ตูดหมึก
ฉากสุดท้ายของพระราชวงศ์ชาห์แห่งเนปาลเป็นไปอย่างอัปยศ รัฐบาลใหม่ของเนปาลเตือนให้กษัตริย์คยาเนนทราต้องออกจากพระราชวังในวันที่ 28 พฤษภาคม2551 หลังสมัชชาแห่งชาติเปิดประชุมครั้งแรก พร้อมคำประกาศเลิกสถาบันกษัตริย์ ถือเป็นการสิ้นสุดทั้งราชวงศ์ชาห์แห่งเนปาลที่ปกครองประเทศมายาวนานถึง 239 ปี และระบอบกษัตริย์ในประเทศนี้ไปพร้อมๆกัน
พระองค์ทรงมีพระราชขัตติยะมานะ เพราะเลยเส้นตายของรัฐบาลสาธารณรัฐล่วงไปถึง 11 มิถุนายน 2551 กษัตริย์คยาเนนทราจึงพร้อมด้วยพระราชินีของพระองค์เสด็จออกจากพระราชวัง เพื่อไปประทับ ณ พระตำหนักนิรมาลนิวาส พระตำหนักส่วนพระองค์ โดยมีชาวเนปาลที่ต่อต้านพระองค์มากลุ้มรุมส่งเสียงโห่ไล่ และเต้นรำเฉลิมฉลองกันสุดเหวี่ยง
ราชวงศ์ชาห์ ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ชาวเนปาลเคยนับถือดั่งเทพเจ้าของศาสนาฮินดู ได้กลายเป็นตำนาน หลังสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกาศให้เนปาลเป็นประเทศสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการ ในการประชุมนัดแรกในวันที่ 28พฤษภาคม 2551
ชะตากรรมของอดีตกษัตริย์คยาเนนทราหลังจากนั้นก็คือ การไฟฟ้าของเนปาลได้จัดส่งบิลไปเก็บค่าไฟฟ้าที่คิดค้างไว้ราว 40 ล้านบาท โดยบอกว่าทรงติดไว้นับแต่ปี2548เป็นต้นมา
และไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่จะถูกล้มล้าง พระองค์ได้ไปปรากฎตัวต่อสาธารณชนอย่างที่ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยครั้ง โดยทรงเข้าร่วมพิธีทางศาสนาที่วัดแห่งหนึ่งทางใต้ของกรุงกาฏมาณฑุ เพื่อทำพิธีเชือดแพะบูชายัญ หวังจะต่ออายุพระราชวงศ์ ทว่าไม่เป็นผลใดๆ
มีรายงานว่า พระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ ถูกปลดออกจากฝาตามร้านรวงต่างๆ รวมทั้งถูกถอดออกจากธนบัตร ขณะที่คำว่า "Royal"ก็ถูกลบออกจากชื่อของกองทัพ รวมทั้งสายการบินแห่งชาติ และรัฐบาลได้งดจ่ายเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายของพระองค์ปีละ 3 ล้าน 1 แสนดอลลาร์ และยึดวัง 10 แห่งของราชวงค์คืน
กษัตริย์คยาเนนทราทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเชษฐา คือกษัตริย์พิเรนทรา ที่ถูกเจ้าชายทิเพนทรา มกุฎราชกุมาร ปลงพระชนม์พร้อมด้วยพระราชวงศ์เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 แต่ความศรัทธาในตัวพระองค์เสื่อมถอยลง หลังพระองค์ทรงเข้าแทรกแซงการเมือง โดยยึดอำนาจเบ็ดเสร็จมาจากรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้ง และให้คำมั่นว่าจะบดขยี้กลุ่มกบฎลัทธิเหมาด้วยพระองค์เอง แต่ถูกกระแสต่อต้านจากประชาชนจนต้องทรงยอมคืนอำนาจให้กับประชาชนในที่สุด
แต่ชาวเนปาลกลับไปไกลกว่านั้น คือให้ล้มเลิกระบบกษัตริย์ และเปลี่ยนไปเป็นสาธารณรัฐแทน
การประท้วงใหญ่เดือนเมษายน และการสละพระราชอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์
ในเดือนเมษายน 2549 ภายใต้การนำของพันธมิตร 7 พรรคการเมืองเนปาล (Seven Party Alliance - SPA) และกบฏลัทธิเหมาได้มีการต่อต้านครั้งใหญ่เพื่อทวงประชาธิปไตยคืนมาจาก กษัตริย์ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน มีการนัดหยุดงานทั่วประเทศเป็นเวลา 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน และจัดการชุมนุมใหญ่ในเมืองหลวงวันที่ 8 เมษายน ตามด้วยการดื้อแพ่งด้วยการหยุดจ่ายภาษี เช่นเดียวกับการประท้วงหลายต่อหลายครั้ง
รัฐบาลได้ประกาศเคอร์ฟิวห้ามไม่ให้ประชาชนออกมาชุมนุม แต่การชุมนุมประท้วงกลับขยายตัวไปตามเมืองใหญ่ๆ ตลอดทั้งเดือน ทำให้รัฐบาลพยายามควบคุมสถานการณ์ด้วยการใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดสลายการ ชุมนุมกระทั่งมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก จำนวนผู้ออกมาประท้วงเฉพาะในเมืองหลวงพุ่งสูงกว่า 300,000 - 500,000 คน
และในวันที่ 21 เมษายนกษัตริย์คยาเนนทราได้มีพระราชดำรัสว่าจะทรงคืนอำนาจบริหารให้แก่ ประชาชน และจะจัดการเลือกตั้งใหม่ให้เร็วที่สุด รวมทั้งขอให้กลุ่มพันธมิตรฯ เสนอชื่อชื่อบุคคลที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แต่กลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่มกบฏลัทธิเหมาปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว พร้อมกับนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งในวันที่ 25 เมษายน
กระทั่งเที่ยงคืนของวันที่ 24 เมษายน กษัตริย์คยาเนนทราได้ยอมประกาศคืนอำนาจให้ประชาชนผ่านสถานีโทรทัศน์ว่า พระองค์จะฟื้นฟูสภาผู้แทนราษฎรที่ล้มเลิกไปและขอให้พรรคการเมืองทั้ง 7 พรรคกลับมาร่วมรับผิดชอบดูแลประเทศชาติ เพื่อประชาธิปไตยและสันติภาพของชาวเนปาล ทำให้วันรุ่งขึ้นชาวเนปาลจำนวนมากออกมาชุมนุมแสดงความยินดีต่อชัยชนะของ ประชาชนตามท้องถนน
ตลอดการประท้วงใหญ่ 19 วัน มีการปราบปรามโดยกองกำลังรัฐบาลจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 คน และผู้บาดเจ็บนับพันคน ด้วยเหตุนี้ระหว่างประท้วงจึงทำให้มวลชนตามท้องถนนเผาหุ่นของกษัตริย์และ ประณามกษัตริย์คเยนทราว่าเป็น ?ฆาตกร?
ชาวเนปาลออกมาเต้นรำเฉลิมฉลองการที่รัฐสภา ลงมติยกเลิกระบบกษัตริย์ สิ้นสุดราชวงศ์ชาห์อายุยาวนาน 240 ปี และเปิดศักราชใหม่ของระบบสาธารณรัฐ เมื่อ28พ.ค.2551
ภายหลังจากที่สภาถูกฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ นาย
ต่อมาอดีตรัฐมนตรี 5 คนที่ทำงานให้กษัตริย์คยาเนนทราก็ถูกจับกุม และสอบสวนกรณีใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย นอกจากนี้รัฐบาลชุดใหม่และสภาผู้แทนราษฎรยังได้ดำเนินการลดทอนพระราชอำนาจ อย่างต่อเนื่องทำให้ฐานะของสถาบันกษัตริย์เนปาลกลายเป็นประมุขของประเทศแต่ ในทางพิธีกรรม (Ceremonial Monarchy) เท่านั้น เช่น ห้ามมิให้กษัตริย์มีอำนาจสั่งการกองทัพอีกต่อไป ทั้งนี้กองทัพเคยมีบทบาทในการช่วยกษัตริย์คยาเนนทรายึดอำนาจด้วยการกราบ บังคมทูลเชิญกษัตริย์คยาเนนทราขึ้นสู่อำนาจการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ การจับนายกรัฐมนตรีและผู้นำพรรคการเมืองต่างๆ ในขณะนั้น มีการเปลี่ยนชื่อกองทัพจากกองทัพในพระมหากษัตริย์เนปาล (Royal Nepalese Army) มาเป็นกองทัพแห่งชาติเนปาล (Nepalese Army)
แถมเพลงชาติเนปาลซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ขึ้นต้นในทำนองว่า ?ขอพระบารมีปกเกล้า, เป็นขวัญอธิปไตย เธอชาวเนปาลผู้กล้า มีมหาราชาธิราชเป็นกษัตริย์ของเรา...? ก็ถูกเปลี่ยนอีกด้วย
ที่สำคัญหลังการประท้วงครั้งใหญ่ในเดือนเมษายนก็ทำให้กษัตริย์คยาเนนทราก็ ไม่ค่อยปรากฏพระองค์ในสถานที่สาธารณะ รถนำขบวนพระราชวงศ์ซึ่งการเสด็จครั้งหนึ่งต้องปิดถนน และทำให้รถติดในเมืองหลวงเป็นกินนานหลายชั่วโมง รวมทั้งการเสด็จแปรพระราชฐานไปยังชนบทด้วยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งก็ถูกยก เลิก
เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีการโดดเดี่ยวกษัตริย์คยาเนนทรา ในงานเฉลิมพระชนมพรรษา ก็ไม่มีเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมาก มาร่วมงานฉลองเหมือนอย่างเคย แถมรัฐมนตรีในรัฐบาลก็ไม่เข้าร่วมงานเลี้ยงดังกล่าว
ที่สุดแล้วรัฐสภาเนปาลได้ประกาศยกเลิกระบบกษัตริย์ลงอย่างเด็ดขาด และเปลี่ยนประเทศเป็นระบบสาธารณรัฐ และยื่นคำขาดให้อดีตกษัตริย์ทรงออกจากพระราชวัง เพื่อนำไปทำเป็นพิพิธภัณฑ์ และเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวเนปาล
ในที่สุดนายคยาเนนทรา อดีตกษัตริย์เนปาลได้ออกจากพระราชวังในวันที่ 11 มิถุนายน 2551 โดยนั่งมาในรถเมอร์ซีเดสเบ๊นซ์กับนางคยาเนนทรา ภรรยาของเขา โดยมีชาวเนปาลที่โกรธแค้นกรูเข้าไปห้อมล้อมรถ ที่ไม่มีขบวนนำยาวเหยียดออกจากพระราชวังไป โดยทหารมากั้นไว้พอเป็นพิธี และให้รถยนต์คันนั้นเคลื่อนออกไปได้
และจะไม่ได้กลับมาในพระราชวังกาฎมาณฑุอีก...ตลอดกาล.
http://www.internetfreedom.us/thread-6731.html
Nepali National Anthem เพลงฉลองเอกราช
http://www.youtube.com/watch?v=fEiMoeQ1vaQ&feature=player_embedded
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น