แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มาร์คลั่นจะไม่ยอมรับ-ไม่ให้ความร่วมมือหากมติมรดกโลกกระทบอธิปไตย

โฆษกพันธมิตรฯ เผยเสนอให้ไทยไม่ต้องร่วมประชุมที่บราซิล แต่มาร์คไม่เห็นด้วย ด้านจำลองยุทหารไล่ชาวกัมพูชาพ้นไทย ส่วนมาร์คยันมาร์คลั่นจะไม่ยอมรับ-ไม่ให้ความร่วมมือหากมติมรดกโลกกระทบ อธิปไตย พร้อมโทษรัฐบาลชุดก่อน ทำให้เกิดความเสียหาย ด้าน "ฮอร์นัมฮง" อัดรัฐบาลไทย-พันธมิตรฯ เป็นเรื่องล้าสมัยแล้ว เพราะขึ้นทะเบียนปราสาทไปตั้งแต่ปี 2551

วันนี้ (27 ก.ค.) เวลา 14.40 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเข้าบ้านพิษณุโลก พร้อมด้วยนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพบกับกลุ่มแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) นำโดยนายพิภพ ธงไชย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ นายคำนูณ สิทธิสมาน มล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ หารือกรณีคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ในนามตัวแทนภาคประชาชนไทย และเครือข่ายต่างๆ

โฆษกพันธมิตรฯ เผยเสนอให้ไทยไม่ต้องร่วมประชุมที่บราซิล แต่มาร์คไม่เห็นด้วย
หลังการเจรจา นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์โฆษกพันธมิตรฯ ให้สัมภาษณ์ว่านายกฯ กับตัวแทนพันธมิตรฯ ยังมีความเห็นต่างกัน กรณีปราสาทพระวิหารในหลายเรื่องอาทิ 1.พันธมิตรฯ เห็นควรให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจปี 2543 เพราะทำให้พื้นที่ของประเทศไทยกลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทับซ้อน แต่นายกฯ มองว่าเอ็มโอยูดังกล่าวเป็นประโยชน์ เพราะทำให้พื้นที่ที่ทางกัมพูชาคิดว่าเป็นของตนกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อน

นายปานเทพ กล่าวต่อว่า ข้อ 2.พันธมิตรฯ เสนอให้ไทยส่งหนังสือประท้วงคณะกรรมการมรดกโลก โดยไม่ต้องเข้าร่วมประชุมที่บราซิล เพราะไทยไม่ได้คัดค้านการจัดทำแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร แต่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาเพียง ฝ่ายเดียวตั้งแต่ต้น แต่นายกฯ ยืนกรานว่าผู้แทนไทยควรใช้สิทธิอย่างเต็มที่ในการเจรจา จากนั้นเมื่อผลการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกออกมาอย่างไร ทางการไทยค่อยกำหนดท่าทีและจุดยืน อย่างไรก็ตามนายอภิสิทธิ์รู้สึกว่า การดำเนินการของฝ่ายกัมพูชาไม่โปร่งใส เพราะไม่มีการแจกเอกสารให้ประเทศสมาชิกก่อนพิจารณาวาระเขาพระวิหาร หลังจากนี้เราจะนำข้อมูลไปแลกเปลี่ยนกับ พล.ต.จำลอง ขอยืนยันว่าประชาชนที่ไปชุมนุม ก็เพื่อกดดันยูเนสโกไม่ใช่ประท้วงรัฐบาล ซึ่งนายกฯ ก็เข้าใจเรื่องความคิดเห็นแตกต่าง เป็นการประท้วงของคนหวงแหนแผ่นดิน นายกฯ จึงได้ย้ำว่าท่านก็มีเจตนาดี และต้องการปกป้องประเทศเช่นกัน และคิดว่าหลังจากนี้คงจะมีโอกาสหารือร่วมกันอีกหลายรอบ

จำลองเสนอให้ใช้กำลังทหารขับไล่ชาวกัมพูชาพ้นไทย
ต่อมาเวลา 17.00 น. พล.ต.จำลอง ขึ้นเวทีประกาศว่า ผลการเจรจาระหว่างนายกฯ กับข้อเสนอของกลุ่มผู้คัดค้าน มีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ที่เห็นด้วยคือ ต้องปักปันเขตแดนใหม่ รวมถึงไม่เห็นด้วยกับแผนที่ที่ประเทศฝรั่งเศสเสนอ เพราะประเทศไทยเสียเปรียบ แต่ข้อเสนอที่นายกฯไม่เห็นด้วย คือให้ยกเลิกบันทึกข้อตกลงทำความเข้าใจ (เอ็มโอยู) กับกัมพูชา และข้อเสนอที่ให้ใช้กำลังทหารขับไล่ชาวกัมพูชาออกจากประเทศไทยทั้งหมด

แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวต่อว่า แต่ถึงอย่างไรการชุมนุมที่ใช้เวลาถึง 7 ชั่วโมง ก็ถือว่าน่าพอใจ ได้ประโยชน์แล้ว และต่อจากนี้ไม่ว่าผลการพิจารณาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารจะเป็นอย่างไร รัฐบาลไทยจะต้องใช้กำลังทหารขับไล่ชาวกัมพูชาทั้งหมดไปจากประเทศไทย ไม่เช่นนั้นรัฐบาลจะต้องเห็นดีกัน หลังจากนั้น พล.ต.จำลอง ประกาศยุติการชุมนุม ผู้ชุมนุมทั้งหมดแยกย้ายกลับบ้าน และการจราจรบนถนนสุขุมวิท หน้าสำนักงานยูเนสโก ประจำประเทศไทย เข้าสู่สภาวะปกติในเวลา 17.20 น.

มาร์คลั่นจะไม่ยอมรับ-ไม่ให้ความร่วมมือหากมติมรดกโลกกระทบอธิปไตย
ต่อมาเวลา 17.50 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาลถึงการหารือกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย ว่า แม้รัฐบาลและฝ่ายพันธมิตรฯ จะมีมุมมองที่แตกต่างกัน แต่เจตนาคงไม่ต่างกันในการที่จะรักษาอธิปไตยและรักษาสิทธิ์ของเรา แต่สิ่งที่อยากยืนยันคือ การดำเนินการในกรอบของคณะกรรมการมรดกโลกเป็นสิ่งที่เราต้องดำเนินการในการ รักษาสิทธิ์ของเราให้ดีที่สุดในทุกขั้นตอน ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะกำลังเดินสายไปทำความเข้าใจคัดค้านการเดินหน้าการบริหารจัดการพื้นที่ ที่จะเข้าสู่การประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งจุดยืนของประเทศไทยที่มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) รองรับว่าคณะกรรมการมรดกโลกไม่ควรจะพิจารณาเรื่องนี้จนกว่าจะมีข้อยุติในการ จัดทำหลักเขตแดน ทั้งนี้เราจะมีการประเมินอีกครั้งในช่วงค่ำของวันที่ 28 กรกฎาคมนี้ว่าแนวทางของคณะกรรมการมรดกโลกเป็นอย่างไร

อย่างไรก็ตามถ้ามติของคณะกรรมการมรดกโลกจะดึงดันในลักษณะซึ่งกระทบ กระเทือนกับเรา เราจะมีการแสดงออกอย่างชัดเจนว่าเราไม่ยอมรับ คือ 1.ไม่ยอมรับว่ามติของกรรมการมรดกโลกไม่มีผลมาตัดสินอะไรที่จะมาเกี่ยวข้อง กับอำนาจในเรื่องของเขตแดนและอธิปไตย 2. ถ้ามีการพยายามบริหารจัดการพื้นที่โดยล่วงล้ำอธิปไตยของเรา เราจะไม่ให้ความ ร่วมมือ ส่วนปัญหาที่เป็นข้อพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งทางกลุ่มที่เคลื่อนไหวต้องการให้เรายกเลิกบันทึกข้อตกลงทำความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทย-กัมพูชา ปี 2543 แต่รัฐบาลเห็นว่า MOU นี้เป็นประโยชน์ เพราะเป็นการยอมรับว่าพื้นที่ที่กัมพูชาจะอ้างแผนที่ยังเป็นพื้นที่ที่มี ปัญหา ไม่อาจถือตามแผนที่ของกัมพูชาได้ และเรายืนยันว่าต้องถือตามสนธิสัญญา อีกทั้ง การยอมรับของกัมพูชาใน MOU นี้ ยังรวมถึงการที่ต้องไม่เข้ามาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงสภาพในพื้นที่ ซึ่งเป็นฐานที่ทำให้เราจะใช้ในการประท้วง เหมือนที่เราเคยทำมานับสิบครั้ง รวมถึงยังเป็นการแสดงออกถึงการรักษาสิทธิ์ของไทย และถ้ายกเลิก MOU ก็เท่ากับกัมพูชาจะไปยึดตามแผนที่ของเขาแล้วเราจะยึดอะไร มันก็ไม่ได้แก้ปัญหาให้ดีขึ้นเลย นอกจากนี้จะเป็นจุดที่เปิดโอกาสให้ความขัดแย้งนี้ยังมีทางออกอื่นที่ไม่ใช่ การสู้รบหรือใช้กำลังปะทะกัน ซึ่งคิดว่าทั้งไทยและกัมพูชาไม่ต้องการที่จะให้มีการปะทะกันนายกรัฐมนตรีกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากคณะกรรมการมรดกโลกรับแผนการบริหารจัดการพื้นที่ของกัมพูชา ไทยจะแสดงออกอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนจะหารือกับนายสุวิทย์ และจะนำข้อมูลหารือกับที่ประชุม ครม.ในวันที่ 28 กรกฎาคมนี้ ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นเรื่องที่ไทยจะลาออกจากการเป็นคณะกรรมการมดรกโลกใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มีหลายทางเลือก เริ่มตั้งแต่เบาไปหาหนัก ตั้งแต่การจะเข้าร่วมพิจารณาหรือไม่ จนไปถึงเรื่องอื่นๆ ตนขอยืนยันว่าแม้คณะกรรมการมรดกโลกจะยอมรับแผนบริหารจัดการของกัมพูชา ก็ไม่ได้หมายความว่าไทยเสียดินแดน เพราะองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ไม่ได้มีอำนาจ และรัฐบาลไทยจะมีการบันทึกเอาไว้อย่างชัดแจ้งเพื่อไม่ให้เกิดเหมือนในอดีต ที่กฎหมายมาปิดปาก โดยเราจะออกมาทักท้วงอย่างชัดเจน และเราจะไม่ยอมรับรวมถึงจะไม่ให้ความร่วมมือกับการบริหารจัดการพื้นที่ในเขต แดนที่ถือว่าเป็นของเรา

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่กัมพูชาไม่ยอมแจกเอกสารแผนบริหารจัดการต่อที่ ประชุมกรรมการดังกล่าว นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราได้ทักท้วงไปแล้ว และถ้ายังมีการนำเข้าสู่ที่ประชุมเราก็จะทักท้วงอีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่ากัมพูชาทำผิดมารยาทหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราเห็นว่าผิดกฎระเบียบของคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งเราก็ได้ย้ำกับคณะกรรมการฯและองค์การยูเนสโกแล้วว่าไม่ควรเพิกเฉยต่อ สภาพปัญหาที่ เกิดขึ้น โดยสิ่งที่เราย้ำคือสหประชาชาติและองค์กรที่เกี่ยวข้องถูกตั้งขึ้นมาเพื่อ ส่งเสริมสันติภาพ เห็นได้ชัดว่าตั้งแต่มีความพยายามที่จะผลักดันเรื่องมรดกโลก พื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวได้กลายเป็นพื้นที่ของความขัดแย้ง เพราะฉะนั้นคณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโกต้องตระหนักว่าหน้าที่ของเขาไม่ใช่ การส่งเสริมให้มีการสู้รบกัน แต่มีหน้าที่ในการแสวงหาสันติภาพและส่งเสริมวัฒนธรรม ซึ่งตรงนี้เป็นจุดยืนที่นายสุวิทย์ใช้ในการเดินสาย ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าไทยต้องการใช้กำลังกับใคร แต่ต้องการที่จะให้หลักของการเคารพอธิปไตยซึ่งกันและกันยังดำรงอยู่ รวมถึงแสวงหาทางออกโดยสันติวิธี

โทษรัฐบาลชุดก่อน ทำให้เกิดความเสียหาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าเดินมาถึงจุดที่เลวร้ายที่กรรมการมรดกโลกรับแผนของทางกัมพูชาไทยจะส่งกอง กำลังลงไปตรึงพื้นที่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เอาไว้พิจารณากันอีกครั้งว่ารูปแบบและวิธีการจะเป็นอย่างไร ทั้งนี้โดยสภาพข้อเท็จจริงปัจจุบันพื้นที่ที่มีปัญหาบริเวณชายแดนก็มีการยัน กำลังกันอยู่ในระดับหนึ่ง ซึ่งทั้งสองฝ่ายพยายามแสดงออกถึงสิ่งที่คิดว่าเป็นสิทธิ์ของตัวเอง แต่ก็หลีกเลี่ยงที่จะไม่ปะทะกัน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายกองทัพตระหนักถึงภาระหน้าที่ของตัวเองดี

ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่ามีเรื่องการเมืองและผลประโยชน์ในคณะกรรมการมรดกโลกหรือไม่ เพราะเคยมีการวิจารณ์ว่าคณะกรรมการฯ มีเรื่องของผลประโยชน์จากบางประเทศที่เกี่ยวข้องกับกัมพูชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ขอไปยืนยันอะไรตรงนั้น เพราะเป็นเรื่องของข้อกล่าวหาที่ใครจะคิดหรือวิเคราะห์กันไป แต่หน้าที่ของรัฐบาลไทยคือคณะของเราต้องไปโน้มน้าวให้คณะกรรมการมรดกโลกได้ เห็นถึงสิ่งที่ดีที่สุดในการส่งเสริมเรื่องของวัฒนธรรม ซึ่งชั้นนี้คือการเลื่อนการพิจารณาไปจนกว่าจะมีการตกลงในเรื่องของเขตแดนได้ ระหว่างไทยกับกัมพูชา

ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลชุดที่แล้วควรมีส่วนรับผิดชอบอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความเสียหายที่ตกหนักตอนนี้มาจากเหตุการณ์เมื่อปี 2551

ฮอร์นัมฮงอัด "ล้าสมัยแล้ว" เพราะขึ้นทะเบียนตั้งแต่ปี 2551
ด้านสำนักข่าว DAP ของกัมพูชา เผยแพร่คำให้สัมภาษณ์ของนายฮอร์นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ซึ่งระบุว่า ฝ่ายคัดค้านในไทยที่ต้องการคัดค้านแผนการอนุรักษ์ การพัฒนา และการบริหารจัดการปราสาทเขาพระวิหารนั้นเป็นเรื่อง "ล้าสมัย"

"ไม่ใช่แค่เสื้อเหลืองเท่านั้น แต่รัฐบาลไทยเองก็คัดค้านแผนดังกล่าวด้วย แต่การขึ้นทะเบียนปราสาทเสร็จเรียบร้อยไปตั้งแต่ปี 2551" นายฮอร์นัมฮงกล่าว

ที่มา: เรียบเรียงบางส่วนจาก ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล และ DAP News

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน