Wed, 2010-07-28 05:43
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ต้านคณะอนุกรรมาธิการฯ เหมืองแร่ กังขาอนุกรรมาธิการฯ เป็นประธานกรรมการบริษัทศึกษาอีไอเอเหมืองโปแตซอุดรธานี
วานนี้ (27 ก.ค.53) เวลา 09.00 น.กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีกว่า 200 คนได้รวมตัวกันที่ศาลากลางหมู่บ้านโนนสมบูรณ์หมู่ 12 ต.ห้วยสามพาด อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี เพื่อเดินขบวนรณรงค์ สร้างความเข้าใจให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ทราบถึงเหตุผล ที่มาในการทำงานของคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาเรื่องร้องเรียนของราษฎรที่ ได้รับความเดือดร้อนจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ ซึ่งมีเบื้องหลังและสายสัมพันธ์ที่โยงใยกับโครงการเหมืองแร่โปแตซ จ.อุดรธานี โดยขบวนรณรงค์มีเป้าหมายไปที่บริเวณหน้าบริษัทเอเชีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในขบวนรณรงค์ยังคงคึกคัก แม้จะมีสายฝนโปรยปรายลงมาไม่ขาดสาย และชาวบ้านหลายคนต้องสละเวลาในการลงนาปักดำ โดยมีการเผาหุ่นเขียนชื่อว่าเรืองศักดิ์ วัชรพงศ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะอนุกรรมาธิการฯ เนื่องจากมีเบื้องหลังเป็นประธานกรรมการบริษัท โกลเด้น แพลนจำกัด ที่บริษัทโปแตช ว่าจ้างให้เป็นที่ปรึกษาและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี โดยกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ได้ออกแถลงการณ์ด้วย (ดูล้อมกรอบ)
การรณรงค์ของชาวบ้านครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากชาวบ้านทราบว่า คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาเรื่องร้องเรียนของราษฎรที่ได้รับความเดือด ร้อนจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ ภายใต้คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา มีแผนลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริงกรณีปัญหาเหมืองแร่ทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย และพื้นที่ดำเนินโครงการเหมืองแร่โปแตซ จ.อุดรธานี ในวันที่ 26 และ 27 ก.ค. 53 ตามลำดับ ทำให้เกิดความไม่พอใจของชาวบ้านทั้ง 2 พื้นที่ เพื่อต่อต้านคณะอนุกรรมาธิการฯ ชุดดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า คณะอนุกรรมาธิการฯ ชุดนี้ มีความไม่ชอบธรรม ขาดความเป็นกลาง และไม่มีความโปร่งใสในการทำงาน
โดยเวทีตรวจสอบข้อมูลในวันที่ 26 ที่บ้านนาหนองบง อ.วังสะพุง จ.เลย ได้ถูกยกเลิกเนื่องจากชาวบ้านกลุ่มรักษ์บ้านเกิดจำนวนกว่า 100 คน ได้เข้าไปร่วมในเวทีเพื่อซักถามถึงความชอบธรรมและความโปร่งใสของคณะอนุ กรรมาธิการ ชุดดังกล่าวทั้งยังมีการยื่นหนังสือร้องเรียนถึงบทบาทในการทำงานขออนุฯกับ ปัญหาเหมืองทองคำ ซึ่งท้ายที่สุดก็ไม่มีคณะอนุกรรมาธิการฯ คนใดตอบข้อซักถามหรือรับหนังสือร้องเรียนฉบับดังกล่าว
ด้านนาย
ส่วนนาง
ด้านนาย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่คณะอนุกรรมาธิการฯ ถูกล้มเวทีที่ จ.เลย ประกอบกับการที่ทราบข่าวว่า กลุ่มอนุรักษ์ฯได้ดำเนินกิจกรรมขบวนรณรงค์เพื่อเปิดโปงการทำงานที่ไม่เป็น ธรรม ความไม่โปรงใส ตลอดจนขาดความเป็นการกลาง คณะอนุกรรมาธิการฯ ชุดดังกล่าวจึงระงับแผนการเดินทางมาลงพื้นที่ จ.อุดรธานี ตามกำหนดการเดิมไปโดยปริยาย
แผนผัง "ความสัมพันธ์กลุ่มบุคคลผู้มีผลประโยชน์จากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในประเทศไทย" ที่กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีนำมาเผยแพร่
แถลงการณ์
เบื้องหลังอนุกรรมาธิการฯ มีสายสัมพันธ์ธุรกิจ “เหมืองแร่”
ลงพื้นที่สร้างภาพหวังผลผลักดันโครงการ “โปแตซ”
จากสถานการณ์การผลักดันโครงการเหมืองแร่โปแตซ ในเขตพื้นที่ อ.เมือง และ อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี โดย บริษัท เอเชีย แปซิฟิค โปแตซ คอร์ปอเรชั่น ตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมานั้น ได้ส่งผลกระทบให้คนในชุมชนขัดแย้งแตกแยกกันอย่างรุนแรงระหว่างกลุ่มชาวบ้าน ฝ่ายที่คัดค้านโครงการฯ และฝ่ายที่สนับสนุนโครงการฯ ซึ่งมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการยุยง ส่งเสริมของบริษัทฯ โดยใช้อามิสสินจ้างและสร้างข้อมูลที่เป็นเท็จมอมเมาชาวบ้านให้หลง เชื่อ เพื่อที่จะผลักดันโครงการฯให้สำเร็จ
ท่ามกลางความขัดแย้งแตกแยกกันอย่างรุนแรงของคนในชุมชน จนไม่สามารถหาหนทางเยียวยาแก้ไขปัญหาได้ บริษัทโปแตซ ยังไม่ลดความพยายามที่ จะผลักดันโครงการฯ ผ่านกระบวนการที่ไม่ชอบธรรมมาอย่างต่อเนื่องโดยไม่คำนึง ถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น นำมาซึ่งการเชิญคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา เรื่องร้องเรียนของราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากการประกอบกิจการเหมือง แร่ ภายใต้ คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ให้ลงมาพื้นที่ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2553 เพื่อรับฟังข้อมูล ข้อเท็จจริง จากฝ่ายบริษัทและชาวบ้านที่สนับสนุนโครงการฯ เพียงฝ่ายเดียว อีกทั้งยังจัด ทำการกันอย่างปกปิดภายในบริเวณสำนักงานของบริษัทฯ ไม่เปิดเผยให้ชาวบ้านใน พื้นที่ได้รับรู้อย่างทั่วถึง การกระทำของบริษัทโปแตซในครั้งนี้จึงเปรียบ เสมือนการจุดชนวนความรุนแรงและตอกย้ำความขัดแย้งในพื้นที่ให้เพิ่มขึ้นอีก
นอกจากนี้ในคณะอนุกรรมาธิการฯ ซึ่งมีบทบาทในการตรวจสอบกรณีปัญหาร้อง เรียนจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ กลับมีอนุกรรมาธิการฯ บางคนที่มีสายสัมพันธ์กับกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เช่น นายเรืองศักดิ์ วัชรพงศ์ อนุกรรมาธิการฯ มีเบื้องหลังเป็นประธานกรรมการบริหารบริษัทโกลเด้น แพลนจำกัด ซึ่งได้รับการว่าจ้างจากบริษัทโปแตซ ให้เป็นที่ปรึกษาและศึกษาผล กระทบสิ่งแวดล้อมโครงการเหมืองแร่โปแตซจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับคณะวิศวกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (นางวันเพ็ญ วิโรจนกูฎ) เบื้องหลังสายสัมพันธ์ดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึง ความไม่เที่ยงธรรมของคณะอนุกรรมาธิการฯ
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จึงมีความเห็นว่า การลงพื้นที่ของคณะ อนุกรรมาธิการฯ ในครั้งนี้ขาดความโปร่งใส ไม่เป็นกลาง อีกทั้ง ยังเป็นเครื่องมือในการสร้างภาพให้กับบริษัทโปแตซ ในการหวังผลประชาสัมพันธ์ เพื่อผลักดันโครงการฯ และเบื้องหลังของคณะอนุกรรมาธิการบางคนฯ ที่มีสาย สัมพันธ์กับกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเหมืองแร่ แต่กลับมีบทบาทที่ได้รับการแต่ง ตั้งเป็นผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนของชาวบ้านผู้ประสบปัญหาจากการประกอบ กิจการเหมืองแร่ ฉะนั้นบทบาทของคณะอนุกรรมาธิการฯ จึงหมดความชอบธรรมในการ ดำเนินงานลง ณ บัดนี้
ด้วยจิตคารวะ
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
27 กรกฎาคม 2553
ทำไมต้องปิดหน้าปิดตาด้วยอะ่ ทำยังกะเป็นพวกโจรก่อการร้าย น่ากลัว
ตอบลบ