แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ส่งนักเรียนชาวเชียงรายอายุ16 ปีชูป้าย"ผมเห็นคนตายที่ราชประสงค์"เข้า"สถานพินิจ"หลังถูกสอบเครียด


Porsche



โดย ชฎา ไอยคุปต์

จากกรณีที่มีกลุ่มนักเรียนนักศึกษานำโดย
นายธนิต บุญญนสนีเกษม แกนนำกลุ่มพลังมวลชนเชียงราย นายกิตติพงษ์ นาตะเกศ อายุ 24 ปี
นายนิติเมธพนฎ์ อายุ 23 ปี นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และ
นักเรียน อายุ 16 ปีโรงเรียนดำรงราษฎรสงเคราะห์เชียงราย
ถูกออกหมายจับในข้อหาชุมนุมหรือมั่วสุมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
ภายในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศพระราชกำหนด,
ร่วมกันเสนอข่าว,
ทำให้แพร่หลายซึ่งสิ่งพิมพ์หรือสิ่งอื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชน
เกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดใน สถานการณ์ฉุกเฉิน


กลุ่มนักเรียนและนักศึกษาดังกล่าวได้ถือป้ายแสดงข้อความต่างๆ เช่น
"ผมเห็นคนตายที่ราชประสงค์"
"นายกครับอย่าเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินนะครับ ไม่งั้นรัฐบาลจะพัง" และ
"พ.ร.ก.ฉุกเฉินต้องคงไว้เพื่อไม่ให้ความจริงปรากฏ"

โดยกลุ่มนักเรียนทั้งหมด สวมหน้ากากอนามัยเพื่อปิดบังใบหน้า
พร้อมเขียนข้อความไว้บนหน้ากากอนามัยว่า พ.ร.ก. ส่วนเสื้อที่สวมใส่ก็ได้มีการเขียนว่า
"ปรองดอง""ไม่รักรัฐบาลทรราช"โดยถือป้ายที่บริเวณตลาดสดเทศบาล 1
และปากทางขึ้นศาลากลาง จ.เชียงราย จนถูกออกหมายจับดังกล่าว


พ.ต.ท.บัญญัติ ทำทอง รักษาราชการแทน รอง ผกก.สส.สภ.เมืองเชียงรายกล่าวว่า
นายธนิตยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวโดยติดต่อกับกลุ่มนัก เรียนนักศึกษาทางเฟซบุ๊กด้วย
ซึ่งทางตำรวจเห็นว่าเข้าข่ายกระทำความผิด เพราะพื้นที่ยังประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน


ล่าสุดนักเรียนอายุ 16 ปี หนึ่งในผู้ที่ออกหมายจับได้เข้ารายงานตัวกับสถานพินิจที่จังหวัดเชียงราย
และถูกเรียกให้พบอีกครั้งในวันที่ 30 ก.ค.นี้ แม่ของนักเรียนอายุ 16 ปี เปิดเผยกับ "มติชนออนไลน์" ว่า
ในวันเกิดเหตุวันที่ 16 ก.ค.ครูที่โรงเรียนลูกชายโทรมาแจ้งให้พาลูกชายไปพบที่โรงเรียน
แม่ก็บอกว่าไม่รู้เรื่องลูกชายไปชูป้าย
และตอนนั้นครูแจ้งว่าไม่ผิดหรอกที่จะทำแต่ไม่ควรใส่เสื้อนักเรียนที่มีป้ายชื่อสถานบันไป
จึงไม่ได้คิดอะไรก็พาลูกกลับบบ้าน


"เวลาประมาณ 17.00 น. พ.ต.ท.บัญญัติ ทำทอง โทรมาขอเบอร์สามี
จึงบอกไปว่าอยู่กรุงเทพฯ 2-3 เดือนถึงจะลงมาสักครั้งหนึ่งจากนั้นจึงโทรไปหาสามีว่า
จะมีตำรวจโทรไปหายังไม่ทันคุยจบ ก็ได้ยินเสียงคนเดินเข้ามาในบ้านเพราะว่า
ประตูรั้วเปิดแง้มไว้ จึงวางโทรศัพท์แล้วออกไปดูพบว่ามีชาย 3 คนเข้ามาในบ้าน
แล้วแจ้งว่าเป็นตำรวจนอกเครื่องแบบมาตรวจสอบมาสอบถามเรื่องลูกชายว่ามีใครชักชวน
ซึ่งลูกชายก็บอกว่ารู้จักกันทางเฟซบุค และตำรวจขอดูโน้ตบุคของลูกชายแต่ก็ไม่พบอะไร
แล้วตำรวจเชิญไปโรงพัก แต่เราไม่ไปเพราะเวลานั้นใกล้ค่ำแล้วจึงบอกว่า
ขอไม่ไปได้ไหมเพราะค่ำแล้ว และถ้าจะให้ไปจริงขอหมายเรียกมาก่อน แล้วตำรวจนอกเครื่องแบบก็กลับไป


หลังจากตำรวจทั้ง 3 นายกลับไป พ.ต.ท.บัญญัติ โทรมาแจ้งว่าจะมาที่บ้าน
และมาพร้อมกับผู้หญิงคนหนึ่งมาค้นข้อมูลจากโน้ตบุคก็พูดขึ้นว่า
พอตำรวจเข้าบ้านมาก็ส่งข้อมูลให้เพื่อนทางเฟซบุคเลยจึงขอร้องว่าดึกแล้ว
ให้ตำรวจกลับไปก่อน ผ่านไป 2 วันไม่มีอะไรเกิดขึ้น



วันที่ 18 ก.ค.ตรงกับวันอาทิตย์ห่วงลูกจึงพาไปทำงานด้วย ตอนเย็นมีตำรวจโทรมาบอกว่า
จะไปหาที่บ้านตอน 1 ทุ่ม จึงบอกไปว่าตอนนี้ไม่อยู่บ้าน
เพราะตอนนั้นก็กลัวมาก จึงพาลูกชายไปอยู่ที่บ้านเพื่อนก่อนรอจน 3 ทุ่มจึงเข้าบ้านไป
ตอน 1 ทุ่มกว่าๆให้ลูกไปดูหน้าบ้านเห็นรถติดไฟไซเรนจอดอยู่ใกล้ๆ บ้าน
จึงพากันไปกินข้าวรอให้ดึกก่อนถึงกลับเข้าบ้าน พอกลับถึงบ้านก็ไม่พบรถคันดังกล่าวแล้ว


เช้าวันจันทร์ที่ 19 ก.ค. มีตำรวจโทรเข้ามาบอกว่าให้เปิดประตูบ้าน
เพราะมีหมายเรียกและหมายค้น จากนั้นตำรวจเข้ามาถ่ายภาพห้องนอนลูกชาย
และยึดโน้ตบุ๊คลูกชายไป
แจ้งว่าเวลา 10.00 น. วันที่ 20 ก.ค.ให้ไปที่สถานีตำรวจ จากนั้นก็พาลูกชายไปที่สถานีตำรวจแล้ว

ทางตำรวจก็ส่งลูกชายไปที่สำนักงานอัยการเพื่อสอบปากคำ
ในวันนั้นมี อัยการ นักจิตวิทยา ทนายความ ตำรวจ นักสิทธิมนุษยชน สอบสวนซักถามลูกชาย
ความรู้สึกของแม่ตอนนั้นคือไม่รู้จะทำอะไรได้นอกจากคอยอยู่ใกล้ๆลูกชาย คิดว่า
ลูกชายคงกดดันมาก
แต่เขาก็ตอบไปตามความจริงเรื่องที่ไปชูป้ายกับรุ่นพี่ที่รู้จักกันผ่านทางเฟซบุค จากนั้นก็แยกย้ายกันกลับ



วันเดียวกันเวลาประมาณ 6 โมงเย็น มีตำรวจโทรมาว่าวันที่ 21 ก.ค.จะพาลูกชายไปส่งสถานพินิจ
ตอนนั้นตกใจมากแต่ก็คิดว่าคงไม่มีอะไร
พอรุ่งเช้าก็แต่งตัวรอแล้วทางตำรวจก็แจ้งว่าให้พาลูกไปเองไม่มารับแล้วและย้ำว่าไม่ต้องพาใครไปด้วย
ให้ลูกชายแต่งชุดนักเรียนไป แล้วทางสถานพินิจก็ให้ลูกชายไปพบพนักงานควบคุมควมประพฤติ
เซ็นชื่อแล้วก็กลับบ้านไม่ได้มีการสอบสวนอะไร
และแจ้งว่าในวันที่ 30 ก.ค.ให้พาลูกชายมาอีกครั้งและให้พาไปตรวจร่างกาย


วันที่ 30 ก.ค.ไม่รู้ว่าจะเรียกไปทำอะไร คิดไว้ว่าถ้าลูกชายถูกควบคุมตัวก็จะดำเนินการประกันตัวออกมา

สงสารลูกชายมาก เมื่อก่อนนอนแยกห้องกันหลังจากเกิดเรื่องลูกชายมานอนกับแม่
ทั้ง 2 คนไม่มีใครนอนไม่ค่อยหลับเลยได้แต่นอนกอดกันฟังเสียงลมหายใจ พอลูกชายหลับไป
ก็สะดุ้งตื่นดิ้นมือไขว่คว้าหาแม่ตลอด
แม่เองก็กินไม่ได้นอนไม่หลับพ่อที่ทำงานอยู่กรุงเทพฯก็เป็นทุกข์"
แม่นักเรียนอายุ 16 ปี กล่าว


ขณะที่นักเรียน ม. 5 ให้สัมภาษณ์ว่า ตอนนี้ถูกเรียกไปไหนก็ต้องไป
แต่ก็เชื่อว่าสิ่งที่กระทำลงไปไม่ผิดเพราะเป็นการแสดงความคิดเห็นเท่านั้น
วันที่ไปชูป้ายข้อความว่า "ผมเห็นคนตายที่ราชประสงค์" เป็นการแสดงความคิดเห็นของตนเอง
จึงคิดว่าไม่ผิดเพราะมีคนตายจริงๆ ข่าวที่ปรากฎตามสื่อก็มี
ตอนนี้รู้สึกเครียดเหมือนกันแต่เรื่องราวมาถึงขนาดนี้แล้ว
ก็คงต้องทำใจปล่อยไปตามเรื่องตามราวที่จะเกิดขึ้น เขาเรียกไปสถานพินิจก็ต้องไป


"ผมไม่กลัวเพราะผมไม่ผิดผมไม่ได้ไปกระทำผิดเรื่องร้ายแรงอะไร
การไปชูป้ายเป็นแค่การแสดงความคิดเห็นจึงคิดว่าไม่น่าจะโดนอะไร ไปกับพี่ที่ติดต่อกันทางเฟซบุค
และตกใจเหมือนกันที่เห็นตำรวจมาที่บ้านเข้ามาในบ้านแบบไม่ทันตั้งตัว มาค้นข้อมูล"
นักเรียน ม.5 กล่าว


ทางด้านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
น.ส.เกศริน เตียวตระกูล คณะอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กล่าวถึงกรณีนี้ว่า
ตนเห็นว่าการถือป้ายลักษณะดังกล่าว เป็นสิทธิเสรีภาพในการคิด
เด็กอายุ 16 ปี ก็มีความคิดได้เช่นกัน
ดังนั้น จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดนำเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ต่อไป

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1279874111&grpid=01&catid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน