วันจันทร์ 8 มีนาคม 2010
tags: ซาอุดิอาระเบีย, ดีเอสไอ, นาบิล อัชรี, พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ, พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม, อาบู อาลี, เกรียงไกร เตชะโม่ง, โมฮัมหมัด โคจา
โดย chapter 11
March 07, 2010
ที่มา - Time
By Christopher Shay
แปลและเรียบเรียง – แชพเตอร์ ๑๑
เพชรสีน้ำเงิน - เซบาสเตียน คอลิสกี้/ อลามี่
สองทศวรรษที่ผ่านมา มีคนสวนชาวไทยได้ปีนหน้าต่างขึ้นชั้นสองของพระราชวังในเจ้าชาย
อย่างน้อยนี่คือเรื่องราวที่เป็นไปตามที่สื่อ ไทย และอุปทูตคนเก่าได้กล่าวไว้ กรมสอบสวนคดีพิเศษของประเทศไทย (ดีเอสไอ) ซึ่งมีหน้าที่คล้ายกับเอฟบีไอกล่าวว่า ไม่มีหลักฐานยืนยันความจริงในคดีนี้ – ว่าเพชรสีน้ำเงินที่อ้างว่ามีขนาดใหญ่กว่าเพชรโฮปนั้นมีจริงหรือไม่ แต่ที่แน่ๆคือ การกล่าวหาเรื่องการขโมยเพชรนี้สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยหลายแสนล้าน บาท มีคนต้องตายเพื่อสังเวยเพชรนี้ และทำให้ตำรวจไทยนายหนึ่งที่คล้ายเอลวิสต้องถูกพิพากษา และรอการประหารชีวิต มากกว่ายี่สิบปีต่อมา ราชวงศ์ซาอุฯที่ถูกทำการโจรกรรมนั้นยังคงยืนยันว่าต้องการเครื่องเพชรกลับ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลทั้งสองยังคงเสื่อมทรามลงตราบจนทุกวันนี้
ในเดือนมกราคม ตำรวจไทย ๕ นายถูกจับกุม และถูกตั้งข้อหาว่า ฆาตกรรมบุคคลที่กล่าวว่าเกี่ยวโยงกับคดีนี้ สร้างความหวังอย่างมากว่า ในที่สุดคำตอบบางคำตอบของคดีที่เมืองไทยรู้จักกันดีว่าคือคดีเพชรซาอุฯ จะได้รับการถูกเปิดเผยกันเสียที สำหรับประเทศไทยแล้ว ยังหมายถึงการปรับปรุงสัมพันธ์ไมตรีทางการทูตกับซาอุดิอาระเบีย พร้อมกับโอกาสที่คนงานไทยจะได้เดินทางกลับไปทำงานในประเทศที่ร่ำรวยไปด้วย น้ำมัน แต่คดีฆาตกรรมเพชรซาอุฯได้หมดอายุความลงในเดือนกุมภาพันธ์ คนไทยก็หมดทางเลือกเช่นกัน ขณะนี้ขี้นอยู่กับรัฐบาลซาอุฯที่จะเป็นฝ่ายตัดสินว่า ความพยายามของประเทศไทยครั้งหลังสุดนี้ พอที่จะฟื้นฟูสัมพันธไมตรีให้กลับมาเหมือนเดิมได้หรือไม่
สื่อในประเทศลงข่าวว่า หลังจากทำการขโมยเพชรในปี ๒๕๓๒ เกรียงไกร เตชะโม่ง คนสวนคนนั้นได้ส่งเครื่องเพชรที่ขโมยกลับไปยังภาคเหนือของประเทศไทยทาง ไปรษณีย์ และรีบหนีออกจากซาอุฯ หลังจากนั้นรัฐบาลซาอุฯได้แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับเกรียงไกรให้ประเทศไทยได้ทราบ ตำรวจไทยใช้เวลาไม่นานก็จับเกรียงไกรได้ แต่ก่อนที่จะถูกจับ เขาได้ขายเครื่องเพชรที่ประเมินค่ามิได้ไปในราคาชิ้นละประมาณหนึ่งพันบาท หลังจากนั้นไม่นาน นักการทูตซาอุฯ ๓ คนในกรุงเทพได้ถูกยิงทิ้ง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดซ้อนกันภายในคืนเดียว สองวันต่อมา นักธุรกิจชาวซาอุฯอีกคนหนึ่งถูกลักพาตัว และไม่ได้พบเห็นอีกเลย
แม้ดีเอสไอยืนยันว่า ไม่มีหลักฐานใดๆที่จะโยงการฆาตกรรม และการลักพาตัว กับการขโมยเพชร แต่นาย
ภายใต้แรงกดดันจากซาอุฯ ประเทศไทยยังคงทำการสืบสวนคดีนี้ แม้ว่าจะไม่เป็นไปตามที่รัฐบาลซาอุฯได้ตั้งความหวังเอาไว้ ในปี ๒๕๓๗ พ่อค้าเพชรซึ่ง โคจา เชื่อว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปลอมเครื่องเพชรนั้น ถูกลักพาตัว และต่อมาทั้งภรรยา และลูกชายวัย ๑๔ ถูกสังหาร ในเวลานั้น กรมตำรวจกล่าวว่า ทั้งคู่เสียชีวิตจากรถชนกัน แต่ โคจา ไม่เชื่อ วอชิงตันโพสต์นำคำพูดของโคจามาลง ที่ว่า “ความคิดของผู้บัญชาการฝ่ายชันสูตรนั้นช่างโง่เสียจริง นี่ไม่ใช่อุบัติเหตุ”
หลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือน พล.ต.ท.
ปริศนายิ่งเพิ่มความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น เมื่อมูลนิธิเพื่อประชาธิปไตยแห่งอิหร่าน สำนักงานใหญ่ในสหรัฐฯ อ้างจากรายงานเมื่อปี ๒๕๔๙ ว่า การสังหารเจ้าหน้าที่การทูตในปี ๒๕๓๓ จากฝีมือของหน่วยล่าสังหารชาวอิหร่าน ดีเอสไอซึ่งเข้ามาคุมการสืบสวนแทนตำรวจในปี ๒๕๔๗ ปฏิเสธข่าวลือที่ว่า มีชาวอิหร่านเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องในการฆาตกรรมนั้น ในปี ๒๕๕๒ มีการออกหมายจับ “อาบู อาลี” ด้วยข้อหาฆาตกรรมหนึ่งในเจ้าหน้าที่การทูตของซาอุฯ ยิ่งกระพือการคาดเดาไปต่างๆนาๆบนหน้าหนังสือพิมพ์ และในโลกของชาวบล็อกที่ว่า ตะวันออกกลางมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์นี้ แม้หลักฐานจะอ่อนในเรื่อง อาบู อาลี แต่เมื่อปลายเดือนมกราคม ดีเอสไอได้เดินทางไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติในประเทศฝรั่งเศส เพื่อขอร้องให้ทางองค์กรตำรวจสากลช่วยตามหาจับตัวผู้ต้องหาที่เป็นฆาตกรราย นี้
การสั่งฟ้องนายตำรวจทั้งที่ยังประจำการ และอดีตนายตำรวจทั้งห้าว่า ร่วมกันฆาตกรรมนักธุรกิจชาวซาอุฯที่หายตัวไปในปี ๒๕๓๓ และรอการพิจารณาคดีในปลายเดือนมีนาคมนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงโอกาสทองแห่งปีในการที่จะยุติข้อพิพาทที่ค้างคามา เนิ่นนาน เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งห้านายให้การปฏิเสธ และสาบานว่า จะต่อสู้คดีในศาล พล.ต.ท.
จนถึงเวลานี้ ปริศนาฆาตกรรมที่มีมาถึงสองทศวรรษนี้ดูไม่ต่างไปจากนวนิยายลึกลับ ซึ่งยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะได้บทสรุปด้วยเนื้อหาที่กระชับ นาบิล อัชรี ส่งอีเมล์ถึงไทม์มีเนื้อความว่า หากคดีทั้งหลายคลี่คลายลง ซาอุฯ “จะพิจารณาการฟื้นฟูสัมพันธไมตรีอย่างจริงจัง” และเขาพอใจกับ “ความพยายามอย่างเต็มที่ของรัฐบาลไทยในเวลานี้” แต่เนื่องจากคดีได้หมดอายุความ ความกดดันจึงมาตกอยู่กับคดีที่กำลังรอการพิจารณาในศาล เพื่อความลับเบื้องหลังเพชรอาถรรพณ์นั้นจะได้มีการเปิดเผยเสียที ในไม่ช้านี้ทางซาอุฯต้องตัดสินใจว่า การอวดอ้างความพยายามของรัฐบาลไทยในวินาทีสุดท้ายนี้ จะเพียงพอหรือไม่ หรือเพชรอาถรรพณ์ที่ต้องคำสาปนี้ จะยังคงตามหลอกหลอนถึงความสัมพันธ์ทางการต่างประเทศของไทยไปอีกนานเท่านาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น