พิษฉุกเฉิน ฝรั่งเทหุ้นร่วง30จุด แอคทิวิสต์-5นักวิชาการยังเติร์กจี้ยกเลิกชี้ชัดขัดกฎหมาย
งาม หน้าไปทั่วโลก-สำนักข่าวAFPลงแผนที่ประเทศไทยเผยแพร่ไปทั่วโลกว่า รัฐบาลได้ประกาศให้กรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นพื้นที่ฉุกเฉินร้ายแรงและปิดสื่อ โทรทัศน์และเวบไซต์ที่ต่อต้านรัฐบาล ขณะที่ผู้ชุมนุมประท้วงยังเพิกเฉยต่อประกาศฉุกเฉิน
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
9 เมษายน 2553
ดัชนีตลาดหุ้นไทยเมื่อวานนี้ ปิดลบไปเกือบ30จุด โดยร่วงตั้งแต่เปิดทำการ หลุดด่าน800ลงไปต่ำสุดแถว 780จุดช่วงกลางภาคบ่าย หรือร่วงลงจากวันก่อน 32 จุดหรือ-3.9% เนื่องจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศวิตกว่ารัฐบาลจะสลายการชุมนุมเสื้อแดง
นัก ลงทุนต่างชาติขายสุทธิออกมา1,402ล้านบาท เป็นการขายสุทธิหนแรกในรอบ 31 วันทำการ หลังจากหน้านี้ได้ซื้อสุทธิมาอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ในช่วง ที่กลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาเริ่มจากวันที่ 12 มีนาคม ตอนนั้นดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่720จุด เมื่อวานก่อนที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นไปที่ 820จุด หรือขึ้นมาร่วม 100 จุด เพราะนักลงทุนเห็นว่าการชุมนุมยังเป็นไปโดยสันติ แต่พอค่ำวันที่7เม.ย.รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน พอตลาดหุ้นเปิดทำการมาวานนี้ตลาดหุ้นก็ร่วงลงตลอดทั้งวัน
เวบไซต์ ชั้นนำวงการหุ้น www.eFinanceThai.com รายงานการสัมภาษณ์นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย)ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า ดัชนีฯที่ปรับตัวลดลงแรงวานนี้ ส่วนเพราะนักลงทุนเกิดความกังวลว่าจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงมาก ขึ้น หลังรัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประกอบกับใกล้ช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์อาจส่งผลใหนักลงทุนบางส่วนลดพอร์ตการลง ทุน ลดความเสี่ยง
'ภาพมันเปลี่ยนหลังรัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดความรุนแรง นักลงทุนมีการสอบถามเข้ามาบ้าง เพราะ พ.ร.ก.เป็นเรื่องใหม่ อาจสะท้อนถึงความยุ่งเหยิง นักลงทุนเริ่มระมัดระวังมากขึ้น วานนี้ที่ดัชนีฯลงแรงน่าจะเป็นแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ เท่าที่ดูปริมาณการซื้อเวลานี้ลดลง ผสมโรงกับที่ผ่านมาดัชนีฯปรับตัวขึ้นมาแรง จึงมีการปรับฐานเกิดขึ้น ซึ่งเชื่อว่าสถานการณ์นี้จะเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ และหวังว่าดัชนีฯจะไม่หลุด 750 จุด'นางภัทธีรากล่าว
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้ นักลงทุนควรลดพอร์ตการลงทุน และรอจังหวะ รวมทั้งติดตามสถานการณ์
แถลงการณ์ ก่อนจะข้ามผ่านยุบสภา ก่อนสังคมไทยจะเดินหน้าต่อไป
กลุ่ม นักกิจกรรมสังคมได้ออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่งระบุว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา อุณหภูมิการเผชิญหน้าระหว่าง รัฐบาลกับ นปช. ได้พุ่งขึ้นสูงเป็นอย่างมาก จนมีการประกาศใช้ พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และมีกระแสข่าวเรื่องการสลายการชุมนุม
พวกเรา เครือข่ายนัก พัฒนาเอกชน และนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย ดังรายชื่อแนบ ท้ายแถลงการณ์นี้ มีความเห็นว่าท่าทีที่ผ่านมาของรัฐบาล มีความพยายามนำพาสถานการณ์ให้ไปสู่การเผชิญหน้าตลอดเวลา นับตั้งแต่การให้ข่าวดิสเครดิตการชุมนุม การประกาศใช้ พรบ.ความมั่นคงฯ ตั้งแต่ยังไม่มีการชุมนุม จนกระทั่งปัจจุบันยังมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง การพยายามหลบเลี่ยงตั้งเงื่อนไขต่างๆ นานาก่อนการเจรจา
เพื่อเป็น การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว พวกเราขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังต่อไปนี้
1.พวกเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศใช้ พรก. บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง และพรบ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยเร่งด่วน
2.พวกเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาโดยทันที เพื่อ ยุติปัญหาไม่ให้เกิดเหตุการณ์บานปลายมากไปกว่านี้
3.พวกเรา เห็นว่ารัฐบาลควรสนับสนุนการจัดการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งเป็นการใช้ สิทธิตามรัฐธรรมนูญ เพื่อลดบรรยากาศความตรึงเครียด
4.พวก เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดการปิดกั้นสื่อ เช่น การสั่งปิด 36 เวบไซต์, การปิดสถานีไทยคม และหยุดการให้ข่าวใส่ร้ายการชุมนุม
พวก เราเห็นว่าคำว่า “ภาคประชาชน” ไม่ได้ผูกขาดอยู่กับฐานะทางสังคม หรือการเคลื่อนไหวของใครกลุ่มใดเพียงกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น เอ็นจีโอ, นักธุรกิจเพื่อสังคม, ผู้นำชุมชน, แกนนำชาวบ้าน, ปราชญ์ชาวบ้าน, ราษฎรอาวุโส ฯลฯ หากแต่สาระสำคัญของคำว่า “ภาคประชาชน” อยู่ที่การเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ได้มาซึ่ง “อำนาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน” พวกเราเห็นว่าการเคลื่อนไหวของคน เสื้อแดง ในนามของนปช. เป็นการเคลื่อนไหวของ “ภาคประชาชน” อย่างชัดเจน และ การชุมนุมเป็นการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ
จาก การที่มี “ภาคประชาชน” บางส่วน เสนอให้มีการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคม พวกเราเห็นว่าภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ที่รัฐบาลไม่ได้มีที่มาจากคนส่วนใหญ่ของประเทศนั้น ไม่อาจเกิดการปฏิรูปฯ ที่เป็นจริงได้ พวกเราเห็นว่า รัฐบาลควรประกาศยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน นำประเทศกลับสู่ประชาธิปไตย จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ใช้เวทีการเลือกตั้งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โดยประชาชนอย่างแท้จริง
ด้วยจิตสมานฉันท์
เครือ ข่ายนักพัฒนาเอกชน และนักกิจกรรมทางสังคม เพื่อประชาธิปไตย
วัน พฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2553 ณ ห้องประชุมสุจิตรา 409 ชั้น 4
อาคารมูลนิธิ อาสาสมัครเพื่อสังคม ซ.รัชดาภิเษก 14 ห้วยขวาง กรุงเทพฯ
ราย ชื่อลงนามสนับสนุนแถลงการณ์
1. กมลชนก มั่นคง นักกิจกรรม
2. กิตติชัย งามชัยพิสิฐ สถาบันต้นกล้า
3. แก้วตา เพชรรัตน์ นักกิจกรรม
4. เขมทัศน์ ปาลเปรม นักกิจกรรม
5. จามร ศรเพชรนรินทร์ นักกิจกรรม
6. จารุวรรณ สาทลาลัย นักกิจกรรม
7. จิตรา คชเดช Try Arm
8. เจษฎา โชติกิจภิวาทย์ กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ
9. เฉิดฉันท์ ศรีพาณิชย์ นักกิจกรรม
10. ชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิช นักกิจกรรม
11. โชติศักดิ์ อ่อนสูง นักกิจกรรม
12. ทรงศักดิ์ ปัญญานั กกิจกรรม
13. ธิกานต์ ศรีนรา นักกิจกรรม
14. นรสิงห์ ศรีวิโรจน์ องค์กรเลี้ยวซ้าย
15. นีรนุช เนียมทรัพย์ นักกิจกรรม
16. บารมี ชัยรัตน์ส ถาบันสันติประชาธรรม
17. บุญยืน สุขใหม่ กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
18. ปชาบดี พุ่มพวง นักกิจกรรม
19. ประดิษฐ์ ลีลานิมิต สถาบันต้นกล้า
20. ปราการ กลิ่นฟุ้ง นักกิจกรรม
21. ปรีชา จันทร์ภักดี สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้
22. พงษ์สุวรรณ สิทธิเสนา สถาบันเพื่อการพัฒนาเยาวชนประชาธิไตย
23. พงศธร ศรเพชรนรินทร์ นักกิจกรรม
24. พนิดา บุญเทพนั กกิจกรรม
25. พรพิมล สันทัดอนุวัตร สถาบันต้นกล้า
26. พิมพ์ศิริ เพชรน้ำรอบ นักกิจกรรม
27. พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์ นักกิจกรรม
28. พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ Ban the hollywood club
29. ไพศาล ธนบุญสมบัติ นักกิจกรรม
30. ภาวิณี ไชยจารุวณิช นักกิจกรรม
31. มนัส กลับชัย สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้
32. รังสรรค์ แสนสองแคว กลุ่มแนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ
33. รัชพงศ์ โอชาพงศ์ กลุ่มประกายไฟ
34. เลื่อน ศรีสุโพธิ์ สมัชชาคนจน
35. วรรณเกียรติ ชูสุวรรณ สถาบันต้นกล้า
36. วัชรินทร์ สังขาระ สถาบันต้นกล้า
37. วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ นักกิจกรรม
38. วีรนันท์ ฮวดศรี นักกิจกรรม
39. ศรายุทธ ตั้งประเสริฐ นักกิจกรรม
40. ศิริพร พรมวงศ์ นักกิจกรรม
41. ศิววงศ์ สุขทวี นักกิจกรรม
42. สมรักษ์ อุตมะ นักกิจกรรม
43. สมสิทธิ์ นิทธยุ นักกิจกรรม
44. สันติ โชคชัยชำนาญ กิจนักกิจกรรม
45. สุรชาติ ไตรสูงเนิน จนท.นโยบายและแผน อบต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์
46. สุรพล สงฆ์รักษ์ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้
47. สุริยา โพธิ์ชัยเลิศ กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
48. อนุรักษ์ สุพร นักกิจกรรม
49. อนุรักษ์ สุพร กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
50. อรุณวนา สนิกะวาที นักกิจกรรม
51. อรรถพร ขำมโน นักกิจกรรม
52. นาย
53. อุดมพร เพชรพงษ์ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้
54. อุษาวดี ชาวแพร่ นักกิจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น