รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน
แดงเชียงใหม่
กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม
เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน
"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"
.
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"
.
วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เหตุใดการนำคดีขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศจึงน่ากลัว?
โดยเดวิด สเตร็กฟัส ตีพิมพ์ใน New Mandala
หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ต่างจากหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษอื่นตรงที่มักจะตี พิมพ์บทความที่มีความคิดเห็นหลากหลายทางการเมืองในหน้าบรรณาธิการ และยังเป็นประเด็นที่มีความคิดอ่านและน่าฟัง
ตรงข้ามกับบทบรรณาธิการที่ตีพิมพ์ในวันที่ 1พฤศจิกายน ที่ผู้เขียนโต้แย้งโดยใช้เหตุผลที่คลุมเครือ โจมตีเรื่องส่วนตัว และให้ความเชื่อถืออย่างไม่สมเหตุสมผลต่อกระบวนการยุติธรรมในประเทศที่มี ประวัติศาสตร์ปกป้องผู้กระทำผิด
ผู้เขียนกล่าวว่า การที่แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) พยายามดำเนินคดีกับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นเรื่องของการ“บิดเบือนการใช้กระบวนการยุติธรรม อย่างน่าตกใจ” และ “บุคคลปกติทั่วไป” ควรจะ “ประณามการทำให้ความยุติธรรมแปดเปื้อน”
แต่จริงหรือที่ ความพยายามของกลุ่มนปช.ที่จะนำผู้กระทำความผิดในเหตุการณ์ความรุนแรงเดือน เมษายนและพฤษภาคมปีนี้ เป็นการกระทำที่อุกอาจและเกินกว่าเหตุอย่างที่ผู้เขียนพูด? เป็นสิ่งที่เป็นไปได้หรือไม่ว่า “บุคคลปกติทั่วไป” จะต้องตั้งข้อสงสัยว่าองค์กรที่มีความเป็นอิสระกึ่งหนึ่งและไม่มีอำนาจแท้ จริงที่รัฐบาลตั้งขึ้น อย่างคณะกรรมการค้นหาความจริงและสมานฉันท์ปรองดองแห่งชาติไม่สามารถคาดหวัง อะไรได้? มีเหตุผลที่หนักแน่นทางประวัติศาสตร์ใด ที่ทำให้เชื่อว่าระบบตุลาการของประเทศจะไม่ปกป้องคนผิด?
ผู้เขียนกล่าวว่า “ข้อบัญญัติที่สำคัญ”ของศาลอาญาระหว่างประเทศคือศาลต้องพิจารณาข้อกล่าวหาื ที่ถูกหยิบยกขึ้นมา “อย่างจริงจัง” แม้ว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าวจะเป็น “ข้อกลาวหาที่ไร้สาระ” และถูกหยิบยกขึ้นโดย “บุคคลที่สามซึ่งไม่เกี่ยวข้องและอยู่ในเหตุการณ์การชุมนุมของนปช.”
มี 4 ประเด็นที่น่าพิจารณา ดังนี้
ประเด็นแรก มีความเข้าใจที่ผิดถึงเรื่องหน้าที่ของศาล อาญาระหว่างประเทศ ผู้เขียนกล่าวว่าศาลอาญาระหว่างประเทศตั้งขึ้นเพื่อที่จะนำ “ผู้นำเผด็จการที่เลวร้ายที่สุด” เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งอันที่จริงแล้ว ผู้นำเผด็จการทั่วไปเข้าคุณสมบัติที่ระบุไว้ในศาลอาญาระหว่างประเทศ และศาลอาญาระหว่างประเทศตั้งขึ้นเพื่อจะ “หยุดการปกป้องผู้กระทำความผิดในอาชญากรรมที่ประชาคมโลกกังวล” ดังนั้น ศาลอาญาระหว่างประเทศจึงมีหน้าที่จะต้องพิจารณาว่าการกระทำในเดือนเมษายนและ พฤษภาคมที่ผ่านมานั้นเข้าข่าย “อาชญากรรมที่ร้ายแรงมาก” หรือไม่
จนกระทั่งทุกวันนี้ รัฐบาลไทยคิดว่าการสังหารบุคคลทั้ง 91รายไม่เข้าข่าย “อาชญากรรมที่ร้ายแรงมาก” แต่อย่างใด เกือบครึ่งปีหลังจากเหตุการณ์ รัฐบาลไม่เคยแถลงถึงผลชันสูตรของบุคคลที่ถูกสังหารในเหตุการณ์เดือนเมษายน และพฤษภาคม และการใช้กฎหมายกดขี่เสรีภาพสื่ออย่างต่อเนื่อง ควรจะเป็นเรื่องที่ “ทำให้ประชาคมโลกรู้สึกกังวล”
ประเด็นที่สอง ผู้เขียนพยายามหยิบยกตัวอย่างประเทศที่ ไม่ได้ให้สัตยาบันต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ อย่างสหรัฐอเมริกา อิหร่าน ฟิลิปปินส์ และจีน จึงไม่น่าแปลกใจที่ รัฐบาลสามารถทำให้ประชาคมโลกวิตกอย่างต่อเนื่องเกี่ยวเรื่อง “ศัตรูนักรบ” ของสหรัฐที่ถูกกักตัวในอ่าวกัวเตมาลา ส่วนอิหร่าน ฟิลิปปินส์ และจีนต่างถูกนักข่าวไร้พรมแดนจัดให้อยู่ใน 15ลำดับต่ำสุดในเรื่องของเสรีภาพสื่อ
ประเด็นที่สาม ผู้เขียนกล่าวหาโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ที่ปรึกษากฎหมายของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรและนปช. ว่า “ไร้รสนิยม” เพราะ “ความพยายามที่น่ารังเกียจ” และ “ไร้สาระ” ที่จะทำลาย “ชื่อเสียงประเทศไทย” ของเขา
คำผรุสวาทเรื่องส่วนตัวคือสิ่งที่แสดงให้เห็นถึง ความปราศจากการตรึกตรองอย่างรอบคอบและมีเหตุผล การพยายามดำเนินคดีดังกล่าวไม่ได้เป็นเพียงเกมทางการเมืองที่วางแผนโดย ทักษิณและนายอัมสเตอร์ดัม แต่มุมมองในเอกสารของนปช.ได้ตั้งคำถามและความกังวลใจถึงที่กำลังเกิดขึ้น อย่างกว้างขวางในสังคมไทย
ประะเด็นสุดท้าย เหมือนว่าผู้เขียนอารมณ์เสียที่ “ผู้ดำรงนายกรัฐมนตรี” สามารถถูก “บุคคลที่สามซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้อง”กล่าวหาต่อศาลอาญาระหว่างประเทศได้ ที่จริงแล้วผู้เขียนเข้าใจผิด-ระยะห่าง <ความไม่เกี่ยวข้อง>เป็นเรื่องสำคัญ ปัญหาสำคัญไม่ใช่เรื่องที่ว่าบุคคลที่สามไม่สมควรจะฟ้องร้องดำเนินคดี แต่องค์กรที่มีความเป็นกลางควรจะเป็นผู้ที่เข้ามาตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าว และนี่คือเหตุผลที่นปช.เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันลาออกจากต่ำแหน่ง เพื่อประกันความเป็นธรรมในการไต่สวน หากพิจารณาจากพฤติกรรมของศาลเมื่อไม่นามนี้ การตั้งข้อสงสัยว่าศาลสามารถปฏิบัติหน้าที่ของ “บุคคลที่สามที่ไม่เกี่ยวข้อง” <เป็นกลาง>ได้หรือไม่ เป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผลกระนั้นหรือ?
หากพิจารณาประวัติศาสตร์ไทยแล้วจะเข้าใจว่า กลุ่มนปช.มีเหตุผลอันสมเหตุสมผลที่จะกลัวว่า รัฐบาลปัจจุบันจะพยายามกลับการกระทำของรัฐบาลในเดือนเมษายนและพฤษภาคมจากดำ ให้เป็นขาว มีเพียงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 เท่านั้นที่ถูกสอบสวนอย่างจริงจัง รายงานกว่า 2,000ฉบับไม่ได้รับการพิจารณา ศาลไม่เคยคัดค้านการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำผิด
นอกจากนี้ ไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงหรือผู้นำไทยคนไหนถูกดำเนินคดีการสังหารผู้ ชุมนุมในปี 2516, 2519 หรือ 2535 และไม่มีเจ้าหน้ารัฐคนใดที่ถูกดำเนินคดีการสังหารประชาชนราว 3,000ราย ในนโยบายสงครามยาเสพติด
ในการพิจารณาการสังหารผู้ชุมนุม 80รายที่ตากใบปีที่แล้ว ศาลได้ยกโทษและความรับผิดต่อเจ้าหน้าที่รัฐ บทบรรณาธิการในบางกอกโพสต์ในเวลานั้นวิจารณ์คำตัดสินว่า “ไม่เป็นประชาธิปไตย และเหนือความคาดหมายของประชาชน” รัฐบาลหรือเจ้าหน้ารักษาความมั่นคงไม่มีความน่าเชื่อถือพอที่จะใช้อำนาจของ กลุ่มตนในการยกเว้นความรับผิดเหล่านั้นได้”
จากประวัติศาสตร์ของประเทศที่ไม่เคยลงโทษคนผิด จึงทำให้ยากที่จะเชื่อว่ากระบวนการยุติธรรม หรือกระบวนการปรองดองสมานฉันท์จะเกิดขึ้นในประเทศไทย
โดยทั่วไป ผู้เขียนไม่เห็นด้วยที่จะเปรียบเทียบประเทศไทยกับซูดาน และมองว่าความพยายามของกลุ่มนปช.ในการนำเรื่องขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็น “ละครตลก”
ผู้เขียนระบุว่ามุมมองที่ชัดเจนต่อเหตุการณ์ในประเทศไทยคือสิ่งที่สำคัญ โดยกล่าวว่า “การโต้แย้งอย่างมีเหตุมีผลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม สามารถเกิดขึ้นได้” แต่ประเด็นคือ ความเป็นไปได้มีมากน้อยแค่ไหนในขณะที่รัฐบาลพยายามปิดกั้นและคุกคามฝ่ายตรง ข้าม?
หากผู้เขียนไม่ต้องการที่จะให้ใครเปรียบเทียบประเทศไทยกับเผด็จการ ผู้เขียนควรจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพสื่ออย่างสมบูรณ์ ความเป็นจริงคือ เสรีภาพสื่อในประเทศไทยตกต่ำที่สุดในรอบสิบปี โดยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 158 จาก 178 (อยู่ในลำดับ 15เปอร์เซ็นต์ท้ายเหมือนซูดาน)
ชื่อเสียงประเทศไทยถูกทำลายเพราะการกระทำของรัฐบาล มากกว่าการกระทำของคนที่ต้องการเปิดโปงพฤติกรรมดังกล่าวใช่หรือไม่?
แกนนำเสื้อแดงหลายคนยอมมอบตัว เพราะต้องการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของพวกเขาในศาลเหตุใดการนำคดีขึ้นสู่ศาล อาญาระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่น่ากลัว? เพราะความจริงคือ ผู้บริสุทธิ์ไม่มีอะไรต้องกลัว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น