แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ร้ายกว่าเสือ



19 กรกฎาคม, 2010 - 10:39 | โดย thanorm

"นางแบบภาพประกอบ สุธาทิพย์ โมราลาย คอลัมนิสต์วรรณกรรมกุลสตรี ถ่ายโดยผู้เขียน"

สมัยหนึ่ง
ขงจื๊อกับศิษยานุศิษย์เดินทางไปรัฐชี้ เส้นทางผ่านป่าใหญ่เชิงภูเขาไท้ซัว ได้ยินเสียงร่ำไห้ของสตรีนางหนึ่งแว่วมาแต่ไกล ขงจื๊อหยุดม้า นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า
“เสียงร้องไห้ฟังโหยหวนน่าเวทนานัก หญิงผู้นั้นคงได้รับทุกข์แสนสาหัสเป็นแน่”
จื๊อกุงศิษย์ผู้ใกล้ชิดรับอาสาไปถามเหตุ
หญิงนั้นกล่าวแก่จื๊อกุงว่า
“น้าชายของฉันถูกเสือขบตายไม่นานมานี้ ต่อมาสามีของฉันก็ถูกเสือกินอีก บัดนี้เจ้าวายร้ายก็คาบเอาลูกชายตัวเล็กๆของฉันไปอีก”
จื๊อกุงถามว่า
“ทำไมท่านไม่ย้ายไปอยู่เสียที่อื่นเล่า”
เธอตอบสะอื้น
“ฉันย้ายไม่ได้ดอก”
“ทำไมล่ะ”
“ก็ที่นี่...ไม่มีรัฐบาลที่กดขี่ข่มเหงน่ะซี”
เมื่อจื๊อกุงนำความมาเล่าให้ขงจื๊อฟัง ขงจื๊อกล่าวแก่คณะศิษย์ผู้ติดตามว่า
“พวกเธอจงจำไว้ รัฐบาลที่กดขี่ข่มเหงประชาชนนั้น ร้ายกว่าเสือเสียอีก”

ครับ นี่เป็นเรื่องสั้นๆ ที่ผมคัดมาจากหนังสือ “นิทาน ปรัชญาเต๋า” ของ เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต พิมพ์ครั้งที่ 4 โดยสำนักพิมพ์มติชน 2539 อ่านแล้วก็ได้แต่นึกปลงตกว่า รัฐบาลที่ตั้งตัวเป็นศัตรูผู้กดขี่ข่มเหงประชาชน มิใช่ของที่แปลกใหม่แต่อย่างไร เพราะมันมีมานานนับเป็นพันกว่าปีแล้ว และน่าเกลียดน่ากลัวอย่างนี้นี่เอง ผู้หญิงคนนี้ถึงยอมตายอยู่กับเสือดีกว่า ยอมอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลที่เลวร้ายแบบนี้

นอกจากเรื่องนี้แล้ว ยังมีเรื่องอื่นเกี่ยวกับรัฐในทัศนะของขงจื๊อที่น่าสนใจอีกหลายเรื่อง ที่ผมชอบมากที่สุดก็คือเรื่อง “กฎเกณฑ์ ของการเป็นคนดี” เพราะเรื่องนี้มิได้มีความหมายเฉพาะเรื่องของรัฐ แต่ยังเป็นเรื่องจริยธรรมที่ครอบคลุมถึงสังคมของคนทั่วๆไป และปัจเจกชนทุกรูปแบบ (พึงตระหนักด้วย) เรื่องนี้คุณเสถียรพงษ์เล่าเอาไว้ว่า

เมื่อขงจื๊ออายุ 52 ปี
ได้รับตำแหน่งเป็นนคราภิบาล นครซุงตู ภายในระยะเวลาไม่ถึงสามปี เมืองซุงตูก็มีชื่อเสียงไปทั่ว กิติศัพท์เล่าลือว่า ตั้งแต่ขงจื๊อมาเป็นนคราภิบาล จะหาชาวเมืองไหนที่ว่านอนสอนง่าย และมีความสุขเสมอชาวเมืองตุงซูเป็นไม่มี
เจ้าผู้ครองนครรัฐลู่ได้ทราบข่าว จึงส่งคนมาเชิญขงจื๊อไปเรียนถามว่า
“ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าได้ทราบข่าวว่าตั้งแต่ท่านได้รับหน้าที่ปกครอง ชาวเมืองมีความสุขความเจริญกันทั่วหน้า ท่านใช้วิธีการอย่างไรจึงสัมฤทธิ์ผลในระยะเวลาอันสั้นเช่นนั้น”
ขงจื๊อตอบว่า
“ข้าพเจ้าข่มผู้ควรข่ม ยกย่องผู้ควรยกย่อง เมื่อชาวเมืองเห็นว่า การทำดีได้ผลดี การทำชั่วได้รับผลชั่วจริง จึงพากันทำดี คนดีก็ย่อมซื่อสัตย์ต่อกันและต่อรัฐบาล”
เจ้าผู้ครองนครถามว่า
“จะปกครองรัฐด้วยวิธีเดียวกับที่ท่านปกครองนครได้หรือไม่”
ขงจื๊อตอบว่า
“วิธีการนี้แม้จะใช้ปกครองทั้งประเทศก็ได้”
เจ้าผู้ปกครองรัฐลู่จึงตั้งให้ขงจื๊อเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมของรัฐลู่ เมื่อได้รับตำแหน่ง ขงจื๊อก็เริ่มศึกษาคุกตะรางก่อน
หลังจากศึกษาข้อเท็จจริงอย่างละเอียด ถี่ถ้วนแล้วได้ความว่า นักโทษเกือบทั้งหมดเป็นคนจน ไร้การศึกษา ความจนและขาดการศึกษาเป็นสาเหตุก่ออาชญากรรม ถ้าเรากำจัดความโง่เขลาก็คือให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วๆไปโดยทั่วถึง และวิธีกำจัดความจนก็คือสนับสนุนประชาชนประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นพลเมืองดีของชาติ”
ผู้พิพากษาคนหนึ่งถามว่า
“เราจะเริ่มต้นตรงไหน ด้วยวิธีใด ที่จะให้ประชาชนซื่อสัตย์และเป็นพลเมืองดี”
ขงจื๊อตอบว่า
“เริ่มต้นที่ตัวท่านทั้งหลายนี่ แหละ ท่านทั้งหลายเป็นผู้ปกครอง ถ้าผู้ปกครองเลว ประชาชนก็เลวตาม ถ้าผู้ปกครองดี ประชาชนก็ดีตาม กฎเกณฑ์หรือวิธีการข้อแรกของการเป็นคนดีก็คือ
อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนอย่างไร จงปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างนั้น และอย่าปฏิบัติต่อผู้อื่นในสิ่งที่ตัวเองไม่ต้องการ”

ขอบคุณ คุณเสถียรพงษ์ ที่นำข้อคิดที่ดีๆจากเต๋ามาเผยแพร่ ผมถือว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ที่มีไว้อ่านเตือนสติตัวเองได้ตลอดชีวิต คืออ่านทีไรก็รู้สึกเหมือนนึกรู้ว่า...ความถูกต้องและแสงสว่างของชีวิตอยู่ ณ ที่ตรงไหน แม้ในวันที่ชีวิตตกอยู่ในความมืดแปดด้าน นี่...ผมยังหมายถึงข้อคิดดีๆจากหนังสือเล่มนี้อีกหลายชิ้น หลายเรื่องราว นอกเหนือจากทัศนะในเรื่องรัฐและประชาชน สมกับสโลแกนที่เขาโปรยไว้ที่หน้าปกด้านล่างว่า
“นิทานอ่านสนุก แต่ลุ่มลึกด้วยแง่คิดกับปรัชญาชีวิตแบบเต๋า”
ขอบคุณครับ.

17 กรกฎาคม 2553
กระท่อมทุ่งเสี้ยว อ.สันป่าตอง เชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน