Mon, 2010-12-27 17:42
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อบทความเดิม: บันทึกว่าด้วยโทรเลขวิกิลีกส์ (1): พลเอกสนธิ บอกทูตสหรัฐ “ในหลวงทรงผ่อนคลายและมีความสุข ทรงยิ้มตลอดเวลาการเข้าเฝ้า” ในคืนรัฐประหาร และการประเมินผลสะเทือนการเข้าเฝ้าของทูตสหรัฐ
คำชี้แจง: โทรเลขที่ทูตสหรัฐประจำไทยส่งรายงานยังวอชิงตัน ฉบับลงวันที่ 20 กันยายน 2549, 1 ตุลาคม 2551, 6 พฤศจิกายน 2551 และ 25 มกราคม 2553 ที่วิกิลีกส์นำออกเผยแพร่ ผ่านทาง นสพ.เดอะการ์เดี้ยน ของอังกฤษ มีเนื้อหาที่สำคัญและน่าสนใจอย่างยิ่งเกียวกับการเมืองไทยหลังรัฐประหาร 19 กันยา โดยเฉพาะในประเด็นสถาบันกษัตริย์ อย่างไรก็ตาม เชนเดียวกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทุกประเภท โทรเลขดังกล่าวยังต้องผ่านการวิเคราะห์ตีความและนำเข้าสู่การเรียบเรียงเป็น การนำเสนอในรูปงานเขียนหรือการพูดอภิปรายจึงจะมีความหมายสมบูรณ์โดยแท้จริง แต่ภายใต้กฎหมายที่เกียวกับสถาบันกษัตริย์ของไทย (รัฐธรรมนูญ มาตรา 8, ประมวลอาญา มาตรา 112) การจะกระทำดังกล่าวมีข้อจำกัดอย่างรุนแรง กระนั้นก็ตาม ผมเห็นว่าโทรเลขเหล่านี้ มีความสำคัญเกินกว่าที่จะปล่อยให้ตกอยู่ภายใต้ความเงียบเกือบจะโดยสิ้นเชิง อย่างที่เป็นอยู่ในสื่อสาธารณะที่เปิดเผยในขณะนี้
ในบันทึกสั้นๆ ข้างล่างนี้ และในบันทึกฉบับอื่นที่หวังว่าจะตามมาในอนาคตอันใกล้ ผมจะได้พยายามนำเสนอข้อความหรือเนื้อหาในโทรเลขวิกิลีกส์ทั้ง 4 ฉบับเท่าที่จะทำได้ ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายที่เป็นอยู่ เริ่มต้นด้วยโทรเลขฉบับแรกที่กล่าวถึงการเข้าเฝ้าในคืนวันรัฐประหาร
[img]http://img688.imageshack.us/img688/3966/us0p.jpg[/img]
ในโทรเลขฉบับลงวันที่ 20 กันยายน 2549 ทูตสหรัฐได้รายงานการพบปะพูดคุยเป็นการส่วนตัวกับพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหาร 19 กันยา เมื่อบ่ายวันที่ 20 กันยายน 2549 การสนทนาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ตามที่ทูตสหรัฐบันทึกไว้ มีเพียงสั้นๆ 5-6 บรรทัด ดังนี้
ผมได้เริ่มต้นด้วยการถามสนธิเกี่ยวกับ การเข้าเฝ้าในหลวงเมื่อคืนนี้ มีใครเข้าเฝ้าบ้าง? สนธิกล่าวว่าประธานองคมนตรีเปรม ติณสูลานนท์ได้นำเขา, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เรืองโรจน์ และผู้บัญชาการทหารเรือ สถิรพันธุ์ เข้าเฝ้า. สนธิเน้นว่า พวกเขาเป็นฝ่ายถูกเรียกเข้าไปในวัง; เขาไม่ได้เป็นฝ่ายพยายามขอเข้าเฝ้า. เขากล่าวว่าในหลวงทรงผ่อนคลายและมีความสุข ทรงยิ้มตลอดเวลาการเข้าเฝ้า เขาไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม.
ถ้าเป็นไปตามที่สนธิบอกทูตสหรัฐจริง เราสามารถ “อ่าน” (ตีความ) อะไรได้หรือไม่? ดูเหมือน เดอะการ์เดี้ยน คิดว่าได้ ถ้าดูจากการพาดหัวและสรุปเนื้อหาโทรเลขที่ นสพ.จัดให้ (ผมได้ลบพาดหัวและสรุปเนื้อหาดังกล่าวออกจากภาพประกอบข้างบน) ทูตสหรัฐเอง ได้ประเมินความสำคัญของการเข้าเฝ้าค่อนข้างสูง ใน “ความเห็น” ตอนท้ายของโทรเลข เขากล่าวว่า
[img]http://img254.imageshack.us/img254/7950/us3w.jpg[/img]
สนธิมีท่าทีผ่อนคลายและสงบ เห็นได้ชัดว่าการเข้าเฝ้าเป็นจุดหักเลี้ยวเมื่อคืนนี้ (โทรเลขอีกฉบับหนึ่ง [Septel = separate telegram] รายงานเรื่องท่าทีไม่ยอมแพ้ จะสู้ต่อของทักษิณสูญสลายไปโดยสิ้นเชิงเมื่อเขาได้รู้ข่าวการเข้าเฝ้า)
ขณะนี้เรายังไม่มี “โทรเลขอีกฉบับหนึ่ง” ของสถานทูตสหรัฐที่เล่าเรื่องการเปลี่ยนท่าทีของทักษิณหลังทราบข่าวการเข้า เฝ้า จึงไม่อาจทราบว่าทางสถานทูตสหรัฐมีข้อมูลอะไรเป็นพิเศษในเรื่องนี้หรือไม่ หรือเพียงแต่ใช้การสังเกตแล้วตีความเอา อย่างไรก็ตาม ใครที่ติดตามการเมืองในช่วงหลังรัฐประหารโดยใกล้ชิดอาจจะพอจำได้ว่า เคยมีการหยิบยกมาอภิปรายในที่สาธารณะเรื่องการเปลี่ยนท่าทีของทักษิณ จาก “ทำท่าจะสู้-ตอบโต้” มาเป็น “ยอมรับ” สิ่งที่เกิดขึ้น โดยมีประเด็นเชื่อมโยงกับสถาบันกษัตริย์ด้วย เพียงแต่ไมใช่เรื่องการได้เข้าเฝ้าของคณะรัฐประหาร แบบเดียวกับความเห็นของทูตสหรัฐ
กล่าวคือ ในปี 2550 นักการเมืองและนักเขียนในค่ายทักษิณบางคนได้อ้างว่า เดิมทักษิณซึ่งอยู่ที่นิวยอร์คขณะเกิดรัฐประหาร มีความคิดจะตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นและประกาศสู้การรัฐประหาร แต่ล้มเลิกความคิด หลังจากสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ซึ่งอยู่ที่นิวยอร์คด้วย โทรศัพท์มากรุงเทพ แล้วอ้างข้อมูลบางอย่างจากแวดวงราชสำนัก (สุรเกียรติ์ เป็นหลานเขยของพระราชินี) มาแจ้งกับทักษิณ ตามคำของ “ประดาบ” นักเขียนค่ายทักษิณในขณะนั้นคือ “สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นคนที่แนะนำให้นายกฯทักษิณ ยอมจำนนต่อการรัฐประหาร โดยอ้างว่าได้รับข้อมูลจาก ‘xxx . . .” สุรเกียรติ์เองไม่เคยชี้แจงเรื่องนี้ แต่ได้ตอบโต้ด้วยการกล่าวหาเป็นนัยว่า “บางคนในพรรคไทยรักไทย” พูดให้เขา “ได้ยินกับหูตัวเอง” ในลักษณะที่ขัดแย้งกับอุดมการณ์ของเขาที่ “ทำงานเพื่อชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์” ในขณะที่สุรเกียรติ์พูดเป็นนัย สนธิ ลิ้มทองกุล ได้ระบุออกมาตรงๆ โดยอ้างว่าสุรเกียรติ์เป็นคนบอกเขาเอง ว่าในระหว่างที่อยู่นิวยอร์คช่วงรัฐประหาร ทักษิณได้ “พูดจาจาบจ้วงดูหมิ่นพระเจ้าอยู่หัว” ต่อหน้าสุรเกียรติ์ (ดูตัวบททอดเทปการพูดของสนธิ ที่นี่ ข้อความดังกล่าวอยู่ในย่อหน้าที่ 6 ของหัวข้อ “ยามเฝ้าแผ่นดิน ช่วงที่ 2”) ทักษิณจึงฟ้องสนธิหมิ่นประมาท และศาลเพิ่งพิพากษาให้สนธิผิดเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ทักษิณเองไม่เคยพูดถึงไอเดียเรื่องการตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นเมื่อเกิดรัฐประหารหรือเรื่องผลกระทบของการเข้าเฝ้าของคณะรัฐประหาร แต่ในการให้สัมภาษณ์นิตยสาร Time ของสหรัฐ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 (ที่นี่) เมื่อถูกถามว่าถ้ารัฐบาลของเขาเป็นที่นิยมของประชาชนมาก ทำไมแทบไม่มีประชาชนออกมาโวยวายประท้วงเมื่อเกิดรัฐประหารขึ้น ซึ่งทักษิณตอบว่า “มันก็เหมือนกับการรัฐประหาร 17 ครั้งก่อนหน้านี้ในประเทศไทย แรกทีเดียว ประชาชนจะช็อค แล้วพวกเขาก็เริ่มแสดงความไม่เห็นด้วย และแล้วพวกเขาก็เริ่มจะยอมรับมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากรัฐประหารนั้นได้รับการรับรอง…” (It was the same with
โปรดติดตามตอนต่อไป “บันทึกว่าด้วยโทรเลขวิกิลีกส์ (2) : กรณี พระราชินี กับ พันธมิตร”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น