คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง เริ่มยกระดับ
โดย กาหลิบ
บ่าย วันศุกร์ที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ มวลชนนับหมื่นหลั่งไหลเข้าไปในห้องประชุมคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อฟังการอภิปรายโดยวิทยากร ๔ คนคือ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ดร.ณัฐพล ใจจริง ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และผู้ดำเนินการอภิปราย แต่ที่ดึงดูดผู้คนได้มากที่สุดน่าจะเป็นหัวข้อของการอภิปรายนั้นเอง
...สถาบันกษัตริย์ - รัฐธรรมนูญ - ประชาธิปไตย”
ไม่ได้ยินบ่อยนักภายในรัฐที่ถือตามทฤษฎีที่ว่า กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเหมือนกับราษฎรทั้งหลาย
ผู้ฟังในวันนั้นจึงเดินทางไปร่วมด้วยหัวใจที่กระตือรือร้น และผลที่ปรากฎขึ้นก็คือไม่ผิดหวัง
วิทยากร ทุกท่านในวันนั้นตลอดจนผู้ดำเนินรายการ นำเสนอข้อมูล บทวิเคราะห์ และข้อเสนอที่ตรงกับหัวข้อและตรงกับความกระหายใคร่รู้ของผู้ฟัง ไม่มีใครโฆษณาเกินจริง หรือลดเลี้ยวไปมาเพื่อความปลอดภัยของผู้พูด
ใคร ฟังอย่างตั้งใจในวันนั้นจะสัมผัสได้ถึงความปรารถนาดีของผู้รู้กลุ่มหนึ่งที่ ประสงค์จะช่วยหาทางออกให้แก่วิกฤติการณ์ทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดของรัฐ ไทย
ถ้า คนบ้าที่ไหนไล่ตามที่ยัดเยียดข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้กับคนบนเวทีหรือ ผู้จัดในวันนั้น ก็เท่ากับปิดไฟดวงน้อยที่หลงเหลืออยู่ให้มันมืดมิดไปทั้งบ้านเมือง เมืองไทยจะหล่นสู่หลุมพรางที่อาจจะไม่มีทางออกยกเว้นในภายหลังความเปลี่ยน แปลงใหญ่ชนิดจำหน้าตัวเองไม่ได้
ใคร สนใจในเนื้อหาสาระของการอภิปรายคงจะหาฟังหรืออ่านกันได้ เราคงจะไม่ใส่ไว้ในเนื้อที่นี้ แต่อยากตราเอาไว้ว่า เมื่อมองย้อนหลังกลับมาคำอภิปรายที่ทรงคุณค่าในระดับบ้านเมืองครั้งนี้จะถูก มองว่าเป็นหลักกิโลเมตรที่สำคัญในการปฏิวัติประชาธิปไตยไทย ไม่ใช่เพียงนิทรรศการทางปัญญาที่ถ่ายทอดกันไปมาในหมู่นักวิชาการไม่กี่คน
ผู้ พูดในวันนั้นตกผลึก ผู้ฟังในวันนั้นก็หลากหลายกลุ่มสังคมและเดินทางมาร่วมฟังอย่างคนตาสว่าง ในใจอยากเข้าใจเมืองไทยของตัวเองให้มันชัดเจนพอที่จะไม่เหลียวหลังอีกต่อไป
งานวันนั้นถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญครั้งหนึ่งของขบวนปฏิวัติ ใครที่ไม่ได้ไปรีบหาแถบเสียงและภาพมาวิสัชนากันโดยด่วนเถิด ก่อนจะตกขบวน
นัก วิชาการทั้ง ๔ ท่านในวันนั้นไม่ใช่คนหน้าใหม่ในขบวนประชาธิปไตย แต่วันนั้นท่านประกาศชัดเจนว่าแต่ละคนเป็นนักปฏิวัติประชาธิปไตยในขณะเดียว กันด้วย
นักประชาธิปไตยกับนักปฏิวัติประชาธิปไตย ในวันนี้มีความแตกต่างกันมาก
นัก ประชาธิปไตยตามประเพณีนิยม มักนั่งรอเวลาและวิพากษ์คนอื่นๆ ไปด้วยว่าใจร้อนและนำอันตรายมาสู่เพื่อนฝูง หรือไม่ก็วิจารณ์อีกสุดโต่งหนึ่งว่างอมืองอเท้าไม่ยอมทำอะไร ในขณะที่ตนเองมองไม่เห็นหรือใจไม่กล้ายอมรับว่านี่คือสถานการณ์ปฏิวัติไป แล้ว
นัก ปฏิวัติประชาธิปไตยต้องไม่หลงกลระบอบเผด็จการโบราณอีกต่อไป และไม่เสียเวลาฟังคำพร่ำบ่นของนักประชาธิปไตยประเพณี แต่ต้องยืนหยัดปฏิเสธกลไกของระบอบปัจจุบันทุกอย่างตามยุทธศาสตร์ปฏิวัติ กลไกเหล่านี้อาจรวมถึงการเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่มีฐานะเป็นเพียงสภากาแฟของนักเลือกตั้ง ระบบรัฐบาลและราชการปัจจุบัน ตลอดจนกระบวนการปรองดองที่ไร้ความจริงใจไร้ความหมาย
ผู้ ที่จะก้าวเดินด้วยกันจากนี้ไปต้องตั้งทัศนะในเชิงระบอบ ไม่ใช่ระบบเล็กๆ น้อยๆ ที่ปฏิรูปไปก็ไม่มีประโยชน์ เหมือนกินยาระงับประสาทชั่วครั้งชั่วคราว
การ อภิปราย “สุธาชัย-สมศักดิ์-ณัฐพล-วรเจตน์” ในวันนั้น เป็นส่วนแรกๆ ของการเดินบนถนนสายใหม่ที่คนไทยยังไม่เคยเดินอย่างจริงจังและด้วยความมั่นใจ มาก่อน
ถนนสายนี้มีหลายเลน รอให้มวลชนเดินและวิ่งมาสมทบกันได้มากมายทั้งประเทศ
ทั้งหมดนี้คืออีกไม่นานนัก.
-----------------------------------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น