แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

นายอภิสิทธิ์และศาลอาญาระหว่างประเทศ

โดย Political Prisoners

หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ได้เผย แพร่บทความเกี่ยวกับรายงานเบื้องต้นสถานการณ์ในราชอาณาจักรไทยที่อาจถือ เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติของสำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ ซึ่งยื่นในนามของ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและบุคคลอื่น

หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว PPT (Political Prisoners Thailand) สงสัยว่าผู้เขียนบทความเคยอ่านรายงานดัง กล่าวหรือไม่ เนื่องจากประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาหรือแม้แต่ประเด็นของข่าวในบทความชิ้นดัง กล่าว โดยเราจะขออธิบายว่าเหตุใดเราจึงสงสัยเช่นนั้น

ตอนต้นผู้เขียนกล่าวว่า การประกาศของกลุ่มคนเสื้อแดงและอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยหวังว่าจะดำเนินคดีต่อนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ในศาลอาญาระหว่างประเทศ นั้นเป็นเรื่องที่น่าตกใจอย่างยิ่งในประเด็นของการบิดเบือนการใช้กระบวนการยุติธรรม

ในรายงานดังกล่าวระบุชื่อนายอภิสิทธิ์ แต่นายอภิสิทธิ์เป็นเพียงหนึ่งในรายชื่อทั้งหมด 15 รายชื่อ ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกคนสำคัญของรัฐบาลและกองทัพ โดยส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีตำแหน่งระดับสูงในศอฉ. และเป็นบุคคลที่คนทั่วไปรับรู้ดีว่ามีส่วนในการร่างนโยบายอันนำไปสู่ อาชญากรรมที่ได้อธิบายไว้ในรายงาน

ผู้เขียนยังกล่าวต่อว่าทนายความชาวอเมริกันที่เป็นที่พึ่งพิงและไร้รสนิยมของทักษิณ นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมเป็นผู้ร่างรายงานฉบับนี้ และยังทำหน้าที่เป็นประชาสัมพันธ์ โดยสรุปคือ นายอัมสเตอร์ดัมยื่นเอกสารดังกล่าวในนามของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จ การแห่งชาติต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อให้ดำเนินคดีต่อนายอภิสิทธิ์

ในขณะที่เราตั้งคำถามกับประเด็นที่ใช้โจมตีนายอัมสเตอร์ดัม เราจะต้องเข้าใจก่อนว่ารายงานดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินคดี กับนายอภิสิทธิ์ แต่เป็นการทำรายงานเบื้องต้น เพื่อที่จะให้อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณา และท้ายที่สุดจะนำไปสู่การดำเนินคดี ประเทศไทยไม่ได้ให้สัตยาบันในบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ ดังนั้นเหตุการณ์ดังกล่าวจึงอาจจะสามารถที่จะนำเข้าสู่เขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศได้ ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะอธิบายในเอกสารอีกฉบับซึ่งจะยื่นในนามของแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและบุคคลอื่น อีกภายใน 8 สัปดาห์

โดยปราศจากข้อโต้แย้งใด ผู้เขียนกล่าวว่าบุคคลที่มีความคิดอันถูกต้องจะต้องประณามการทำให้กระบวนการยุติธรรมแปด เปื้อนและทักษิณ และจะต้องสั่งให้มีการหยุดดำเนินการดังกล่าว

เพราะเหตุใด? มันจะทำให้กระบวนการยุติธรรมแปดเปื้อนอย่างไร? คดีดังกล่าวเป็นคดีที่ระบุว่ารัฐบาลไทยกระทำผิดกฎหมาย และบางทีประเด็นของกระบวนการยุติธรรมที่ควรจะถูกตั้งคำถามคือความเสื่อมโทรม ของระบบกฎหมายไทยที่ดำเนินมาในระยะเวลาหนึ่งและเมื่อไม่นานมานี้ นายอัมสเตอร์ดัมและทีมงานพยายามดำเนินคดีและแสวงหาความถูกต้องของระบบกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่เหมือนกับว่าหาไม่ได้ในประเทศไทย ลองไปถามผู้ที่ถูกพิพากษาจำคุก และถูกดำเนินคดีลับในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือถามคนที่ดูวิดีโอของผู้พิพากษาที่กำลังเจรจาต่อรองเรื่องผลประโยชน์ที่ผิดกฎหมาย

ต่อมาผู้เขียนยังพยายามที่จะตำหนิศาลอาญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่อง ดังกล่าว รายงานเบื้องต้นเผยให้เห็นถึงข้อตำหนิสำคัญในการกระบวนการดำเนินงานทั้งหมดของศาลอาญา ระหว่างประเทศ ตามกฎของศาลอาญาระหว่างประเทศ ศาลมีหน้าที่จะต้องพิจารณาเอกสารอย่างจริงจัง เจ้าหน้าระดับสูงในศาลจะต้องพิจารณาข้อหาอันไร้สาระที่ถูกหยิบยกขึ้นโดย บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ บุคคลที่สามซึ่งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของโลกในขณะที่การชุมนุมของนปช.เิกิดขึ้น

อันที่จริง นายอัมสเตอร์ดัมอ้างว่าเขาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในขณะที่มีการสลายการชุมนุมครั้งสุดท้ายของกลุ่มคนเสื้อแดงเกิดขึ้น แต่นั้นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือความเห็นกลุ่มรัฐบาลไทยที่โกรธเคืองและคิดว่า การสังหารประชาชนของตนเอง (ครั้งแล้วครั้งเล่า) เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย และคิดว่าศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นมีข้อตำหนิที่พยายามจะพิจารณาข้อกล่าวหา ที่เกี่ยวกับความรุมแรงที่ก่อโดยรัฐบาล

ผู้เขียนได้หยิบยกหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างนี้การยื่นคำร้องให้ดำเนินคดีต่อนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันในข้อหาร้ายแรงอย่าง อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ทำให้รัฐบาลทั้งหลายตั้งข้อสงสัยอย่างหนักต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ

อะไรกัน? จะปล่อยให้อภิสิทธิ์หลุดพ้นความผิดเพราะเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างนั้นหรือ? ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น หลังจากนั้นมีการเพิ่มเติมไปด้วยว่าการสังการพลเรือนนั้นเป็นเรื่องการเมืองและยังกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 114 ประเทศที่ลงนานในบทบัญญัติแห่งกรุงโรม ซึ่งให้อำนาจก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศในปี 2545 แต่ประเทศไทยไม่เคยให้สัตยาบันในบทบัญญัติดังกล่าว ผู้เชียวชาญในประเทศไทยเกรงกลัวมานานว่าศัตรูทางการเมืองของตนเองจะใช้ความ พยายามอันมีศีลธรรมนี้ในการนำข้อเท็จจริงขึ้นสู่ศาลโลก ประเทศหลายประเทศมีความคิดเห็นเหมือนกัน รวมถึงอเมริกา รัสเซีย อิหร่าน ฟิลิปปินส์และจีนโดยประเทศที่ไม่ได้ให้สัตยาบันเหล่านี้กระทำอาชญากรรมซึ่งอยู่ในอำนาจการพิ จาณาของศาลอาญาระหว่างประเทศหลายครั้ง อ่านเรื่องราวของสหรัฐอเมริกาได้ที่นี่

อย่างไรก็ตามเราคิดว่าจำนวนของประเทศที่ให้สัตยาบัน แต่ไม่ได้ลงนามมี 35 ประเทศ ไม่ใช่ 114 ประเทศ โดยมี 113 เป็นสมาชิก

ผู้เขียนกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของศาลอาญาระหว่างประเทศ คือการนำผู้นำเผด็จการที่น่าประณามอย่างที่สุดเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี กระบวนการแซกแทรงควรจะเกิดขึ้นเมื่อประเทศดังกล่าวกำลังจะแตกสลาย มีผู้นำประเทศที่เป็นเผด็จการทรราช และศาลโลกเป็นที่พึ่งเดียวของประเทศ

ข้ออ้างดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน ศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นศาลอิสระและถาวรที่ดำเนินคดีกับบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดทางอาญาที่นานาประเทศรู้สึกกังวล อาทิเช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงครามซึ่งเป็นศาลตัวเลือกสุดท้าย แต่ประเด็นสำคัญคือ ศาลจะไม่ดำเนินการใด หากคดีดังกล่าวถูกสอบสวน หรือนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของประเทศดังกล่าวแล้ว นอกเสียจากว่า กระบวนการดังกล่าวไม่มีความแท้จริง อาทิเช่น หากกระบวนการดังกล่าวใช้เป็นเครื่องมือในการปกป้องบุคคลจากความรับผิดทาง อาญาเพียงอย่างเดียว ซึงเป็นประเด็นที่ถูกอ้างถึงในรายงานเบื้องต้น

จากนั้น ผู้เขียนได้กล่าวอย่างโง่เขลาว่ามีการแสดงความเห็นขัดแย้งต่อเหตุการณ์สลายการชุมนุมในเดือนเมษายนและ พฤษภาคมอย่างมีเหตุมีผล แลยังมีความรู้สึกที่รุนแรง ต่อการที่นายอภิสิทธิ์สั่งสลายการชุมนุม ในวันที่ 19 พฤษภาคม แต่ระบบกฎหมายของประเทศไม่ได้ล้มเหลว นายอภิสิทธิ์จะรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งทั่วไปปีหน้า” “การอภิปรายว่าจะปกปิดการตายของประชาชนหลายรายเป็นการอภิปรายที่สมเหตุสมผล”? จริงเหรอ? ข้อโต้แย้งนี้ขัดต่อหลักเหตุผลและกฎหมาย และยังทำให้นึกถึงข้อโต้แย้งที่เกี่ยวกับทักษิณ การเลือกตั้งและการเลือกตั้ง

แต่ประเด็นที่น่าหงุดหงิดคือ ผู้เขียนรู้สึกกังวลว่าการหยิบยกข้อกล่าวหาดังกล่าวต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ นั้น เป็นวิธีการ ที่ทำลายเชื่อเสียงของประเทศชาติและเป็นการทำร้ายกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยและของนานาประเทศและนี่คือประเด็นสำคัญ หนึ่งในเหตุผลที่อภิสิทธิ์ถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คือการแก้ชื่อเสียงของประเทศไทยหลังจากรัฐประหารในเวทีโลก ซึ่งที่จริงแล้ว นายอภิสิทธิ์ได้ทำให้ชื่อเสียงประเทศนั้นแย่ลงกว่าเดิม

ผู้เขียนควรจะหยิบยกข้อเท็จจริง ใช้เหตุผลและหลักกฎหมายในการโต้แย้ง แทนที่จะพูดจาเพ้อเจ้อเกี่ยวกับเพื่อนและญาติพี่น้องที่กำลังตกที่นั่งลำบาก

http://robertamsterdam.com/thai/?cat=6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน