แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553

นักศึกษาใน-ต่างประเทศทั่วโลกเข้าชื่อตะเพิดมาร์คยุบใน30วัน เลิก หนาป้ายขี้เสื้อแดงก่อการร้าย



เเถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลต้องยุบสภาเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาดในการสลายการชุมนุม
โดย กลุ่มนักเรียนนักศึกษาไทย ในประเทศไทยและต่างประเทศ

เนื่องจากการตัดสินใจของรัฐบาลในการสลายการชุมนุมที่ถูกเรียกอย่างสวยหรูว่าการขอคืนพื้นที่เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมานั้น นำมาสู่การเปิดโอกาสให้ความรุนแรงเกิดขึ้น ไม่ว่ารัฐบาลจะตั้งใจใช้ความรุนแรงหรือไม่ก็ตามแต่ก็ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทั้งในกลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่

การโยนความผิดให้กับสิ่งที่เรียกว่าผู้ก่อการร้ายทั้งๆ ที่รัฐบาลเองครอบครองทรัพยากรมนุษย์มากมายที่สามารถคิดวางแผนนั้น ไม่ใช่และไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจซึ่งนำมาสู่ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทางเราในฐานะนักเรียน นักศึกษาดังมีรายนามต่อท้ายจดหมายฉบับนี้จึงขอเสนอให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาดดังกล่าว

อย่างไรก็ตามการลาออกของนายกรัฐมนตรีนั้นคงมิใช่การแสดงความรับผิดชอบหรือทางออกที่ถูกต้องของปัญหาที่ได้เกิดขึ้น เพราะการลาออกนั้น อย่างมากที่สุดก็จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเพียงเฉพาะแต่ตัวของผู้เป็นนายกฯ เท่านั้น หรือมากไปกว่านั้นก็เพียงแต่การปรับเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี แต่ มิได้นำมาซึ่งการแสดงความรับผิดชอบของคณะรัฐบาลโดยรวม หรือมากไปกว่านั้น

ความรับผิดชอบของพรรคร่วมรัฐบาลซึ่งควรมีส่วนในการ รับผิดชอบต่อการตัดสินใจของรัฐบาลในการนี้ด้วย เพราะนับตั้งแต่ความรุนแรงดังกล่าวได้เกิดขึ้นนั้นอาจกล่าวได้ว่าความ ชอบธรรมของคณะรัฐบาลทั้งคณะได้หมดสิ้นลง เนื่อง จากคณะรัฐบาลทั้งคณะในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหารควรรับผิดชอบร่วมกันต่อการประกา ศพรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงซึ่งอำนวยให้เกิดการตัดสินใจ ปฏิบัติการสลายการชุมนุมหรือขอคืนพื้นที่ และเปิดโอกาสให้เกิดความรุนแรงและความสูญเสียดังกล่าว

มากไปกว่านั้นหากพิจารณาร่วมไปกับการอ้างเหตุผลในการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีเหตุผลสำคัญ ประการหนึ่งคือที่มาของรัฐบาลชุดนี้มิได้มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของประชาชน แต่มาจากการปรับเปลี่ยนขั้วทางการเมืองของพรรคร่วมรัฐบาล ดังนั้นทางออกที่เหมาะสมกว่าจึงเป็นการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ เพราะ

ประการแรก เป็นการแสดงความรับผิดชอบของคณะรัฐบาลทั้งคณะต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาดดังกล่าว ตลอด จนเป็นการเปิดโอกาสให้รัฐบาลได้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจของตนในการปล่อยให้มี การตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างโปร่งใสและเป็นกลางคือ เป็นอิสระจากอำนาจของรัฐบาลชุดนี้แล้ว

ประการที่สอง เป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาพื้นฐานที่กลุ่มผู้ชุมนุมใช้อ้างเหตุผลในการชุมนุม เพราะ การเลือกตั้งใหม่ย่อมนำมาสู่การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พิจารณาและไตร่ตรอง ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ตนต้องการอีกครั้งหนึ่ง

ต่อข้อโต้แย้งที่ว่า การเลือกตั้งใหม่อาจนำมาสู่วงจรอุบาทว์ของการจัดตั้งมวลชนเพื่อล้มรัฐบาลต่อไปอย่างไม่สิ้นสุดนั้น พวกเรามีความเห็นว่า

ประการแรก ไม่มีสิ่งใดที่รับประกันว่าพรรคเพื่อไทย หรือพรรคใดๆ จะ เป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งและได้จัดตั้งรัฐบาลชุดต่อไป อีกทั้งการยุบสภาจะสามารถปลดเงื่อนไขของการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงใน ปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ได้ในทันที

ประการที่สอง ถึงแม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะได้รับเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาล แต่จากบทเรียนที่เกิดขึ้นนั้น การชุมนุมใดๆ เพื่อเรียกร้องให้เกิดการยุบสภาหรือการลาออกของผู้นำรัฐบาลนั้น ย่อมมิอาจสำเร็จได้หากรัฐบาลชุดนั้นๆ ไม่สร้างเงื่อนไขสำคัญ ให้กลุ่มใดๆ นำมาใช้เป็นข้ออ้างในการชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้คนขนาดใหญ่

ประการที่สาม ที่สุดแล้วการชุมนุมของกลุ่มใดๆไม่ว่าจะเป็นเสื้อแดง เสื้อเหลือง หรือ กลุ่มอื่นๆนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นมิใช่สิ่งที่เป็นปัญหาเพราะการชุมนุม โดยสงบของกลุ่มใดๆนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ตามกรอบของระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่ต้องพึงระวังจึงมิใช่การชุมนุมหากเป็นการไม่เปิดโอกาสให้ความรุนแรงเช่นนี้เกิดขึ้นได้อีก

มากไปกว่านั้นเราอาจต้องยอมรับว่าเกือบทุกกรณีในอดีตของรัฐไทยที่ผ่านมาสิ่งที่จะสามารถล้มรัฐบาลได้นั้นมิใช่การชุมนุมโดยตัวของมันเอง นั่นคือการชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่อาจเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นแต่ไม่ใช่เงื่อนไขที่เพียงพอต่อการล้มรัฐบาล แต่ เป็นเพราะอำนาจนอกระบบที่แทรกแซงเข้ามาผ่านเงื่อนไขของความรุนแรงที่เกิดขึ้น หรือถูกอ้างว่าจะเกิดชึ้นในบริบทของการชุมนุมต่างหากที่เข้ามาล้มรัฐบาล

ดังนั้นก่อนที่ความรุนแรงระลอกต่อไปจะเกิดขึ้นหรือการแทรกแซงใดๆจะเกิดขึ้น และเพื่อธำรงไว้ซึ่งสิทธิของประชาชนทุกคน การยุบสภาภายใน 30 วันจึงเป็นสิ่งที่พวกเราในฐานะนักเรียน นักศึกษาดังมีรายนามดังต่อไปนี้เห็นว่าเป็นทางออกที่รีบด่วนอย่างยิ่งของสถานการณ์ของประเทศในปัจจุบัน

นักศึกษาผู้ลงนามในแถลงการณ์

1. นายชยุตม์ ชำนาญเศรษฐ นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.
นายศักดิ์สิทธิ์ สีลาเขต นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3.
นายนนทวุฒิ ราชกาวี นักศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4.
นายศุภเกียรติ ศุภศักดิ์ศึกษากร นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.
นายฉัตรชัย ทองสุขนอก คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
6.
นางสาวสุนิสา บัวละออ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
7.
นายเกื้อ เจริญราษฎร์ นักศึกษาปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8.
นายภวริษฐ์ ฉันทประยูร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9.
น.ส. อจินไตย เฮงรวมญาติ นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10.
นายวยากร พึ่งเงิน นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11.
นายสมพล ชคัตประกาศ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12.
น.ส.วิชญา พรหมสวัสดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13.
นายรักนิรันดร์ ชูสกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14.
นายธัชพงศ์ ศรีสุวรรณ นักศึกษาปริญญาโท Membrane Structure,
Anhalt University of Applied Sciences, Germany.
15.
น.ส.ธัญญธร สายปัญญา น.ศ.ปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16.
นายตฤณ ไอยรา School of International Development, University of East Anglia.
17.
น.ส.แวววิศาข์ ณ สงขลา คณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร
18.
นางสาวอัชฌา ถิรนุทธิ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
19.
นางสาวสิรยา ชุมนุมพร นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
20.
อาจินต์ ทองอยู่คง สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์
21.
นางสาวนววิธ จิตต์วรไกร นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22.
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
23.
นายฮัสสัน ดูมาลี นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม
24.
การ์ตูน บุญมิ่ง นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
25.
ภารุต เพ็ญพายัพ นักศึกษาป. โท คณะประวัติศาสตร์ Birkbeck College
26.
ณภัค เสรีรักษ์ น.ศ.ปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27.
นายวัฒนา ลาลิน นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
28.
กิตติพงษ์ เรือนทิพย์ นักศึกษาป.โท School of International Development, University of East Anglia, UK
29.
อธิศนันท์ ซันกูล ปริญญาตรี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวัทยาลัยเชียงใหม่
30.
วันชัย สินประจักษ์กุล มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
31.
ทพ.ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
32.
วันเฉลิม โภคกุลกานนท์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
33.
นายดิศพล ศิริรัตนบวร นักศึกษาชั้นปีที่สาม คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
34.
กฤษณะ มณฑาทิพย์ School of Political Science and International Studies
University of Queensland
35.
นางสาวกอปรทิพย์ อัจฉริยโสภณ นิสิตปริญญาเอก คณะสิ่งแวดล้อม, การพัฒนา และความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
36.
วิป วิญญรัตน์ นักศึกษาป.โท Department of History, Birkbeck College, University of London
37.
บุญครอง พรพนาทรัพย์ School of Law, Indiana University
38.
ทัชชนก นิลพันธุ์ LL.M. Indiana University, School of Law
39.
บัญชา ทุนถาวร School of the Art Institute of Chicago, Visual Communication Design
40.
วรรณพร เตชะไกศิยวณิช S.J.D. Indiana University, Maurer School of Law
41.
นายธนากร ธีรวัฒน์วรกุล นักศึกษาปริญญาโท LLM. Dundee University, Scotland.
42.
กนกพร ขจรศิลป์ LL.M. University of California, Los Angeles, School of Law
43.
รุ่งทิพย์ จันทร์ธนะกุล นักศึกษาป.เอก คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
44.
รพีพัฒน์ พัฒนา ศศ.ม ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
45.
ริสา สายศร BBA. Assumption University
46.
นาถรพี วงศ์แสงจันทร์ International Development Department, School of Government and Policy, University of Birmingham
47.
ตะวัน มานะกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
48.
นายเทอญ ฐิติเนื่อง Department of Accounting and Finance, University of Strathclyde, Glasgow.
49.
ธนพงศ์ จิตต์สง่า น.ศ. ปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
50.
นายภัทร บุปผาวัลย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
51.
นายเมธี ชุมพลไพศาล ปริญญาตรี เภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
52.
กรัณย์ กาญจนรินทร์ นักศึกษาสถาบันภาษา Institut d'Etudes Françaises pour Etudiants Etrangers Université Paul Cézanne Aix-Marseille3
53.
ณิชนันท์ ตัญธนาวิทย์ ป.โท สถาบันภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล
54.
นางสาวสุลักษณ์ หลำอุบล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย
55.
ชญานิน เตียงพิทยากร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
56.
วิรุจ ภูริชานนท์ คณะ สถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
57.
ศิริภัทร์ ทองสุขนอก คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
58.
วีระวรรณ แสนคำราง คณะสหเวชศาสตร์ ม.บูรพา
59.
วิชญาภรณ์ ศศิสกุลพร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
60.
บดินทร์ รัตน์ จันทน์ขาว คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
61.
ทิวาพร ใจก้อน ป.โท ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
62.
น.ส.วริศรา ตั้งค้าวานิช ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
63.
นางสาว ภัชชารีญา ชัยได้สุข สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียน พายัพเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ
64.
นาย อภิรัตน์ สุนันทา กลุ่มคนทำเพลง(MC) สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โรงเรียนพายัพเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ
65.
นางสาว วันใหม่ หมื่นฤทธิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษศาสตร์ (สื่อสารมวลชน) ,คณะนิติศาสตร์
66.
ชานนทร์ เตชะสุนทรวัฒน์ เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
67.
นาย วิศรุต บุนนาค ปริญญาตรี ภาควิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
68.
นรินทร์ จิตต์ปราณีชัย เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
69.
นายสว่าง มีแสง นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
70.
นางสาวปทุมรัตน์ ปานรัตน์ มหาวิทยาลัย Asia Pacific International University คณะ Biology
71.
นายอดิราช ท้วมละมูล โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ฉะเชิงเทรา
72.
นายสุทธิพงศ์ อาวะภาค คณะนิติศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์
73.
น.ส.อันธิกา ทรงเผ่า คณะพลศึกษา เอกนันทนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2
74.
นายอภิรัตน์ ปานรัตน์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค
75.
วชรพรรณ สิทธิโกศล นักศึกษาปริญญาโท(MBA)รามคำแหง
76.
นายวรพรต พัชตระชัย คณะBBA มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
77.
ตรัย ลาพินี นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
78.
น.ส.เมลิน ชูธรรมสถิตย์ Economics, University of Waterloo, Canada
79.
นาย ฮัมเดร์ ยุนุ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
80.
อรุษา ชัยชนะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
81.
สมเกียรติ มูลทา BBA, ABAC
82.
นางสาวรุ่งนภา ธรรมชาติ บริหาร, หัวเฉียวฯ
83.
สิริมา บุตรสุทธิวงศ์ ป.โท ประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
84.
ชัชชล อัจนากิตติ นักศึกษาปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
85.
นายณัฐพล สวัสดี ศิลปกรรมศาตร์ ม.กรุงเทพ
86.
นายธัชนนท์ ลักษณพรพงษ์ ปริญญาโท วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
87.
น.ส.วราภรณ์ สิทธิศักดิ์ธนกุล Communication Arts, Bangkok University International College
88.
ธิติพงษ์ ก่อสกุล นักศึกษาป.โท ชนบทศึกษาและพัฒนา ม.ธรรมศาสตร์
89.
รัฐนันท์ กิจนิธิไพศาล คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา (สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา เดิม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
90.
นายไพโรจน์ ศรีเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
91.
นายสรไกร คำแก่น รัฐประศาสนศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิต
92.
นายนิวัตชัย ขยายแย้ม ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
93.
ธีรวัฒน์ คงเที่ยง ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
94.
ศศิธร ศรีเพชรางกูร คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
95.
น.ส.สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
96.
พรเทพ โลมรัตนา การจัดการสารสนเทศ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา
97.
พนิดา เรืองสว่าง บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
98.
กนกวรรณ ไตรยวงค์ เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
99.
วิชญา ศิระศุภฤกษ์ชัย ป.โท คณะพาณิชย์และการบัญชี ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสต
100.
อธิคม จีระไพโรจน์กุล ป. โท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
101.
นายชนาธิป โพธิ์แก้ว คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ภาคพายัพ เชียงใหม่
102.
โชติช่วง มีป้อม ป.โท พิพิธภัณฑ์ศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
103.
นายณัฐ พัฒนศิริ School of Music มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
104.
จารุณี ธรรมยู นิสิตปริญญาโท ภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
105.
นายอานันท์ สุขุมภาณุเมศร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
106.
ภัทรกร บุญเสรฐ วิทยาลัยดุสิตธานี สาขาการจัดการโรงแรม
107.
สุพรรษา มิ่งขวัญ คณะศิลปกรรม สาขา คอมพิวเตอร์อาร์ต ม.รังสิต
108.
นายนรุตม์ เจริญศรี นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
109.
นางสาวจิตรชนก คงจรัสพัฒน์ ป.ตรี คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัย รามคำแหง
110.
นฤมล กล้าทุกวัน นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
111.
นส ณัฐสุดา แก่นน้อย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
112.
นาย อดิศร กรอบกระจก คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
113.
นาย ธนวัฒน์ ไพรวิจิตร โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
114.
นางสาวเบญจรัตน์ อักษรเลิศสวัสดิ์ วิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
115.
นางสาวปรางใส องพิสิฐ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
116.
นางสาวนิตต์ณิชา โชติกเสถียร คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์
117.
นางสาว สลิสา ยุกตะนันทน์ นักศึกษาปริญญาโท Social and Political Thought, University of Warwick, UK.
118.
ไชยรัตน์ ชินบุตร รัฐศาสตร์ การปกครอง รามคำแหง
119.
นางสาว ธนาภรณ์ ชุมพลไพศาล นักศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัย มหิดล
120.
นายอธิวัฒน์ กิจวนิชย์ภาสุ นักศึกษาปริญญาโทภาคภาษาอังกฤษ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
121.
นายณัฏฐ์ หงษ์ดิลกกุล นักศึกษาปริญญาโท-เอก คณะเศรษฐศาสตร์, Simon Fraser University
122.
นายวรุตม์ วรดิถี Economics, Swedish University of Agricultural Sciences
123.
ขวัญอรุณ โอภานนท์ ปริญญาโท รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
124.
ภาณุ ชินผา นักศึกษาปริญญาตรีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
125.
สุทธิอัตถ บุญชื่น MBA, California state University polytechnic Pomona
126.
ภาสวร ตั้งชัยพิทักษ์ บริหารธุรกิจ รามคำแหง
127.
นางสาวชนัญชิดา อนันตวิเชียร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
128.
นางสาว โมไนย โรจนภิมุข เครื่องสายสากล มัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร
129.
หทัยญา บุญสะอาด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
130.
น.ส.อริสรา ฤทธิยา เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคบูรพา ปราจีนบุรี
131.
นายวีรภัทร คันธะ นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
132.
นางสาวสรัญญา ธีรวุฒิ คณะครุศาสตร์ ภาควิชาภาษาอังกฤษ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา
133.
นายสยาม ธีรวุฒิ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
134.
ไพลิน ปิ่นสำอางค์ ศศ.บ.(ปรัชญา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
135.
น.ส.ไอลดา ลิบลับ ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์
136.
น.ส. ประทุมรัตน์ นางแย้ม นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชา ปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
137.
สุธิดา ชลชลาธาร นักศึกษาปริญญาโท Faculty of Education, Early Childhood Studies Department, Roehampton University
138.
นางสาวศิริภรณ์ พุฒทาจู ปี4 ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
139.
นายคเณศ จิวระโมไนย์กุล วิศวกรรมศาสตร์ ปี4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ
140.
กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
141.
สุรชิต วรรณพัฒน์ ปี3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
142.
น.ส.ฐิตินันท์ บุญรอด ปี5 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
143.
นายพงศกร พ่วงน่วม ปี3 บริหารธุรกิจ รามคำแหง
144.
สิทธิโชค พริ้งประยงค์ ปี5 คณะดุริยางคศิลป์ สาขาธุรกิจดนตรี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
145.
นายมารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร, Ph.D. student in Institute of Medical Microbiology, Goettingen University, Germany.
146.
น.ส.วีรวัลย์ ทิพย์ธวัชวงศา ปี 2 คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
147.
น.ส. อักษราภัค ชัยปะละ นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
148.
วิษณุ อาณารัตน์ ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
149.
นส. อิสรีย์ เพชรบัวศักดิ์ ปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
150.
รัชชานนท์ โชติพุฒศิลป์ เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
151.
พัชร์ศร ทองสลวย คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
152.
เพรียวพันธ์ เกริกพิทยา คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
153.
โยธิน โบราณวรรณ คณะดุริยางค์ศาตร์ ศิลปากร
154.
ธรรมนูญ จำคำ, Asia Pacific Management, Ristumeikan Asia Pacific University
155.
วิทย์ ประสมปลื้ม นักศึกษาปริญญาโท Master of Public Administration, Arizona State University
156.
วิมลวรรณ ลิ่วชวโรจน์ , ศิลปศาสตร์ ,มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
157.
รูปพิมพ์ สุขพานิช Travel Industry Management, Mahidol University International College
158.
สันติ ปินทุกาศ นักศึกษาปริญญาโท คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
159.
พรทิวา ขนอม นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
160.
นายชัชพงษ์ โลหะบาล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
161.
จิตติคุณ เลี่ยวจำนงค์ ป.ตรี คณะวิทยาศาตร์,คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลรีราชมงคล พระนคร[พระนครเหนือ]
162.
นางสาวชลธิชา ศรีทอง โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ศิลป์-คำนวณ ม.6
163.
นางสาวปวริศา คุณาวรนนท์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ
164.
นายจิระวิน ตานีพันธ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
165.
ชาคร รุ่งเรืองไพฑูรย์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ธรรมศาสตร์
166.
นาย อัคริศ ต้องทรัพย์อนันต์ น.ศ.ป.ตรีปี4 วิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร , ป.ตรี ปี2 รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
167.
นายปฏิภาณ นิลศิริ นิสิตภาคบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (บัณฑิตปี 52 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์)
168.
นาย กษิดิ์เดช ซาฮิบ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
169.
นาย มณเฑียร เลขาลาวัณย์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
170.
นายณัฐพันธุ์ บุญเลิศ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า คุณทหารลาดกระบัง
171.
นาย ภาคภูมิ พลานุวัฒน์ เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
172.
ภนิธา โตปฐมวงศ์ เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
173.
น.ส. ธีรินทร์ ศรีประเสริฐ Mahidol University International College [MUIC]

Posted by นักข่าวชาวรากหญ้า at 4/17/2010 02:29:00 หลังเที่ยง

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ17 เมษายน 2553 เวลา 22:09

    ท่านทราบเจตนาที่แท้จริงจากแกนนำของท่านหรือเปล่าว่ามีเจตนาอะไร,เืพื่อใคร, เพื่อชาติหรือไม่ แล้วเจนตาในตัวของท่านต้องการอะไรจากกิจกรรมนี้ที่เกิดขี้นมา แล้งสิ่งที่ทางว่าไม่ดีไม่ชอบทานพิจารณาหรือเปล่าว่าไม่ดีไม่ชอบจริงหรือ ใครเสียประโยชน์ ใครได้ประโยชน์ ชาติ หรือ บุคคลใดบุคคลหนึ่งกันแน่

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ17 เมษายน 2553 เวลา 22:11

    อยากทราบว่าท่านได้อะไรจากการไปร่วมชุมนุม ท่านเสียอะไรจากการร่วมชุมนุม

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ29 เมษายน 2553 เวลา 23:44

    ได้อะไรหนะเหรอ
    1. ได้สิทธิเสรีภาพในการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย
    2. รู้ว่า เป็นคนไทยทำไมต้องฆ่ากันเอง
    3. คนเสื้อแดงชุมนุมโดยสันติ ทำไมต้องไปสลาย ทำไมต้องมีอาวุธ
    แถลงข่าวว่าไม่มีอาวุธ ใช้กระสุนยาง
    ....ถามหน่อยว่ากระสุนยาง หาซื้อที่ไหนสามารถยิงคนตายบ้าง จะไปหาซื้อมายิง ขโมยที่มันลักลอบเอาประชาธิปไตยของประเทศชาติมายิงมันโดยใช้กระสุนยาง ที่ทหารใช้ยิงวันนั้นดูซิว่า มันจะเป็นเหมือนที่ให้ข่าวรึเปล่า....
    4. ใครเสียประโยชน์ ก็ประชาชนไง
    5. ใครได้ประโยชน์ ก็ประชาชนไง
    6. ผู้นำดี ประชี ก็มั่งคั่ง มีความสุข โดยเฉพาะคนยากจน คนรากหญ้า
    7. ผู้นำชั่ว มันเก็บ มันหาผลประโยชน์ จากคนรากหญ้า โดยไม่คำนึงถึงรายได้ที่ต่ำลง ภาษีเพิ่มทวีคูณ ทุกวัน

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ29 เมษายน 2553 เวลา 23:46

    ผมเป็นนักศึกษาคนนึง ที่เห็นด้วยกับการยุบสภา
    เพราะรัฐบาลนี้เปื้อนเลือด

    ตอบลบ

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน