเป็นที่ยอมรับอย่างนี้ได้ไหม พรุ่งนี้ก็เรียกประชุมลงมติ เราก็จะรู้ทันทีว่า การแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับ ไม่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า เวลาที่จะเลือกการยุบสภาควรจะมีเหตุผลรองรับอย่างไร


ผู้ สื่อข่าวถามว่า เวลา 2 สัปดาห์ที่กลุ่มเสื้อแดงกำหนดไม่มองว่าเป็นการเร็วเกินไป

นาย จาตุรนต์ กล่าวว่า 2 สัปดาห์ก็คือว่า เมื่อเขาเห็นว่า ทางออกของการแก้ปัญหาวิกฤตต่างๆ มันจบไปแล้ว เขาก็เลยเสนอว่า ให้ยุบสภาทันที แต่เมื่อมาเจรจา ฝ่ายรัฐบาลอยากจะไปเจรจา ฝ่ายรัฐบาลอยากจะไปคุยอะไรก็ไปคุยกันซะ ก็เลยเสนอว่า 2 สัปดาห์มันก็พอมีเหตุผล

แต่ผมก็ไม่ได้บอกว่าต้อง 2 สัปดาห์ คือถ้าพรรคร่วมรัฐบาลไปคุยกันและมีมติชัดเจนว่า เราจะแก้รัฐธรรมนูญ สมมุติอย่างนี้นะ มันก็จะมีเหตุผลว่า นั่นก็ต้องรอดูการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ว่าเขามีแต่มติ ไม่แก้รัฐธรรมนูญไปหมดแล้ว จะต้องการเวลาอะไร มันก็จะไม่เหลือว่า จะรอเวลาอะไร

เมื่อไม่มีเหตุผลแต่ยังจะอยู่ไป นาน อยู่ไปปีครึ่งเลย ก็คือเสียโอกาสในการแก้ เพราะอย่าลืมว่าเลือกตั้งมาเราจะต้องเจอปัญหาต่างๆตามมาอีก สู้เรายุบให้เร็ว แก้ปัญหาให้เร็ว หาทางให้ประชาชนมาตัดสิน มามีส่วนในการตัดสิน ทุกอย่างจะร่นเข้ามาให้เร็วขึ้น แล้วจะทำให้เราจะก้าวพ้นวิกฤตแบบนี้ แล้วไปสู่การแก้ไขปัญหาประเทศในด้านอื่นได้เร็วขึ้น

ผู้ สื่อข่าวถามว่า มองจำนวนผู้ชุมนุมที่มากหรือไม่ว่า หากการเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

นาย จาตุรนต์ กล่าวว่า คือในส่วนนี้ถ้าดูจากการชุมนุมในช่วง 2 สัปดาห์มานี้ การที่แกนนำผู้ชุมนุมเขายืนยันเรื่องสันติวิธี แล้วเขาก็ปฏิบัติตามนั้นอย่างเคร่งครัด ถ้ายังยืนยันอยู่อย่างนี้ ความน่าเป็นห่วงก็น้อยลง และประเด็นที่เป็นเรื่องดีคือเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาที่ประชาชนเข้าไปเชิญ ทหารขอให้ทหารกลับกรมกองจากวัดต่างๆ และทหารก็ยอมออกไปโดยดี มันเป็นภาพที่ดีคือ ทหารก็ไม่ได้คิดทำร้ายประชาชน และยอมรับในเหตุผลว่า การที่เอาทหารไปอยู่ตามวัด มันขัดต่อหลักสากล มันขัดต่อหลักที่นานาประเทศเขาจะยอมรับได้ ทีนี้ก็เป็นความรู้สึกที่สวยงาม ที่เป็นสัญญลักษณ์ว่า ประชาชนไทยไม่เห็นด้วยที่เอาทหารมาแก้การเมือง

แต่ว่าทางรัฐบาลก็ยังพูดว่า เดี๋ยวจะเอากำลังทหารกลับมาอีก ตรงนี้ไม่ดี ทีนี้ถ้าประชาชนมาก แล้วรัฐบาลคิดจะเอาทหารกลับมาอีก จะมาล้อมสภาบ้าง จะเอามาตามจุดต่างๆ อีกบ้าง จะด้วยข้ออ้างอะไรก็ตาม ซึ่งเป็นข้อสรุปไปหมดแล้ว ไม่เหมาะสม เป็นภาพที่ลงหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ที่ทหารออกมา แล้วประชาชนก็ขอบใจยิ้มแย้มแจ่มใสกันไปวันนั้น ถ้าเอากลับมาอีก ความเสี่ยงก็กลับมาอีก และตอนนี้ที่มีข่าวไปเผาเต้นท์บ้าง แอบจะไปตีคนตอนระหว่างกลับจากชุมนุมบ้าง อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่า มันเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความรุนแรง

เพราะฉะนั้นใน เวทีเจรจานายกฯพูดเหมือนกับว่าไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้เลย คิดแต่จะโต้วาที หรือทำยังไง พูดตรงๆ คือหาเสียงกับคนดู ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องไม่เหมาะกับการจะแก้วิกฤต ต้องอย่าลืมว่า เมื่อวันเสาร์ที่แล้วมันเป็นวิกฤตเห็นชัด คนเขาไม่รู้ว่า ไปเชิญทหารออกจากวัด หรือไปเชิญออกจากบางที่ เขามีดินก็ดี อะไรก็ดี ไม่รู้จะปะทะกันหรือเปล่า แต่ดีที่มันจบโดยราบรื่น ผ่านอย่างนี้ไปเหมือนกับว่านายกฯไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้นอย่างนี้ไม่ได้ ซึ่งประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็รู้สึกมีความมั่นใจมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า มันควรยุบสภาได้แล้ว เขาก็ยังจะใช้เสรีภาพของเขาต่อไป และถ้านายกฯไม่คิดแก้อะไรอย่างนี้มันเป็นอันตราย


ผู้ สื่อข่าวถามว่า การเกิดเหตุระเบิดรายวัน มองว่าเชื่อมโยงหรือมีผลทำให้เกิดการแตกหักเร็วขึ้นหรือไม่

นาย จาตุรนต์กล่าวว่า เป็นความเสียหายแน่นอน ระเบิดที่เกิดต้องประณามกันว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ไม่สมควรทำ ไม่ว่าฝ่ายไหนก็ตาม แต่เมื่อเกิดขึ้นติดๆ กัน แล้วรัฐบาลทำอะไรไม่ได้ และทำไม่ได้มาแต่ต้นแล้ว และก็เป็นคนปล่อยข่าวเองว่าจะมีการก่อวินาศกรรม มีการผลิตอาวุธออกมาโดยไม่รู้เจ้าของ แล้วต่อมาก็รู้บ้างไม่รู้บ้าง ไม่สืบสวนเอาผู้ทำความผิดมาลงโทษอย่างจริงจัง พอมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ไม่รู้ว่าจากฝ่ายไหน มันก็ทำให้บรรยากาศการลงทุน บรรยากาศการท่องเที่ยวก็ดี ความรู้สึกที่มาโยงวิกฤตการเมืองมันก็สูงขึ้น อันนี้ก็เป็นปัญหาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งก็ต้องนำมาคิดประกอบด้วย

เวลา นี้นายกฯกลายเป็นมาพูดว่าต้องฟังหลายฝ่าย ต้องฟังจากฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ และข้อเสนอที่สำคัญของนายกฯ เป็นข้อเสนอที่ทำไม่ได้ มันขัดแย้งกันอยู่ในตัว คือนายกฯมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการยุบสภา แต่ไม่ใช้ แต่กลับมา เสนอข้อเสนอที่ตัวเองทำไม่ได้ และรู้อยู่แล้วว่าทำไม่ได้ แก้รัฐธรรมนูญนายกฯไปอมพระมาพูดก็ไม่มีใครเชื่อว่าทำได้ แต่ยุบสภานายกฯไม่ต้องหารือใคร ถ้าบอกว่าพรรคร่วมฯเห็นไม่ตรง ซี่งการที่พรรคร่วมรัฐบาลเห็นไม่ตรงนั้นแหละเป็นการยุบสภาได้ ไม่ใช่ต้องรอให้พรรคร่วมรัฐบาลเห็นตรงกัน เหตุผลในการยุบสภาเขาเป็นอย่างนี้ คือหมายความว่า นายกฯคิดว่า ต้องแก้รัฐธรรมนูญ พรรคร่วมไม่แก้ พรรคตัวเอง หรือส.ส.ของตัวไม่แก้ ก็ต้องยุบสภา เพราะฉะนั้นเหลือทางเลือกนายกฯก็ต้องลาออกไป ซึ่งก็ไม่แก้ปัญหาอีก


ผู้ สื่อข่าวถามว่า มองบทบาทของกองทัพอย่างไรในเวลานี้ ถ้าเทียบกับบทบาทของกองทัพในรัฐบาลชุดที่แล้ว

นาย จาตุรนต์กล่าวว่า บทบาทของทหารถ้าเทียบกับทหารในรัฐบาลชุดที่แล้วถือว่า ลำเอียงอยู่มาก และเข้ามาดูแลแก้ปัญหาอุ้มรัฐบาลนี้เต็มตัว เต็มที่ แต่ก็ต้องชมเชยเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทหารเลือกที่จะไม่ปราบประชาชน ไม่ปะทะกับประชาชน และผมก็สงสัยว่าที่นายกฯ ต้องไปเจรจา เพราะทหารเขาสงสัญญาณบอกว่า ไม่ไหวแล้วหรือเปล่า ผมคิดว่า ทหารในตอนนี้ ผมไม่เรียกร้องให้ทหารไปกดดันรัฐบาลให้ยุบสภา เพราะผมคือว่าอันนั้นขัดต่อหลักการประชาธิปไตย แต่ทหารต้องบอกกับรัฐบาลว่า ถ้าต่อไปนี้ถ้ามาสั่งทหารให้ปราบปรามประชาชนจะไม่ทำเด็ดขาด ทหารควรจะบอกไปซะ ไม่อย่างนั้นเขาจะมีความมั่นใจว่า ถ้าเกิดอะไรขึ้นเขาจะใช้ทหารปราบประชาชนได้ แต่ว่าถึงขั้นไปบอกให้นายกฯยุบสภา ผมว่าไม่เห็นด้วย มันเป็นการแทรกแซงรัฐบาล


ผู้สื่อข่าวถามว่า มองทิศทางการเจรจาต่อไปอย่างไร

นายจาตุรนต์กล่าวว่า คือถ้านายกฯยังใช้วิธีพลิ้วไป แล้วหาเสียงกับคนทั่วไปแบบโดยเชื่อว่า คนจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ไม่มีประโยชน์อะไร สุดท้ายก็ลงเอยแบบต่างคนต่างแยกย้ายกันกลับไป เสียดายจะไปถามนายกฯยังไงว่า ข้อเสนอที่นายกฯเสนอนั้น นายกฯจะแก้รัฐธรรมนูญมาตราไหน และจะทำได้ยังไง ใช้เวลาเท่าไรในการดำเนินการ และใช้เวลาเท่าไรถึงจะเห็นได้ชัดว่า ท่านทำได้หรือไม่ได้ คือถ้าตอบคำถามนี้วันนี้ก็สรุปได้แล้วว่า มันไม่มีทางอื่นนอกจากยุบสภา แต่ถ้าเฉไฉไม่ตอบ มันก็เป็นสไตล์อย่างนายกฯ คือว่า จะหาเสียงให้คนเข้าใจว่า อยากให้อยู่นานๆ

ผู้สื่อ ข่าวถามว่า การตั้งกรอบให้มีการยุบสภาภายใน 2 สัปดาห์ คิดว่าจะทำให้บรรยากาศโดยรวมตึงเครียดมากขึ้นหรือไม่

นาย จาตุรนต์ กล่าวว่า มันผ่อนคลายไปบ้างแล้วนะ เพราะก่อนนี้เขาเสนอให้ยุบทันที จริงๆ มันออกไม่ตรงกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมันก็เป็นไปได้ เพียงแต่อย่างที่ผมบอกคือว่า ต้องหาเหตุผลมารองรับให้ได้ว่า ใช้เวลาเท่าไรเพื่ออะไร ทำประชามติตอนเลือกตั้งทำได้ แต่ในแง่กฎหมายไม่แน่ใจว่าทำได้ไหม จะทำอย่างนั้นเลยก็ได้ ก็เป็นอีกแบบหนึ่งทั้งเลือกตั้งและลงประชามติว่าจะแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ มันไม่มีหลักประกันอะไรเลย เพราะการลงประชามติโดยรัฐธรรมนูญและโดยกฎหมายไม่มีผลผูกพันต่อการยุบสภา

ถ้าพรรคประชาธิปัตย์เพียงพรรคเดียวยืนยันว่า ไม่แก้ ถึงประชามติมาแล้วเขายังไม่แก้ แก้ไม่ได้ สมมุติรัฐบาลคิดจะไปทำประชามติ พรรคประชาธิปัตย์ต้องประชามติก่อนว่า จะแก้รัฐธรรมนูญอย่างนี้ถึงพอจะมีเหตุผลคิดกันต่อ พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคเดียวที่ชัดเจนที่สุดว่าไม่แก้แม้แต่มาตราเดียว ถ้ายืนยันว่า ต้องแก้กติกาก่อนก็ต้องยุติแค่นั้น

มันจะยังมีทางอื่นนอกจากยุบสภาไหม ยังนึกไม่ออก มันก็กลับมาที่เดิม เวลานี้ความเห็นคือรัฐบาลไม่ควรอยู่ครบเทอม อันนี้มันเห็นตรงกันหมดแล้วว่าควรจะต้องยุบสภาก่อนเวลา ต่างกันอยู่ตรงว่า จะอยู่นานเท่าไร และด้วยเหตุผลอะไร เวลานี้ถ้าบอกว่าใช้งบประมาณกันให้สนุกก่อนใครเขาจะฟัง มันก็เหลือตรงว่า เลือกตั้งแล้วจะหาเสียงได้ อันนี้ทำสัตยาบันก็หมดแล้ว จะเหลือที่ว่าจะแก้กติกายังไง ซึ่งแก้กติกามันมาติดตรงที่ว่า มันแก้ไม่ได้แน่นอนแล้ว เวลานี้ยังจะแสดงยังไงว่าแก้ได้ เป็นไปไม่ได้ พรรคร่วมฯมีมติว่าให้แก้ คุณก็ต่างกันแล้วจะแก้มาตราไหน

ผู้ สื่อข่าวถามว่า ประธานวุฒิสภากับคุณเสนาะก็ไม่เห็นด้วยกับการยุบสภา ในฐานะที่พรรคประชาราชเป็นเพื่อนพรรคร่วมฝ่ายค้านต้องมีการพูดคุยกันหรือไม่

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ทางประธานวุฒิสภามีความเห็น ก็ไม่รู้ว่าท่านต้องการทางออกอย่างไร อยากจะให้ทำตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ก่อนหรือไม่ ก็ไม่ทราบ ซึ่งอันนั้นมันก็เลยไปแล้ว

ส่วนข้อเสนอเรื่องตั้งรัฐบาลแห่งชาติขึ้นมาแก้ปัญหา มันก็เป็นการมองว่า ให้รัฐบาลชุดนี้บริหารต่อไปก็ไม่ได้ สภาก็ยังติดค้างเรื่องต่างๆ อยู่ แต่การตั้งรัฐบาลแห่งชาติถ้าไปถามพรรคประชาธิปัตย์จะพบว่า ยิ่งยากกว่าเรื่องอื่นทั้งหมด พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีทางที่อยู่ๆ จะบอกว่า เชิญพรรคฝ่ายค้านเป็นรัฐบาลร่วมกัน ส่วนรัฐบาลแห่งชาติประเภทที่เอาคนนอกมาเป็นนายกฯ มันทำไม่ได้อยู่แล้ว

ยุบสภาไม่ใช่แก้ปัญหาทั้งหมดได้ แต่แก้ไขปัญหาบางส่วนได้ เรื่องความเห็นที่รัฐบาลไม่ชอบธรรม แล้วก็มันจะเป็นการเร่งกระบวนการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาของประเทศไทยยังจะมีอยู่เยอะแยะ แต่ถ้าปล่อยทั้งหมดอย่างนี้ ปัญหาทั้งหมดก็จะไม่ได้แก้เลย

0000

แถลงการณ์ จากเครือข่ายคนเสื้อแดงในสหรัฐอเมริกา...ถึงรัฐบาลไทย

แถลงการณ์ Red in U.S.A.


วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓


สืบเนื่องจากการเจรจา ระหว่างแกนนำแนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.แดงทั้งแผ่นดิน) นำโดยนายวีระ มุสิกพงศ์ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อแก้วิกฤติข้อขัดแย้งของคนในชาติ โดยแกนนำ นปช.แดงทั้งแผ่นดินเสนอให้รัฐบาลยุมสภาคืนอำนาจให้กับประชาชน และการเจรจาจะสิ้นสุดในวันที่ ๓๐ มีนาคมนี้นั้น


เราในฐานะประชาชนคนเสื้อแดงที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ขอแสดงจุดยืนเคียงข้างแกนนำ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ขอเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์และคณะผู้กุมอำนาจบริหารราชการแผ่นดินอยู่ในขณะ นี้ยุบสภาคืนอำนาจอธิปไตยให้กับประชาชนโดยทันที


และขอเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่รัฐบาลประกาศยุบสภา


ทั้งนี้เนื่องจากไม่อาจรอให้รัฐบาลชุดปัจจุบันบริหารงานให้เนิ่นนานไป กว่านี้ ด้วยเหตุดังนี้คือ


๑. รัฐบาลขาดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ มีที่มาอย่างไม่ชอบธรรมตั้งแต่ต้น นับจากวันแรกที่รัฐบาลชุดปัจจุบันนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ เข้าบริหารประเทศไม่เคยสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นระหว่างคนในชาติ เห็นประชาชนผู้มีความคิดต่างเป็นศัตรู เลือกปฎิบัติ ตอกลิ่มความร้าวฉานของคนในชาติจนใกล้ถึงขั้นวิกฤติสุ่มเสี่ยงต่อการนองเลิอด และการฆ่าฟันกันเองระหว่างประชาชนคนไทยด้วยกัน หากปล่อยให้รัฐบาลชุดปัจจุบันโดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะบริหารประเทศต่อไป


๒. รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะขาดความสามารถในการบริหารประเทศด้านเศรษฐกิจอย่างสิ้นเชิง นอกจากการสร้างหนี้นับแสนล้านบาท ให้เป็นภาระของประชาชนโดยไม่มีนโยบายการหารายได้เข้าประเทศที่เด่นชัด การฉ้อราษฏร์บังหลวงปรากฎตำตาประชาชนในทุกโครงการที่รัฐบาลทำ กอบโกยผลประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้องโดยไม่สนใจความทุกข์ยากของประชาชน หากปล่อยให้รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะบริหารประเทศต่อไป ประเทศไทยต้องสุ่มเสี่ยงต่อการล้มละลายด้านเศรษฐกิจ


๓. รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่สนใจการประชุมสภา ปล่อยให้การประชุมสภาล่มซ้ำแล้วซ้ำอีก รัฐสภาอันควรเป็นหลักแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมิได้ดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ไม่เพียงปัญหาสภาล่มซ้ำซาก กระบวนการตรวจสอบในสภาสูงกลับกลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มที่มาจากการแต่ง ตั้งเพื่อสนับสนุนนโยบายไล่ล่าฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาล รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ได้ทำลายศักดิ์ศรีของรัฐสภาไทยลงอย่างสิ้นเชิง นอกครอบงำแล้วยังเหยียบย่ำศักดิ์ของรัฐสภาไทยโดยส่งกองกำลังทหารติดอาวุธ เข้ายิดอาคารรัฐสภาจนไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ให้สมกับเป็นหนึ่งในสามอำนาจ สูงสุดในการบริหารประเทศ หากปล่อยให้รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยู่ต่อไป กลไกในการบริหารประเทศอื่นๆจะถูกครอบงำและถูกย่ำยี่จนไม่สามารถขับเคลื่อน ประเทศไปตามครรลองของอารยะประเทศได้อีกต่อไป

การยุบสภาในทันทีเพื่อคืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชนเจ้าของประเทศ เพื่อเลือกตั้งใหม่ จึงเป็นทางออกทางเดียวที่เหมาะสม


Red USA / Red News USA / พลังไทยใน USA / ไทยรักประเทศไทย (TLT)


วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

การ ต่อสู้ของสงครามชนชั้น กับการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี


การยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดีเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบที่เป็น รูปธรรมในสงครามแห่งทวีปยุโรป เพราะทันที่ที่กองทัพสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกในวันที่ 6 มิถุนายน 1944 ต่อมาอีกเพียง 10 เดือน สงครามในทวีปยุโรปก็ยุติลงอย่างสิ้นเชิง.. ชัยชนะที่นอร์มังดี เป็นเพียงชัยชนะขั้นต้นเพียง 1 ชัยชนะของการรบ แต่เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่เพื่อนำมาสู่ชัยชนะในขั้นสุดท้ายแห่งสงครามโลก... ดังนั้นการวางแผนเพื่อให้ได้รับชัยชนะในสงครามแห่งนอร์มังดี จึงเป็นการวางแผนที่สำคัญยิ่งเพราะถ้าพลาดการรบในขั้นต้นครั้งนี้ ก็จะพ่ายแพ้ในการรบแห่งสงครามใหญ่ทั้งหมดด้วย...


การเริ่มต้นของการต่อสู้ของพี่น้องผู้รักประชาธิปไตยที่ผ่านมาตั้งแต่แรก เริ่มเมื่อประมาณปี 2547 ต่อ 2548 นั้น... แรก ๆ ก็เป็นการเริ่มต้นต่อสู้เพราะต่อต้านการปลุกระดม, การใส่ร้าย, และการให้ข้อมูลที่บิดเบือนของ กลุ่ม พธม. และ ASTV โดยการให้ความจริงอีกด้านของข้อมูลที่ถูกบิดเบือน... จนกระทั่งมีการรัฐประหารเกิดขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2549 ..การต่อสู้ของพี่น้องผู้รักประชาธิปไตยจึงเปลี่ยนไปเป็นการต่อต้านรัฐ ประหารและอำนาจเผด็จการแทน..


การต่อสู้ในระยะแรก ๆ ของพี่น้องผู้รักประชาธิปไตยจึงเป็นไปอย่างชนิดสะเปสะปะ.. เป็นการต่อสู้โดยไม่มีแผนการณ์.. เป็นการต่อสู้เพราะทนเห็นความอยุติธรรมไม่ได้.. ไม่มีการจัดระบบหรือวางแผนเป็นรูปแบบใด ๆ จึงกระจัดกระจายถอยร่น... ฝ่ายประชาธิปไตยถูกทำลายลงอย่างหมดทางต่อสู้... เหมือนกับในระยะแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ที่สัมพันธมิตรพ่ายแพ้ทุกแนวรบ..


จนกระทั่งเวลาผ่านไปเกือบ 4 ปี กระแสแห่งการต่อสู้เริ่มย้อนกลับ เวลานี้ประชาชนไทยผู้มีจิตใจเป็นธรรม และรักในประชาธิปไตยเริ่มรวมตัวกันมั่นคงมากยิ่งขึ้น...มีการจัดการ และมีระบบการวางแผนที่ชัดเจนมากขึ้น ได้ผ่านการลองผิดลองถูกด้วยชีวิต, เลือดเนื้อ, หยาดเหงื่อ, และน้ำตามาตลอด...จนขณะนี้กระบวนของประชาชนพร้อมแล้วที่จะประกาศการต่อสู้ กับอำนาจเผด็จการขั้นแตกหัก..


แต่ทว่า...การยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ยังไม่เกิดขึ้น... แม้ว่าการต่อสู้ด้วยการชุมนุมเรียกร้องในหลายที่หลายแห่งได้เกิดขึ้นโดยทั่ว ไป.. แต่การปราศัยและให้ความรู้เรื่องของเป้าหมายโครงสร้างของอำนาจ เผด็จการยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการปราศัยให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความไม่ยุติธรรม หรือความ สองมาตรฐานที่เกิดขึ้นในประเทศนี้เท่านั้น.. ซึ่งสิ่งนี้คือเบื้องต้นของการให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องการต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตย


เริ่มมีการพูดกันถึงการต่อสู้เพื่อชนชั้นกันบ้าง... เช่นมีการใช้คำว่า ไพร่ และชนชั้นศักดินาอมาตย์.. โดยได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบเรื่องของทศกัณฑ์ ในรามเกียรติ์ฉบับปฏิวัติความคิด.. และพูดถึงตัวอย่างของบุคคลที่เป็นผู้ต่อสู้เพื่อชนชั้นอย่าง ดร. พิมราว รามชี เอ็มเพ็จก้า ซึ่งเป็นชนชั้นจัณฑาลและได้ต่อสู้เพื่อชนชั้นของตนเอง..


ปูนนก

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีและแกนนำ นปช. ต้องเร่งเจรจาเพื่อ ขจัด เงื่อนไขไปสู่ความรุนแรง คืนอำนาจให้กับประชาชน

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีและแกนนำ นปช.
ต้องเร่งเจรจาเพื่อ ขจัด เงื่อนไขไปสู่ความรุนแรง คืนอำนาจให้กับประชาชน

เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

คงไม่ สามารถปฏิเสธได้ว่า การเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาลและ นปช. หรือกลุ่มคนเสื้อแดงในขณะนี้ ได้สร้างความตึงเครียดและร้อนแรงให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น แม้ว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้นำของทั้งสองฝ่ายต่างประกาศว่าตนยินดีที่จะ เจรจาจนทำให้สังคมเกิดความหวังที่จะได้เห็นทางออกอยู่รำไร แต่เมื่อเวลาผ่านไป กลับพบว่าเจตจำนงที่จะก่อให้เกิดการเจรจาของผู้นำของทั้งสองฝ่ายนั้น ช่างอ่อนเปลี้ยเสียเหลือเกิน

พวกเรา นักวิชาการที่ปรากฏรายชื่อท้ายจดหมายนี้ มีความกังวลอย่างยิ่งต่อสภาวะตีบตันของบ้านเมืองในขณะนี้ เพราะการปล่อยให้การเผชิญหน้าระหว่างกองกำลังของรัฐบาลและมวลชนเสื้อแดง จำนวนมหาศาลดำเนินต่อไป อาจกลายเป็น เงื่อนไขที่นำไปสู่การปะทะและปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมได้ในที่สุด แม้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจะได้แสดงให้ประจักษ์แก่สังคมแล้วว่าพวกเขายึดมั่นใน แนวทางสันติวิธีก็ตาม แต่เราต้องไม่ประมาทว่าสังคมไทยในขณะนี้มีมือที่มองไม่เห็นที่ รอฉกฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์เพื่อก่อการร้ายต่อรัฐบาล หรือเพื่อปราบปรามและยุติบทบาททางการเมืองของคนเสื้อแดง

ทั้งนี้ ความกังวลดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นบนความว่างเปล่า ข่าวความรุนแรงในรูปของการยิงระเบิดใส่สถานที่ต่าง ๆ ที่ปรากฏมากขึ้นทุกวัน อาจเป็นดัชนีที่เตือนสังคมว่า ระดับของความรุนแรงกำลังจะทวีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยสังคมไม่สามารถรับรู้ความจริงได้เลยว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลังความ รุนแรงเหล่านี้ แต่สิ่งที่ชัดเจนก็คือ ความรุนแรงรายวันนี้กำลังทำให้รัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงรู้สึกหวาดระแวงต่อ กันมากยิ่งขึ้น และทำลายความชอบธรรมของกลุ่มคนเสื้อแดง

พวกเราในฐานะ นักวิชาการที่ห่วงใยสถานการณ์ของ บ้านเมือง เห็นว่าหากปล่อยให้สภาวการณ์ดำเนินไปเช่นนี้ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดเหตุรุนแรงและนำไปสู่การใช้กำลังของรัฐเข้า ปราบปรามสลายการชุมนุม ซึ่งประชาชนจำนวนมากอาจได้รับบาดเจ็บล้มตายในที่สุด จึงขอเรียกร้องต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และแกนนำของ นปช. ดังต่อไปนี้

1. ให้ นายกรัฐมนตรีประกาศว่าจะยุบสภาภายใน 3 เดือน รัฐบาล ต้องไม่มองว่าการยุบสภาคือความพ่ายแพ้ แต่ควรเห็นว่านี่คือหนทางที่ดีที่สุดสำหรับปลดเงื่อนไขแห่งความรุนแรงที่ กำลังจะเกิดขึ้น ประการสำคัญ การยุบสภาคือการคืนอำนาจให้แก่ประชาชนในภาวะที่บ้านเมืองไม่สามารถก้าวต่อไป ข้างหน้าได้ ส่วนฝ่าย นปช. ไม่ควรยืนยันให้รัฐบาลยุบสภาในทันที แต่ควรให้เวลา 3 เดือนแก่รัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหาและผลักดันนโยบายที่เร่งด่วนเสียก่อน

2. รัฐบาล และผู้นำ นปช. จะต้องดำเนินการเจรจา เพื่อปลดเงื่อนตายทางการเมืองโดยเร็วที่สุด โปรดอย่าพูว่าจะเจรจาเพียงเพื่อสร้างภาพความชอบธรรมให้กับฝ่ายตนเท่านั้น แต่ต้องมุ่งเจรจาเพื่อสร้างกรอบกติกาการเลือกตั้ง ที่เปิดโอกาสให้การหาเสียงเลือกตั้งของทุกฝ่ายดำเนินไปได้อย่างเสรี ปราศจากการคุกคาม

3. ให้ กลุ่มและพรรคการเมืองทุกฝ่ายต้องยอมรับผลการเลือกตั้ง และเปิด โอกาสให้รัฐบาลใหม่ได้บริหารประเทศอย่างเต็มที่ ไม่มีการล้มกระดานด้วยวิธีการนอกระบอบรัฐสภาอีกต่อไป

สิ่งที่สำคัญ ที่สุดในขณะนี้คือ การหลีกเลี่ยง ให้พ้นจากวิกฤติการเสียเลือดเนื้อของประชาชน ผู้ที่จะต้องถูกเรียกร้องก่อนก็คือรัฐบาล สำหรับ นปช.และกองทัพ เราขอเรียกร้องให้มีความเคารพในสิทธิเสรีภาพและยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย อย่างแท้จริง และให้ทุกฝ่ายร่วมมือกับรัฐบาลในการรักษาชีวิตและสวัสดิภาพของประชาชน ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นคนสีใดก็ตาม

ลงนามโดย

นัก วิชาการ

1. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ปัญญาชนอาวุโส
3. พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. สุชาดา จักรพิสุทธิ์ นักวิจัย
5. คำสิงห์ ศรีนอก นักเขียน
6. ธงชัย วินิจจะกูล มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน
7. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8. ธีระ สุธีวรางกูร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9. จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10. สาวิตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
11. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
12. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13. ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14. ชัชวดี ศรลัมพ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
15. วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
17. จรัสพงศ์ คลังกรณ์ อัยการอาวุโส
18. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
19. ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
20. วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
21. ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22. อัครพงษ์ ค่ำคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ม. ธรรมศาสตร์
23. วิภา ดาวมณี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
24. อภิชาติ สถิตนิรมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
25. อัฐมา โภคาพานิชวงษ์ โครงการสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
26. กรีวุฒิชัย ตรีครุธพันธุ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27. รัตนา โตสกุล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
28. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
29. สุรัสวดี หุ่นพยนต์ สำนักบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
30. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ
31. ศรีประภา เพชรมีศรี ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม ม.มหิดล
32. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม ม.มหิดล
33. วราภรณ์ แช่มสนิท ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม ม.มหิดล
34. กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล
35. สุชาดา ทวีสิทธิ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล
36. องค์ บรรจุน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท ม.มหิดล
37. เนตรนภา ขุมทอง ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน มหาวิทยาลัยมหิดล
38. พรชัย เทพปัญญา สถาบันปัญญาไทย
39. เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
40. ฉลอง สุนทราวาณิชย์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
41. สุวิมล รุ่งเจริญ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
42. การุณลักษณ์ พหลโยธิน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
43. กฤษณา ไวสำรวจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
44. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
45. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
46. นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
47. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
48. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
49. สิงห์ สุวรรณกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
50. จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
51. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
52. วิทยา สุจริตธนารักษ์ สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
53. ชเนฎฐวัลลภ ขุมทอง ที่ปรึกษาศูนย์เศรษฐศาสตร์สุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
54. ทวีศักดิ์ เผือกสม สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
55. จิรวัฒน์ แสงทอง สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
56. ทวีลักษณ์ พลราชม สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
57. จีรพล เกตุชุมพล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแพง
58. อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
59. ยศ สันตสมบัติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
60. อรัญญา ศิริผล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
61. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
62. วสันต์ ปัญญาแก้ว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
63. สันต์ สุวัจฉราภินันท์ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
64. นิชธิมา บุญเฉลียว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
65. อรรถจักร สัตยานุรักษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
66. สายชล สัตยานุรักษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
67. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
68. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
69. ทศพล ทรรศกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
70. นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
71. ชาญกิจ คันฉ่อง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
72. ภูมิอินทร์ สิงห์ชวาลา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
73. พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
74. อิสราภรณ์ พิศสะอาด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
75. ธนศักดิ์ สายจำปา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
76. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
77. ศรันย์ สมันตรัฐ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
78. ภิญญา ตันเจริญ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
79. ยุทธพร อิสรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
80. ธโสธร ตู้ทองคำ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
81. สุพัตรา ตันเจริญ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏอุดรธานี
82. พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
83. ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
84. วิเชียร อันประเสริฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
85. เสนาะ เจริญพร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
86. พลวิเชียร ภูกองไชย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
87. เนตรดาว เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
88. ซากีร์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
89. บุญสม จันทร สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
90. วิจา ตินตะโมระ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง
91. ศรยุทธ์ เอี่ยมเอื้อยุทธ นักวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
92. นันทวัฒน์ ฉัตรอุทัย นักวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร
93. นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ นักวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร
94. Coeli Barry ที่ปรึกษา ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร
95. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์
96. อลิสา หะสาเมาะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
97. สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
98. ดวงพร เพิ่มสุวรรณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
99. บุญสม พิมพ์หนู คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
100.ชวลิต สวัสดิ์ผล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
101.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
102.พินัย สิริเกียรติกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
103.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
104.โกวิท แก้วสุวรรณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
105.เชษฐา พวงหัตถ์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
106. ยอดพล เทพสิทธา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
107. กิตติมา เมฆาบัญชากิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
108. กานดา นาคน้อย คณะเศรษฐศาสตร์ Purdue University, U.S.A.
109. ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
110. บัณฑิต จัททร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
111. นภิสา ไวฑูรรย์เกียรติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
112. ศศิประภา จันทะวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
113. บุญสม พิมพ์หนู คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
114. ชวลิต สวัสดิ์ผล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
115. สุรัสวดี หุ่นพยนต์ โครงการบันฑิตอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
116. จินตนา แซนดิแลนด์ ภาควิชาภาษาไทย Australia National University
117. วรวัตถุ์ มากศิริ มหาวิทยาลัย Fordham
118. ทรงพร ทาเจริญศักดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
119. ชาญ ณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

นักวิชาการต่างประเทศ

120. Charles Keyes University of Washington, Seattle
121. Tamara Loos Cornell University
122. Hayao Fukui Kyoto University
123. Rachel Harrison SOAS, London
124. Susan M. Darlington Hampshire College, Amherst
125. Tyrell Haberkorn Australian National University
126. Robert B. Albritton Political Science, University of Mississippi
127 Frank K. Lehman University of Illinois
128. Benny Widyino Former UN Secretary-General's Representative to Cambodia
129. Nikki Tannenbaum Lehigh University
130. Nancy Eberhardt Knox College
131. Anne Hansen University of Wisconsin-Madison
132. Penny Van Esterik York University
133. Richard O'Conner Sewanee: University of the South
134. Sandra Cate San Jose State University
135. Alicia Turner York University
136. John Holt Bowdoin College
137.Erik Davis Macalester College
138. Pat Chirapravatti California State University, Sacramento
139. Andrew Walker Australian National University
140. Larry Ashmun University of Wisconsin-Madison
141. Ann K. Brooks Texas State University - San Marcos
142. David Streckfuss Independent Scholar
143. Carol Compton Independent Scholar
144. Leslie Woodhouse Independent Scholar
145.Richard A. Ruth US Naval Academy
146. Sudarat Musikawong Siena College
147. Rita Laugo University of Bristol
148. Steve Cohn Knox College
149. Chhany Sak-Humphry University of Hawaii-Manoa

นักวิชาการอิสระ ปัญญาชน และประชาชนทั่วไป

150. ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักวิชาการอิสระ
151. ณรงค์เดช นวลมณี นักวิชาการอิสระทางนิติศาสตร์และทนายความ
152. เทพรัตน จันทนันท์ นักวิชาการอิสระ
153. ณัฐเมธี สัยเวช นักวิชาการอิสระ
154. อธิป จิตตฤกษ์ นักวิชาการอิสระ
155. เกษม จันทร์ดำ นักวิชาการอิสระ
156. ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร นักวิชาการอิสระ
157. วิภาส ปรัชญาภรณ์ นักวิชาการอิสระ
158. ปรีดีโดม พิพัฒชูเกียรติ นักวิชาการอิสระ
159. พิพัฒน์ พสุธารชาติ นักวิชาการอิสระ
160. ภาสกร อิ่นทุมาร นักวิชาการอิสระ
161. อดิศร เกิดมงคล นักวิจัย International Rescue Committee
162. ภูเพียง ศรีนอก
163. นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ สื่อมวลชน
164. ธัญสก พันสิทธิวรกุล ผู้กำกับภาพยนตร์
165. ภาณุ ตรัยเวช นักเขียน
166. รอมแพง ขันธกาญจณ์ นักเขียน/สื่อมวลชน
167. ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ นักเขียน/ สื่อมวลชน
168. กฤช เหลือลมัย วารสารเมืองโบราณ
169. ชลิดา เอื้อบำรุงจิต
170. สัณห์ชัย โชติรสเศรณี
171. วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา นักเขียนและนักวิจารณ์ภาพยนตร์
172. โตมร ศุขปรีชา นักเขียน/ สื่อมวลชน
173. ชญานิน เตียงพิทยากร นักวิจารณ์ภาพยนตร์
174. คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง นักเขียนและนักวิจารณ์ภาพยนตร์
175. งามวัลย์ ทัศนียานนท์ มูลนิธิศูนย์กฎหมายสิ่งแวดล้อม-ประเทศไทย
176. กิรพัฒน์ เขียนทองกุล นักศึกษปริญญาโท รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
177. เทวฤทธิ์ มณีฉาย นักศึกษาปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า
178. ธิติพงษ์ ก่อสกุล นักศึกษาปริญญาโท สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์
179. นครินทร์ วิศิษฎ์สิน นักศึกษาปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
180. เอกรินทร์ ต่วนศิริ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
181. ธนันท์ อุนรัตน์ นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
182. วิษณุ อาณารัตน์ ม.ธรรมศาสตร์
183. พัชร เอี่ยมตระกูล นักศึกษาปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
184. พิพัฒน์ วิมลไชยพร นักศึกษาปริญญาโท พระจอมเกล้าธนบุรี
185. ทบพล จุลพงศธร นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
186. พุฒิพงศ์ มานิสสรณ์ นักศึกษาปริญญาโท นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
187. สุรัช คมพจน์ นักศึกษาปริญญาโท รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
188. พิมพ์ศิริ เพชรน้ำรอบ นักศึกษาปริญญาตรี นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
189. อันธิกา สวัสดิ์ศรี PhD student, University of Newcastle, UK
190. สุนิสา บัวละออ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ม.ธรรมศาสตร์
191. กิตติกร นาคทอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
192. นายบุญยืน สุขใหม่ กรรมกรไทย
193. ประเกียรติ ขุนพล กลุ่มเพื่อนพลเมืองอันดามัน
194. ทันตแพทย์หญิงเมธินี คุปพิทยานันท์ กรมอนามัย
195. สาคร พงศ์พันธุ์วัฒนา
196. เสริมสุข พงศ์พันธุ์วัฒนา
197. ศิริรัตน์ พงศ์พันธุ์วัฒนา
198. นพรุจ พงศ์พันธุ์วัฒนา
199. สุภา ธาราธีรเศรษฐ์
200. อนุสรณ์ ธาราธีรเศรษฐ์
201. ธนพล ธาราธีรเศรษฐ์
202. ธนภัทร ธาราธีรเศรษฐ์
203. คำรณ เฉลิมโรจน์
204. อิสรา ยมจินดา
205. วัฒนา Gshneller
206. นาย Marco Gshneller
207. ภมร ภูผิวผา
208. มินตา ภณปฤณ
209. กิตติพงษ์ ราชเกสร
210. ธีรพงษ์ สุทธิวราภิรักษ์
211. พัชรี แซ่เอี้ยว
212. ธนู จำปาทอง
213. ศุษม อรรถวิภาคไพศาลย์
214. วิชาติ สมแก้ว
215. รวินทร์นิภา การินทร์
216. สุทธรัก ขุนจำนงค์
217. นาถรพี วงศ์แสงจันทร์
218. อุษณีย์ วงศ์แสงจันทร์
219. ชยางกูร วงศ์แสงจันทร์
220. กิติคุณ โตรักษา
221. ชัยยุทธ พิพัฒนเสริญ
222. เมธี ชุมพลไพศาล
223. ธวัช งานรุ่งเรือง
224. จินดารัตน์ ทุ่งทอง
225. วนิดา ไมตรีจิตต์
226. พิชกร พิมลเสถียร
227. ธนพล ฟักสุมณฑา
228. สิโรตม์ นุตาคม
229. ตฤณ ไอยะรา
230. สราวุธ ภัทรบรรจง
231. พีระยุทธ เลขะวณิชย์
232. อาทิตย์ ศิวะหรรษาพันธ์
233. ณัฏฐา มหัทธนา
234. สงวน จุงสกุล
235. เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์
236. มนตรี สินทวิชัย(ครูยุ่น) มูลนิธิคุ้มครองเด็ก
237. งามวัลย์ ทัศนียานนท์ มูลนิธิศูนย์กฎหมายสิ่งแวดล้อม-ประเทศไทย
238. จุฬารัตน์ ดำรงวิถีธรรม นักวิจัยอิสระ
239. เตือนสิริ ศรีนอก
240. พงศ์นเรศ อินทปัญญา

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน