แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

"คณิต" เสนอทบทวนการใช้เครื่องพันธนาการผู้ต้องหา-แกนนำ นปช.

คณิต ณ นคร เตรียมเสนอรัฐบาลทบทวนการใช้โซ่ตรวน ระบุไม่สอดคล้องมาตรฐานสหประชาชาติ แจงไม่เฉพาะแกนนำ นปช. เท่านั้น แต่ต้องทบทวนกับผู้ต้องหาคดีอาญาอื่นด้วย ด้านปลัดยุติธรรมเล็งเสนอนายกฯ ใช้ "กำไลอิเล็กทรอนิกส์"

เว็บไซต์ นสพ.ข่าวสด ฉบับวันนี้ 28 ก.ค. 53 รายงานว่าเมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (27 ก.ค.) ที่โรงแรมแกรนด์เมอร์เคียว ฟอร์จูน มีการประชุมคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) นัดพิเศษ โดยมีนายคณิต ณ นคร ประธานคอป. เป็นประธานที่ประชุม

ต่อมาเวลา 17.00 น. นายคณิต แถลงภายหลังการประชุมว่า กรณีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช. ปรากฏตัวที่ศาลเมื่อวันที่ 1 ก.ค. ซึ่งมีการตีตรวนนั้น ที่ประชุมได้ประชุมและมีมติจะทำหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ ในวันที่ 28 ก.ค. เพื่อขอให้ทบทวนการใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องหา โดยเฉพาะการใช้โซ่ตรวนนี้ถือว่าไม่เหมาะสม ละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะหากเทียบกับมาตรฐานขั้นต่ำขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ปี 2498 กับกฎหมายราชทัณฑ์ ตั้งแต่ปี 2479 ไม่มีความสอดคล้องกัน ซึ่งในต่างประเทศหรือที่ใช้กันโดยทั่วไปจะไม่มีใช้โซ่ตรวนเหมือนในเมืองไทย

นายคณิต กล่าวว่า ทั้งนี้ การเสนอข้อเรียกร้องต่อนายกฯไม่ได้หมายรวมเฉพาะแกนนำนปช.เท่านั้น แต่หมายรวมถึงคดีอาญาอื่นๆ ด้วย เพราะต้องเข้าใจว่ากรณีแกนนำนปช.นั้น มามอบ ตัว ไม่คิดหนี และการใช้โซ่ตรวนดังกล่าว จะใช้ในลักษณะเดียวคือการคิดหลบหนี หรือทำร้ายตัวเอง อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าเมื่อคอป.เสนอหนังสือถึงนายกฯ แล้ว นายกฯ จะรับเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาทันที เพราะเท่าที่ฟังนายกฯ พูดผ่านทางสื่อก็พร้อมรับลูกคอป.

นายคณิต กล่าวว่า ส่วนการลงพื้นที่หาข้อเท็จจริงในต่างจังหวัด ทางคอป.จะเร่งลงพื้นที่ให้เร็วที่สุด ภายในเดือนส.ค.จะมองไปพื้นที่ใหญ่ๆ คือจ.อุดรธานีและเชียงใหม่ พร้อมกันนี้ที่ประชุมยังมอบหมายให้น.พ.รณชัย คงสกนธ์ กรรมการในฐานะประธานอนุกรรมการเยียวยา ลงพื้นที่เร่งการเยียวยาใน 3 กลุ่มใหญ่คือ1.ผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านร่างกายและจิตใจ 2.ชุมชนก่อนและหลังได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุม 3.พื้นที่ชุมชนโดยทั่วไป โดยจะไปเยี่ยมเยียนหน่วยงานต่างๆ เพื่อติดตามการเยียวยา ไม่ให้ซ้ำซ้อนกับคอป. รวมทั้งเปิดเวทีเสวนากับฝ่ายต่างๆ ในรูปแบบ 13 กิจกรรม 3 เดือน

นายคณิต กล่าวถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกนายพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง นักแสดงชื่อดังไปให้ปากคำเรื่องหมิ่นเบื้องสูงว่า กรณีนี้ถือว่าสำคัญ ซึ่งตนยังแปลกใจอยู่ว่าในทางกฎหมาย เจ้าหน้าที่เรียกนายพงษ์พัฒน์ไปในฐานะอะไร ไม่แน่ใจว่าในฐานะผู้ต้องหาได้หรือไม่เพราะยังมีความสับสนในเรื่องนี้อยู่ ซึ่งคอป.จะประชุมเรื่องนี้เพื่อเสนอต่อนายกฯด้วย เพราะเป็นเรื่องการรักษาความปรองดองและเป็นกลไกในการผลักดันการปรองดองแห่ง ชาติอย่างหนึ่ง

นายกิตติพงษ์ กิตติยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ คอป. กล่าวถึงกรณีเสนอให้ใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์แทนโซ่ตรวนว่า คอป.จะประชุมพิจารณาเพื่อเสนอต่อนายกฯ

วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 19:45:45 น. มติชนออนไลน์

*คอป.ชุด"คณิต"จี้"มาร์ค์"เลิกตีตรวนแกนนำแดง-ผู้ต้องขังอื่นเทียบสากล
ปลัดยธ.เล็งใช้กำไลอิเล็คโทรนิคแทน*

คอป.ชุด"คณิต"จี้"มาร์ค์"เลิกตีตรวนแกนนำแดง-ผู้ต้องขังอื่นเท่าสากล
พร้อมเปิดโครงการ 10 มาตรการเยี่ยวยาฟื้นฟูผู้เสียหายเดือนหน้า
ด้านปลัดยุติธรรมแนะใช้กำไลอิเล็คโทรนิคแทนโซ่ตรวน
ย้ำปฏิบัติแก่ผู้ต้องขังทุกคนมาตรฐานเดียวกัน

เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 27 กรกฎาคม ที่โรงแรมเมอร์เคียว ฟอร์จูน
ถนนรัชดาภิเษก นายคณิต ณ นคร
ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)
พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ แถลงภายหลังการประชุมว่า
ที่ประชุมได้เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนและแก้ไขแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตีตรวนผู้ต้องขัง
โดยให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
ซึ่งการแก้ไขแนวทางปฏิบัตินี้ชอบที่จะเป็นการแก้ไขเป็นทั่วไปเพื่อให้เกิดผลสำหรับผู้ต้องขังทั้งหลาย
มีการแยกผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี
และผู้ต้องขังที่ถูกศาลพิพากษาแล้ว โดยให้ยกเลิกการตีตรวนผู้ต้องขัง
เนื่องจากกระทบต่อหลักสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
รวมทั้งขัดต่อมาตรฐานขั้นต่ำขององค์การสหประชาชาติ
ห้ามมิให้ใช้โซ่ตรวนพันธนาการเพื่อการลงโทษ
ยกเว้นแต่เพื่อป้องกันการหลบหนีในระหว่างขนย้ายผู้ต้องขัง
ด้วยเหตุผลทางการแพทย์
และด้วยคำสั่งของผู้บัญชาการเรือนจำซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
โดยคอป. จะทำหนังสือนำเสนอต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นากยกรัฐมนตรี ในวันที่
28 ก.ค. นี้
ทั้งนี้แนวทางการแก้ไขดังกล่าวจะเป็นผลให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมและเพื่อให้การปรองดองของคนในชาติเกิดผลที่กว้างขวางแก่ผู้ต้องขังทั่วไป
ไม่ใช่เฉพาะแต่แกนนำ นปช. หรือ นักโทษทางการเมือง
ทั้งนี้เพื่อเป็นการเรียกความเชื่อถึงศรัทธาต่อกระบวนการยฺติธรรมของประเทศ
และสร้างบรรยากาศการปรองดองให้เกิดขึ้น

นายคณิต กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบแผนการเยียวยา 10 มาตรการ 13
โครงการ ที่นพ.รณชัย คงสกนธ์ คณะกรรมการฯ
ได้เสนอให้มีการจัดกิจกรรมเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจ
ชุมนม สังคมโดยรวม ซึ่งจะเริ่มดำเนินการภายในเดือน ส.ค. นี้ และจะรายงานผลทุกๆ
3 เดือน
รวมทั้งเปิดช่องทางการสื่อสารเพื่อให้ประชาชนได้ร้องเรียนและนำเสนอข้อเท็จจริงทางอินเตอร์เนต
ผ่านเว็บไซต์ www.facebook.com/TRC2010 และ www.twitter.com/THAI_TRC
รวมถึงผ่านทางthait...@gmail.com ตลอดจนเปิดเวทีแสดงความคิดเห็นต่างๆ ท
นอกจากนี้ในการประชุมครั้งต่อไปจะเสนอเรื่องกรณี นายพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ดารานักแสดง ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจออกหมายเรียกไปพบ โดยทาง คอป. เห็นว่า
เหตุผลในการเรียกพบยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ซึ่งจะนำข้อเท็จจริงไปวิเคราะห์ต่อไป

ด้านนายกิตติพงษ์ กิตติยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า
ทางกระทรวงยุติธรรมจะหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางแก้ไขแนวทางปฏิบัติ
ว่าจะสามารถเปลี่ยนจากโซ่ตรวนเป็นอุปกรณ์อื่นได้หรือไม่ เช่น
กำไลติดตามตัวอิเล็กโทนิค อย่างเช่นที่ต่างประเทศ
เพื่อไม่ให้กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หลักความพอดีและพอควรแก่เหตุ
เพื่อผู้ต้องขังออกไปนอกพื้นที่เรือนจำจะพิจารณาตรวจผู้ต้องขังตามความเหมาะสม
แต่จะปฏิบัติแก่ผู้ต้องขังทุกคนไม่ใช่เฉพาะผู้ต้องขังคนใดคนหนึ่งเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน