Thu, 2010-07-29 15:23
29 ก.ค. 2553 - คณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าว (Committee to Protect Journalists หรือ CPJ) ได้เผยแพร่รายงานพิเศษระบุถึงการที่รัฐบาลไทยไม่ดำเนินการเรื่องการสอบสวน อย่างจริงจังเท่าที่ควร ต่อกรณีการเสียชีวิตของผู้สื่อข่าวจากเหตุปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ ชุมนุมในช่วงเดือนเมษายน และพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่มีผู้สื่อข่าวต่างชาติ 2 รายเสียชีวิต
เนื้อหาในรายงานพิเศษ โดยชอว์น คริสปิน ระบุว่าเหตุรุนแรงในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. ที่ผ่านมาทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 90 รายและได้รับบาดเจ็บอีกมากกว่า 1,800 ราย ซึ่งถือว่าเป็นเหตุรุนแรงที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่การปราบผู้ชุมนุมด้วย อาวุธปืนในเหตุการณ์พฤษภาฯ 2535
แม้ว่าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจะบอกว่ากระสุนจริงที่ใช้ เป็นการใช้เพื่อป้องกันตัวเองเท่านั้นและมาตรการควบคุมฝูงชนก็ดำเนินการตาม มาตรฐานสากล และทางฝ่ายแกนนำ นปช. ก็บอกว่าการชุมนุมของพวกเขาสันติและปราศจากอาวุธ
แต่จากการตรวจสอบของ CPJ พบว่าทั้งสองฝ่ายต่างปะทะกันอย่างรุนแรงจนมีผู้สื่อข่าว 2 รายเสียชีวิต คือ ฟาบิโอ โพเลนชี ชาวอิตาลี และฮิโระ มุราโมโตะ ชาวญี่ปุ่น และมีผู้สื่อข่าวได้รับบาดเจ็บอีก 9 ราย
ผู้สื่อข่าวหลายสิบรายที่อยู่ในเหตุการณ์ให้ข้อมูลต่างจากที่ถูกนำเสนอ โดยรัฐบาล โดยบอกว่าทหารยิงมั่ว ๆ ใส่ประชาชนที่ไม่มีอาวุธในพื้นที่หลายครั้ง ขณะเดียวกันก็ระบุถึงชายชุดดำติดอาวุธที่ยิงกระสุนและระเบิดใส่ทหารในบริเวณ ที่มีผู้สื่อข่าวอยู่
การสืบสวนในสาเหตุดังกล่าวของรัฐบาลเป็นไปอย่างคลุมเครือและไม่สมบูรณ์ รวมถึงการชันสูตรศพด้วย ขณะที่การสืบสวนจากองค์กร สถานทูต และสมาชิกในครอบครัวผู้ตายก็ถูกขัดขวางหรือห้ามเข้าถึงข้อมูลสำคัญของรัฐบาล โดยจนถึงตอนนี้ยังไม่มีใครออกมารับผิดชอบกับการสังหารและการทำให้ได้รับบาด เจ็บสาหัส
ทาง CPJ ได้มีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยดังนี้
- ขอให้รัฐบาลทำการชันสูตรศพของฟาบิโอ โพเลนชีและฮิโระ มุราโมโตะ อย่างเป็นทางการ ดำเนินการสืบสวนกรณีผู้สื่อข่าวที่ได้รับบาดเจ็บอีก 9 ราย อย่างเป็นกลาง รวมถึง เนลสัน แรนด์ และชานเลอร์ แวนเดอร์กริฟท์ โดยมีการออกหมายจับและดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัย และมีการดำเนินการทางวินัยกับทหารที่ปฏิบัตินอกเหนือจากมาตรฐาน
- ให้ความร่วมมือกับการสืบสวนอิสระที่ทำการสืบสวนเหตุแวดล้อมการสังหารและทำ ร้ายผู้สื่อข่าว มีการเปิดเผยข้อมูลผลการตรวจชันสูตรทางการและการสืบสวนของตำรวจตราบใดที่ยัง ไม่ละเมิดกฏหมาย สามารถเข้าถึงหลักฐานจากกล้องวงจรปิดและหลักฐานทางนิติเวชที่อยู่ในมือของ รัฐบาลได้
- ให้หันกลับมาให้ความสำคัญกับหน้าที่ของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ และค้นหาความจริง ของรัฐบาล (คอป.) โดยเพิ่มการนำตัวผู้กระทำรุนแรงต่อนักข่าวดำเนินคดีตามขั้นตอนทางกฏหมายด้วย
- ยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ อีก 15 จังหวัด และหยุดปิดกั้นสื่อ รวมถึงสื่อออนไลน์ โดยการอ้างถึงความมั่นคงของชาติด้วย
- รับประกันว่าทหารจะใช้ความระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สื่อข่าวที่ทำข่าวสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองต้อง มีความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น
ที่มา แปลและเรียบเรียงจาก
In
http://cpj.org/reports/2010/07/in-thailand-unrest-journalists-under-fire.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น